Me, Myself and Formula 1
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
16 กันยายน 2555
 
All Blogs
 
ว่ากันด้วยเรื่อง KERS...อีกครั้ง

ในปัจจุบันแฟนๆ ฟอร์มูล่าวันรู้จักและคุ้นเคยกับ "KERS" หรือ Kinetic Energy Recovery System กันเป็นอย่างดีแล้วนะคะ โดย KERS ใช้ในฟอร์มูล่าวันครั้งแรกเมื่อปี 2009 และหยุดพักไปในปีถัดมา ก่อนกลับมาปรากฏอีกครั้งในปี 2011 ทุกวันนี้เจ้า KERS เป็นอย่างไรและมีบทบาทสำคัญในรถฟอร์มูล่าวันยุคนี้แค่ไหน เรมี่ ทัฟแฟง หัวหน้าส่วนปฏิบัติการในสนามของเรโนลต์สปอร์ตเอฟวันได้อธิบายให้พวกเราทราบกันค่ะ

"KERS เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งทำงานภายในเครื่องยนต์เพื่อเพิ่มกำลังได้มากถึง 60 กิโลวัตต์ เท่ากับพลังงาน 400 กิโลจูล หรือเพิ่มขึ้น 80 แรงม้า ขณะนี้ระบบทำงานได้เป็นอย่างดีและใช้งานง่าย นักขับเพียงแค่กดปุ่มประมาณ 2-3 ครั้งต่อรอบ เหมือนกับการเปลี่ยนเกียร์ให้ถูกจังหวะ โดยไม่มีความซับซ้อนหรือเรื่องความไม่เสถียรของเบรก (เพราะ KERS เก็บพลังงานมาจากการเบรก) ให้เห็นอีกแล้ว ในช่วงแรกของการใช้ KERS รถต้องแบกน้ำหนักมาก อาจจะมากถึง 40 กิโลกรัม แต่ปัจจุบันนี้ระบบมีน้ำหนักลดลงเกือบครึ่งหนึ่งและเข้ากับรถได้เป็นอย่างดี"

แล้วที่จริง KERS ทำงานอย่างไร?

"ระบบถูกติดตั้งด้านหน้าของเครื่องยนต์และเชื่อมต่อตรงเข้ากับเกียร์ ซึ่งเป็นการทำงานแบบสองทาง โดยเมื่อเกิดการเบรก แรงเฉื่อยของรถหรือเครื่องยนต์จะไปทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานและก่อให้เกิดพลังงานไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ เท่ากับว่าเราได้ชาร์จแบตเตอรี่ ต่อมาเมื่อเราเดินคันเร่งโดยเฉพาะตอนที่ใช้เกียร์ต่ำ เราก็จะนำพลังงานนั้นกลับออกมาจากแบตเตอรี่ผ่านมอเตอร์ไฟฟ้าสู่เครื่องยนต์ ซึ่งจะเพิ่มกำลังพิเศษให้กับข้อเหวี่ยง

"เป็นเรื่องท้าทายเสมอที่จะต้องรู้ให้ได้ว่าเราจะใช้พลังพิเศษนี้อย่างไรให้ดีที่สุดและมันก็กลายเป็นกลยุทธ์หนึ่ง อย่างเช่นถ้าเราดูการแซงและข้อจำกัดของมอนซ่า หากเราอยู่ในการแข่งขันและต้องการแซง เราอาจกดปุ่ม KERS ก่อนถึงเส้นสตาร์ท-ฟินิชและใช้เต็มที่ไปตลอดที่วิ่งบนทางตรงหน้าพิต หมายความว่าเราจะใช้ KERS ได้นานถึง 13-14 วินาที โดยจุดนั้นเราอาจทำความเร็วได้เพิ่มขึ้นถึง 12 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งสร้างความแตกต่างอย่างมาก"

รถของทีมที่ไม่ใช้ KERS จะเสียเปรียบอย่างไรบ้าง?

"ในการควอลิฟาย KERS จะช่วยให้ทำเวลาได้เร็วขึ้น 0.4 วินาทีต่อรอบ บางครั้งอาจเป็น 0.3 หรือ 0.5 ขึ้นอยู่กับผังสนาม แต่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 0.4 ส่วนระหว่างการแข่งขันจะแตกต่างไปสักเล็กน้อยเพราะเราใช้สำหรับแซง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือกราฟฟิกจากรถของคิมี่ ไรค์โคเน่น ในจังหวะแซงมิชาเอล ชูมัคเกอร์ที่โค้งโอรูจของสนามสปา ซึ่งคิมี่ใช้ KERS ทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนขึ้นถึงโค้งโอรูจเพื่อให้อยู่ติดกับชูมัคเกอร์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ KERS จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากระหว่างการแข่งขันเมื่อต้องการแซงคู่แข่งในจุดที่พวกเขาไม่คิดว่าเราจะแซงได้"




คลิปจากยูทูบโดยคุณ rferrerFullF1



*จังหวะที่ไรค์โคเน่นแซงชูมัคเกอร์ที่โค้งโอรูจอยู่นาทีที่ 9:03-9:48 ค่ะ









*ข้อมูลจาก nextgen-auto.com


Create Date : 16 กันยายน 2555
Last Update : 16 กันยายน 2555 21:58:52 น. 2 comments
Counter : 3805 Pageviews.

 
ดูคลิปแล้วฟังเสียงรถของ RBR เหนื่อยใจแทนจริงๆ เครื่องมันอั้นแค่นั่นแซงใครก็ไม่ค่อยจะได้ ขนาดกด KERS + DRS ก็แล้ว


โดย: tAez IP: 110.164.48.250 วันที่: 18 กันยายน 2555 เวลา:12:01:38 น.  

 
ขอบคุณครับ


โดย: punch IP: 58.9.233.113 วันที่: 19 กันยายน 2555 เวลา:12:47:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

finishline
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ในประเทศไทยหาข่าวฟอร์มูล่าวันอ่านได้ยากเหลือเกิ๊นนนน...เขียนเองเลยดีกว่า!

**เจ้าของบล็อกเขียนข่าวขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลข่าวและแปลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ ท่านใดที่นำข้อความในบล็อกไปเผยแพร่ต่อ ขอความกรุณาให้เครดิตบล็อกด้วยนะคะ**
Friends' blogs
[Add finishline's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.