ตรวจโลหะ รีไซเคิล นอกโลก


ตรวจจับโลหะ นอกโลก

ตอนนี้ญี่ปุ่นกำลังระดมสมองเกี่ยวกับการสร้างสนามใหม่ที่อาจจะนำโลหะรีไซเคิลมาใช้รวมถึงวัสดุอื่นๆ อีกไม่ว่าจะเป็น อลูมิเนียม, แก้ว และไม้ เพื่อลดต้นทุน ที่ประเทศญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬา โอลิมปิก ปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม ถึง 9 สิงหาคม ผุดแนวคิดเด็ดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนนี้อาจจะใช้เหรียญรางวัลที่ทำจากโลหะรีไซเคิลและสนามใหม่ที่อาจจะนำโลหะรีไซเคิลมาใช้

เกือบหนึ่งร้อยเปอร์เซนต์ของโลหะส่วนใหญ่สามารถนำมารีไซเคิลได้ การแยกโลหะและระบบคัดประเภทจะให้เศษส่วนของวัสดุโลหะขาวดำออกมา ในขณะที่วัสดุอื่นๆอีกมากแสดงการเสื่อมสภาพที่ชัดเจนเมื่อนำจะกลับมารีไซเคิลใหม่ การรีไซเคิลเศษโลหะแบบซ้ำไปซ้ำมาจะให้ผลทางผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพที่สูงเหมือนกัน ช่วยลดต้นทุนที่จะหาวัสดุที่นับวันจะมีจำนวนลดน้อยลงและหมดไปจากโลกนี้

ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายจัดการแข่งขัน โอลิมปิก ปี 2020 ประเทศญี่ปุ่น เสนอแนวคิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ดังนั้นจึงต้องการทำเหรียญรางวัลจากโลหะรีไซเคิลที่ได้จากโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้หรือตกรุ่นแล้ว อย่างไรก็ตามต้องส่งให้คณะกรรมการจัดงานพิจารณาช่วงปลายเดือนม.ค.เพื่อขออนุมัติอย่างเป็นทางการ แต่ความคิดนี้อาจจะเปลี่ยนไป ถ้าหากมนุษย์เราสามารถหาทรัพยากรธรรมชาติได้ใหม่จากลูกอุกกาบาตที่ล่องลอยอยู่ในระบบสุริยะของเรา

เริ่มมีอีกแนวคิดหนึ่งที่อาจช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติประเภทแร่ธาตุโลหะต่างๆ ได้ระดับหนึ่ง ซึ่งต้องลงทุนมาก แต่ให้ผลตอบแทนมหาศาล นั่นคือการไปทำเหมืองแร่ในอวกาศ หรือพูดอีกอย่างคือ การไปขุดเอาแร่ที่มีมูลค่าสูงจากอุกกาบาตที่ล่องลอยอยู่ใกล้โลกนั่นเอง ก่อนอื่นต้องทราบรายละเอียดเกี่ยวกับอุกกาบาตสักนิดว่า เขาจำแนกเป็นกี่อย่าง อะไรบ้าง

นักวิทยาศาสตร์บอกว่าอุกกาบาตที่ล่องลอยอยู่ในระบบสุริยะของเรานั้นล้วนแต่มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์ต่างๆ ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์แทบทั้งสิ้น เพียงแต่มีความหนาแน่นที่ไม่เท่ากันเท่านั้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้นสามารถแยกออกได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่ม C (Carbon) อุกกาบาตที่มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอนนั่นเอง กลุ่ม S (Stone) จากชื่อก็คงเดาได้ไม่ยากว่าอุกกาบาตกลุ่มนี้ก็คือก้อนหินดีๆนี่เอง องค์ประกอบหลักของมันจึงเป็นแมกนีเซียม ซิลิเกต และ กลุ่ม M (Metal) อุกกาบาตกลุ่มนี้มีองค์ประกอบเป็นโลหะนานาชนิดที่ตรวจจับได้ด้วยเครื่องตรวจโลหะ (Metal Detector) ตั้งแต่โลหะที่ไม่ค่อยมีราคาเท่าไหร่ไปจนถึงโลหะที่หายากมีราคาสูงมาก เช่น ทองคำ แพลตินั่ม ฯลฯ อุกกาบาตกลุ่มนี้จึงเป็นที่หมายปองเป็นอันดับแรกของนักลงทุน

เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้มีอุกกาบาตก้อนหนึ่งเคลื่อนเข้ามาใกล้โลกเรา ในระยะห่างประมาณ 1.5 ล้านไมล์ หรือราว 6 เท่าของระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์ อุกกาบาตที่มีรหัสว่า 2011 UW-158 ก้อนนี้มีความกว้างราว 800 เมตร ซึ่งมันคงไม่น่าสนใจอะไรมากนักหากมันเป็นเพียงหินอวกาศขนาดใหญ่มากก้อนหนึ่ง แต่ค้นพบด้วยเครื่องตรวจโลหะ (Metal Detector)ว่ามีโลหะมากมายอยู่ในนั้น

แต่จากเทคโนโลยีสำรวจอวกาศที่มีในปัจจุบัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบในเบื้องต้นว่าอุกกาบาตก้อนนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง (เหมือนกับการวิเคราะห์หาองค์ประกอบของดวงดาวที่อยู่ไกลออกไปมากๆ และยานสำรวจยังไปไม่ถึง) และผลจากการวิเคราะห์เชื่อหรือไม่ว่าหินก้อนนี้มีมูลค่าประมาณ 3.5 ล้านล้านปอนด์ เพราะเนื้อในของมันนั้นมีโลหะที่มีค่าซ้อนอยู่ สามารถตรวจได้จากเครื่องตรวจจับโลหะ (Metal Detector) คือทองคำขาวหรือแร่แพลตินั่มที่ราคาสูงลิบบนโลก อุกกาบาตก้อนนี้จะเคลื่อนเข้ามาใกล้โลกอีกครั้งในอีกสามปีข้างหน้า

ปัจจุบันนี้มีอุกกาบาตราว 9,000 ก้อนที่ล่องลอยอยู่ใกล้กับโลกและสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าการไปลงบนดวงจันทร์ด้วย นอกจากนั้นผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศของบริษัท ยังบอกว่า การหาโลหะทรัพยากรธรรมชาติจากอุกกาบาตนั้นเป็นทางออกที่ดีสำหรับมวลมนุษย์ เพราะยังมีอุกกาบาตอีกจำนวนนับไม่ถ้วนที่อยู่ห่างออกไป โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) ซึ่งอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส

จริงอยู่ อุกกาบาตที่ล่องลอยอยู่ในห้วงอวกาศหรือดาวดวงใดดวงหนึ่งในจักรวาลย่อมไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่อาจมีคำถามว่า การที่มีนักดาราศาสตร์หรือองค์กรใดเป็นผู้ค้นพบและตั้งชื่อมันจะบอกว่าเขาย่อมมีสิทธิ์เหนือดาวหรืออุกกาบาตนั้นๆได้หรือไม่

ในปี 1967 มีสนธิสัญญานานาชาติฉบับหนึ่งที่แทบทุกชาติได้ลงนามร่วมกัน สาระสำคัญของสนธิสัญญาฉบับนั้นระบุไว้ว่า ห้ามไม่ให้ชาติใดครอบครองวัตถุที่มีอยู่ก่อนแล้วในจักรวาล เช่น ดวงดาว อุกกาบาต ฯลฯ แต่ข้อตกลงฉบับนั้นไม่ได้ระบุรวมเอาเอกชนเข้าไปด้วย ซึ่งอาจเป็นเพราะในเวลาที่ลงนามร่วมกันนั้น ผู้นำแต่ละชาติในเวลานั้นคงไม่มีใครคิดเผื่อไว้ว่าในอนาคตเอกชนก็อาจจะส่งยานและมนุษย์อวกาศออกไปนอกโลกได้

เมื่อเร็วๆนี้ เกิดบริษัทเอกชนในสหรัฐฯ ขึ้นมาสองบริษัท วัตถุประสงค์คือเพื่อการไปหาแหล่งทรัพยากรประเภทแร่โลหะมีค่าต่างๆ และน้ำในอวกาศ เมื่อหาพบก็เก็บเกี่ยวนำมาขายเพื่อสร้างผลกำไรให้บริษัทและผู้ถือหุ้นทั้งหลาย บริษัททั้งสองคือ Planetary Resources และ DSI หรือ Deep Space Industries Planetary Resources ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2012 เพื่อการหาแหล่งแร่ธาตุโลหะในอวกาศโดยตรง

บริษัททั้งสองนั้นเกิดจากการรวมตัวของมหาเศรษฐีชาวอเมริกันทั้งสิ้น อาทิ ลาร์รี เพจ ผู้ก่อตั้ง Google, ปีเตอร์ ไดอาเมนดิส เจ้าของบริษัท X Prize, เจมส์ คาเมรอน ผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง และอดีตผู้บริหารระดับสูงของบริษัทยักษ์ใหญ่อีกหลายคน โดยมีซารา ซีเกอร์ นักดาราศาสตร์จาก MIT เป็นที่ปรึกษา

การมาของอุกกาบาตมูลค่าสูงกว่ามูลค่าเศรษฐกิจโดยรวมของญี่ปุ่นทั้งประเทศครั้งนี้ แม้จะไม่สามารถนำโลหะทองคำขาวที่อยู่ข้างในนั้นออกมาได้ แต่ก็เป็นโอกาสดีอย่างยิ่งที่บริษัทจะได้ทดสอบเทคโนโลยีที่มี ว่าจะสามารถไปหาแหล่งแร่โลหะสำคัญๆในอวกาศได้หรือไม่

ดังนั้นทางบริษัทจึงส่งดาวเทียมรหัส Arkyd-3R ดาวเทียมดวงนี้มีขนาดเล็กพอๆกับขนาดขนมปังปอนด์ก้อนหนึ่ง ออกจากโลกไปรอไว้ที่สถานีอวกาศนานาชาติตั้งแต่เดือนเมษายนปีนี้ เพื่อคอยให้อุกกาบาตเป้าหมายผ่านเข้ามาในระยะที่ต้องการ แล้วจึงค่อยส่งดาวเทียมดวงนั้นออกไปอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม เพื่อโคจรรอบโลกเป็นเวลา 90 วัน

ระหว่างนั้นมันจะทำการทดสอบบางอย่างสำหรับงานในอนาคต ตามแผนดาวเทียม Arkyd-6R จะถูกส่งตามไปภายในปีนี้ บริษัทกำลังพัฒนากล้อง โทรทรรศน์ขนาดเล็กแต่มีกำลังสูง ซึ่งจะปล่อยออกไปไว้นอกโลก เพื่อใช้สอดส่องหาอุกกาบาตที่ต้องการในอวกาศรอบๆโลกเรา กล้องตัวนี้ชื่อว่า LEO

แม้ว่าเมื่อเริ่มก่อตั้งบริษัทขึ้นมานั้น Planetary Resources อาจมุ่งไปที่ การเอาแร่โลหะในกลุ่มแพลตินั่มเป็นหลัก (กลุ่มนี้ประกอบด้วย platinum, palladium, osmium และ iridium ปัจจุบันใช้ผลิตเครื่องมือแพทย์ เครื่องกรองไอเสียในรถยนต์ เซลล์เชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์สำหรับอนาคตที่ไม่ใช้น้ำมัน และอุปกรณ์สำหรับรีไซเคิลพลังงาน) จากอุกกาบาต เพราะมีโลหะราคาพอๆกับทองคำ

แต่ปัจจุบันเป้าหมายเริ่มเปลี่ยนไปแล้ว เพราะพวกเขาเห็นว่าต่อไปการออกไป สำรวจอวกาศจะมีมาก และสิ่งมีชีวิตก็ต้องการน้ำ แค่สถานีอวกาศที่มีมนุษย์อวกาศหมุนเวียนกันไปทำงานที่นั่นก็ต้องใช้น้ำตลอดเวลา ดังนั้น หากสามารถสกัดน้ำออกมาและสำรองไว้ขายในอวกาศ ก็สามารถทำเงินได้มหาศาลเช่นกัน

นอกเหนือไปจากนั้น บริษัทนี้ยังมีแผนที่จะตั้ง “ปั๊มน้ำมัน” หรือศูนย์บริการเติมเชื้อเพลิงและน้ำให้แก่ยานอวกาศอื่นๆ ที่จะเดินทางไปมาระหว่างดวงดาวต่างๆในอนาคต รวมทั้งพวกที่ต้องทำงานอยู่ในอวกาศต่อเนื่องเป็นเวลานานด้วย การตั้งฐานขุดเจาะบนอุกกาบาตที่อาจเกิดขึ้นจริงในอนาคต

ตามแผนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ยานอวกาศที่ทำงานได้คล้ายหุ่นยนต์จะถูกส่งไปยังอุกกาบาตที่เป็นเป้าหมาย เพื่อจับมันแล้วเปลี่ยนทิศทางหรือลากมันไปไว้ในระยะพอๆกับดวงจันทร์ของเรา เพื่อให้งานขั้นต่อไปทำได้ง่ายขึ้น  ไม่แน่ก็ได้ว่าเราอาจจะมีสนามโอลิมปิก ที่ได้วัสดุโลหะจากอุกาบาตนอกโลกก็เป็นได้

ทางด้าน DSI นั้นแม้ปัจจุบันยังไม่ได้ปล่อยยานสำรวจหรือดาวเทียมออกไปสู่อวกาศแต่อย่างใด แต่ก็เปิดเผยแผนในอนาคตที่ค่อนข้างจะเป็นแผนเชิงรุกออกมาให้ทราบแล้ว แผนที่ว่าคือ ขั้นแรก สร้างยานชื่อ Firefly ขึ้นมา ยานลำนี้เป็นยานสำรวจขนาดเล็กและมีต้นทุนต่ำ เพื่อส่งออกไปสำรวจหาอุกกาบาตที่มีคุณสมบัติ คือมีแร่ธาตุโลหะตามที่ต้องการ เมื่อพบอุกกาบาตเป้าหมายแล้ว ก็เริ่มแผนขั้นที่สอง คือ ส่งยานขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า Dra– gonfly ออกไปแล้วไปเก็บรวบรวมเอาอุกกาบาตนั้นมาไว้ยังจุดที่ต้องการ เพื่อขุดหรือแยกเอาแร่ธาตุโลหะนั้นๆออกมา

ในอนาคตการเดินทางไปมาระหว่างโลกกับดาวอังคารอาจเป็นเรื่องที่เห็นได้ในทศวรรษหน้า และหากนักลงทุนคำนวณดูแล้วว่าคุ้มค่าที่จะทำจริง การทำเหมืองแร่โลหะที่อุกกาบาตก็น่าจะเกิดขึ้นได้ในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงเวลานั้นก็จะถึงยุคที่มนุษย์บางกลุ่มต้อง “ไปทำงานต่างดาว” ไม่ใช่ “ไปทำงานต่างประเทศ” อีกต่อไป ส่วนจะเกิดกระแสต่อต้านจากผู้ไม่เห็นด้วยกับโครงการซึ่งอยู่นอกโลกนี้มากน้อยแค่ไหน ก็คงต้องรอดูกันต่อไป.

Cr.ไทยรัฐ




Create Date : 30 สิงหาคม 2559
Last Update : 30 สิงหาคม 2559 13:41:19 น.
Counter : 1040 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 2905918
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Good Idea, More choice, Best selection.
สิงหาคม 2559

 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31