แหล่งรวมเกร็ดความรู้เรื่องการเงินในทุกมิติของทุกช่วงชีวิต โดยทีมให้คำปรึกษาและวางแผนการเงิน K-Expert
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
 
4 กุมภาพันธ์ 2556
 
All Blogs
 

ภาษีกับผลตอบแทนจากการลงทุน

สวัสดีครับ

ในที่สุดเราก็เข้าสู่เดือนสุดท้ายของช่วงยื่นแบบภาษีกันแล้วนะครับสำหรับตลอดเดือนมีนาคมนี้ ผมก็ยังจะหยิบเอาสาระดีๆ เกี่ยวกับภาษีมาฝากกันอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์สูงสุดของทุกคนที่จะนำไปปรับใช้ในการกรอกและยื่น ภ.ง.ด. กันครับหรือจะนำไปต่อยอดกับการวางแผนภาษีก็ดีครับ และเรื่องที่ผมนำมาบอกเล่ากันในวันนี้คือเรื่องของภาษีกับผลตอบแทนจากการลงทุนครับ 

ถ้าพูดถึงการลงทุนผมเชื่อว่าส่วนใหญ่คงให้ความสำคัญกับ “ผลตอบแทน”กันเป็นอันดับหนึ่งอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามผลตอบแทนจากการลงทุนนั้นมีทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีและแบบที่ปลอดภาษีดังนั้นเราจึงควรศึกษาประเภทของผลตอบแทนจากการลงทุนให้ดีเพื่อให้เราสามารถเลือกลงทุนได้อย่างคุ้มค่าครับ

เรามาเริ่มกันจากผลตอบแทนจากการลงทุนประเภทที่ปลอดภาษีกันครับ

  1. ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ปลอดภาษีหากเป็นเงินไม่เกิน 20,000 บาท/ปีครับ
  2. ดอกเบี้ยเงินฝากประจำรายเดือนแบบปลอดภาษี ซึ่งโดยทั่วไปจะมีกำหนดฝากเป็นเวลา 2 หรือ 3 ปี โดยที่ยอดรวมฝากต้องไม่เกิน 600,000 บาท
  3. กำไรจากมูลค่าหน่วยลงทุนที่เพิ่มขึ้นของกองทุนรวมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนทองคำ ฯลฯ ก็ปลอดภาษีครับ แต่ถ้าหากเป็นการขาย LTF/RMF ที่ผิดเงื่อนไขของสรรพากร เราต้องนำกำไรมาคำนวณในการยื่นแบบภาษีของปีที่ขายครับ
  4. ดอกเบี้ยเงินฝากของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ซึ่งปกติแล้วผู้ที่อายุ 65 ปีขึ่นไป จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ทุกประเภท รวมถึงภาษีดอกเบี้ยเงินฝากด้วยครับ ซึ่งได้รับยกเว้นเป็นเงินไม่เกิน 190,000 บาทครับ
  5. กำไรจากการซื้อขายหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์
  6. ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์

ต่อไป เรามาดูผลตอบแทนจากการลงทุนที่ต้องเสียภาษีกันบ้างนะครับ

  1. ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ โดยเสียภาษี 15%
  2. ดอกเบี้ยพันธบัตรและหุ้นกู้ โดยเสียภาษี 15%
  3. เงินปันผลของหุ้นสามัญ โดยเสียภาษี 10%
  4. เงินปันผลของกองทุน โดยเสียภาษี 10%

สำหรับดอกเบี้ยเงินฝากประจำพันธบัตร หุ้นกู้ และเงินปันผลของหุ้นสามัญ โดยปกติแล้วเราจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายทั้งนี้ หากเรามีฐานภาษีที่ต่ำกว่าอัตราภาษีขอแนะนำให้นำรายได้เหล่านี้กลับมารวมคำนวณเป็นเงินได้หมวด 40(4)เพื่อเสียภาษีตามฐานภาษีจริง และเพื่อความเข้าใจนะครับ ผมมีตัวอย่างมาให้ดูกันครับ

นาย ก ซึ่งปัจจุบันเกษียณแล้วมีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากประจำ (จากทุกธนาคาร) และพันธบัตรรัฐบาลปีละ 150,000บาท หากนาย ก ไม่ยื่นภาษี ดอกเบี้ยเงินฝากประจำและพันธบัตรฯ จะถูกหักภาษี ณที่จ่ายเป็นเงิน 22,500 บาท แต่หากนาย ก นำรายได้ดังกล่าวไปยื่นภาษี นาย กจะไม่ต้องเสียภาษี เนื่องจากมีรายได้ไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี ซึ่งในกรณีนี้ นาย กจะได้รับเงินคืน 22,500 บาท

ส่วนเงินปันผลของกองทุนถือว่าเป็นรายได้ประเภท40(8) โดยที่เราสามารถเลือกได้ตอนเปิดบัญชีกองทุนว่าต้องการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือนำไปคำนวณในการยื่นภาษี ในกรณีนี้ หากใครเป็นพนักงานประจำขอแนะนำให้เลือกหักภาษี ณ ที่จ่ายครับ แต่ถ้าใครที่รายได้ต่อปีไม่ถึง 150,000ก็อย่าลืมนำเงินปันผลมาคำนวณเป็นรายได้แล้วยื่นแบบภาษีด้วยนะครับเราจะได้ส่วนที่หัก ณ ที่จ่ายไปกลับคืนมาครับ ทั้งนี้อยากขอย้ำว่าอย่าลืมขอหลักฐานแสดงรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากบริษัทที่จ่ายดอกเบี้ยและเงินปันผลให้เราด้วยนะครับเผื่อไว้ว่ากรมสรรพากรจะขอเรียกดูครับ

และนี่ก็คือภาษีกับผลการตอบแทนที่นำมาฝากกันในวันนี้หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์และช่วยให้ทุกคนวางแผนการเงิน ภาษี และการลงทุนได้นะครับ ท้ายนี้หากใครมีข้อสงสัยทุกเรื่องการเงิน สามารถส่งอีเมล์มาปรึกษา K-Expert ได้ที่ k-expert@kasikornbank.com หรือเข้าไปอ่านสาระดีๆ ได้ที่ www.askkbank.com/k-expert และสำหรับผู้ที่ชอบการรับข้อมูลทาง Twitter สามารถ follow@ KBank_Expert หรือเข้าไปที่ //twitter.com/KBank_Expert เพื่อรับข่าวสารการเงินการลงทุน และเกรดการเงินง่ายๆสำหรับชีวิตประจำวันครับ

Credit:ขอบคุณภาพประกอบจาก www.earningdiary.com




 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2556
0 comments
Last Update : 4 กุมภาพันธ์ 2556 17:45:12 น.
Counter : 1299 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Expert Blog
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 17 คน [?]




เกร็ดความรู้ทางการเงินสำหรับชีวิตประจำวันในทุกมิติของชีวิต
Friends' blogs
[Add Expert Blog's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.