Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2552
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
22 พฤษภาคม 2552
 
All Blogs
 

002 EOD คืออะไร

อันนี้เอามาเล่ากันขำๆก่อนสาระว่า ตอนแรกที่รู้จักกับคุณแฟนใหม่ๆคือทราบแค่คุณเธอเป็นทหาร ก็ไม่ได้สนใจอะไรหรอกค่ะ

มาแอบ(เอ๋อ)ก็ตอนonlineคุยกัน ชื่ออีเมล์ของคุณเธอก็ดันเป็น eodxxx@xxxxxxxxx.com แอบปล่อยไอ้โต้งตัวเท่าช้างสิคะ ก็พยายามอ่านอยู่นั่น โอด โอ๊ต เออ มั่วได้เรื่องค่ะ แต่ไม่ยอมถามหรอกค่ะ (เรื่องอะไรจะปล่อยไต๋ว่าเราซื่อบื้อ) จนไปๆมาๆถึงรู้ว่า อ๋อ........มันอ่านว่าอีโอดี (เริ่มฉลาดแล้ว)

แต่ก็น้อยคนค่ะ ที่จะเข้าใจว่า EOD นี่คืออะไร (อาจจะเป็นสัตว์ประหลาดมีหูยาว มีจมูดแดงๆก้ได้นะคะ...เอ้าฮากันไป)



********************

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดาสรรพาวุธระเบิดทั้งหลายมีการใช้ชนวนที่ทำงานอย่างง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการพัฒนาชนวนขึ้นมาใช้ เช่น ชนวนถ่วงเวลา (Long Delay ) และชนวนป้องกันการถอด(Anti-Disturbance) ซึ่งสร้างความสูญเสียให้แก่เจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดของอังกฤษเป็นจำนวนมาก

- พ.ศ. 2483 อังกฤษ ได้จัดตั้งหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (Bomb Disposal) ขึ้นโดยรับอาสาสมัคร จำนวน 46 นาย ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่เก็บกู้และทำงานสรรพาวุธระเบิดจนถึงปี พ.ศ. 2485 โดยมีเจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดรอดอยู่เพียง 8 นาย เท่านั้น เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมการศึกษาเรื่องการทำลายวัตถุระเบิดและระบบชนวนชนิดใหม่มาก่อน

- พ.ศ. 2488 กองทัพเรือสหรัฐ ฯ เห็นความจำเป็นในงานทำลายล้างวัตถุระเบิด จึงได้จัดตั้งโรงเรียนทำลายสรรพาวุธระเบิดขึ้นชื่อว่า “ BOMB DISPOSAL SCHOOL โดยมุ่งศึกษาเฉพาะการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดอากาศ

- พ.ศ. 2491 สหรัฐ ฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยให้มีการฝึก – ศึกษา แก่กำลังพลทุกเหล่าทัพเกี่ยวกับการเก็บกู้ , ประเมินค่าและการทำลายสรรพาวุธ ทั้งภาคพื้นดิน , ใต้น้ำ ทั้งของสหรัฐ ฯ เอง และของต่างชาติ โดยเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “ Explosive Ordnance Disposal School” ซึ่งกองทักบกไทยได้ส่งกำลังพลนายทหารและนายสิบเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนทำลายสรรพาวุธระเบิดของสหรัฐฯ นับจนถึงปัจจุบัน

มัยสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดาสรรพาวุธระเบิดทั้งหลายมีการใช้ชนวนที่ทำงานอย่างง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการพัฒนาชนวนขึ้นมาใช้ เช่น ชนวนถ่วงเวลา (Long Delay ) และชนวนป้องกันการถอด(Anti-Disturbance) ซึ่งสร้างความสูฐเสียให้แก่เจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดของอังกฤเป็นจำนวนมาก

- พ.ศ. 2483 อังกฤษได้จัดตั้งหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (Bomb Disposal) ขึ้นโดยรับอาสาสมัคร จำนวน 46 นาย ซึ้งได้ปฏิบัติหน้าที่เก็บกู้และทำงายสรรพาวุธระเบิดจนถึงปี พ.ศ. 2485 โดยมรเจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดรอดอยู่เพียง 8 นาย เท่านั้น เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมการศึกษาเรื่องการทำลายวัตถุระเบิดและระบบชนวนชนิดใหม่มาก่อน

- พ.ศ. 2488 กองทัพเรื่อสหรัฐ ฯ เห็นความจำเป็นในงานทำลายล้างวัตถุระเบิด จึงได้จัดตั้งโรงเรียนทำลายสรรพาวุธระเบิดขึ้นชื่อว่า “ BOMB DISPOSAL SCHOOL โดยมุ่งศึกษาเฉพาะการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดอากาศ

- พ.ศ. 2491 สหรัฐ ฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยให้มีการฝึก – ศึกษา แก่กำลังพลทุกเหล่าทัพเดี่ยวกับการเก็บกู้ , ประเมินค่าและการทำลายสรรพาวุธ ทั้งภาคพื้นดิน , ใต้น้ำ ทั้งของสหรัฐ ฯ เอง และขอบต่างชาติ

โดยเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “ Explosive Ordnance Disposal School” ซึ่งกองทัพบกไทยได้ส่งกำลังพลนายทหารและนายสิบเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนทำลายสรรพาวุธระเบิดของสหรัฐฯ นับจนถึงปัจจุบัน

บทบาทและหน้าที่ EOD


"หน่วยทำลายล้างวัตถุระบิด กองทัพบกไทย"

- พ.ศ. 2509 กองทัพบกไทย ได้จัดตั้งหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิดขึ้นครั้งแรก ใช้ชื่อว่า "หน่วย ทลร." โดยใช้กำลังพลของแผนกวิชาส่งกำลังยุทโธปกรณ์กระสุน กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก มี ร.อ.ไพฑูรย์ อรรครัตน์ ซึ่งสำเร็จหลักสูตรทำลายวัตถุระเบิดของ สหรัฐฯ เป็นเจ้าหน้าที่โครงการ ต่อมาได้มีการจัดตั้ง "ชุด ทลร.1" โดยเจ้าหน้าที่โครงการจาก โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก เป็นกำลังพลหลักในการปฏิบัติงาน ทลร.เป็นส่วนรวม

- ปัจจุบัน โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบกเป็นหน่วยผลิตนักทำลายวัตถุระเบิดของกองทัพบก โดยได้เปิดหลักสูตรทำลายวัตถุเบิดไปแล้วจำนวนหลายรุ่น ทั้งหลักูตรนายทหารและนายสิบ ซึ้งนักทำลายวัตถุระเบิดทุกนาย จะต้องศึกษาทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติเป็นเวลารวมทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ เมื่อสำเร็จการศึกษา จะได้รับประกาศนียบัตรและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ " นักทำลายวัตถุระเบิด "



"เครื่องหมายนักทำลาย"




อาร์มเป็นรูปหัวธนูมีพื้นสีดำ ปลายหัวธนูชี้ขึ้นไปด้านบน ตรงข้อความ ทำลายวัตถุระเบิด

หมายถึง ลูกธนูที่ยิงออกไปแล้วไม่มีหวนกลับถูกยิงออกไปภายใต้ ความมืดมิด โดยมีเป้าหมายเพื่อไปทำลายวัตถุระเบิด ที่อยู่ตรงปลายลูกธนู

เปรียบเสมือนเจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดที่ออกไปปฏิบัติหน้า ที่เก็บกู้วัตถุระเบิด ซึ่งก็ไม่รู้ว่าฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ก่อเหตุความไม่สงบได้บรรจุอะไรไว้ในหีบห่อ IED หรือหีบห่อนั้น ได้ถูกติดตั้งกลไกการ ทำงานไว้อย่างไร แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ต่างก็มีจุดประสงค์ เพื่อจะทำลาย วัตถุระเบิดให้จงได้ เพื่อให้ภารกิจสำเร็จ

ดังคำกล่าวที่ว่า “ สำเร็จภารกิจ ทุกชีวิตปลอดภัย คือหัวใจของการทำงาน ”



สีของขอบธนูเป็นสีส้ม

หมายถึง สีของเหล่าทหารสรรพาวุธ ซึ่งเป็นกรมฝ่ายยุทธการ ที่รับผิดชอบด้านกระสุน และวัตถุระเบิด



คำย่อ EOD ARMY

หมายถึง สีของเหล่าทหารสรรพาวุธ ซึ่งเป็นกรมฝ่ายยุทธการ ที่รับผิดชอบด้านกระสุน และวัตถุระเบิด



รูปเข็มนักทำลายวัตถุระเบิด

ประกอบกับรูปหัวกะโหลกไขว้ อย่างละครึ่งส่วน หมายถึง ในการทำงานแต่ละครั้ง ถ้าเกิดความผิดพลาดขึ้นก็จะหมายถึง ความตาย และเมื่อ ทำงานสำเร็จก็จะกลายเป็นเครื่องหมายเชิดชูเกียรติของนักทำลายวัตถุระเบิด และในการทำงานแต่ละครั้งมีโอกาส ๕๐ : ๕๐ หมายถึง ถ้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่ประมาทแล้วก็จะทำให้ทำงานสำเร็จ และยังเป็นนักทำลายวัตถุระเบิดต่อไป แต่ถ้าปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ ประมาทแล้ว ก็จะทำให้งานไม่สำเร็จ ทำให้ตายกลายเป็นผี สัญลักษณ์นี้ มีจุดประสงค์เพื่อจะเตือน เจ้าหน้าที่ ในเรื่องความไม่ประมาท

- สีเขียวช่อมะกอก ของช่อชัยพฤกษ์ ของเข็มนักทำลายวัตถุระเบิด หมายถึง พลังอำนาจของความสำเร็จ
- สีขาว – เทา ของหัวกะโหลกไขว้ หมายถึง ความโศกเศร้า ความตาย หมายความว่า กรมสรรพาวุธ ทหารบก



ข้อความ กรมสรรพาวุธ ทหารบก

เป็นต้นกำเนิดของนักทำลายวัตถุระเบิด และหน่วยทำลายวัตถุระเบิด ในประเทศไทย






 

Create Date : 22 พฤษภาคม 2552
1 comments
Last Update : 22 พฤษภาคม 2552 16:19:03 น.
Counter : 7618 Pageviews.

 

 

โดย: jodtabean (loveyoupantip ) 6 สิงหาคม 2554 3:22:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


แฟนEOD
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





Friends' blogs
[Add แฟนEOD's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.