ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
21 กุมภาพันธ์ 2554
 
All Blogs
 
คิดเป็นแล้วหรือ ??

คิด ??

บทความโดย คารม พลีดี

จุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาให้นักเรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการเข้าเรียนต่อและการประกอบอาชีพ โดยกำหนดให้นักเรียนนั้นต้องมีความรู้ มีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต ซึ่งได้กำหนดสมรรถนะความสามารถในการคิด โดยเน้นการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้นักเรียนสามารถที่จะสร้างความรู้ได้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสมต่อไป

จากจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทำให้เราทราบว่าการคิดนั้นสำคัญและจำเป็นยิ่งในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ฉะนั้นจึงควรทำความรู้จักเกี่ยวกับความคิดกัน

การคิด คือ กิจกรรมทางความคิดที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง ซึ่งเรารู้ว่าเราคิดเพื่อจุดประสงค์อะไรและจะจัดการอย่างไรเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์นั้น

ถ้าหากเราคิดโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย หรือคิดโดยมีจุดมุ่งหมายแต่ไม่มีแนวทางการจัดการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์นั้นเราจะเรียกว่าเป็นความคิดแต่จะเรียกว่า ความเพ้อฝัน หรือคิดแบบไร้จุดหมายนั่นเอง

การคิดเป็นการจัดการข้อมูลที่สมองเราได้รับให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยการแปลข้อมูลเหล่านั้นให้แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งสมองจะมีการนำเอาข้อมูลความรู้เก่ารวมทั้งประสบการณ์ดั้งเดิมของเรานั้นมาผสมผสานร่วมกับเหตุผล อารมณ์และความต้องการของเรา เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ

การคิดเป็นตัวกำหนดความเป็นตัวตนของคนแต่ละคน โดยเราสามารถพิจารณาจากตัวเราเองก็ได้ เช่น หากเราเป็นคนที่มีความคิดว่า การทำความดีย่อมส่งผลให้เราได้รับสิ่งดีกลับมา และหากทำความชั่วก็ย่อมได้รับผลชั่วนั้น จะทำให้เราเป็นคนที่จะกระทำแต่ความดีเพื่อให้เราได้รับแต่ผลดีกลับมาสู่ตัวเรา เป็นต้น

โทมัส แอลวา เอดิสัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพราะเขาสามารถจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์มากกว่าพันรายการแต่เขาไม่ได้คิดเองทั้งหมด หากแต่มาจากการนำความคิดจากทุกแหล่งที่เราได้รับทราบแล้วนำมาทดลองใช้ ปรับปรุงจนสามารถใช้งานได้เป็นการต่อยอดความคิดของคนอื่นนั่นเอง

ทำไมเด็กรุ่นใหม่จึงไม่ค่อยเกิดการคิด เราอาจจะยังสรุปความตามนั้นไม่ได้ เพราะเด็กนักเรียนอาจจะมีการคิดอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่ได้ไปวัดความคิดของเขา แต่หากมองว่าเราสอนเด็กแต่เด็กคิดไม่เป็น ก็อาจจะมาจากอุปสรรคที่คอยขัดขวางการคิดไว้ ซึ่งมีอยู่ 6 อย่างคือ

1. การตอบสนองความเคยชิน ถ้าหากเราเคยชินกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราก็จะไม่มีการคิดที่จะริเริ่มการสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา

2. การเชื่อมโยงเหตุผลผิดเพราะด่วนสรุป เกิดจากความคิดส่วนตัวที่เรามีต่อข้อมูลโดยไม่คิดถึงเหตุและผลหรือมองข้ามไปโดยดูความแตกต่างที่เด่นชัดมาตัดสินใจแทน ทำให้เราสรุปเรื่องต่างๆ ผิดพลาดไปจากความเป็นจริง

3. แรงจูงใจไม่ถูกต้อง เนื่องจากไปเชื่อกับสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ทำให้ผู้รับข้อมูลตัดสินใจเชื่อโดยไม่คำนึงถึงความถูก-ผิดหรือความเหมาะสม ขาดการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการดำเนินชีวิต

4. การขาดทักษะการคิด ไม่รู้วิธีคิด หรือคิดไม่เป็น ซึ่งเป็นเรื่องที่ร้ายแรงที่สุด

5. การทิ้งเหตุผลอย่างมีอคติ ซึ่งเกิดจากเราใช้ตนเองเป็นศูนย์กลางในการประเมินค่าสิ่งต่างๆ ซึ่งถ้าหากเราไม่มีการสืบค้นข้อมูล ข้อเท็จจริงอย่างยุติธรรมมาใช้ในการตัดสินก็จะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเพราะเป็นการตัดสินที่มีอคติต่อสิ่งนั้น

6. ค่านิยมเป็นอุปสรรค เช่น ทำตามระบบอาวุโส ทำตามผู้มีบุญคุณ ค่านิยมชอบเสี่ยงโชค งานหนักไม่เอางานเบาไม่สู้ ชอบใช้กล้ามเนื้อมากกว่ากล้ามสมอง การเลียนแบบ การศึกษาแบบท่องจำ ทำให้อ่อนด้อยในเรื่องการคิดการเขียน

จากอุปสรรคทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ทำให้เราทราบถึงความอ่อนแอในด้านการคิดของสังคมไทยที่กำลังเป็นอยู่และนับวันจะยิ่งเป็นปัญหาที่ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทยเรา ถ้าหากเราปล่อยปละละเลยไว้ยิ่งทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงในอนาคต ทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมา เราจึงควรหาทางทำให้เยาวชนของเรารู้จักการคิดและเป็นนักคิดที่ดีในอนาคต เพื่อที่จะได้เป็นคนที่นำพาประเทศของเราก้าวไกลเทียบกับอารยะประเทศต่อไป ซึ่งลักษณะของนักคิดที่ดีนั้นมีดังต่อไปนี้

1. รับข้อมูลตามความเข้าใจของตน แทนที่จะจดจำแต่ปราศจากความเข้าใจ

2. ไม่ด่วนสรุปข้อมูลที่กำกวมและไม่ทิ้งข้อมูลแม้ว่าจะยังไม่ชัดเจน แทนการด่วนสรุป

3. พยายามหาทางเลือกที่แตกต่าง แทนที่จะพึงพอใจกับความพยายามครั้งแรกครั้งเดียว

4. เก็บบางเรื่องไว้คิดต่อ แทนที่จะยกเลิกและทิ้งไป

5. ไตร่ตรองและคิดอย่างรอบคอบ คิดให้กว้างขวางเพื่อให้ครอบคลุมมากที่สุดแทนที่จะคิดอย่างเร่งรีบขาดการไตรตรอง

6. เป็นนักแก้ปัญหา มากกว่าการถูกครอบงำด้วยปัญหา

7. มีการตัดสินใจด้วยตนเอง แทนการตัดสินใจตามเพื่อนหรือกลุ่ม

8. กล้าเสี่ยงและเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด แทนการกลัวความผิดพลาด

9. มีความคิดริเริ่ม มีทิศทางเป็นของตนเอง ซึ่งไม่ต้องมีการกระตุ้นบ่อยๆ

10. มีความยืดหยุ่นและมีจินตนาการ

11. พิจารณาทางเลือกที่แตกต่างแทนการมองปัญหาแนวทางเดียว

12. ใช้ความรู้ประสบการณ์เดิมที่มีอยู่แทนการขาดการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ

13. ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะมาใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ได้

14. บอกได้ว่าได้เรียนรู้อะไรไปแล้ว ทำไมและอย่างไร

15. เข้าใจวิธีการเรียนรู้ของตนเอง ไม่ใช่แค่ข้อมูลที่มีการรายงานเท่านั้น

ต่อจากนั้นเราในฐานะที่เป็นครูที่จะปลูกฝังวิธีการคิดให้กับอนาคตของชาติ จะต้องมาพยายามที่จะนำวิธีการสอนการคิดต่างๆ มาฝึกให้นักเรียนได้ฝึกทำบ่อยๆ จนเกิดความเคยชิน เพราะทักษะนั้นจะต้องหมั่นให้นักเรียนทำบ่อยๆ จึงจะทำให้นักเรียนมีทักษะนั้นได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะขอแนะนำการคิดที่ครูสามารถนำไปศึกษาค้นคว้าต่อไปได้จำนวน 10 การคิด ดังนี้

1. การคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึง ความสามารถในการพิจารณาตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยไม่คล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆ

2. การคิดเชิงวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น

3. การคิดเชิงสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการดึงเอาองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสานกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามที่ต้องการ

4. การคิดเชิงเปรียบเทียบ หมายถึง การพิจาณาเทียบเคียงความเหมือนหรือความแตกต่างของสิ่งนั้นกับสิ่งอื่น เพื่อให้เกิดความเข้าใจสามารถอธิบายสิ่งนั้นได้อย่างชัดเจน

5. การคิดเชิงมโนทัศน์ หมายถึง ความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอดหรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น

6. การคิดเชิงประยุกต์ หมายถึง ความสามารถในการนำสิ่งเดิมที่มีอยู่มาปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ได้อย่างเหมาะสมโดยยังคงหลักการเดิมไว้

7. การคิดเชิงกลยุทธ์ หมายถึง ความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไข ข้อจำกัดต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

8. การคิดเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การขยายขอบเขตความคิดออกไปจากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนเพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น

9. การคิดเชิงบูรณาการ หมายถึง ความสามารถในการเชื่อมโยงแนวคิด หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบายหรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

10. การคิดเชิงอนาคต หมายถึง ความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
สิ่งสุดท้ายเมื่อเราสามารถคิดได้แล้ว เราจะมีความคิดที่เป็นระบบ เป็นไปอย่างมีขั้นตอน ครบถ้วน ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทุกเรื่อง จนเกิดเป็นทักษะชีวิตที่เป็นประโยชน์กับชีวิต

สุดท้ายในฐานะเราเป็นครูจึงไม่ควรนิ่งนอนใจในการปลูกฝังวิธีการคิดให้นักเรียนของเราเพื่อให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่าและสามารถที่พัฒนาชาติต่อไปในอนาคต

-----------------------------------------------------------------------------เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2544). ลายแทงนักคิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.



Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2554 14:20:20 น. 0 comments
Counter : 724 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.