<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
11 กุมภาพันธ์ 2553
 

การพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค : การชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้า

เตือนใจ เจริญพงษ์

ช่วงนี้มักได้ข่าวคราว.......
.....การพัฒนากฎหมายหลายเรื่องที่น่าสนใจ
โดยเฉพาะเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
.................................................................................................
"โ ครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนากฎหมายในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภค
: ศึกษากรณีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้า "
แค่ชื่อ......ก็พิมพ์เสียเมื่อยแล้วคะ
แต่ก็อยากนำเรื่องดีๆที่หน่วยงานรัฐกำลังดำเนินการ
บังเอิญงานนี้เจ้าภาพไม่ได้เชิญ

.................................................................................................
งานนี้....คนสำคัญ...
คือ นายวิทยา สุริยะวงคื
ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม
................................................................................................
ได้พูดถึงความสำคัญของเรื่องนี้ไว้น่าสนใจ
คือ...งานวิจัยชิ้นนี้จะมีผล
ให้มีการปรับปรุงกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภค
ที่ต้องชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้า
................................................................................................
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของเรื่อง
( ข้อมูลจากเอกสารโครงการคะ)
อ่านหน่อยนะคะ...เยอะจัง

......ภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมดังเช่นปัจจุบัน
ผู้ประกอบการมีเสรีภาพในการดำเนินธุรกิจ
โดยสามารถเลือกรูปแบบ และวิธีการ
ในการประกอบธุรกิจซึ่งผู้ประกอบการเห็นว่า
จะนำมาซึ่งผลกำไรสูงสุดในการประกอบการ
ผู้ประกอบการในปัจจุบันนอกจากจะแข่งขันกัน
โดยการปรับปรุงพัฒนาคุณภาพสินค้า
และบริการให้เป็นที่พึงพอใจแก่ผู้บริโภคแล้ว
การลดต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ
การเลือกและการพัฒนารูปแบบของธุรกรรม
ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ
................................................................................................
....ที่ผู้ประกอบการนำมาปรับใช้เพื่อรักษาและแสวงหาส่วนแบ่ง
ทางการตลาดที่มากขึ้น โดยที่รูปแบบทางธุรกรรมหลายประเภทนั้น ยังไม่มีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเพียงพอมาควบคุมหรือกำกับดูแล
ในขณะที่ผู้บริโภคเป็นผู้มีอำนาจต่อรองต่ำกว่า ผู้ประกอบการอาจใช้อำนาจทางการตลาดที่เหนือกว่าเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคในการทำสัญญาหรือธุรกรรมซึ่งอาจมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคเกิดขึ้น เมื่อธุรกรรมเหล่านั้นยังไม่มีกฎหมายที่มีประสิทธิภาพมารองรับ ผู้ประกอบการก็สามารถแสวงหาประโยชน์จากช่องว่างทางกฎหมายอันส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคในสังคม
................................................................................................
สัญญาซื้อขายสินค้าหรือสัญญาให้บริการ
โดยมีการชำระราคาล่วงหน้าเป็นรูปแบบหนึ่งของธุรกรรมซึ่งอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค เนื่องจากสัญญาลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ ซึ่งปัญหาอันเกิดจากสัญญาเช่นว่านั้นเริ่มตั้งแต่ประเด็นการเกิดขึ้นของสัญญาซึ่งปรากฏขึ้นในกรณีที่การเสนอขายของผู้ประกอบการมีลักษณะไม่ชัดเจนว่าเป็นคำเสนอหรือคำเชิญชวนให้ทำคำเสนอ หากการเสนอขายนั้นเป็นเพียงคำเชิญชวนให้ทำคำเสนอ การตอบรับการเสนอขายของผู้บริโภคจะมีสถานะเป็นเพียงคำเสนอเท่านั้น ซึ่งหากผู้ประกอบการไม่ทำคำสนองกลับมา ย่อมไม่มีการเกิดขึ้นของสัญญา กรณีเช่นนี้เท่ากับว่าคำเสนอขายของผู้ประกอบการไม่มีความผูกพันที่ผู้ประกอบการจะต้องส่งมอบสินค้าตามคำเสนอขาย ยิ่งไปกว่านั้นหากในกรณีเช่นว่านั้นเป็นกรณีซึ่งผู้บริโภคต้องทำคำเสนอโดยการชำระราคาล่วงหน้านั้นย่อมจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้บริโภคเพราะหากผู้ประกอบการไม่ส่งสินค้าหรือจัดให้มีบริการตามคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอนั้นย่อมไม่ถือว่าผู้ประกอบการทำผิดสัญญาเนื่องจากยังไม่มีสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคไม่สามารถฟ้องร้องให้ผู้ประกอบการรับผิดในฐานผิดสัญญาเพื่อให้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น และยังมีภาระในการต้องเรียกคืนค่าสินค้าและบริการที่ชำระไปล่วงหน้าอีกด้วย
.............................................................................................
หากพิจารณาถึงกรณีที่สัญญาได้เกิดขึ้นแล้วนั้นผู้บริโภคอาจจะต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงอีกรูปแบบหนึ่ง กล่าวคือผู้บริโภคจะต้องชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับสินค้าและบริการ ซึ่งในภาวะการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่ผู้ประกอบการจะไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ของตน หรือชำระหนี้ของตนไม่ถูกต้องตรงตามสัญญา เนื่องจากผู้ประกอบการได้รับชำระค่าสินค้าและบริการไปแล้ว ทำให้อำนาจในการต่อรองของผู้บริโภคลดลง เพราะได้ชำระหนี้ต่างตอบแทนฝ่ายตนไปก่อนแล้ว หากภายหลังผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามสัญญา เช่นไม่ส่งมอบสินค้าและบริการตามที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือส่งมอบสินค้าและบริการที่ไม่ตรงตามสัญญาผู้บริโภคก็ไม่สามารถใช้สิทธิยึดหน่วงราคาค่าสินค้าและบริการในการต่อรองกับผู้ประกอบการได้อีก ยิ่งไปกว่านั้นหากผู้ประกอบการประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือมีการล้มละลายเกิดขึ้น ผู้บริโภคที่ชำระราคาล่วงหน้าไปแล้วจะประสบความยากลำบากในการได้รับเงินค่าสินค้าและบริการคืนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะต้องไปแข่งขันขอรับชำระหนี้กับเจ้าหนี้รายอื่นของผู้ประกอบการ ซึ่งผู้บริโภคก็เป็นเพียงเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่มีความสำคัญและกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภคอย่างยิ่ง
.............................................................................................
นอกจากนี้หากพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่าสัญญาซื้อขายสินค้าหรือสัญญาให้บริการโดยมีการชำระราคาล่วงหน้าในหลายกรณีนั้นถูกจัดทำในลักษณะของสัญญาสำเร็จรูปซึ่งผู้ประกอบการอันมีอำนาจต่อรองที่สูงกว่านั้นมีแนวโน้มที่จะกำหนดข้อสัญญาที่มีความไม่เป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ผู้บริโภคที่เป็นคู่สัญญาในสัญญาซื้อขายสินค้าหรือสัญญาให้บริการโดยมีการชำระราคาล่วงหน้านั้นย่อมมีความเสี่ยงในการถูกเอารัดเอาเปรียบเป็นอย่างยิ่ง
.................................................................................................
ในต่างประเทศมีการตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าโดยมีการบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากธุรกรรมที่มีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้า และยิ่งไปกว่านั้นในบางประเทศมีการบัญญัติกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากธุรกรรมบางประเภทเป็นการเฉพาะอีกด้วย โดยมีกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีสัญญาที่มีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
.................................................................................................
๑) การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีสัญญาที่มีการปฏิบัติการชำระหนี้ในอนาคต
กรณีสัญญาที่มีการปฏิบัติการชำระหนี้ในอนาคต (future performance agreement) ประเทศต่างๆ ได้มีการกำหนดกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคจากสัญญาที่มีการปฏิบัติการชำระหนี้ในอนาคตในลักษณะที่ว่าเป็นสัญญาที่ผู้ประกอบการมิได้ทำการชำระหนี้ทั้งหมดในขณะที่ทำสัญญาโดยไม่คำนึงว่าจะต้องเป็นกรณีที่มีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าหรือไม่ แม้กลไกดังกล่าวไม่ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากสัญญาที่มีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าเป็นการเฉพาะ แต่โดยลักษณะของสัญญาที่มีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าย่อมเป็นสัญญาที่มีการปฏิบัติการชำระหนี้ในอนาคตอยู่ด้วยในตัว เนื่องจากกรณีที่ผู้บริโภคชำระเงินก่อน ผู้บริโภคจะยังไม่ได้รับการปฏิบัติการชำระหนี้ในทันที สัญญาที่มีการชำระราคาสินค้าและบริการล่วงหน้าจึงได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายเช่นว่านั้นไปในตัว กลไกของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีของสัญญาที่มีการปฏิบัติการชำระหนี้ในอนาคตย่อมเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่สามารถนำมาปรับใช้แก่การคุ้มครองผู้บริโภคกรณีสัญญาที่มีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าได้ โดยที่รัฐที่มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในลักษณะนี้ เช่น ประเทศแคนาดาในกรณีของมลรัฐ Ontario มลรัฐ Britishcolumbia และประเทศฝรั่งเศส
................................................................................................
๒) การคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีสัญญาที่มีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้า
ในหลายประเทศนั้นมีการสร้างกลไกสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีสัญญาที่มีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้า สำหรับธุรกรรมบางประเภทเป็นการเฉพาะ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาในมลรัฐ Ohio มีการคุ้มครองสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการบันเทิงและนันทนาการที่มีการชำระค่าบริการล่วงหน้าผ่าน Prepaid Entertainment Contracts Act ประเทศแคนาดาในมลรัฐ Ontario มีการคุ้มครองสัญญาเกี่ยวกับบริการที่เกี่ยวกับการพัฒนาบุคคล (Personal Development Services) ซึ่งมีการชำระค่าบริการล่วงหน้าเป็นการเฉพาะ ขณะที่มลรัฐ Manitoba มีการคุ้มครองสัญญาบัตรเงินสด (prepaid purchase cards) ไว้เป็นการเฉพาะ
นอกจากนี้แล้ว ในบางประเทศมีการคุ้มครองผู้บริโภคที่อาจได้รับความเสียหายจากการชำระราคาล่วงหน้า โดยการใช้ระบบหลักประกันทางการเงิน หรือกองทุนที่ผู้บริโภคสามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายโดยบังคับเอาจากหลักประกันทางการเงิน หรือกองทุนนั้นโดยตรงอีกด้วย
................................................................................................
สำหรับประเทศไทยการซื้อขายสินค้าและบริการที่มีการชำระราคาล่วงหน้าเป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมสัญญา บทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ถูกต้องตรงตามสัญญา แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติไปถึงกรณีการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีการชำระราคาล่วงหน้า แม้ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ และมีพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑ อีกทั้งมีกลไกในการช่วยเหลือผู้บริโภคโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แต่กฎหมาย หรือกลไกดังกล่าวก็ยังไม่มีบทบัญญัติ หรือมาตรการที่จะเข้ามาคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีการชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าโดยตรง นอกจากนี้แนวโน้มของการซื้อขายสินค้าและบริการที่มีการชำระราคาล่วงหน้ามีแนวโน้มว่าจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าปริมาณผู้บริโภคที่จะถูกละเมิดสิทธิก็จะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายที่จะเข้ามามีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคจากธุรกรรมดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการประกันสิทธิของผู้บริโภคให้มีความสมบูรณ์ต่อไป

..............................................................................................
ข้อมูลเยอะหน่อยคะ อ่านแล้วคงได้ประโยชน์นะคะ







Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 9 มีนาคม 2553 9:53:02 น. 4 comments
Counter : 1464 Pageviews.  
 
 
 
 
 
 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:10:02:35 น.  

 
 
 
dd
 
 

โดย: a IP: 124.122.195.202 วันที่: 26 ตุลาคม 2553 เวลา:14:08:25 น.  

 
 
 
อ่านแล้วน่าสนใจมากค่ะ กำลังจะทำทีสีสอยู่หาหัวข้อยังไม่ได้มืดแปดด้านเลยค่ะพอดีอ่านตรงนี้คิดว่าได้เรื่องทำแล้ว ตอนแรกเคยอ่านเจอเป็นหัวข้อสัมมนาที่ ธรรมศาสตร์ แต่หัวข้อไม่มีรายละเอียดอย่างนี้ เห็นว่ามีวานวิจัยด้วยเหรอคะ หาอ่านได้ที่ไหนคะ เพราะสนใจจะเอามาศึกษาเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ขอความกรูณาตอบให้ด้วยนะคะ ว่าจะหาข้อมูลเรื่องนี้ได้ที่ไหน email - noon_supa@hotmail.com
 
 

โดย: noon IP: 192.168.71.165, 119.46.90.2 วันที่: 7 ธันวาคม 2553 เวลา:10:42:16 น.  

 
 
 
ข้ออนุญาตเอาข้อมูลบางส่วนไปทำรายงานนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ
 
 

โดย: May IP: 118.174.70.184 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2554 เวลา:14:49:44 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com