<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
12 มิถุนายน 2558
 

้ รู้จัก "e-bidding,e-market"ประมูลแบบอเล็กทรอนิกส์

                    รู้จัก"e-bidding,e-market"ประมูลแบบอเล็กทรอนิกส์

                                                                     เตือนใจ เจริญพงษ์

เรื่องการประมูลงาน กับ การฮั้ว หรือรู้เห็นเป็นใจ
ในระบบราชการมีมาช้านานแล้ว 
แม้จะออกมาตรการอะไรออกมา
เพราะการทุจริตแนวนี้เริ่มตั้งแต่
..เจ้าหน้าที่รัฐ.. มีกิจการห้างร้านเสียเอง
..เจ้าหน้าที่รัฐ.. มีพรรคพวกเป็นบริษัท
...นักการเมือง.. ต้องตอบแทนบริษัท ห้างร้านเอกชนที่ดูแลกันต่อเนื่อง
...พรรคการเมือง...ทำมาหากินเอางานราชการเพื่อเก็บเข้าต๋งของพรรค

ข้อเท็จจริงดังกล่าว มีมาอย่างต่อเนื่อง
พบว่าบ่อยครั้งพรรคการเมืองใหญ่ๆ
ที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงในสังกัด
เมื่อเริ่มเข้ามาบริหารราชการ
ก็จะให้ทุกส่วนราชการคลี่งบประมาณ
แล้วแต่งตั้งภาคเอกชนมาเป็นที่ปรึกษา
นั่งร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่รัฐ
แล้วก็ส่งงานประมูลเข้ามาประกบ
ผู้บริหารภาครัฐก็ไม่ขวางเพราะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร
.....เป็นว่าจะออกกฎแนวไหน
ก็ไม่สามารถปราบปรามการทุจริตดังกล่าวได้
แถมได้งานประมูลไปแล้วทำไม่เป็นอีกตะหาก
ต้องให้ข้าราชการสอนงานกันซะเหนื่อย

วันนี้มีข้อมูลใหม่ของ ปปช.รู้จักกันซะหน่อย
คุณสุทธิชัย หยุ่น เขียนไว้ในกรุงเทพธุรกิจรายวัน เมื่อ12 มิย. 2558 ดังนี้

e-bidding จะสกัด ‘นักฮั้ว’ ดีกว่า e-auction ไหม?

คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ 
อนุมัติให้มีการใช้ e-bidding และ e-market แทน e-auction 
หรือการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ 
เพื่อช่วยป้องกันคอร์รัปชันอันเกิดจากการ “ฮั้ว”
หรือ “รู้เห็นเป็นใจ” ของเจ้าหน้าที่และผู้เข้าประมูล
การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยราชการไม่ว่าจะเป็นการล็อกราคาล่วงหน้า
, การเขียนและแก้ไขเงื่อนไขการประมูลหรือ TOR (terms of reference) 
เพื่อให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งชนะการประมูลได้

คำถามก็คือจะช่วยได้จริงหรือ?

มีคำอธิบายจากผู้อำนวยการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชันประเทศไทย

 ดร.มานะ นิมิตมงคล (ให้สัมภาษณ์ทางวิทยุจุฬาฯ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา) ว่า

แต่ก่อนนี้ใครจะประมูลงานราชการก็จะเขียนตัวเลขที่เสนอใส่กระดาษ 

หรือเอกสารที่ทางราชการกำหนดมาใส่ซอง

ประมาณ 8-9 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลเปลี่ยนเป็น e-auction 

อันเป็นวิธีการประมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต 

ใครจะเข้าประมูลก็ไปที่สถานที่ที่ทางราชการกำหนด 

นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ กดตัวเลขที่ผู้ประมูลพร้อมจะรับงาน 

เพื่อแข่งขันกับรายอื่น ๆ ที่เสนอราคามาเช่นกัน 

ผู้เคาะราคารายต่าง ๆ ที่เข้าประมูลไม่เห็นหน้ากัน 

แต่วิธีนี้ไม่อาจจะป้องกันคอร์รัปชันได้ 

เพราะพบว่าก่อนที่จะไปนั่งเคาะราคาหน้าจอคอมพิวเตอร์ 

ผู้เข้าร่วมประมูลมีการ “ฮั้วราคา” กันมาเรียบร้อยแล้ว 

ดังนั้น เมื่อมาเคาะแข่งกันจริง ๆ มีการลดราคากันเพียงเล็กน้อย 

บางครั้งงานเป็นพันล้านบาท มีการตัดราคากันเพียงหลักแสนบาทเท่านั้น 

เพราะต่างฝ่ายต่างตกลงราคากันมาก่อนแล้ว


นั่นคือเหตุผลที่เปลี่ยนมาเป็น e-marketing และ e-bidding

E-market หรือ “ตลาดอิเล็กทรอนิกส์” 

หมายถึงในกรณีที่เป็นสินค้าพื้น ๆ 

เช่นโต๊ะ, เก้าอี้หรือปากกาดินสอ ใครมีสินค้าอะไรก็เข้าไปแจ้งว่า

สินค้าของตนเองมีสเปคอย่างไร จะขายราคาเท่าไหร่ต่อหน่วย 

คอมพิวเตอร์ก็จะทำการประมวลและแยกสินค้าเป็นประเภท 

จัดลำดับราคาที่เสนอขาย โดยที่ใครเข้าไปดูก็จะเห็นข้อมูล

เหมือนกันหมด หน่วยราชการไหนต้องการจะซื้ออะไร ราคาเท่าไหร่ 

ก็เข้าไปประเมินกลุ่มสินค้าราคาช่วงไหนอย่างไรที่สมเหตุสมผล 

เพื่อจะได้ตัดสินว่าจะซื้อจากบริษัทที่เข้ามาประมูลรายไหน

ที่ใกล้เคียงกับราคากลางที่มีการเสนอผ่าน e-market นี้

ส่วน e-bidding จะป้องกันไม่ให้ผู้ประมูลรู้ล่วงหน้าว่า

มีใครมาซื้อซองบ้าง รู้ล่วงหน้าว่าใครเป็นใคร

ซึ่งจะทำให้เกิดการ “ฮั้ว” กันขึ้นได้ 

ด้วยการไม่ให้คนประมูลรู้ว่าใครมาร่วมแข่งขันด้วย

เมื่อหน่วยราชการประกาศทางอินเทอร์เน็ทว่า

จะจัดซื้อจัดจ้างอะไร ใครสนใจเข้าร่วมแข่งขันก็ให้ไปที่ธนาคารใกล้บ้านตนเอง 

จ่ายเงินค่าซองประมูลที่นั่น ระบบคอมพิวเตอร์จะตอบรับกลับมาว่า

ผู้ซื้อซองมีคุณสมบัติครบที่จะเข้าประมูลหรือไม่อย่างไร 

และหากอนุมัติก็จะมีรหัสเฉพาะราย

เมื่อได้รหัสมาแล้ว ผู้ประมูลก็สามารถไป download 

ข้อมูลของการประมูลนั้น ๆ และการยื่นประมูล

ก็สามารถทำได้ทางอินเทอร์เน็ท ทำให้ผู้ประมูลทุกคน

ได้ข้อมูลจากภาครัฐเท่าเทียมกัน ไม่เหมือนในอดีตที่มีความ

ได้เปรียบเสียเปรียบของผู้เข้าประมูล แล้วแต่เส้นสาย

และความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่รัฐในการประมูลครั้งนั้น ๆ

ระบบนี้เพื่อไม่ให้มีการติดต่อระหว่างข้าราชการ

หรือ “ขาใหญ่” ของวงการเพื่อ “ฮั้ว” กันก่อนการประมูล 

เพราะจะไม่ต้องผ่านเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ 

โดยที่ข้อมูลจะวิ่งไปที่ส่วนกลางที่กระทรวงการคลัง

แต่ต้องไม่ลืมว่านักธุรกิจไทยมีความเก่งกาจสามารถ

ในการหาช่องโหว่กฎหมายเพื่อหลีกเลี่ยงการป้องกันการฉ้อฉลอย่างยิ่ง 

จะออกกฎหมายอะไรหรือสรรหาวิธีการประมูลอย่างไรก็

“เอาไม่อยู่” แต่ฝ่ายที่พยายามจะสกัดกั้นการโกงกิน

ก็ร่วมกันแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯของราชการ

เพื่อจะปิดรูรั่วเหล่านี้ในทุก ๆ วิถีทางเช่นกัน

ดร.มานะ อธิบายว่า “ยกตัวอย่างว่าแต่ก่อน 

กรมทางหลวงจะสร้างทาง ก็จะมีบัญชีผู้รับเหมาของตนเอง 

ซึ่งก็จะแยกเป็นเกรด A, B, C ใครจะเลื่อนชั้นจาก B เป็น C

 ต้องจ่ายตังค์ ใครจะเลื่อนจาก C เป็น B ก็ต้องจ่ายเงิน 

แต่ละหน่วยงานที่ก่อสร้างถนนไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวง, 

หรือกรมทางหลวงชนบท ต่างก็มีบัญชีผู้รับเหมาของตนเอง 

เรียกว่ามุ้งใครมุ้งมัน แต่ภายใต้กฎใหม่ แต่ละหน่วยราชการจะสร้างก๊วน, 

สร้างแก๊ง, สร้างมุ้งของตัวเองไม่ได้เพราะการขึ้นบัญชีผู้รับเหมา

จะทำโดยกรมบัญชีกลางเท่านั้น โครงการก่อสร้างที่กินกันมาก 

เป็นพันเป็นหมื่นล้านจะเป็นประเภท turn-key หรือ design-and-build 

คือออกแบบไปทำไป โดยเขาจะมีวงเงินในการก่อสร้างอยู่ 

และนั่นคือช่องทางคอร์รัปชันมหาศาล ตรวจสอบยากมาก 

แต่กฎหมายใหม่ทำ design-and-build ไม่ได้ 

ถ้าคุณไม่มีแบบที่ชัดเจนคุณประมูลไม่ได้...เ

ราต้องใช้กลไกหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กัน

จึงจะแก้ปัญหาคอร์รัปชันในระบบได้...”


ถามว่าออกแบบกฎเกณฑ์ใหม่อย่างนี้แล้ว 

จะหยุดยั้งคอร์รัปชันได้ทั้งหมดหรือไม่?

คำตอบคือไม่ แต่จะทำได้ยากขึ้น 

และหากประชาชนช่วยกันแบบ “ตาสับปะรด”

และส่งเสริมให้มีการคุ้มครองคนวงในเปิดโปงความชั่วร้ายภายใต้

ที่เรียกว่า whistle-blower (คนเป่านกหวีดเตือนภัย) ได้,

อย่างน้อยก็จะทำให้เราจัดการกับความชั่วร้ายของสังคมได้อีกชั้นหนึ่งแน่นอน/จบ

..................................................................................................................................





 

Create Date : 12 มิถุนายน 2558
0 comments
Last Update : 19 กันยายน 2558 3:43:42 น.
Counter : 1012 Pageviews.

 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com