ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
12 ธันวาคม 2551
 
All Blogs
 
มาดูแลรถ...ลดโลกร้อนกันเถอะ!!

ตอนนี้กระแส "ภาวะโลกร้อน" กำลังมาแรงทีเดียว เห็นได้จากหลากหลายสาเหตุที่ล้วนเกิดจากฝีมือของมนุษย์อย่างเราๆทั้งสิ้น จนมีการเรียกร้องให้มาช่วยกันลดปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่ง่ายๆอย่างการใช้ถุงผ้าไปซื้อของแทนใช้ถุงพลาสติก จนกระทั่งการรณรงค์ให้ช่วยกันใช้พลังงานอย่างถูกวิธีและประหยัด แต่สำหรับประเทศไทยแล้วถือว่าเป็นเรื่องที่ลำบากพอสมควรเนื่องจากวิถีการดำเนินชีวิตของเรา โดยเฉพาะในกรุงเทพด้วยแล้วถือว่าเป็นเมืองที่ปล่อยก๊าซพิษสูงทีเดียว ก๊าซที่ว่านี้ก็คือก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ จากรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบบรทุก ฯลฯ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาอากาศเป็นพิษและเสียงรบกวนได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพอนามัย ซึ่งคนที่อาศัยอยู่ต้องสูดหายใจเข้าไปทุกวันอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับสิ่งที่ออกมาจากท่อไอเสีย และวิธีที่จะช่วยลดมลพิษจากรถของท่านกันดีกว่า

การทำงานของเครื่องยนต์นั้น หากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดสารพิษปล่อยออกมาจากท่อไอเสียอันเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอากาศเป็นพิษ สารพิษเหล่านี้ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ควันดำไฮโดรคาร์บอนอ๊อกไซด์ของไนโตรเจน สารตะกั่ว ฯลฯ

1ควันดำเป็นผงเขม่าขนาดเล็กที่เหลือจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากรถยนต์ดีเซล เช่น รถปิกอัพดีเซล รถเมล์โดยสาร และรถขนาดใหญ่ทั่ว ๆ ไป

สาเหตุการเกิดควันดำ
-ระบบจ่ายน้ำมันไม่เหมาะสม ทำให้สัดส่วนน้ำมันและอากาศไม่เหมาะสม เกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
-ไส้กรองอากาศสกปรกและอุดตัน
-เครื่องยนต์เก่าชำรุดขาดการบำรุงรักษา
-บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด

อันตรายจากควันดำ
ควันดำเป็นผลเขม่าเล็กที่สามารถเข้าไปสะสมที่ถุงลมในปอด และควันดำยังประกอบด้วยสารที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งในปอด นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความสกปรก และบดบังการมองเห็นก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางจราจรได้ง่าย

2 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ซึ่งเป็นก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ในเครื่องยนต์รถ เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่ รถสามล้อเครื่อง รถจักรยานยนต์ ฯลฯ ก๊าซนี้จะเกิดขึ้นมากในขณะที่รถยนต์เดินเครื่องอยู่กับที่ เนื่องจากการจราจรติดขัด

สาเหตุการเกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
-มีการปรับแต่งเครื่องยนต์เกี่ยวกับระบบจ่ายไฟ และจ่ายน้ำมันที่ไม่เหมาะสม
-ไส้กรองอากาศอุดตัน
-ใช้น้ำมันผิดประเภท เช่น ใช้น้ำมันธรรมดากับเครื่องยนต์ที่กำหนด ให้ใช้น้ำมันเบนซินพิเศษ
-บรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กำหนด
-ลักษณะการขับขี่ที่มีการเร่งเครื่องยนต์โดยไม่จำเป็น

อันตรายจากก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
เมื่อหายใจเข้าไปก๊าซนี้จะทำปฏิกิริยากับ ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง กลายเป็นคาร์บ๊อกซี่ฮีโมโกลบิน ทำให้การลำเลียงอ๊อกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ ถ้ามีก๊าซนี้ในอากาศที่เราหายใจเพียง 60 ส่วนในล้านส่วน จะทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หมดสติ ในกรณีที่มีก๊าซนี้เกิน 5,000 ส่วนในล้านส่วนของอากาศที่เราหายใจจะทำให้เกิดอันตรายถึงตายได้

การป้องกันและลดสารพิษจากรถยนต์

การที่จะป้องกันไม่ให้รถยนต์ของท่านปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม ผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ขับขี่รถจะต้องหมั่นบำรุงรักษาสภาพของเครื่องยนต์ มีการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ รวมถึงลักษณะการขับขี่ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้

-ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วสำหรับรถเครื่องยนต์เบนซิน หรือน้ำมันดีเซลกลั่นอุณหภูมิต่ำสำหรับรถเครื่องยนต์ดีเซล
-เปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามกำหนดเวลา
-หมั่นตรวจดูระบบกรองอากาศ ถ้าอุดตันมีฝุ่นจับมากให้ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนใหม่
-หลีกเลี่ยงการบรรทุกเกินอัตรากำลังรถ
-ควรออกรถให้นิ่มนวลและไม่เร่งเครื่องเกินความจำเป็น
-ติดตั้งอุปกรณ์กรองไอเสีย (Catalytic Converter) เพื่อช่วยให้ไอเสียที่ปล่อยออกมามีมลพิษน้อยลงได้





สำหรับรถที่ใช้น้ำมันดีเซลควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้

-ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์ ถ้าต่ำกว่าปกติจะต้องซ่อมโดยเปลี่ยนแหวนลูกสูบ หรือคว้านกระบอกสูบ
-ปรับแรงดันที่หัวฉีดให้ตรงตามกำหนดและหัวฉีดต้องฉีดน้ำมันเป็นละออง ถ้าหัวฉีดปรับแรงดันไม่ได้หรือฉีดน้ำมันไม่เป็นละออง ให้เปลี่ยนชุดหัวฉีดใหม่
ตั้งปั๊มหัวฉีดที่มีความเร็วรอบต่าง ๆ ให้จ่ายน้ำมันตามกำหนด ถ้าหากว่าปรับตั้งไม่ได้เนื่องจากลูกปั๊มสึกหรอมากให้เปลี่ยนลูกปั๊มแต่ละชุดใหม่

สำหรับรถที่ใช้น้ำมันเบนซินควรตรวจสอบเครื่องยนต์เป็นพิเศษ ดังนี้

-ปรับคาร์บูเรเตอร์ โดยปกติจะปรับสกรูเดินเบาเพิ่มขึ้น แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบหัวฉีดน้ำมันอัตโนมัติจะต้องปรับแต่งโดยช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น
-ตรวจสอบกำลังอัดของเครื่องยนต์และระบบไฟ จุดระเบิดอาจแก่เกินไป ควรลดลงให้เหมาะสม

ที่มา : รวบรวมจากฝ่ายสุขาภิบาลทั่วไป กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

จาก //www.manager.co.th/


Create Date : 12 ธันวาคม 2551
Last Update : 12 ธันวาคม 2551 12:22:50 น. 3 comments
Counter : 685 Pageviews.

 


โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:11:05:04 น.  

 


โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 8 สิงหาคม 2554 เวลา:12:04:33 น.  

 


โดย: คนเดินดิน (หน้าใหม่อยากกรอบ ) วันที่: 12 สิงหาคม 2554 เวลา:12:58:44 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.