<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
28 กุมภาพันธ์ 2554
 

มุมมองเรื่อง..กฎหมาย กฎศีลธรรม กฎแห่งกรรม ของอ.สอนกฎหมาย


เตือนใจ เจริญพงษ์

วันนี้มีเรื่องน่าสนใจมาฝากคะ
เป็นมุมมองเรื่อง..กฎหมาย กฎศีลธรรม กฎแห่งกรรม
ของอ.สอนกฎหมาย คือ ....ดร.กำชัย จงจักรพันธ์
อดีต คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
.................................................................................................
อ่านแล้วคงทำให้คนที่คิดจะทำไม่ดี
มีสติ...หวั่นเกรงการกระทำมิดีมิร้ายบ้าง
.................................................................................................
ดังนี้
"กฎหมาย คือกฎ กติกาที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคม
และทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
กฎหมาย คือกฎ กติกาที่ทำให้สังคม ประเทศชาติมีความเจริญ
เดินหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ
กฎหมาย คือกฎ กติกาที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นธรรม
ทำให้เกิดความยุติธรรม เพื่อให้ทุกคนเคารพกฎหมาย
เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยดี
กฎหมายจึงต้องชัดเจนและแน่นอน
ให้รู้ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
และตามธรรมดาถ้ามีใครฝ่าฝืนไม่เชื่อฟังกฎหมาย
ก็ต้องรับผิด ก็ต้องถูกลงโทษ
คนในสังคมต้องรู้กฎหมาย
................................................................................................. ดังนั้นกฎหมายจึงได้เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
และเผยแพร่ให้รู้กันทั่วไป
ประชาชนจึงปฏิเสธว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
.................................................................................................

กฎหมายจึงเป็นกฎกติกาของสังคม
แต่เป็นกฎกติกาที่มีมาตรฐานต่ำที่สุด
ที่บอกให้รู้ว่าจะทำอะไรก็ได้แต่อย่าให้เลยข้ามมาผิดกฎหมาย
กฎหมายจึงเปรียบเหมือนตาข่ายที่ตาไม่ถี่นักที่เอาไว้จับคนที่ทำผิด
โดยเหตุที่กฎหมายมีโทษ จึงต้องระมัดระวังให้แน่ใจว่า
ผู้นั้นทำผิดกฎหมายจริง ถ้าไม่แน่ใจ
หรือมีความสงสัยตามสมควร
...............................................................................................
กฎหมายก็ถือหลักว่า ปล่อยคนชั่วสิบคน
ดีกว่าลงโทษคนบริสุทธิ์เพียงคนเดียว
เบื้องหลังหลักนี้ก็คือ ถ้าเป็นคนชั่ว หลุดคราวนี้
คราวหน้าต้องทำผิดอีกแน่
ก็มีโอกาสที่กฎหมายจะนำตัวมาลงโทษได้
ดีกว่าถ้าพลาดพลั้งไปนำเอาคนบริสุทธิ์มารับโทษ
ทั้งที่เขาไม่ได้กระทำความผิด
ก็จะสร้างตราบาปและความไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง
...............................................................................................

แน่นอนกฎหมาย ไม่สมบูรณ์แบบ 100 %
แน่นอนกฎหมายอย่างเดียว
ไม่สามารถทำให้สังคมเราเป็นสังคมที่น่าอยู่อย่างใจนึก
แต่อย่างน้อยกฎหมายก็ช่วยทำให้สังคมเรา
ไม่กลายเป็นสังคมอนาธิปไตย
................................................................................................
ตัวอย่างในสภาพวิกฤตความแตกแยกทางความคิดความเห็นในปัจจุบัน
ในสภาพที่ผู้คนโกรธแค้น เกลียดชังกัน
แบ่งฝักแบ่งฝ่าย มุ่งอาฆาตมาดร้ายต่อกัน ...
แต่ถ้าเรามีกฎหมายที่ดี และเราเคารพกฎหมาย
เราบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค อย่างจริงจัง
อย่างเด็ดขาด ... การฆ่ากัน การยิงกัน การเผาบ้านเมือง ..
สิ่งเหล่านี้ต้องไม่เกิดขึ้น ประเทศต้องไม่ไร้ขื่อแป
เช่นนี้แม้เราจะเห็นต่างกันมากเพียงใด ทะเลาะกันมากเพียงใด
เราก็ยังอยู่ในกรอบที่พอรับได้
................................................................................................ เพราะทุกคนเคารพกฎหมาย
กฎศีลธรรม ก็คือกฎ
กติกาที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคมอีกอย่างหนึ่ง
ซึ่งแตกต่างจากกฎหมายในสาระสำคัญก็คือ เป็นกฎ กติกา
ที่มีความชัดเจน แน่นอน น้อยกว่า
.................................................................................................
เส้นแบ่งในการชี้ว่าผิดกฎศีลธรรมแล้วหรือยัง
ขึ้นอยู่กับมาตรฐานทางจิตใจของแต่ละคน
ยิ่งไปกว่านั้นหากทำผิดกฎศีลธรรมแล้ว
สภาพการบังคับ การลงโทษก็ไม่ชัดเจนเหมือนกฎหมาย
................................................................................................
นั่นหมายความว่า การกระทำบางอย่าง
สำหรับบางคนบางคนกลุ่มอาจถือว่านี่เป็นการผิดกฎศีลธรรมแล้ว
แต่สำหรับบางคนบางกลุ่มอาจเห็นว่า ไม่ผิด ไม่เป็นไร
และเมื่อหากถือว่าผิดแล้ว บางคนก็อาจบอกว่า
เรื่องเล็กน้อยไม่เป็นไร มองข้าม บางคนอาจติฉิน นินทา
บางคนอาจประณาม ไม่คบค้า ไม่ให้ความเคารพ ฯลฯ
................................................................................................
โดยทั่วไปกฎศีลธรรมมีความละเอียดอ่อนกว่ากฎหมาย
คือเป็นตาข่าวที่มีตาถี่กว่ากฎหมายนั่นเอง
...............................................................................................

กฎศีลธรรมนี้ หมายความรวมถึง ขนมธรรมเนียม จารีตประเพณี
รวมตลอดถึงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณของวิชาชีพ
และหมู่ชนต่าง ๆ แนวปฏิบัติที่ดี
การขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและส่วนรวม
ด้วย กฎศีลธรรมนี้ เป็นกฎ
กติกาที่จะช่วยทำให้สังคมเราน่าอยู่อย่างมาก
และถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฎศีลธรรมอย่างดี
กฎหมายก็แทบไม่มีความจำเป็นเลย
เพราะหากคนอยู่ในศีลธรรม มีคุณธรรม จริยธรรม
รักษาจรรยาบรรณ ประพฤติดี ประพฤติชอบ
ไม่ทำตนในลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อน ฯลฯ
ก็เท่ากับไม่ทำผิดกฎหมายอย่างแน่นอน
เพราะกฎศีลธรรมนี้ เป็นตาข่ายที่ละเอียดกว่ากฎหมายอยู่แล้ว
................................................................................................. พูดง่าย ๆ คนที่ไม่ดี ที่รอดพ้นกฎหมายไปได้
ก็อาจติดกฎศีลธรรม
แม้ไม่ต้องติดคุกติดตะรางตามอำนาจของกฎหมาย
แต่ผู้กระทำไม่ดี คนชั่ว คนเลว ก็อาจติดคุกในใจของตน
รู้สึกเศร้าใจ เสียใจ ละอาจใจ หมดความภาคภูมิใจ กระดากใจ ฯลฯ
อยู่บ้าง เพราะตนเองทำผิดกฎศีลธรรม เรียกว่าเป็นไฟในใจ
นอกจากนี้ยังอาจถูกสังคม ติฉิน นินทา ประณาม ก่นด่า
................................................................................................

แต่แน่หละ หลายคนก็อาจจะบอกว่า คนไม่ดีจำนวนหนึ่ง
ใจเขาไม่รู้สึกสะทกสะท้านอะไรหรอก ประกอบกับสังคมไทย
เป็นสังคมที่เคารพคนมีตำแหน่งหน้าที่ ยศถาบรรดาศักดิ์
จะเป็นคนเลวหรือไม่ จะเป็นคนที่ผิดศีลธรรมหรือไม่
ช่างมันฉันไม่แคร์ พร้อมที่จะยกกระเช้าแสดงความยินดี
พร้อมที่จะพินอบพิเทา สวัสดี ติดตาม ฯลฯ
ยิ่งเป็นการส่งเสริมให้พวกคนไม่ดี ได้ใจ
...............................................................................................

สำหรับการติฉินนินทาโดยชาวบ้าน ก็ไม่กลัว
เพราะไม่ได้ยิน คนที่นินทา เขาไม่เคยนินทาให้เข้าหูอยู่แล้ว
คนพวกนี้จะทำอย่างไร ก็ต้องแก้ที่ตัวเรา
เราทุก ๆ คนประกอบกันขึ้นเป็นสังคม
ถ้าเรายืนหยัดยืนยันชื่นชมคนที่กระทำกรรมดี
สนับสนุนคนดี ปฏิเสธคนกระทำกรรมเลว ไม่ยกย่องคนเลว
ไม่คบหาคนเลว มันก็เป็น Social Sanction ที่อาจทำให้อะไร ๆ
ในสังคมดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
................................................................................................

อย่างไรก็ตาม แม้หลายคน บางคน จะรอดพ้นทั้งกฎหมาย
ทั้งกฎศีลธรรม แต่คงไม่พ้นกฎแห่งกรรมที่คนแต่ละคนก่อขึ้น
หากเราชื่อว่า บุญ บาป มีจริง ดีชั่วมีจริง กรรมดี กรรมชั่ว
ของแต่ละคนก็คงจะติดตามบุคคลนั้นไปตลอด
.................................................................................................

แต่ถ้าไม่เชื่ออะไรเลย .... ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกันครับ
................................................................................................
อ่านแล้ว...ก็เห็นด้วยจัง
อยากให้...เด็ก...เยาวชน...ผู้ใหญ่
เข้าถึงเรื่องนี้จริงๆๆจังๆๆคะ
..................................................................................................



Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2554 14:44:18 น. 1 comments
Counter : 1422 Pageviews.  
 
 
 
 
จบกฎหมายครับ
จำได้ว่าอาจารย์ที่ตรวจข้อสอบ
ใจดีทุกคน
บางที
กลับมาดูผลการเรียนแล้ว
ยังนึกกับตัวเองว่า
น่าจะตอบให้ดีกว่านี้
 
 

โดย: นักเรียนเก่า IP: 123.242.153.99 วันที่: 11 เมษายน 2554 เวลา:10:59:45 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com