“พิพิธภัณฑ์ซับจำปา” สร้างแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ ต่อยอดสู่แหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน



มิวเซียมสยามจับมือ อบต.ซับจำปา พัฒนา “พิพิธภัณฑ์ซับจำปา” เป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล พร้อมต่อยอดรวมพลังภาคประชาชนพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างรายได้และสร้างความภาคภูมิใจให้คนในท้องถิ่น

“ซับจำปา” เป็นเมืองโบราณในยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องถึงยุคทวารวดีที่ถูกค้นพบนานกว่าครึ่งทศวรรษ อยู่ในเขตหมู่ที่ 7 ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ ประมาณ 350 ไร่ สิ่งที่อยู่คู่กับเมืองโบราณซับจำปา คือ “ป่าจำปีสิรินธร” ตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของเมืองโบราณซับจำปาเป็นป่าพุน้ำจืดที่มีน้ำท่วมขังและน้ำซับตลอดปี โดยค้นพบพรรณไม้จำปีชนิดใหม่ ที่มีขึ้นอยู่ในประเทศไทยเท่านั้นโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามาภิไธยเป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดนี้ว่า “จำปีสิรินธร”

เมืองโบราณซับจำปามีทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชุมชนและพันธุ์ไม้อันมีคุณค่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญยิ่งมิวเซียมสยามจึงร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปา ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนา “พิพิธภัณฑ์ซับจำปา”ให้กลายเป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ตามแนวคิดและปรัชญาของมิวเซียมสยามนอกเหนือไปจากการเก็บรวบรวมข้อมูลและโบราณวัตถุเพื่อการศึกษา และเพื่อแสดงถึงความภาคภูมิใจของท้องถิ่น

นายราเมศพรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) กล่าวว่ามิวเซียมสยามมีพันธกิจสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนและสร้างร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ทั่วประเทศเพื่อยกระดับมาตรฐานการจัดตั้งและการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ของประเทศไทยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลโดยร่วมมือกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในภูมิภาคนั้นๆในลักษณะการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU ) ปัจจุบัน มิวเซียมสยามมีต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ที่ดเนินการพัฒนาร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์แล้วจนวน4 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์แมลงสยามจังหวัดเชียงใหม่,พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวจังหวัดภูเก็ต, พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวีจังหวัดพิษณุโลก และ พิพิธภัณฑ์ซับจปา จังหวัดลพบุรี

“ปี2556 มิวเซียมสยามได้ร่วมกับอบต.ซับจำปาพัฒนาให้เป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้และได้ทดลองเปิดให้บริการโดยไม่เก็บค่าบริการแก่เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นสถาบันการศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจทั่วไปได้เข้าชมต่อมาในปี 2557 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันและเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ซับจปาในวันที่ 15ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมามิวเซียมสยามหวังเป็นอย่างยิ่งว่าพิพิธภัณฑ์ซับปาจะเป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ตามแนวคิดและปรัชญาของมิวเซียมสยาม อีกแห่งหนึ่งที่จะสามารถสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับชุมชนและท้องถิ่นรวมถึงยกระดับไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน”

อาจารย์ภูธร ภูมะธน นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์กล่าวว่าคุณค่าของซับจำปามีอยู่ 4 ประการ คือ หนึ่ง เมืองโบราณซับจำปาในยุคทวาราวดีมีอายุอย่างน้อย 1,500 ปี คุณค่าอย่างที่สอง คือป่าจำปีสิรินธรเป็นพันธุ์ไม้จำปีที่แตกต่างจากพันธุ์จำปีที่เกิดที่อื่นมีพื้นทีเกือบ 100 ไร่ คุณค่าประการที่สาม คือบริเวณรอบๆมีแหล่งโบราณสถานหลายแห่งที่อายุเก่าแก่มากกว่า 3,000 ปี

“เมื่อมีชมรมรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปีสิรินธรจึงมีความคิดในการขอบริจาคสิ่งที่ชาวบ้านพบเพื่อนำมาเก็บเอาไว้และได้สร้างเป็นพิพิธภัณฑ์เล็กๆในท้องถิ่นขึ้นซึ่งถือเป็นความเข้มแข็งของชุมชนที่ร่วมกันก่อให้เกิดแหล่งความรู้ทางสาธารณะขึ้นต่อมา มิวเซียมสยามจึงได้เข้ามาช่วยพัฒนาพิพิธภัณฑ์ให้มีความเป็นสากลยิ่งขึ้นซึ่งการมีพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นนี้จึงนับได้ว่าเป็นคุณค่าอีกประการหนึ่งของซับจำปา"พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดขึ้นมาจากชาวบ้านเป็นความสำเร็จที่เกิดจากข้างล่างไปสู่ข้างบน จากความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่นที่ผนึกกำลังกับราชการคือ มิวเซียมสยามในที่สุดก็ได้พิพิธภัณฑ์ที่มีคุณภาพในชนบทแห่งหนึ่งของประเทศไทยก็ว่าได้"

นายเนตรนรินทร์ คำเรืองบุญ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลซับจำปากล่าวว่าการสร้างพิพิธภัณฑ์ซับจำปาเกิดจากภาคประชาชนหลังจากมีการค้นพบเมืองโบราณซับจำปา ในปี 2513 โดยได้มีการจัดตั้งชมรมรักษ์เมืองโบราณซับจำปาและป่าจำปี
สิรินธร
ขึ้น ต่อมาในปี 2556 ได้รับการคัดเลือกจากมิวเซียมสยามเข้ามาช่วยพัฒนาให้เป็นต้นแบบพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ที่น่าสนใจโดยได้รับการสนับสนุนความรู้และทีมงานในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์
จากมิวเซียมสยาม โดยในระยะยาวจะมีการตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาต่อยอดพิพิธภัณฑ์พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ประชาชนได้ประโยชน์สร้างอาชีพ สร้างรายได้ในพื้นที่ มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

“การร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ ความมุ่งมั่นของประชาชนในพื้นที่ถือว่าเป็นอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่เรามีการประชุมประชาคมหมู่บ้านทั้งหมดเพื่อวางแผนในการพัฒนาต่อยอด โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของถ้าเสร็จสมบูรณ์แล้วก็จะเป็นต้นแบบการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้เป็นความภาคภูมิใจของพี่น้องประชาชนสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นนี้จะมีประชาชนเป็นกำลังหลักในการพัฒนาต่อยอดต่อไป”

ลุงคำ พานทอง อายุ 68 ปีเล่าว่าได้เข้ามาอาศัยอยู่ในซับจำปาเมื่อปี พ.ศ. 2500โดยปลูกกระท่อมอยู่ใกล้กับฐานเจดีย์โดยไม่รู้ว่าเป็นเมืองโบราณ เมื่อแผ้วถางป่าทำไร่จึงเห็นซากเจดีย์และพบโบราณวัตถุจึงได้รวบรวมไว้ เมื่อมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์จึงได้นำมามอบให้เพราะเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ให้เด็กได้เรียนรู้

"ก็รู้สึกดีใจและภูมิใจที่มีพิพิธภัณฑ์เกิดขึ้นในฐานะเป็นคนหนึ่งที่ได้เข้ามาเป็นผู้บุกเบิกที่นี่ คิดว่าแม้ตัวเองจะล้มหายตายจากไปแต่จะยังมีพิพิธภัณฑ์นี้อยู่จึงอยากให้ลูกหลานช่วยกันดูแลรักษาสืบต่อ เพราะจะเป็นประโยชน์ให้เด็กรุ่นหลังได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ต่อไป"

“พิพิธภัณฑ์ซับจำปา”ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลซับจำปา อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี เปิดให้เข้าชมทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันนักขัตฤกษ์)ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูล โทร.036-788-101 หรือ 081-667-7339 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.sub-jumpa.com





Create Date : 12 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2558 11:35:03 น.
Counter : 1165 Pageviews.

1 comments
  
thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 13 พฤศจิกายน 2558 เวลา:3:00:13 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ควายน้อยดีใจได้ไปโรงเรียน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ฉันเขียนภาษาไทย
พฤศจิกายน 2558

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog