Me, Myself and Formula 1
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2559
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
11 พฤศจิกายน 2559
 
All Blogs
 

Preview: Brazilian Grand Prix 2016



นิโค รอสเบิร์ก มีโอกาสคว้าแชมป์โลกอีกครั้งในสุดสัปดาห์นี้ เขาจะปิดจ๊อบได้เลย หรือลูอิส แฮมิลตัน จะยื้อไปถึงสนามสุดท้าย มาลุ้นด้วยกันค่ะ





รายละเอียดการแข่งขัน (ตามเวลาประเทศไทย)
สนามที่ 20: 11-13 พ.ย. 59
ซ้อม 1 - ศุกร์ที่ 11 พ.ย. เวลา 19.00-20.30 น.
ซ้อม 2 - ศุกร์ที่ 11 พ.ย. เวลา 23.00-0.30 น.
ซ้อม 3 - เสาร์ที่ 12 พ.ย. เวลา 20.00-21.00 น.
รอบควอลิฟาย - เสาร์ที่ 12 พ.ย. เวลา 23.00-0.00 น.
แข่งขัน - อาทิตย์ที่ 13 พ.ย. เวลา 23.00 น.
*ติดตามชมช่วงฝึกซ้อมได้ทางช่องฟ็อกซ์สปอร์ตส์ 2 และชมรอบควอลิฟายและการแข่งขันได้ทางช่องฟ็อกซ์สปอร์ตส์เอชดี หรือเว็บไซต์ที่ขึ้นไว้ด้านขวานี้

ข้อมูลสนาม
ชื่อสนาม: ออโตโดรโม่ โฮเซ่ คาร์ลอส ปาเช่ / อินเตอร์ลากอส (สนามถาวร)
ทิศทางการวิ่ง: ทวนเข็มนาฬิกา
จำนวนรอบแข่งขัน: 71 รอบ
จำนวนโค้ง: 15 โค้ง
ปีที่สนามเปิดใช้: ค.ศ. 1940
ปีที่เริ่มจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์: ค.ศ. 1973
ความยาวของสนาม: 4.309 กม.
ระยะทางของการแข่งขันทั้งหมด: 305.909 กม.
สถิติสนามต่อ 1 รอบ: 1:11.473 (ฮวน พาโบล มอนโตย่า / วิลเลียมส์ - 2004)

ข้อมูลทางเทคนิค
ความเร็วสูงสุด: 347 กม./ชม.
อัตราการใช้คันเร่งเต็มที่ต่อรอบ: 42%
อัตราการใช้เชื้อเพลิงต่อรอบ: 1.41 กก.
อัตราการเปลี่ยนเกียร์ต่อรอบ: 51 ครั้ง
การเลือกยางของปิเรลลี่: ซอฟต์ (สีเหลือง) / มีเดียม (สีขาว) / ฮาร์ด (สีส้ม)
แรง G ในโค้งสูงสุด: 5
จำกัดความเร็วในพิตเลน: 80 กม./ชม. ระหว่างช่วงฝึกซ้อม รอบควอลิฟาย และการแข่งขัน
DRS Zone:
1) ระหว่างโค้ง 3 ถึงโค้ง 4 โดยมีจุดตรวจจับเวลากลางโค้ง 2
2) ทางตรงหน้าพิต ระหว่างโค้ง 15 ถึงโค้ง 1 โดยมีจุดตรวจจับเวลาที่ระยะ 30 เมตรหลังโค้ง 13

พยากรณ์อากาศสุดสัปดาห์ของการแข่งขัน
วันศุกร์ - มีฟ้าคะนอง อุณหภูมิสูงสุด 27 องศาเซลเซียส / ต่ำสุด 18 องศาเซลเซียส
วันเสาร์ - มีฝนตกเล็กน้อย อุณหภูมิสูงสุด 19 องศาเซลเซียส / ต่ำสุด 15 องศาเซลเซียส
วันอาทิตย์ - มีฝนตกหนัก อุณหภูมิสูงสุด 18 องศาเซลเซียส / ต่ำสุด 17 องศาเซลเซียส

ผู้ได้ตำแหน่งโพลในบราซิเลียน กรังด์ปรีซ์ 3 ปีหลังสุด
2015 - นิโค รอสเบิร์ก (เมอร์เซเดส) 1:11.282
2014 - นิโค รอสเบิร์ก (เมอร์เซเดส) 1:10.023
2013 - เซบาสเตียน เวทเทล (เร้ดบูล) 1:26.479

ผู้ชนะบราซิเลียน กรังด์ปรีซ์ 3 ปีหลังสุด
2015 - นิโค รอสเบิร์ก (เมอร์เซเดส)
2014 - นิโค รอสเบิร์ก (เมอร์เซเดส)
2013 - เซบาสเตียน เวทเทล (เร้ดบูล)

เวลาต่อรอบเร็วที่สุดในบราซิเลียน กรังด์ปรีซ์ 3 ปีหลังสุด
2015 - ลูอิส แฮมิลตัน (เมอร์เซเดส) 1:14.832 รอบที่ 51
2014 - ลูอิส แฮมิลตัน (เมอร์เซเดส) 1:13.555 รอบที่ 62
2013 - มาร์ก เว็บเบอร์ (เร้ดบูล) 1:15.436 รอบที่ 51

เรื่องน่ารู้ก่อนดูการแข่งขัน

- ครั้งนี้เป็นการแข่งขันบราซิเลียน กรังด์ปรีซ์ ครั้งที่ 44 โดยมีการแข่งขันมาทุกปีนับตั้งแต่รายการนี้บรรจุในปฏิทินการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี 1973 ซึ่งสนามจาคาเรปากัวของริโอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในปี 1978 และ 1981-1989 นอกนั้นเป็นการแข่งขันในสนามอินเตอร์ลากอสที่เซาเปาโล

- อแลง พรอสต์ เป็นนักขับที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในรายการนี้ด้วยชัยชนะ 6 ครั้ง ในปี 1982 1984 1985 1987 1988 และ 1990 ส่วนแม็คลาเรนเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด หลังจากเก็บชัยชนะมาแล้ว 12 ครั้ง ตามมาด้วยเฟอร์รารี่ จำนวน 10 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทีมเคยชนะในอินเตอร์ลากอสเท่ากันที่ 8 ครั้ง

- นับตั้งแต่บราซิเลียน กรังด์ปรีซ์ ย้ายมาจัดแข่งขันเป็นสนามสุดท้ายของปีตั้งแต่ปี 2004 ก็มี 6 ครั้งด้วยกันที่ตัดสินแชมป์โลกที่นี่ ได้แก่ เฟอร์นันโด อลอนโซ่ (2005 และ 2006) คิมี่ ไรค์โคเน่น (2007) ลูอิส แฮมิลตัน (2008) เจนสัน บัตตัน (2009) และเซบาสเตียน เวทเทล (2012) ซึ่งจากนักขับทั้งหมดข้างต้นมีเพียงไรค์โคเน่นคนเดียวเท่านั้นที่ชนะพร้อมกับคว้าแชมป์โลก

- นอกจากไรค์โคเน่น นักขับในกริดปัจจุบันที่เคยชนะการแข่งขันที่บราซิลมีอีก 4 คน ได้แก่ เฟลิเป้ มาสซ่า นักขับเจ้าบ้านผู้ซึ่งจะแขวนพวงมาลัยฟอร์มูล่าวันเมื่อจบฤดูกาลนี้ โดยเขาเคยชนะในปี 2006 และ 2008 ให้กับเฟอร์รารี่ เวทเทลชนะให้เร้ดบูลในปี 2010 และ 2013 เจนสัน บัตตัน ชนะให้แม็คลาเรนในปี 2012 และนิโค รอสเบิร์ก นักขับเมอร์เซเดสเป็นผู้ชนะใน 2 ปีหลังสุด

- มาสซ่าเป็น 1 ใน 5 นักขับบราซิลที่เคยชนะการแข่งขันในบ้าน และเป็น 1 ใน 4 ที่เคยชนะในอินเตอร์ลากอส เอเมอร์สัน ฟิตติพัลดี้ ชนะการแข่งขันบราซิเลียน กรังด์ปรีซ์ ครั้งแรกในปี 1973 และ 1974 คาร์ลอส ปาเช่ ชนะในปี 1975 ไอร์ตัน เซนน่า ชนะในปี 1991 และ 1993 ขณะที่เนลสัน ปิเกต์ ชนะในปี 1983 และ 1986 ซึ่งทั้งสองครั้งแข่งขันในสนามจาคาเรปากัว

- เดิมทีสนามอินเตอร์ลากอสมีความยาว 7.960 กม. ซึ่งใช้ในระหว่างปี 1973-1977 และ 1979-80 ส่วนรูปแบบใหม่ที่มีการตัดทอนให้สั้นลงนั้นใช้มาตั้งแต่ปี 1990

- ตารางแสดงเงื่อนไขหากนิโค รอสเบิร์ก จะคว้าแชมป์โลกปี 2016 ในสนามนี้












*ข้อมูลจาก formula1.com / gpupdate.net / wikipedia.org / fia.com
ภาพจาก fia.com / skysports.com




 

Create Date : 11 พฤศจิกายน 2559
6 comments
Last Update : 11 พฤศจิกายน 2559 23:44:33 น.
Counter : 1777 Pageviews.

 

ขอแนะนำการติดตามข่าวสารและผลการแข่งขันอีกช่องทางที่เพจของบล็อก //www.facebook.com/f1starfanclub ค่ะ

และขอแจ้งให้ทราบว่า จขบ. มีธุระไปต่างจังหวัดระหว่างวันอาทิตย์ที่ 13 ถึงวันอังคารที่ 15 ซึ่งจะอัพบล็อกสรุปผลการแข่งขันบราซิเลียน กรังด์ปรีซ์ ช้าหน่อยนะคะ

 

โดย: finishline 11 พฤศจิกายน 2559 23:48:06 น.  

 

ผล FP1

 

โดย: finishline 11 พฤศจิกายน 2559 23:53:24 น.  

 

ผล FP2

 

โดย: finishline 12 พฤศจิกายน 2559 0:44:15 น.  

 

ผล FP3

 

โดย: finishline 13 พฤศจิกายน 2559 0:12:37 น.  

 

ผลการควอลิฟาย

 

โดย: finishline 13 พฤศจิกายน 2559 0:13:23 น.  

 

ผลการแข่งขัน

 

โดย: finishline 16 พฤศจิกายน 2559 0:11:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


finishline
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ในประเทศไทยหาข่าวฟอร์มูล่าวันอ่านได้ยากเหลือเกิ๊นนนน...เขียนเองเลยดีกว่า!

**เจ้าของบล็อกเขียนข่าวขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลข่าวและแปลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ ท่านใดที่นำข้อความในบล็อกไปเผยแพร่ต่อ ขอความกรุณาให้เครดิตบล็อกด้วยนะคะ**
Friends' blogs
[Add finishline's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.