มกราคม 2557

 
 
 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
เรียนฟรีที่เยอรมัน ตอนระบบการศึกษาและขั้นตอนสมัครเรียนปริญญาโทที่เยอรมนี
เรียนฟรีที่เยอรมัน ตอนนี้ก็ จะมาเล่าถึงขั้นตอนการสมัครเรียนค่ะ   ซึ่งน้องๆท่านไหนก็ลองเอา
ไปปรับใช้ดูนะคะ แต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะไม่เหมือนกันสักทีเดียวค่ะ  พี่เรียมแนะนำเป็นแนว
คร่าวๆค่ะ เห็นมีคำถามมาบ่อยว่าต้องการสมัครเรียนปริญญาโทต้องทำอะไรบ้างค่ะ

ก่อนอื่นขอพูดถึงระบบการเรียนในเยอรมนีก่อนนะคะ

ถ้าส่งลูกเข้าเนิสเซอรี่ แบบหนูกล้วยหอมของเรียมเนี่ยจะเรียกว่า Kindergrippe ค่ะ อันนี้
ป่าป๊ากล้วยหอมบอกให้ฟัง ยังไม่ถือว่าเป็นการศึกษานะคะ หุหุ


1.การศึกษาในวัยก่อนเข้าโรงเรียน

โรงเรียนอนุบาล ที่เรียกว่า คินแดร์การ์เท็น (Kindergarten) จะรับเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปจน
ถึง 6 ปี การเรียนในระดับนี้ไม่ใช่ภาคบังคับ จะให้เด็กเข้าเรียนก็ได้ไม่ให้เข้าเรียนก็ไม่เป็นไร

2. การศึกษาระดับประถม

เป็นการศึกษาภาคบังคับ เด็กที่อายุครบ 6 ปี จะต้องเข้าเรียนในชั้นประถม ในเยอรมนีเด็กจะ
ต้องเข้าโรงเรียนในเขตที่ตัวเองพำนักอยู่ โรงเรียนประถมเรียกว่า กรุนชูเล (Grundschule) 
การศึกษาชั้นประถมจะมี 4 ชั้น คือ ชั้นที่ 1ถึงชั้นที่ 4 แต่ในบางรัฐอาจจะรวมเอาชั้นที่ 5 และ 6 
อยู่ในระดับประถมด้วย


3. การศึกษาระดับมัธยม

โรงเรียนในระดับมัธยมของเยอรมนีจะมีอยู่ 4 รูปแบบด้วยกัน คือ
3.1 เฮาพ์ชูเล (Hauptschule) เป็นโรงเรียนมัธยมที่สอนเน้นความรู้ทั่วไป เช่น ภาษาเยอรมัน
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ภาษาต่างประเทศมีตั้งแต่ชั้นที่ 5 ถึง 9 เมื่อจบชั้นปีที่ 
9 จะได้รับประกาศนียบัตรมัธยมตอนต้น เฮาพ์ชูลอับชลุส (Hauptschulabschluss) สามารถ
เข้าเรียนต่อด้านอาชีพประเภทช่างหรืออาจจะเรียนต่อชั้นที่ 10 ต่อไปก็ได้ เพราะการเรียนสาย
อาชีพบางสาขาจะต้องจบชั้นที่ 10

3.2 เรอาลชูเล (Realschule) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเช่นกัน แต่จะมีตั้งแต่ชั้นที่ 5 
ถึงชั้นที่ 10 วิชาที่เรียนจะมากกว่าโรงเรียนมัธยมแบบเฮาพ์ชูเล เมื่อจบชั้นที่ 10 จะได้ประกาศนีย-
บัตรที่เรียกว่า มิทท์เลเรไรเฟ (Mittlere Reife) และสามารถเรียนต่อสายอาชีพทุกสาขาได้ทันที

3.3 กึมนาซิอุม (Gymnasium ) เป็นโรงเรียนมัธยม จะมีทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เซคุนดาร์
ชทูเฟ อายส์ (Sekundar Stufe I) และระดับเตรียมอุดมศึกษาที่เรียกว่า เซคุนดาร์ ชทูเฟ ซวาย
(Sekundar Stufe II)หรือโอแบร์ชทูเฟ (Oberstufe) ระดับมัธยมตอนต้นเรียนตั้งแต่ชั้นที่ 5

ถึง ชั้นที่ 10 ในระดับมัธยมตอนปลายเริ่มจากชั้นที่ 11 ถึง 13 การเรียนจะเน้นทางด้านวิชาการ
มากกว่า ดังนั้นเด็กที่จะเรียนกึมนาซิอุมควรเป็นเด็กที่เรียนดีพอสมควร เมื่อสำเร็จการศึกษา ก็
จะได้ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียกว่า อบิทัวร์ (Abitur) และสามารถเข้าเรียน
ต่อในขั้นอุดมศึกษาได้

3.4 เกซัมท์ชูเล (Gesamtschule) เป็นโรงเรียนมัธยมประสม คือนำเอารูปแบบโรงเรียนมัธยม
ทั้งสามแบบที่กล่าวไปแล้วมารวมอยู่ด้วยกันจะเปิดสอนตั้งแต่ชั้นที่ 5 ถึง ชั้นที่ 13 เด็กที่เข้าเรียน
ที่นี่สามารถที่จะเลือกเรียนชั้นมัธยมรูปแบบหนึ่งในสามแบบจากที่นี่ เมื่อเรียนไปแล้วเห็นว่าไม่เหมาะ
กับความสามารถของตน ก็อาจที่จะย้ายไปเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เหมาะกับตัวได้

4. การเรียนสายอาชีพ
เรียกว่า เบรุฟเอาส์บิลดุง (Berufsausbildung) การเรียนสายอาชีพนี้ ผู้ที่จะเข้าเรียนได้ต้องมี
ความรู้จบประกาศนียบัตรมัธยมตอนต้น (Hauptschulabschluss)ซึ่งแล้วแต่สาขาอาชีพที่ต้อง
การจะเรียน การเรียนแบบนี้เป็นการเรียนควบคือเรียนในโรงเรียนอาชีวะ ที่เรียกว่า เบรูฟชูเล
(Berufschule) ซึ่งจะสอนวิชาการและวิชาเฉพาะที่เกี่ยวกับอาชีพนั้นๆ และเรียนภาคปฏิบัติ 
คือ ฝึกงานในบริษัท ห้างร้าน โรงงานที่รับเป็นผู้ฝึกอบรม การเรียนในสายนี้ผู้เรียนจะได้รับ
เงินเดือนจากบริษัทหรือห้างร้านที่ไปฝึกงาน การเรียนสายอาชีพนี้จะใช้เวลานานระหว่าง 2 
ถึง 3 ปีครึ่ง

5. การเรียนระดับอุดมศึกษา

ผู้ที่จบ Abitur สามารถที่จะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยได้โดยไม่มีการสอบคัดเลือก นอกจาก
บางสาขาวิชาที่มีคนต้องการเรียนมาก เช่น แพทยศาสตร์ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อสามารถที่จะเลือก
สมัครสาขาวิชาที่ต้องการเรียนได้ 

ในระดับอุดมศึกษาของเยอรมันนั้น  จะแบ่งได้ประเภทต่างๆดังนี้

Smiley University  หรือ มหาวิทยาลัยทั่วไป ที่เน้นการเรียนการสอนทางด้านทฤษฏี ในหลักสูตร
ทางด้าน แพทยศาสตร์, นิติศาสตร์, มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

Smiley  Fachhochschule หรือ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า University of Apply Science เป็นมหาวิทยาลัย
ที่เน้นในทางปฎิบัติมากกว่าทางทฤษฏี โดยจะสอนเพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ในอุตสาหกรรม มากกว่า
การทำวิจัย
Smiley มหาวิทยาลัยเทคนิค (Technical Universities) เดิมจะเปิดเฉพาะด้านวิศวกรรม แต่ต่อมาได้
เปิดสาขาอื่นๆด้วย  มหาวิทยาลัยที่พี่เรียมเรียนก็จะเป็นมหาวิทยาลัยเทคนิคเช่นกันค่ะ

Smiley Paedagogische Hochschule หรือ วิทยาลัยครู

Smiley Kunsthochschule (Colleges of Art, Film and Music) หรือวิทยาลัยศิลปะ

จริงๆแล้วมีหลายประเภทนะคะ  อ่านมาหลายเวป หลายข้อมูล ถามคนเยอรมันเอง ก็ยังไม่ชัดเจน
เท่าไร ก็เอาเป็นข้อมูลเบื้องต้นแล้วกันนะคะ


ส่วนปริญญา หรือหลักสูตรแบ่งตามระดับได้ดังนี้

Diplom : หลักสูตรที่เรียนปริญญาตรีควบโท ( Bachelor +Master) ระยะเวลาหลักสูตร 5 ปี
Bachelor : หลักสูตรปริญญาตรี ระยะเวลาหลักสูตร 3 ปี
Master : หลักสูตรปริญญาโท  ระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี
Ph.D. : หลักสูตรด๊อกเตอร์ ระยะเวลาหลักสูตร ไม่มีกำหนดส่วนใหญ่จะเรียนกันที่ 4-6 ปี แต่ที่เห็น
พี่ๆคนไทยส่วนใหญ่กว่าจะจบกันก็ประมาณ 5 -5 1/2 ปีค่ะ 


ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับระบบการศึกษาในเยอรมนีค่ะ

เรียมเคยเขียนขั้นตอนการเตรียมตัวสมัครเรียนต่อปริญญาโทที่เยอรมันไว้ที่นี่


ซึ่งทั้ง 2 Blog นั้นจะบอกว่าจะเตรียมตัวสมัครและเตรียมเอกสารที่สมัครอะไรบ้าง

มาต่อว่าด้วยเรื่องเมื่อเราได้เตรียมตัวและเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว แล้วต้องการสมัครเรียน
ปริญญาโทจะทำยังไงบ้าง  ก็มาลุยกันเลยค่ะ

1.สมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียน
 - เข้าไปที่เวปไซต์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการ  แล้วโหลดเอกสารการสมัครของทางมหาวิทยาลัย
 และดูรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ  ตัวอย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัยที่เรียมเคยเรียนอยู่ จะมีรายละเอียด
ขั้นตอนให้สำหรับนักศึกษาต่างชาติ  อ่านตัวอย่าง คลิกที่นี่ค่ะ 




ซึ่งเราก็สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้เลยว่าต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง มีข้อมูลอะไรบ้างเป็นต้น


2.บางมหาวิทยาลัยจะมีใบสมัครให้กรอกรายละเอียดด้วย เมื่อกรอกเรียบร้อยแล้วแล้วก็อาจจะส่งไป
ทางเวปไซต์เลย หรือพิมพ์ออกมา แล้วแนบเอกสารที่เราจัดเตรียมไว้ 
หรือบางคณะจะมี list document เลยค่ะว่าต้องส่งเอกสารอะไรบ้าง ซึ่งเราก็เตรียมเอกสารตามที่
เขาต้องการไป

ตัวอย่างเช่น ที่คณะที่พี่เรียมเรียนจบมา เขาจะบอกเลยค่ะว่า ต้องการเอกสารอะไรบ้าง
Link ตัวอย่างเอกสารที่ต้องการ  คลิกที่นี่เพื่อดูตัวอย่าง

บอกไว้ก่อน เพราะเดี๋ยวมีหลังไมค์+Message มาถามพี่เรียมว่า ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ก็เตรียมตามที่เขาต้องการ  หน้าที่ของน้องๆที่ต้องการสมัครเรียนคือ ถ้าต้องการเรียนคณะไหน
ที่มหาวิทยาลัยไหน เข้าไปในเวปไซต์ของคณะนั้น มหาวิทยาลัยนั้น แล้วหาให้เจอว่า เขา
ต้องการอะไรบ้าง ถ้าหาไม่เจอก็เมล์ไปถามทางบัณฑิตศึกษาของเขาค่ะ หรืออีเมล์ที่เขาเขียน
ไว้ในเวปไซต์ค่ะ ว่าถ้าจะสมัครต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างค่ะ


3.จัดส่งเอกสารที่เตรียมเรียบร้อยแล้ว  การส่งอาจจะส่ง 2 ที่คือ บางมหาวิทยาลัยจะให้ส่งที่คณะ
ที่เราต้องการเรียนเลย  หรือบางคณะอาจจะให้ส่งไปที่บัณฑิตวิทยาลัย  ถ้าเรามีการติดต่อไว้กับ
โปรเฟสเซอร์ที่เราสนใจไว้บ้างแล้วก็ส่งไปที่คณะเลยค่ะ แล้วทำสำเนาส่งไปให้โปรเฟสเซอร์อีกที
ก็ได้ค่ะ 

4. ถ้าเอกสารได้รับการยืนยันจากตัวแทนที่เราส่ง (เช่น ไปรษณีย์ หรือ DHL) ว่าถึงผู้รับแล้ว แต่ยัง
ไม่ได้รับอีเมล์ตอบกลับมาก็อย่าเพิ่งใจร้อน ส่งอีเมล์ไปทวง  เพราะคนอาจจะสมัครเยอะ ทางคณะ
อาจจะต้องใช้เวลาพิจารณาหลายวัน  แต่หลังจาก 1-2 สัปดาห์ลองอีเมล์ไปสอบถามว่าได้รับ
เอกสารเราแล้วหรือยัง เผื่อเขาจะบอกว่า ได้รับแล้ว กำลังอยู่ในขั้นตอนพิจารณา บลาๆๆๆ หรือ
ใครมั่นใจเรื่องภาษา คือมั่นใจว่าฟังออกแน่นอน ก็โทร.ไปสอบถามด้วยค่ะ   เป็นต้น

การส่งเอกสารเรียมเคยใช้บริการของ DHL ค่ะ ตอนที่ส่งคือ 11 ตุลาคม  หมดเขตรับสมัคร 15 
ตุลาคม  พอวันที่ 15 ตุลาคม โปรเฟสเซอร์ที่เรียมใส่ชื่อผู้รับเอกสาร อีเมล์มาบอกว่าได้รับ
เอกสารแล้ว  ประทับใจทั้งบริการ ความรวดเร็วและราคา (ที่สูง) ของ DHL และโปรเฟสเซอร์
ที่ติดต่อด้วยมาก Smiley

5.  มหาวิทยาลัยจะตอบรับการเข้าเรียนโดยอาจจะส่งอีเมล์มาแจ้งก่อน แล้วเอกสารตามมา 
หรือส่งเอกสารมาเซอร์ไพรส์ถึงที่บ้านหรือที่อยู่ที่เราได้เลยก็ได้  

ตอนเรียมได้เอกสารจำได้แม่นวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ก่อนวันวาเลนไทน์วันหนึ่งค่ะ  ทางสถาน
ฑูตเยอรมันส่งเอกสารไปที่บริษัทที่เรียมทำงานอยู่   เรียมไม่ได้ให้ที่อยู่ที่บ้านเพราะบ้านอยู่
หน้าเขา ห่างไกลความเจริญมาก (เมื่อเกือบ 10 ปีก่อน) คนแถวบ้านเรียมพลาดโอกาสดีๆมา
หลายเรื่องแล้วเพราะว่าบ้านอยู่พื้นที่ห่างไกลมากนี่เอง

6. เมื่อเราได้อีเมล์หรือเอกสารแล้ว ควรตอบรับเพื่อยืนยันว่าเราจะไปเรียนแน่นอน หรือปฏิเสธ
การเข้าเรียนถ้าสมัครเรียนไว้หลายที่เพื่อแบ่งปันที่ไว้ให้คนอื่น  อย่ากั๊กค่ะ  ขอร้อง 

เพราะมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะมีจำนวนนักเรียนตามโควต้าสำหรับนักศึกษาเยอรมันและต่างชาติ
อยู่แล้ว ยิ่งบางที่มีทุน DAAD ให้ด้วย ถ้าเราไม่ไปเรียน แล้วไม่แจ้งล่วงหน้า แล้วทางคณะ
ไม่สามารถติดต่อนักเรียนที่เป็นสำรองได้เนื่องจากเลยเวลา หรือเหตุผลอื่น กลายเป็นปีนั้น
โควต้านักศึกษาต่างชาติไม่ครบตามโควต้าก็จะอาจจะทำให้เกิดผลกระทบในปีต่อๆไปด้วยค่ะ

เมื่อสมัครแล้วและได้รับตอบรับแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นตอนการเตรียมตัวไปเรียน เดี๋ยวพี่เรียมมาเขียน
ต่ออีก blog หนึ่งนะคะ ขอเวลาเรียบเรียงก่อนค่ะ


Information source : 

1. อยู่เยอรมนีคู่มือสำหรับคนไทยฉบับกระเป๋า  โดย เครือข่ายชุมชนไทย
ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สนับสนุนโดย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
2.สำนักงาน กพ.




Create Date : 04 มกราคม 2557
Last Update : 3 พฤษภาคม 2557 20:28:20 น.
Counter : 7236 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เรียมเจ้าขา
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 144 คน [?]



" เรียมเจ้าขา หรือ เก๋ค่ะ "

เขียน blog จริงจัง ปลายปี 2555
Blog นี้ก็จะรวมสิ่งที่ชอบในชีวิต
และเรื่องที่อยากแบ่งปันทั้งเรื่อง
ลูกสาวน้องกล้วยหอม,เรื่องเรียน
ต่อเยอรมนี,Beauty, Skin
care,แฟชั่นสิ่งทอ,ท่องเที่ยว
และก็ตะลอนชิม ค่ะ


ก็ขีดๆเขียนๆข้อมูลต่างๆเอาไว้
และแชร์เผื่อจะเป็นประโยชน์
กับท่านอื่นๆด้วยนะคะ

contact me :
http://www.facebook.com/kimmyandmais
http://instagram.com/sasimamai
ss.suksawang@จีเมล์ดอทคอม

อุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายรูป

* Canon EOS 600D,
* Canon EF-S 15-85mm f3.5-5.6 IS USM
- Sigma 70mm F/2.8 DG Macro
- Canon EF-S 18-55mm 1:3.5-5.6 IS
- Canon EF-S 55-250 mm./4-5.6 IS
* Ipad 3
* Olympus compact camera.
New Comments