มีนาคม 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
 
บัวหิมะคืออะไร มีกี่แบบ ที่เราเรียกกัน
เคยหาเจอจากเว็บหนึ่ง เกี่ยวกับบัวหิมะ ที่เรียกกันแต่ละแบบคะ จำที่มาเว็บไม่ได้แล้ว ลองอ่านแล้วศึกษากันนะคะ

หลาย ท่านเข้าใจผิดคิดว่าบัวหิมะ เป็นบัวชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ตามหนองน้ำ บึง หรือสระน้ำในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นและมีหิมะปกคลุมอยู่ แท้จริงแล้วบัวหิมะไม่ใช่พืชกลุ่มบัว เพราะพืชที่อยู่ในกลุ่มบัวจริง ๆ มี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ บัวหลวงซึ่งอยู่ในวงศ์ Nelumbonaceae ส่วนบัวสายอยู่ในวงศ์ Nymphaeaceae

สำหรับบัวหิมะเป็นอะไรแน่ ขอแยกแยะจากการนำมาใช้หรือที่คนไทยนิยมนำมาใช้ ซึ่งพอจะแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ

รูปแบบที่ 1 บัวหิมะที่เป็นครีมสีขาวเหลือบมุก ครีมชนิดนี้มีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า “เป่า ฟู่ หลิง” (Bao Fu Ling) เข้าใจว่าคนแรก ๆ ที่เห็นชื่อนี้สะกดในภาษาอังกฤษว่า “Bao” จึงออกเสียงเรียกในภาษาไทยว่า “บัว” และเนื่องจากเนื้อครีมมีสีขาวจึงเรียกเป็นภาษาไทยว่า “บัวหิมะ” ทั้ง ๆ ที่ส่วนประกอบไม่ได้มีบัว หรือพืชที่เรียกว่าบัวหิมะจริง ๆ เป็นส่วนผสมอยู่เลย ครีมที่เรียกว่าบัวหิมะนี้มีส่วนผสมของผงไข่มุก โสม นิ่วในถุงน้ำดีวัว ชะมดเช็ด ว่านหางจระเข้ การบูร วาสลีน โดยเฉพาะโสม ต้องเป็นโสมป่า มีสรรพคุณในการรักษาบาดแผลต่าง ๆ โดยเฉพาะแผลไฟไหม้ บัวหิมะชนิดครีมสีขาวนี้โด่งดังในไทยครั้งแรก เมื่อมีเหตุการณ์การกระเบิดของรถบรรทุกแก๊สที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่เมื่อในปี 2533 และมีหมอยาจีนยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บจากการถูกไฟลวก โดยการใช้ครีมบัวหิมะรักษา โชดดีที่ช่วงสงกรานต์รถแก๊สคันโตไม่ระเบิดไม่เช่นนั้นยังสงสัยอยู่ว่า บัวหิมะจะเอาอยู่หรือไม่ ?


รูปแบบที่ 2 บัวหิมะเป็นพืชแต่อยู่ในวงศ์ Compositae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับต้นหนาด เนื่องจากมีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Snow lotus ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยจึงมีการแปลแบบตรงตัวว่า “บัวหิมะ” พืชต้นนี้มีกลีบรองดอกที่ห่อหุ้มตัวดอกอยู่มีรูปร่างคล้ายกลีบบัว จึงเรียกชื่อภาษาอังกฤษว่า lotus หรือบัวนั่นเอง พืชชนิดนี้มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saussurea involucrata เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ในที่สูงกว่า 2,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ส่วนแพทย์แผนจีนใช้ส่วนของดอกและลำต้นในการรักษาโรคไขข้อ และอาการไอเนื่องมาจากร่างกายถูกกระทบจากความหนาวเย็น แก้โรคกระเพาะ ท้องเดิน และโรคที่เกิดเนื่องจากอยู่ในที่สูง นอกจากนี้พบว่ายังมีการใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ยาทำแท้ง ยาต่อต้านมะเร็งและยาต่อต้านการปวดเมื่อย
จากการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่าสมุนไพรชนิดนี้เมื่อสกัดโดยใช้แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบันชื่อ อินโดเมทาซิน (indomethacin) ซึ่งใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้ปวดและบวม จึงเห็นได้ว่า ครีมบัวหิมะที่ใช้ทารักษาบาดแผลจากไฟไหม้ไม่ได้มีส่วนผสมของสมุนไพรชนิดนี้ อยู่เลย อย่างไรก็ตามพืชชนิดนี้มีการนำมาใช้กันมากในยาแผนโบราณ ทำให้บัวหิมะชนิดนี้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ในขณะนี้ทางรัฐบาลจีนจึงมีการจำกัดการใช้และอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อเพาะ เลี้ยงขยายพันธุ์ในห้องปฎิบัติการ 



รูปแบบที่ 3 บัวหิมะชนิดที่ไม่ได้เป็นพืช ที่เราเรียกว่า Kifer แต่เป็นจุลินทรีย์ในกลุ่มแบคทีเรียและยีสต์ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เกาะเกี่ยวกันด้วยโปรตีน ไขมันและน้ำตาล ทำให้มีรูปร่างเป็นเม็ดหลาย ๆ เม็ดมารวมตัวกันจนมีรูปร่างหน้าตาเหมือนดอกกล่ำ บัวหิมะชนิดนี้บางที่เรียกว่า “บัวหิมะธิเบต” ซึ่งใช้ในการผลิตนมเปรี้ยว ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม โดยการนำนมแพะมาใส่ไว้ในถุงที่ทำมาจากกระเพาะสัตว์ แล้วใส่เม็ดบัวหิมะลงไป นำไปแขวนไว้ที่ประตูหน้าบ้าน พอคนเดินเข้าออกหัวก็จะไปชนถุงนมนี้ เหมือนเป็นการเขย่าทำให้เม็ดบัวหิมะผสมกับนมได้เป็นอย่างดีจนกลายเป็นนม เปรี้ยว ใช้ดื่มเป็นอาหารสุขภาพ
ใน ปัจจุบันนิยมดื่มนมเปรี้ยวกันมาก แต่นมเปรี้ยวทั่วไปยังมีแอลกอฮอล์เกิดขึ้นด้วย ประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ แต่นมเปรี้ยวที่ทำจากเม็ดบัวหิมะจะมีรสเปรี้ยวและซ่าเพราะมีคาร์บอนเนตเกิด ขึ้นในระหว่างการหมัก และนมเปรี้ยวที่ผลิตจากเม็ดบัวหิมะมีแอลกอฮอล์ผสมไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องมาจากเวลาน้อยกว่าในการหมักนม



*****บทความที่แปลมาจากภาษาอังกฤษ*****
โยเกิร์ตบัวหิมะหรือคีเฟอร์ (kefir) เป็นผลิตภัณฑ์นมหมักชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโยเกิร์ต แต่แตกต่างกันตรงหัวเชื้อที่ใช้ในการหมัก กล่าวคือในการหมักโยเกิร์ตนั้นจะใช้แบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลคติกเป็นหัวเชื้อในการหมัก เช่น Lactobacillus แต่คีเฟอร์จะใช้หัวเชื้อที่มีลักษณะพิเศษ เป็นก้อนเหนียวยืดหยุ่น มีสีครีม คล้ายดอกกะหล่ำ เรียกว่า kefir grain

ภายในจะมีจุลินทรีย์จําพวกแบคทีเรียหลากหลายชนิด ซึ่งมีกิจกรรมทางเอนไซม์ในการหมักย่อยโปรตีนและน้ำตาลในนมให้เป็นกรดหลายชนิด และยังมีเชื้อราจําพวกยีสต์ปนอยู่ด้วยซึ่งจะช่วยหมักย่อยน้ำตาลในนมให้เป็นแอลกอฮอล์ (0.08-2% เมื่อมีการหมักประมาณ 24 ชม.) และสารให้กลิ่น (acetaldehyde) ทําให้ kefir มีกลิ่นเฉพาะตัวซึ่งมีกลิ่นคล้ายการหมักที่เกิดจากยีสต์ที่ต่างจากโยเกิร์ตทั่วไป

การอยู่ร่วมกันของแบคทีเรียและยีสต์ใน kefir grain นั้นจะมีการเอื้อประโยชน์ในแง่ของสารอาหาร ซึ่งกันและกันรวมทั้งยังช่วยกันผลิตสารต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิดอื่นซึ่งทําให้นมบูด ปัจจุบันในการทําคีเฟอร์ทําได้ง่ายๆ ที่บ้านได้โดยใช้นม โดยนํามาผสมกับหัวเชื้อคีเฟอร์ (kefir) แล้วบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง จะได้นมหมักคีเฟอร์ที่มีลักษณะข้นมีรสเปรี้ยวเรียกว่า curd และมักมีกลิ่นเฉพาะตัว รสเปรี้ยวดังกล่าวเกิดจากกิจกรรมทางเอนไซม์ของเชื้อ และผลิตกรดต่างๆ ออกมา เช่น กรดมะนาว (Citric acid), กรดแลคติก (Lactic acid) และกรดมะขาม (Tartaric acid) เป็นต้น

จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่าในคีเฟอร์อุดมสมบูรณ์ไปด้วยโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น - ทริปโตเฟน (Triptophan) ช่วยในการทํางานของระบบประสาท แคลเซียม และแมกนีเซียม - ฟอสฟอรัส ช่วยในการเผาผลาญสารอาหารพวกน้ำตาล, ไขมัน และโปรตีน เพื่อให้ได้พลังงานไปใช้ในการเจริญเติบโตของเซลล์ - มีวิตามิน B1, B12 และวิตามิน K ซึ่งช่วยให้การทํางานของตับ, ไต, ระบบประสาท และผิวพรรณสดชื่น การดื่มคีเฟอร์ ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยมีการทดลองใช้กับผู้ป่วยเอดส์, เริม, มะเร็ง และพบว่ามีอาการดีขึ้น แต่ยังไม่เป็นผลแน่ชัด รวมทั้งยังช่วยลดอาการเครียดหรือปัญหาการนอนไม่หลับอีกด้วย

มีรายงานว่าคนที่ดื่มคีเฟอร์เข้าไปแล้วจะทําให้ระบบการขับถ่ายดี ลําไส้บีบตัวได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทําให้มีสุขภาพดีขึ้น นอกจากการหมักคีเฟอร์เพื่อดื่มแล้ว ยังมีการทดสอบนําไปใช้ในด้านอื่นๆ อีกด้วย เช่น การนํามาใช้ในด้านเครื่องสําอางค์ ได้มีการยืนยันในผู้ที่ทดลองใช้คีเฟอร์เป็นเครื่องสําอางค์ทาบนใบหน้าแล้วพบว่า ช่วยขจัดปัญหาของสิวอักเสบ รวมทั้งช่วยกระชับรูขุมขนบนใบหน้าให้ดีขึ้น ทําให้ใบหน้าเต่งตึงดูอ่อนเยาว์ยิ่งขึ้น



Create Date : 25 มีนาคม 2554
Last Update : 18 ธันวาคม 2555 14:17:47 น.
Counter : 2962 Pageviews.

2 comments
  
สรุปแล้วมีประโยชน์ทั้ง 3 แบบเลยนะค่ะ ดีจังเลยค่ะ
โดย: Roseshadow วันที่: 25 มีนาคม 2554 เวลา:22:57:35 น.
  
คะมีประโยชน์ทั้ง 3 แบบคะ แต่โดยส่วนตัวแล้วเจี๊ยบ เลี้ยงแบบที่ 3 คะที่เรียกว่า kifer คะ ตามจริงจะมีอีกแบบคะ หาข้อมูลแล้วจะมาลงให้นะคะ บัวหิมะที่ทานเป็นเหมือนผลไม้คะ เป็นหัวอยู่ในดิน คะ

ยังไงจะหามาลงเพิ่มให้อ่าน ให้ศึกษากันนะคะ
โดย: fillforfull วันที่: 26 มีนาคม 2554 เวลา:0:28:44 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

funnyyammy
Location :
นครสวรรค์  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ทำมาค้าขาย ยามว่างก็นั่งอัพบล๊อค ปกติก็ทำงานประจำของบริษัทฯ ยังไงก็พูดคุยกันได้น๊ะจ๊ะ