กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 กันยายน 2551
 

การประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 6

เตือนใจ เจริญพงษ์

วันนี้..นำข่าวเกี่ยวกับการประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม
ครั้งที่ 6 ของมาฝากกัน
มีหลายหัวข้อน่าสนใจ..ท่านสนใจเรื่องอะไรก็เชิญเข้าร่วมตามความพอใจ
งานนี้จัดขึ้น ระหว่าง 8- 11 กันยายน 2551
ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

............................
กำหนดการประชุม
วันจันทร์ที่ 8 กันยายน 2551
การประชุมหลัก และพิธีเปิดการประชุม
ห้อง Plenary 1
09.00 น. – 09.30 พิธีเปิดการประชุมโดย
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
กล่าวรายงานโดย
นาย กิตติพงษ์ กิตยารักษ์
ปลัดกระทรวงยุติธรรม
09.30 น. - 09.45 น. การสาธิตระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Court System)
09.45 น. - 10.10 น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวโน้มการพัฒนากระบวนการยุติธรรมยุคใหม่
โดย นาย กิตติพงษ์ กิตยารักษ์
ปลัดกระทรวงยุติธรรม
10.10 น. – 10.30 น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง ความจำเป็นในการพัฒนาศาลอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
โดย นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ช่วยทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ประจำสำนักประธานศาลฎีกา

11.45 น. - 12.00 น. การบรรยายพิเศษ เรื่อง United Nations Convention on the Use of Electronic
Communications in International Contracts: แนวโน้มและพัฒนาการของกฎหมายด้าน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสัญญาระหว่างประเทศ
โดย Mr. Jeffrey Chan Wah Teck
Deputy Solicitor-General
Attorney-General’s Chambers of Singapore

13.00 น. – 16.30 น. การเสวนา เรื่อง การส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: มุมมองความต้องการและความจำเป็นทางเศรษฐกิจและกฎหมาย
ประเทศไทยได้ปรับตัวเข้าสู่สังคมสารสนเทศตามกระแสสังคมโลก อันสะท้อนจากมูลค่าทางเศรษฐกิจจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สูงถึงกว่า 200,000 ล้านบาท จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีถึงประมาณ 14 ล้านคน จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งในปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทุกปี หากแต่ การปรับตัวดังกล่าวยังไม่เท่ากับการคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุค Web 2.0 อย่างเต็มรูปแบบ นำไปสู่การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงอีกขนานใหญ่เมื่อถึงยุค Web 3.0 อีกไม่กี่ 10 ปีข้างหน้า ดังนั้น พัฒนาการบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นนำไปสู่การคาดการณ์ถึงความต้องการและความจำเป็นในการประยุกต์ใช้งาน Web แต่ละยุดที่เอื้อต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจที่อาจแตกต่างไปจากยุคเดิมๆ รวมทั้งความต้องการและความจำเป็นทางกฎหมายอีกหนึ่งบริบทซึ่งเป็นคำถามที่ท้าทายความพร้อมของประเทศไทยในการเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

วิทยากร
1.ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2 นายสหัส ตรีทิพยบุตร
รองกรรมการผู้จัดการ บมจ. ธนาคารกรุงไทย
นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3.นายธรรมนิตย์ สุมันตกุล
กรรมการร่างกฎหมายประจำ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

............................................................................

วันอังคารที่ 9 กันยายน 2551

การประชุมกลุ่มย่อย เรื่อง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกระบวนการยุติธรรมเชิงรุก
ห้อง Ballroom

08.30 น. – 12.00 น. การสำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรม (Crime Survey)
การสำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชน เป็นการสำรวจข้อมูลอาชญากรรมจากผู้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมโดยตรงครั้งแรกของประเทศไทย โดยสำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งที่มีการรายงานและไม่ได้รายงานต่อเจ้าหน้าที่ รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้น เช่น ลักษณะทั่วไปของเหยื่ออาชญากรรม ประเภทและรายละเอียดของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ตัวเลขมืดของการเกิดอาชญากรรม (Dark figure) ความสัมพันธ์ของผู้กระทำผิดกับเหยื่อ เป็นต้น เพื่อรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชนและจัดทำรายงานการสำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมเผยแพร่แก่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและสาธารณชน และนำมาอธิบายปรากฏการณ์การเกิดอาชญากรรม ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการป้องกันแก้ไขปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นต่อไป

วิทยากร
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ดร.บงกช วิบูลย์ธนานันต์
หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมวิชาการ สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ
3. Mr. Michael R.Rand
Chief, Victimization Statistics; U.S. Bureau of Justice Statistics

13.00 น. – 16.30 น. ศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม (Data eXchange Center-DXC)
โครงการนำร่องระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรมต้นแบบ จัดตั้งขึ้นเพื่อศึกษาและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และเหมาะสม สำหรับนำมาใช้งานในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรองรับการดำเนินงานของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2552-2555 มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานตามข้อตกลง ผ่านการพัฒนาระบบงานในรูปของ web service ซึ่งในปัจจุบันมีหน่วยงาน 10 หน่วยงาน เ ข้าร่วมโครงการ ได้แก่ กรมการปกครอง กรมคุมประพฤติ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมราชทัณฑ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานกิจการยุติธรรม

วิทยากร
1. นายพิษณุโรจน์ พลับรู้การ
รองปลัดกระทรวงยุติธรรม
2. พล ต.ต.ดร.ทวีชัย วิริยะโกศล
รองผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. อาจารย์ ดร.พรชัย ชันยากร
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
(ที่ปรึกษาโครงการศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลกระบวนการยุติธรรม)
....................................................


วันพุธที่ 10 กันยายน 2551

การประชุมกลุ่มย่อย เรื่อง ทิศทางการพัฒนากระบวนการยุติธรรมกับมิติความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ห้อง Ballroom
08.30 น. – 12.00 น. การหลอมรวมของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับผลกระทบทางจริยธรรม กฎหมาย และสังคม : การมองไปข้างหน้าเพื่อเตรียมโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ

สืบเนื่องจากความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และจะยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้นเมื่อมีการหลอมรวมของหลายๆ เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น ส่งผลให้การพัฒนาในหลายๆ เรื่อง เช่น การโคลนนิ่ง ยีนบำบัด การตรวจทางพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม สเต็มเซลล์ ดรักดิลิเวอรี่ (drug delivery) เป็นต้น ได้เริ่มก่อให้เกิดประเด็นที่อาจต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตื่นตัว หรือร่วมให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นด้านจริยธรรม กฎหมาย และผลกระทบทางสังคมที่อาจเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเชิงรุกที่จำเป็น และเหมาะสมสำหรับสังคมไทยในอนาคตต่อไป

วิทยากร
1. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
2. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. รองศาสตราจารย์ ดร. โสรัจจ์ หงส์ลดารมภ์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. ศาสตราจารย์แสวง บุญเฉลิมวิภาส
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13.00 น. – 16.30 น. การรับฟังพยานหลักฐานและศาลอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาของ Check Truncation- วาระเร่งด่วนของสถาบันการเงิน
ในขณะนี้ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการพัฒนาอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการของภาคประชาชน ภาคผู้ประกอบธุรกิจ หรือภาครัฐก็ตาม โดยการชำระเงินก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งหากมีความผิดพลาดหรือไม่สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ อย่างคล่องตัวแล้ว อาจก่อให้เกิดปัญหาในการพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ กรณีของ Check Truncation เป็นการอำนวยความสะดวกที่ก่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์แก่องค์กรธุรกิจในการเคลียร์เช็คผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยอยู่ในรูปของไฟล์ภาพ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับความรับผิดต่อเช็ค การรับฟังพยานหลักฐานของ Check Truncation และการเตรียมความพร้อมของระบบการพิจารณาของศาล


วิทยากร
1. ดร. ฉิม ตันติยาสวัสดิกุล
ผู้ช่วยผู้ว่าการสายระบบข้อสนเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย
2. นางวัลยา แก้วรุ่งเรือง
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารกลุ่ม สายงานบริหารความเสี่ยงและกำกับ บมจ. ธนาคารกรุงไทย
3. นายเจษฎา อนุจารี
อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการ สภาทนายความ
4. นายธรรมนูญ พิทยาภรณ์
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ประจำสำนักประธานศาลฎีกา
.................................................................................................

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2551

การประชุมกลุ่มย่อย เรื่อง การพัฒนากระบวนการยุติธรรมยุคใหม่
ห้อง Ballroom
08.30 น. – 12.00 น. แนวทางการพัฒนาระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Court System) ที่เหมาะสมกับประเทศไทย
การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมในศาล (E-Court) นั้น เป็นมิติใหม่ของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประชาชน แนวทางการพัฒนาระบบศาลอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยยังเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรเร่งศึกษาในประเด็นปัญหาต่าง ๆ และทำความเข้าใจถึง ความหมาย ขอบเขตของศาลอิเล็กทรอนิกส์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อผู้ปฏิบัติ การเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการนำระบบดังกล่าวมาใช้ ระบบการคุ้มครองความปลอดภัย ความจำเป็นที่ต้องมีชั้นความลับของเอกสาร รวมถึงการออกกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
วิทยากร
1. นายธนะชัย ผดุงธิติ
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ประจำสำนักประธานศาลฎีกา
2. นายนันทน อินทนนท์
ที่ปรึกษากฎหมายบริษัท ติลลิกีแอนด์กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
3. ดร. จุณวิทย์ ชลิดาพงศ์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

13.00 น. – 16.30 น. การพัฒนาวิทยาศาสตร์กับพยานหลักฐาน
ปัจจุบันคดีอาชญากรรมที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงและมีความสลับซับซ้อนมาก การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงต่างๆ ในคดีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ นักกฎหมายส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ตลอดจนยังมีประเด็นว่า การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาพยานหลักฐานจะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างไร การนำพยานหลักฐานต่างๆ ที่ได้มาจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะรับฟังเพื่อพิสูจน์ความจริงของคดีได้มากน้อยเพียงใด ตลอดจนศาลควรมีแนวทางในการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเหล่านี้อย่างไร และเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนทัศนะในการประชุมครั้งนี้

วิทยากร
1.ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จรัญ ภักดีธนากุล
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
2.พลตำรวจตรีประพัฒน์ คนตรง
รองผู้บัญชาการสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันโท นายแพทย์ อเนก ยมจินดา
รองผู้อำนายการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์

ห้อง Meeting Room 1-2
08.30 น. – 12.00 น. CISG: แนวทางพัฒนากฎหมายไทยเพื่อเข้าเป็นภาคี
คณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ (UNCITRAL) ได้ร่างอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ หรือ CISG ขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคทางการค้าและสร้างกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับการซื้อขายระหว่างประเทศให้เป็นเอกภาพ โดยอนุสัญญานี้ได้รับการยอมรับจากนานาอารยะประเทศ สำหรับประเทศไทยได้มีการศึกษาข้อดี ข้อเสียของการเป็นภาคีอนุสัญญาฯ มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปหรือทิศทางที่แน่นอน เวทีนี้จะอภิปรายถึงสถานการณ์ปัจจุบันของอนุสัญญาฯ ความจำเป็น ประโยชน์ และผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับ พร้อมทั้งหาแนวทางการพัฒนากฎหมายไทยเพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีต่อไป

วิทยากร
1.นายสุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
2.ดร. วิลาวรรณ มังคละธนะกุล
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
3.อาจารย์ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

13.00 น. – 16.30 น. กฎหมายกับการปฏิบัติงานของแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ
มุมมองของแพทย์และผู้บริโภคต่อการพัฒนากฎหมายใหม่หลายฉบับได้แก่ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดและวิธีพิจารณาความสำหรับการประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ พ.ศ. ....และ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... ซึ่งมีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของแพทย์และผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพและการให้ความคุ้มครองประชาชนจากบริการทางการแพทย์

วิทยากร
1.ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อำนาจ กุสลานันท์
เลขาธิการแพทยสภา
2.นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ประจำสำนักประธานศาลฎีกา
3.นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
4. รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษ
ผู้อำนวยการโครงการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ห้อง Meeting Room 3-4
08.30 น. – 12.00 น. ย้อนดูอดีต เพื่อก้าวสู่อนาคต กฎหมายอาญาไทย
กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 เป็นการรวบรวมกฎหมายที่มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย และได้ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2451 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นกฎหมายที่มีความเป็นสากลครั้งแรก (Modern Law) เนื่องจากกฎหมายดังกล่าว มีการนำรูปแบบกฎหมายต่างประเทศมาเป็นแนวทางในการยกร่าง สิ่งสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือคุณค่าทางวิชาการที่เป็นรากฐานสำคัญของประมวลกฎหมายอาญาในยุคปัจจุบัน และหากย้อนดู ทบทวนประวัติศาสตร์ทางกฎหมายที่เกิดขึ้นจะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และส่งผลในการพัฒนาสู่ก้าวต่อไปในอนาคต...

วิทยากร
1.ศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร
คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
2.รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ
ผู้อำนวยการโครงการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3.รองศาสตราจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล
รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4.รองศาสตราจารย์ ดร.อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.................................................................................................

นอกจากนี้ยังมีการแสดงนิทรรศการที่นาสนใจภายใต้หัวข้อ “การพัฒนากระบวนการยุติธรรมยุคใหม่” เพื่อเป็นการร่วมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์วิทยาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ในกระบวนการยุติธรรม โดยหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมและภาคเอกชน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม สำนักงานกิจการยุติธรรม กรมคุมประพฤติ กรมบังคับคดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ ตำรวจภูธรจังหวัดนนทบุรี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สมาคมรักษาความปลอดภัยภาคพื้นเอเชีย (ประเทศไทย) มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บริษัทไบโอสกอร์ อินโฟวาเล่ย์ ประเทศไทย จำกัด บริษัทเอ็นอีซี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท One Link Group (EM)

.................................................................................................
ท่านยังสามารถเข้าร่วมการประชุมคู่ขนาน ในอีกหลายหัวข้อ ดังนี้

การประชุมวิชาการทางนิติวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 (3rd CIFS Academic Day) ห้อง Meeting Room 3-4
.................................................................................................
วันอังคารที่ 9 กันยายน 2551
08.30 น. -9.00 น.พิธีเปิดโครงการประชุมวิชาการทางนิติวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 3 (3rd CIFS Academic Day)
กล่าวรายงานโดย
คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
กล่าวเปิดโครงการโดย
ดร. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์
ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือผู้แทน
09.00 น. -12.00 น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ช่วงที่ 1 จำนวน 8 เรื่อง

13.00 น. - 16.30 น.การนำเสนอผลงานวิชาการ ช่วงที่ 2 จำนวน 11 เรื่อง
16.30 น. - 17.00 น.การบรรยายพิเศษ เรื่อง“นิติวิทยาศาสตร์บริการบริการ ในอนาคต
โดย นายไกรสร อัมมวรรธน์
ผู้อำนวยการสำนักนิติวิทยาศาสตร์บริการ
17.00 น. - 17.30 น. ประกาศผลรางวัลการนำเสนอผลงานวิชาการ
.................................................................................................
วันพุธที่ 10 กันยายน 2551
09.00 น. - 10.30 น. นิติวิทยาศาสตร์ทันยุค 1
โดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจาก Singapore Police Force, Criminal Investigation Department

10.40 น. - 12.00 น. นิติวิทยาศาสตร์ทันยุค 2
โดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศ

13.00 น. - 14.30 น. เสวนาทางวิชาการ เรื่อง “งานนิติวิทยาศาสตร์กับภารกิจชายแดนใต้”
ร่วมเสวนาโดย
คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจาก Singapore Police Force, Criminal Investigation Department


14.45 น. - 16.30 น. เสวนาทางวิชาการ เรื่อง “งานนิติวิทยาศาสตร์กับภารกิจชายแดนใต้” (ต่อ)



Create Date : 03 กันยายน 2551
Last Update : 28 ตุลาคม 2552 14:53:57 น. 0 comments
Counter : 1665 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com