การเรียนการสอนการแปล

ดัดแปลงจากกระทู้เก่าอันนี้

//topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/06/K7934208/K7934208.html

การแปลสอนกันได้ แต่ไม่ควรสอนกันโดยตรงว่าจะแปลอย่างไร ...ยิ่งอาจารย์บอกนักศึกษาว่า ให้เอา passage นี้ หรือ เอาหนังสือเล่มนี้ ไปแปลมา พอแปลเสร็จ ส่งคำแปล แล้วอาจารย์ edit (ตรวจแก้) คำแปลใน file และ/หรือ เอามาฉายขึ้นจอให้ดูว่า มีร่องรอย edit ตรงไหน ...เพื่อให้นักศึกษาทุกคนดู...(ซึ่งหลายๆแห่งเขาสอนกันแบบนี้...เพราะว่า คนสอน "ตรรกะไม่แม่นยำ" และไม่เคยทำงานแปลมาก่อนนั่นเอง...)

จะบอกใบ้ให้ว่า ถ้าสอนแบบนี้นะ ต่อให้สอน 5 ปีด้วย นักศึกษาจบมา ก็ยังแปลไม่ได้ดี

"เพราะอะไร"

ตอบ

ภาษาที่นักแปลจะต้องเจอในการแปลจริงๆนั้น มีมากมายหลายสาขาวิชาการด้วยกัน และ source text (ภาษาต้นทาง) ก็มีความแตกต่างกับ target text (ภาษาปลายทาง) อย่างมากมาย จนบางทีกลับหัวกลับหางกัน ถ้านักแปลไม่รู้เรื่อง syntax กับ sentence structure ต่อให้รู้คำศัพท์ทุกคำในประโยคที่จะแปล เขาก็ไม่มีทางแปลมันได้อย่างเป็นธรรมชาติ

ดังนั้น วิธีการเรียนการสอนการแปลที่ดีที่สุดก็คือ

"สอนให้ผู้เรียนคิดได้เองว่า จะเรียนการแปลด้วยตัวเอง ได้อย่างไร...นั่นก็คือ สอนให้ค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ (ในเรื่องที่กำลังจะแปล และค้นข้อมูลเพื่อการเรียนรู้เรื่องอื่นๆในอนาคต) ได้ด้วยตนเอง (สอนให้นักศึกษาจับปลาได้ด้วยตนเอง แทนที่จะมาแปลให้ดู) ยังไงล่ะ..."

ถ้าต้องการเรียนการแปลขั้นสูง เราต้องไม่อ่านตำรา และไม่ไปเรียนการแปล หากแต่ว่า "เราจะต้องคิดตำราขึ้นมาเอง" เหมือนๆกับที่ศิษย์สำนักวรยุทธ์ถูกอาจารย์ปฏิเสธที่จะสอนท่าเพลงระดับสูงให้ ศึษย์จึงต้องลงมือค้นคิดกระบวนท่าเพลงขึ้นมาเอง

ความรู้ elementary logic ใช้สร้างคัมภีร์การแปลขึ้นได้เอง ดังเช่น ในวิชาEuclidean geometry ถ้าเราต้องการพิสูจน์ทฤษฎีอะไรบางอย่างว่าเป็นจริงหรือไม่นั้น บางทีเราจะตั้งสมมุติฐานขึ้นมาว่ามันเป็นจริง แล้วก็มองดูว่า เมื่อมันเป็นจริง เราจะได้อะไรบ้าง

เราลองมา apply Euclidean geometry to translation กัน

เราตั้งสมมุติฐานว่า "ตอนนี้เราแปลเก่ง" คุณสมบัติของคนแปลเก่งน่าจะเหมือนใคร?

ตอบ

น่าจะเหมือน

1. ลูกครึ่ง

2. คนที่เก่งภาษาที่หนึ่ง แล้วเรียนภาษาที่สองจากพรแสวง จนกลายเป็นพรสวรรค์ แล้วกลายเป็น bilingual ใน 2 ภาษานี้

นี่เป็น restatement of the unknown นั่นก็คือว่า unknown (หรือ what's required to be done) เมื่อแรกเริ่มนั้นคือ

"ทำอย่างไรจึงจะแปลเก่ง"

restatement ของมันก็คือ

"ทำอย่างไรจึงจะเป็น bilingual ได้เหมือนๆ กรณี 1. กับ 2. ที่ยกตัวอย่างให้ดูจากการตั้งสมมุติฐานคล้ายๆ ในวิชา Euclidean geometry นั่นเอง"

หลังจาก restatement แล้ว กระบวนการในขั้นต่อๆไปก็คือ พยายามตรวจสอบ conditions คือเงื่อนไขของโจทย์ นั่นเอง เช่น ตรวจสอบทักษะทางด้านภาษาของเราว่าต่างจากพวก bilinguals มากน้อยแค่ไหน ข้อแตกต่างเหล่านี้ เราเรียกมันว่า gaps แล้วเราก็ต้อง จัดการกับ gaps เหล่านี้ นั่นเอง โดยการตรวจสอบว่า เราจะเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนต่างๆได้อย่างไร ให้เป็น bilingual ได้ในที่สุด...

จากนี้ไปเรากำลังจะเขียนตำราการแปล

ประสบการณ์ต่างๆในชีวิต แม้กระทั่งเรื่องราวในนิยาย ก็เอามาใช้สอนการแปลให้แก่ตนเองได้ เช่น

เราอ่าน wuxia (นิยายเกี่ยวกับนักวรยุทธ์ = นิยายกำลังภายใน) เรื่องหนึ่ง ยอดฝีมือท่านหนึ่งต้องการสอนศิษย์ ที่เป็นเด็กอายุ 12 ขวบ 2 คน ยอดฝีมือพาศิษย์ทั้ง 2 ไปนั่งริมแม่น้ำ แล้วบอกศิษย์ว่า

"พวกเจ้าจงศึกษาแม่น้ำสายนี้ 1 วัน แล้วตอบคำถามข้าว่า เราจะเรียนเพลงยุทธ์จากแม่น้ำได้อย่างไร"

พอสิ้นวันยอดฝีมือกลับไปทวงคำตอบจากศิษย์ 2 คน ศิษย์คนหนึ่งมืดแปดด้าน อีกคนหนึ่งตอบว่า

"กระแสน้ำมีลักษณะพิเศษคือ มันไหลต่อเนื่องไปตามธรรมชาติ เพลงยุทธ์ชั้นสูงควรมีความต่อเนื่องดุจดั่งกระแสน้ำ หากแต่ว่ามนุษย์ปุถุชนธรรมดาๆ (ที่ยังไม่ได้เป็นเซ๊ยน) นั้น จะฝึกปรือไป ก็คง "ได้เพลงยุทธ์ที่เกือบๆจะต่อเนื่อง แต่คงไม่เลิศเลอ perfect ระดับเซียน" ดังนั้น เราสามารถสลายเพลงยุทธ์ของเขาได้ โดยการจู่โจมไปตรงที่จุดอ่อนบางแห่งของเขานั่นเอง"

ในการแปลนั้น กระแสความคิดจะต้องไหลต่อเนื่องเหมือนกระแสน้ำ และจะต้องเป็นความคิดที่พลิกแพลง และสร้างสรรค์ ถ้ามันไม่ต่อเนื่องเหมือนเพลงกระบี่ของสำนัก Wudang ถ้ามันไม่เป็นเหมือนกระแสน้ำที่ไหลอย่างต่อเนื่อง หรือไม่เป็นม่านกระบี่ที่คลอบคลุมร่างกายนั้น เราก็จะต้องดูว่า มี input พอเพียงหรือไม่ เพราะถ้ามี input ไม่พอ เราก็ไม่มี output ที่ต่อเนื่องได้

แต่ความต่อเนื่องนั้นไซร์ หากขับเคลื่อนด้วยพลังกล้ามเนี้อ มันก็ไม่ต่างกับพ่อค้าหมูคว้ามีดปังตอมาสับหมู แต่มันไม่ใช่เพลงกระบี่ชั้นสูงของสำนัก Wudang อย่างแน่นอน

"เพลงกระบี้ชั้นสูงจะต้องขับเคลื่อนด้วย willpower"

และในทำนองเดียวกัน นักแปลระดับเซียน จะต้องขับเคลื่อนกระแสความคิดอันสร้างสรรค์ด้วย wilpower

แนวคิดเหล่านี้มี association คือความเกี่ยวเนื่องกับเรื่องอะไรอีกหลายๆอย่าง ...เช่นคนสมองทื่อๆ จะหายใจด้วยคอ แต่ปราชญ์จะหายใจด้วยท้องส่วนล่าง

ดังนั้น การคิดค้นเพลงยุทธ์ หรือคิดค้นศาสตร์และศิลป์แห่งการแปลได้ด้วยตนเอง ซึ่งต่อยอดมาจากการเรียนรู้ทักษะทางด้านภาษาได้ด้วยตนเอง นั้น

"ควรเริ่มต้นด้วยการฝึกพลังลมปราณ เป็นลำดับแรก ไม่ใช่ไปเรียนภาษาที่....(ไม่อยากเอ่ยชื่อสถานที่ เดี๋ยวทะเลาะกับหน้าม้า...555+++...)...."

input ที่เราได้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวนั้น บางทีดูเหมือน irrelevant แต่ถ้า “คิดให้ลึกๆ บางทีเอามาใช้ประโยชน์ได้”

ยกตัวอย่างเช่น สมัยอยู่ในวัยเรียน เราชอบหนีเรียนไปเล่นหมากรุกสากล แต่ทักษะหมากรุกนี้เอามาใช้สอนการแปลให้แก่ตนเองได้ โดยที่เราไม่เคยเรียนทางด้านภาษามา (เรียนด้านคอมพิวเตอร์มาเมื่อสมัยคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่เต็มห้อง)

เราชอบอ่านหนังสือหมากรุก แล้วเคยอ่านหนังสือที่ Mikhail Botvinnik ซึ่งเป็น chess grandmaster ชาวรัสเซีย ซึ่งเป็น programmer เขียนไว้ เราเห็น flowchart ที่เขาเขียนขึ้นเพื่อพยายามสอนคอมพิวเตอร์ให้เล่นหมากรุก

อีกหลายปีต่อมาเราใช้ flowchart อันนั้นสอนการแปลให้กับตัวเราเอง...โดยอาศัยความรู้เรื่อง probability ในระดับพื้นฐานเท่านั้นเอง (ซึ่งเราเรียนรู้มาจากการเป็นผู้จัดการบ่อนการพนัน...ประสบการณ์ทุกอย่างในชีวิตเอามาใช้สอนการแปล ให้ตนเองได้) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน

จะคำนวณการเดินหมากรุกเทียบกับการหาทางหนีที่ไล่ในการแปล ให้ดู

ในการเดินหมากรุกฝรั่งตาแรกนั้น ผู้เล่นหมากขาวจะเดินก่อน และจะมีทางเลือกได้ 20 ทาง เพราะว่า pawn แต่ละตัว (ในการเดินครั้งแรกของมัน แต่ละตัว) เดิน 1 หรือ 2 squares ก็ได้ ม้าแต่ละตัวเดินได้ 2 ทาง ไปซ้าย หรือไปขวาก็ได้ รวม (2 x 8) + (2 x2) = 20 ความเป็นไปได้ และผู้เล่นหมากดำก็จะโต้ตอบมาได้ 20 ทางเท่าๆกัน

ดังนั้น ความน่าจะเป็นไปได้ของการเดินหมาก 1 ตาแรกของผู้เล่นทั้งสองคน ก็จะคำนวณออกมาได้เป็น 20 x 20 เท่ากับ 400 ความเป็นไปได้

แต่นั้นมันเป็นแค่ตาเดินแรกๆ แต่เมื่อเดินหมากไปเรื่อยๆการคำนวณมันกลายเป็นซับซ้อนกว่านั้นอีกหลายเท่า จนถึงขั้น incalculable ทั้งนี้ เนื่องจาก conditions (เงื่อนไขของโจทย์) นั่นเอง นั้นก็เพราะว่า

We must satisfy many conditions.

ตัวเลขความน่าจะเป็นไปได้ จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายประการเช่น การเดินหมากบางวิธี มัน “ฝ่าฝืนกฎกติกา” (illegal moves) ดังนั้น เราก็จะต้องนำจำนวน illegal moves มาหักออกจากจำนวนตัวเลขที่เราคำนวณไว้ได้

คราวนี้เราจะสาธิตให้ดูว่า เราจะแปลงแนวคิดเรื่องหมากรุก ให้กลายเป็นตำราการแปลชั้นสูงได้อย่างไร?

สมมุติว่าเราจะแปลประโยคๆหนึ่ง เช่น

และใน source text มี word1 word2 word3 word4 word5……wordn

สมมุติว่า ใน target text คำแปลของ

word1 มีคำแปล 10 ความเป็นไปได้

word2 มีคำแปล 15 ความเป็นไปได้

word3 มีคำแปล 7 ความเป็นไปได้

word4 มีคำแปล 13 ความเป็นไปได้

word5 มีคำแปล 5 ความเป็นไปได้

การนำคำแปลมาวางเรียงสลับไปสลับมาใน target text ดูเผินๆราวกับว่าจะได้ permutations

10 x 15 x 7 x 13 x 5 ความเป็นไปได้ แต่จริงๆแล้ว “มันไม่ใช่”

นั่นก็เพราะว่า

We must satisfy all conditions!

ยกตัวอย่างเช่น ในการแปลจริงๆนั้น

1. คำบางคำ ก็ละไว้ (คือไม่แปล)

2. คำบางคำ ทีแรกไม่มีใน source text ก็ต้องใส่ไปเพิ่ม เพื่อความชัดเจนใน target text

3. คำคำเดียวสือความไม่ได้ แต่ต้องใช้รวมกันเป็นกลุ่มคำ จึงจะสื่อความได้ เช่น collocation ในภาษาอังกฤษ (อันนี้จะทำให้การคำนวณซ้บซ้อนยิ่งขึ้น)

4. permutations ของประโยค บาง permutations มันผิด grammar ใน target text ซึ่งอันนี้เราบัญญัติศัพท์ของเราเองขึ้นมาว่า syntactic restrictions

5. permutations ของประโยค บาง permutations มันสื่อความหมายผิดไปจากเจตนารมย์ของผู้เขียน source text ซึ่งอันนี้เราบัญญัติศัพท์ของเราเองขึ้นมาว่า semantic restrictions

....และอื่นๆอีกมากมายหลายข้อที่จะต้องพิจารณาว่าเป็น conditions which must be satisfied

ดังนั้น จำนวน permutations ของประโยคใน target text ถ้าคำนวณ “ในระดับปัญญาอ่อน” อย่างที่เราสาธิตให้เห็นทฤษฎีการแปลที่คิดได้จากการหนีเรียนไปเล่นหมากรุกนี้ ในการคิด permutations ใน target text นี้

ในแต่ละ term (แต่ละคำ) ใน expression (นิพจน์) จะต้องมี การเพิ่มเข้าไป หรือ ลบออกไป ตามเงื่อนไขต่างๆดังกล่าว ก่อนที่จะคำนวณจำนวน permutations ออกมาได้โดยไม่มี logical flaws

ซึ่งจริงๆแล้วแนวคิดในการคำนวณดังกล่าวข้างต้นของเรา มันก็ยังมี flaws อยู่อีกหลายๆแห่งที่จะต้องแก้ไข

เมื่อแก้ไข flaws ทั้งหมดได้ ...สมมุติว่าแก้ไขได้...เทคนิคอีกอย่างหนึ่งของ the art of problem solving นั่นก็คือ drop certain conditions at certain stages แล้วค่อยกลับมา satisfy all conditions ในภายหลัง.... เราจะพิสูจน์ได้ว่า กว่าจะเรียนทักษะการแปลจนครอบคลุมความรู้ทั้งหมดเพื่อที่จะแปลให้ได้ดีในระดับเทพนั้น

ทำให้การสอนการแปลแบบอ่านตำราเล่มใดเล่มหนึ่ง หรือแม้กระทั่งอาจารย์ เอา passages หลายๆ passages หรือเอาหนังสือหลายๆเล่ม มาให้นักศึกษาแปล แล้วอาจารย์เฉลยนั้น มันก็ยังไม่ไม่ครอบคลุมการแปลทุกประเภทได้เลย! ดังนั้น วิธีสอนการแปลที่ดีที่สุด ก็คือสอนให้ผู้เรียนสอนตัวเองได้ว่าจะแปลอย่างไร

การที่จะค้นคิดศาสตร์และศิลป์แห่งการแปลชั้นสูงขึ้นมาได้นั้น เราจะต้องใช้วิธีคิดที่พลิกแพลง ซึ่งคนอื่นๆไม่เคยคิด เราต้องใช้ cells สมองส่วนที่คนอื่นๆ ไม่เคยใช้ (แต่คนบ้า ที่เรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ไม่โง่ ใช้คิดได้)

วิธีการพลิกแพลงก็มี ดังเช่น

1. ใช้วิชา parapsychology เช่น ใช้ telepathy หรือ esp หรือ clairvoyance สื่อสารกับจิต และ/หรือวิญญาณของผู้เขียน source text (ไม่ว่าเขาหรือเธอหรือครึ่งเขาครึ่งเธอ (กรณีเป็นเพศที่ 3 ที่ 4 หรือไม่มีเพศ) จะอยู่ในภพนี้หรือภพอื่น) นักแปลจะได้ตีความได้ง่ายๆว่าผู้เขียนต้องการจะสื่ออะไร

2. ใช้วิชา psychohistory แบบที่ Isaac Asimov เขียนไว้ในนิยาย (บอกแล้วว่า แม้กระทั่งเรื่องราวในนิยายก็นำมาใช้สอนการแปลให้กับตัวเองได้) มาคำนวณว่า ในอีก ประมาณ 200 ปีข้างหน้า ผู้เขียน source text (สมมุติว่าเป็นคนไทย) ไว้ เป็นหนังสือภาษาไทย จะไปเกิดใหม่เป็นฝรั่งชาวอังกฤษ เราจะต้องมองทะลุเวลา แล้วได้ยินเสียงเขาพูด และเห็นตัวหนังสือที่เขาเขียนเป็นภาษาอังกฤษ เราจะได้รู้คำแปลได้โดยไม่ต้องออกแรงเรียนภาษาอังกฤษมากมายนัก

3. นั่นก็หมายความว่าเราจะต้องศึกษาในเรื่อง time travel คือเดินทางผ่านเวลาในมิติต่างๆ ไปสู่ภพต่างๆ นั่นเอง

4. ฝึก photographic memory เพื่อที่จะได้จำศัพท์ได้มากๆ และจำ syntax และ sentence structure types ได้มากๆภายในพริบตาเดียว

5. อีกวิธีหนึ่งนั่นก็คือพยายามคิดค้นระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมาซึ่งแทนที่จะควบคุมการทำงานจากระยะไกลได้ด้วย computer devices, programs หรืออะไรเช่นนั้น แต่กลับให้ควบคุมได้ด้วย esp (extrasensory perception) นั่นก็คือเราใช้พลังจิตสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจากระยะไกล

หากทำเช่นนี้ได้ ตัวเราเองก็จะกลายเป็น walking dictionary/encyclopedia ไปได้ เพราะว่าเราใช้พลังจิตสื่อสารกับระบบคอมพิวเตอร์ที่มี dictionaries และ encyclopedias ที่เป็น software หลายๆชุด ติดตั้งอยู่ และเราค้นข้อมูลจาก google ได้ด้วย esp นั่นก็คือสื่อสารกับ computer network ที่ต่อกับเน็ตความเร็วสูงได้จากระยะไกล

ศาสตร์เหล่านี้ ดูเหมือนเกินขีดความสามารถของมนุษย์ แต่ถ้าเราฝึกสมาธิในระดับสูงๆเพื่อการสื่อสารกับพลังจักรวาล ที่บางศาสนาเรียกว่าเป็นพระผู้เป็นเจ้า หรือองค์เทวา หรือองค์เทวีต่างๆ ได้สำเร็จ เราก็จะได้ instant knowledge ขึ้นมาไวๆเหมือนชื่อบะหมี่

Nothing is impossible. There are no miracles; they are only unknown laws.

ที่เขียนมาเคร่าๆนี้ ไม่รู้ว่า พอจะเป็นหลักสูตรการแปลชั้นสูงได้หรือไม่?

I’m not sure. At least I have tried my best.

เขียนมายืดยาว สรุปได้สั้นๆแค่ ไม่กี่ บรรทัดเองคือ

1. วิธีสอนการแปลที่ดีที่สุด ไม่ใช่สอนคำศัพท์ให้ผู้เรียนวันละคำสองคำ แต่เป็นการสอนให้ผู้เรียนคิดเองเป็นว่าจะเรียนการแปลได้ด้วยตนเองอย่างไร

2. ประสบการณ์ทุกอย่างในชีวิต นำมาใช้สอนการแปลให้ตนเองได้ เช่นกรณีของเรา คือ หนังสือกำลังภายใน หนังสือ science fiction และเกมหมากรุก และประสบการณ์ในการทำงานเป็นผู้จัดการบ่อนการพนัน (ทำให้คำนวณ probability เป็น)

3. ใครก็ตามที่รู้ข้อ 1. กับ 2. ก็เรียนการแปลได้ด้วยตนเอง

เรียนแบบเราตอนจบอาจลงเอยต้องเปลี่ยนอาชีพจากนักแปลไปเป็นหมอดูเหมือนเราบ้างก็ได้นะ ...555++...




Create Date : 04 มิถุนายน 2555
Last Update : 14 สิงหาคม 2555 14:05:50 น. 9 comments
Counter : 6026 Pageviews.

 
ว้าว!


โดย: ม่วนน้อย วันที่: 6 มิถุนายน 2555 เวลา:9:13:43 น.  

 
ขอบคุณคุณfortuneteller มากค่ะที่เขียนบทความที่ให้ความรู้ และก็ช่วยให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษในหลายๆกระทู้ ชอบมากค่ะ ได้รับความรู้มากมายค่ะ ขอบคุณในความช่วยเหลือจริงๆคะ :)


โดย: วี IP: 101.108.142.41 วันที่: 16 สิงหาคม 2555 เวลา:21:18:29 น.  

 
สุดยอดเลยครับ พรุ่งนี้มจะเอาไปใช้สอบ กพ 5555 XD


โดย: Natjoke IP: 27.131.188.90 วันที่: 27 ตุลาคม 2555 เวลา:5:19:41 น.  

 
เข้ามาโดยบังเอิญ ได้ความรู้มากมาย
เชียนมาให้อ่านอีกเยอะๆ นะคะ


โดย: P.. IP: 58.11.179.203 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2555 เวลา:13:49:35 น.  

 
ขอบคุณค่ะคุณ fortune teller
ตอนนี้ เรียน Translation 1 ค่ะ
L1 interferes L2 aquisition ค่อนมากค่ะ
แปลไทย-อิ้ง อิ้ง-ไทย เนี่ย ยากเหมือนกันคะ
ชอบแปลอิ้งแบบไทยๆ ได้ภาษาไม่สวย บวกก่งก๊ง 55
ขอบคุณมากๆค่ะ สำหรับความรู้ดีๆ


โดย: indiiz kiijenz (Indiiz Kiijenz ) วันที่: 10 ธันวาคม 2555 เวลา:0:18:08 น.  

 
เจ๋งว่ะ


โดย: ่่่jackuss27 IP: 101.109.207.52 วันที่: 9 มกราคม 2556 เวลา:12:46:56 น.  

 
อยากทราบว่ารับแปลเกี่ยวกับเครื่องจักรไหมคะ

ถ้ารับ รบกวนติดต่อกลับอีเมล pun_siri@yahoo.com ค่ะ



โดย: pun IP: 180.183.42.130 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:0:34:51 น.  

 
อยากทราบว่ารับแปลบทความวิชาการทางการแพทย์ไหมคะ
ถ้ารับรบกวนติดต่อกลับ sirikarn_sweet@hotmail.com


โดย: Waanp IP: 203.144.162.190 วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:14:54:39 น.  

 
ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ดีๆมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ขอคารวะ1จอกนะคะ


โดย: Jojo ruji IP: 192.99.14.36 วันที่: 16 มิถุนายน 2558 เวลา:3:04:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

fortuneteller
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 74 คน [?]




Group Blog
 
 
มิถุนายน 2555
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
4 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add fortuneteller's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.