Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2548
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
7 พฤษภาคม 2548
 
All Blogs
 
อยากเล่าให้ฟัง


ก่อนที่จะเล่าเรื่องราวต่างๆในวงการบันเทิงให้ฟัง นายเอ็นจังอยากที่จะทำความเข้าใจกันก่อนว่า เรื่องที่มาเล่าสู่กันฟังนั้นเป็นเรื่องราวที่ได้ประสบพบมาในการทำงานและแต่งสีสัน ด้วยความคิดเห็นส่วนตัวที่เพิ่มเมเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ใครที่อ่านแล้วไม่เห็นด้วย หรือว่า รู้ลึกกว่า อย่าได้รอช้า เขียนมาเล่าสู่กันฟังบ้าง จะได้ ให้ประชาชนทั่วไปได้รู้จักวงการนี้ว่า ทำอะไร อย่างไรในอีกรูปแบบหนึ่ง

อารัมภบทมานานแล้ว เข้าสู่เรื่องกันเลยดีกว่า เรื่องแรกที่จะคุยกัน มาเริ่มที่กระแสฮ็อต ฮิต ติดดาว กระเทือนเลื่อนลั่น ตลาดคลองถม แน่นอนต้องหนีไม่พ้น หนังแผ่น หรือ ที่เรียกว่า เทเลมูฟวี่ หรือดิจิตอลมูฟวี่ ทำไมน่ะหรือ เพราะว่า คลองถม คือแหล่งตลาดใหญ่ในการซื้อขาย และกระจายไปสู่ทั่วไปเทศ เงินหมุนเวียนในแต่ละคืน หลายล้านบาท ดังนั้น การสั่งให้แบนหนังแผ่นย่อมมีผลถึงคนทำธุรกิจ ไปทั่ว

นึกให้ง่ายเข้า ก็ให้นึกภาพ คลองถม กับ แม่น้ำเจ้าพระยา ที่แต่ก่อนจะมีถนน เป็นเส้นทางการขนส่งใหญ่ที่สุด ของจากเหนื่อ ล่องไปใต้ก็ใช้เส้นนี้เป็นหลัก เช่นกันคลองถมก็ เป็นเส้นเลือดใหญ่ที่เป็นจุดกระจาย ไปยังร้านขายหนังวีซีดีในต่างจังหวัดด้วย

มาเริ่มต้นกันถึงที่มาของหนังแผ่นกันเลยดีกว่า อยากให้นึกถึงร้านเช่าวีดีโอ ในสมัยกว่า 10ปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีวีซีดี อย่างทุกวันนี้ ซึ่งเป็นศูนย์เช่าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะก่อนหน้านี้ จะเพียงแค่ใครจะเอาหนังมาเช่าก็เช่าเลย ไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ แต่อย่างใด แต่พออเมริกาเริ่มเข้มงวด คนไทยก็เลยบ้าจี้เข้มงวดไปด้วย จึงทให้เกิดธุรกิจ ที่ติดต่อเรื่องลิขสิทธิ์ ประเภทเพื่อให้เช่า โดยที่คิดเงินกับร้านค้าที่จะทำธุรกิจแบบนี้ โดยมีสัญญาการจ่ายเงิน ให้กับบริษัทที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ และมีการการันตีว่าจะมีหนังใหม่ๆ ให้เดือนละกี่เรื่อง เพื่อให้ลูกค้าที่มาเช่าหนังได้มีหนังใหม่ๆ ตลอดเวลา

พอจะเห็นภาพแล้วใช่ไหมว่า หนังฉายในโรงนั้น มีเพียงเดือนละไม่กี่เรื่อง ไปซื้อจากต่างประเทศก็แพง ทางออกคือต้องผลิตเอง

และนี่ก็คือที่มาของหนังแผ่น ที่ว่ามาจากศูนย์เช่าวิดีโอ ต้องการให้มีหนังใหม่ๆเข้าในแต่ละเดือนเพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภคหนัง หากรอแต่หนังที่ฉายในโรงนั้น คงไม่ทันกินกันพอดี ดังนั้นจึงมีการถ่ายทำหนัง ประเภท เกรดต่ำลงมา ซึ่งมีทั้ง ทั้ง เกรด บี , เรทอาร์ หรือหนังไม่ได้เน้นนักแสดงที่ดังๆ

หนังแบบนี้ นั้นได้สร้างรายได้ให้กับผู้กำกับ ที่ไม่มีงานหนังใหญ่ได้พอมีรายได้กันมาเยอะแล้ว แต่พวกเขาจะไม่ใช้ชื่อเหมือนในการกำกับหนังใหญ่ และประเภทของหนังไม่ต่างอะไรกับหนังที่ฉายในโรง แถมยังทำหนังที่หวือหวาได้อีก อ๊ะๆๆคนที่ชอบเช่าหนังมา อย่าเถียงนะว่าไม่เคยเห็นหนังแบบนี้ในร้านเช่า

ทำไมถึงบูมในช่วงนี้???

กระแสตรงนี้ มันเริ่มมากจาก หนังประเภท เรท อาร์ ที่วางแผงขายบนดินอย่างโจ่งแจ้ง มีการเซ็นต์เซอร์ อย่างเป็นทางการ จำหนังประเภทที่ชื่อเดียวกับหนังใหญ่ได้ไหม ที่หลายคนซื้อมาดูแล้วกลายเป็นอีกตัวแสดง หนังพวกนี้ จะใช้ทุนต่ำ ตั้งแต่ 1.5 แสน ถึง 2 แสนบาท แต่ผลตอบแทนกลับสูงสอง สามเท่าตัว บางเรื่องได้ถึงล้านแผ่นก็ยังมี ทำให้คนที่เห็นลู่ทาง รวมทั้งกลุ่มธุรกิจฟอกเงินต่างหันเข้าสู่ตลาดหนังอาร์ กันเป็นอย่างมาก

นิสัยคนไทย ทำตามกระแส แต่ไม่แคร์เรื่องผลงาน ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร บางเรื่องอาจทำได้ดีกว่าหนังใหญ่ แต่บางเรื่องก็ต้องยอมรับกันว่า ห่างกันลิบลับ คนที่ทำทำออกมาคิดว่าต้องขายให้ได้กำไรเท่านั้น บางครั้งภาพความรุนแรงถึงขั้นเรทเอ็กซ์ เพื่อเป็นการเร่งกระตุ้นยอดขาย โดยไม่คำนึงถึงจรรยาบรรณ

ช่วงหนึ่งหน่วยงานของรัฐขอร้องให้กลุ่มผลิตหนังประเภทดังกล่าวหยุดการผลิตชั่วคราว แต่คำสั่งคราวนั้น จำได้ว่านานากๆ จนคนที่ทำหนังประเภทนี่แทบจะอดตายกันไป เลยต้องหาวิธีหนีตาย มาเป็นเปลี่ยนชื่อเป็นนังอีโรติกกันแทน เรื่องแรกๆ ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็นกากีสหัสวรรษ ที่มีข่าวดังมาก

ซึ่งจริงๆแล้วหนังแผ่นมีมานานแล้วคนที่นิยมเดินคลองถมจะเห็นคุ้นตา

หนังแผ่น ได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้น เมื่อ 2 ค่ายยักษ์ใหญ่ ประกาศลงมาแย่งส่วนคลองการตลาดของหนังแผ่น นั่นคือแกรมมี่ และ อาร์เอส

แกรมมี่ได้ลองมาก่อนแต่ไม่ได้มุ่งเน้นและมีการเปลี่ยนผู้บริหารภายในจึงดูเหมือนว่ามาตาม อาร์เอส และที่สำคัญอาร์เอสได้ชื่อในการ ตั้ง และดันชื่อว่า เทเลมูฟวี่

อะไรคือปัจจัยที่ทำให้ทั้งสองค่ายยักษ์ นี้ลงมาจับตลาดล่าง

มีหลายเหตุผลและปัจจัยด้วยกัน แต่พอที่จะเห็นและนึกออก ชัดๆ ก็คือ หนังใหญ่กำลังล้นตลาด เป็นหนังที่ไม่ค่อยมีคุณภาพมาฉายเยอะและถี่จนคนดูทั้งเบื่อและรู้สึกเสียดายเงิน

ประการต่อมา กลุ่มที่บริโภคหนังแผ่นมักไม่นิยมดูในโรง เพราะว่า ดูได้ทั้งบ้านในราคาที่ถูกกว่า
อีกทั้งราคาเครื่องเล่นยังถูกแสนถูก ทำให้ความนิยมเพิ่มมากขึ้น

คนกลุ่มนี้ไม่สนใจเรื่องคุณภาพของหนังมักนัก เน้นเอาความสนุก อย่างเดียว

แหล่งเม็ดเงินจากคนเหล่านี้ไม่แพ้ หนังโรงเลยทีเดียว เผลอๆ ยังมากกว่าอีก

ตัวเองที่เห็นได้ชัดคือเรื่องพระอภัยมณี เปิดตัววันเดียว ยอดขายกว่า 5 แสนแผ่น เป็นไปได้งัย หลายคนคงงง ด้วยการถูกแบน และการสร้างกระแสข่าวอย่างไม่ได้ตั้งใจทำให้ เรื่องนี้ได้กำไรอย่างคาดไม่ถึงจากการขายวีซีดีและดีวีดี รวมทั้งเบื้องหลังการถ่ายทำด้วย แต่เราจะไม่คุยถึงคุณภาพของหนังเรื่องนี้ และไม่ต้องพูดถึงรายได้จากโรงภาพยนตร์ ที่ถูกจำกัดและขีดเส้นมากมาย

ที่นี้เรามาลองเจาะลึกของสองค่ายยักษ์ใหญ่กันเลยดีกว่า นั้นก็คือแกรมมี่และอาร์เอส

แกรมมี่เปิดตัวเองในนาม “ดิจิตอล มูฟวี่” และได้เริ่มก่อนหน้าอาร์เอสโดยนำเอาศิลปิน วงบางแก้ว สองคนพี่น้องฝาแฝดมาร่วมแสดงบทนำ และเรื่องนี้ก็มีเพลงประกอบขายกันเหมือนเช่นเคย แต่ไม่ได้โด่งดังอะไรมาก และกว่าที่แกรมมี่จะคัดเลือกแต่ละเรื่องมาทำนั้นค่อนข้างพิถีพิถัน (แต่ไม่ได้การ์รันตีว่าจะต้องออกมาดี...ฮา ) และได้หยุดไปนาน

แกรมมี่ ในเรื่องของหนังใหญ่เองก็ ทำๆหยุดๆ บ่อยเหมือนกัน ครั้งหนึ่งอากู๋ถึงกับประกาศปิดแกรมมี่ฟิล์ม ไปครั้งหนึ่ง ไปนานเมื่อกัน และ บอกว่ารอผู้บริหารคนที่เหมาะมาทำให้ได้ก่อนแล้วจึงเปิดใหม่ ตอนนี้เปิดมาแล้วก็ปิดอีก โดยการไปรวมตัวกับ บริษัทไท เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ และหับโห้หิ้น

กระแสการเปลี่ยนแปลงผ่านในยังคงร้อนระอุ อยู่ตลอดเวลา และก็กลับมาอย่างสวยงาม ด้วยเรื่อง 15ค่ำ เดือน11 ที่สร้างกระแส บั้งไฟพระยานาคให้ดังระเบิดเทิดเทิง ทั่วประเทศ แต่ก็ใช่ว่าทุกเรื่องจะออกมาแล้วได้ตังค์ทุกเรื่องอย่างหนังเรื่อง One night husband ที่แป็ก เพราะเป็นหนังคุณภาพมากจนไม่สามารถดึงเงินจากกระเป๋าของคนดูได้มากมาย นี่คือเหตุผลที่ได้ยินมา ตัวกระผมเองก้ไม่ได้ไปดู เพราะไม่ทัน ออกไปซะก่อน

จะเห็นได้ว่าแกรมมี่นั้นเน้นงานที่ออกมาเพื่อที่ภาพลักษณ์จะต้องดูดี เพื่ออะไรก็น่ะเหรอ เหตุผลง่ายๆ ก็เพื่อรักษาระดับราคาในตลาดลักทรัพย์ไว้ ไม่ให้ตกดิ่งลงเหว

คนที่เล่นหุ้นจะทราบดีว่า ข่าวนั้นมีความหมายต่อนักลงทุนได้ขนาดไหน และพวกนักลงทุนเหล่านั้นช่างขวัญอ่อนซะเหลือเกิน เป็นพวก Sensitive กันจริงๆนะจะบอกให้

และอะไรที่ทำให้แกรมมี่ต้องโดลงมาเล่นหนังแผ่น ด้วยล่ะ ?

อย่างที่เคยบอกไปว่า เม็ดเงินน่ะ มหาศาล ไม่ใช่น้อยๆ หนังใหญ่น่ะแย่งมาได้ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ แถมขั้นตอนการฉายหนังใหญ่ก็ลงทุนมากมาย ไม่ใช่แค่ค่าถ่ายทำ ยังรวมถึงค่าโปรโมทอีก และเพื่อให้เกิดความครบวงจร และภาพลักษณ์ที่ดี แกรมมี่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าต้องลงมาเล่นด้วยเพื่อขอส่วนแบ่งการตลาดเพื่อไม่ให้เสียหน้า เพราะร้านที่ขายเพลงกับหนังไปด้วยกันได้อยู่แล้วและช่องทางการจัดจำหน่ายแผงเทปต่างๆไม่มีใครไม่อยากได้เพลงแกรมมี่ไปลง ก็เป็นโอกาสดีที่จะควบไปเลยทีเดียวพร้อมๆกัน คล้ายกับกลยุทธ์ ขายเบียร์ ที่เคยใช้กันของคนจัดจำหน่ายสุรา ที่เป็นแบบขายพ่วง

ส่วนทางอาร์เอส เพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์เหมือนกัน จะยอมน้อยหน้าได้อย่างไร แต่สิ่งที่อาร์เอสทำได้แรงและเร็วกว่านั้นคือปริมาณหนังที่ออกมา เดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 4 เรื่อง ซึ่งตรงนี้ข้าพเจ้าเข้าใจว่าอาร์เอสมีประสบการณ์ที่ดีในการจัดจำหน่ายเพลง และการหมุนเวียนของSoftware ย่อมมีผลที่จะทำให้คนขายนั้นยอมที่จะรับไปขายเพราะมีทางเลือกมาก และมีการเปลี่ยนหมุนเวียนสินค้าก็ยิ่งทำให้สินค้าขายง่ายขึ้น

ทั้งสองนี้เข้ามาหวังจะมาแย่งส่วนแบ่งการตลาดอย่างเดียวเหรอ ?

กระผมไม่คิดเช่นนั้น กระผมกำลังคิดว่า ทั้งสองค่ายกำลังที่จะเป็นเจ้าของ software มากที่สุด ในตลาดเหมือนอย่างเช่น ธุรกิจเพลงทำ โดยใช้เงินทุ่มซื้อทุกอย่างเริ่มตั้งแต่ ผู้ผลิต โดยให้งบประมาณที่สูงถึง 1.5 ล้าน -5 ล้านบาทต่อเรื่องในการผลิต ซึ่งต่างจากแต่ก่อนที่ได้งบเพียง 1.5 แสน -2 แสนบาท แพงกว่ากัน10เท่าตัว แต่ถ้าถามถึงคุณภาพของงาน ออกมาไม่ค่อยคุ้มกับที่ให้งบขนาดนั้นเลย

สิ่งนี้เองทำให้เกิดอะไร อย่างแรกคือผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านั้นไม่มีคนมาสร้างให้ เพราะ มีคนให้ตังค์เยอะกว่า แล้วก็ดูดีกว่าที่ทำให้บริษัทใหญ่ เมื่องานใหม่ก็ไม่มีออกมา ในกระบวนการขายผ่านช่องทางแบบนี้การไม่มีสินค้าใหม่ไปเปลี่ยนก็ยากที่จะได้เงินงวดก่อนกลับมา ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะขาดสภาพคล่องทางการเงิน และพับเสื่อกลับบ้านนอนหยอดน้ำใบบัวบก

โดยปกติแล้วหนังแผ่นไม่ได้มีการโปรโมทผ่านสื่อกันมากมายขนาดนี้ โดยมากแล้วใช้ปกเป็นตัวขายและเรื่องย่ออีกนิดหน่อย และได้แรงเสริมจากคนขายหน้าร้านที่จะช่วยเชียร์ จำนวนที่ขายได้ถ้า 50,000 แผ่นได้ก็ไม่เจ็บตัว เรียกว่าจุดคุ้มทุนอยู่ที่ 5 หมื่น แต่ก็ใช่ว่าจะได้ทุกเรื่องแต่บางเรื่องก็โกยไปเยอะ เหมือนกัน ถ้าเอามาถัวกันก็พออยู่ได้

แต่ทางอาร์เอสและแกรมมี่ จะทำเช่นนั้นได้เหรอในเมื่อสื่อที่ทรงพลังต่างๆอยู่ในมือจึงได้ระดมทุนกันอย่างเอาเป็นเอาตาย หวังให้ได้ยอดขายที่มาคุ้มกับทุนที่เสียไป ถามว่ายากไหม ยากมาก เพราะอย่างที่บอก เขาเพิ่มต้นทุนจากที่ควรจะเป็นถึง10 เท่า

ทางอาร์เอสหาทางออกโดยการขายต่างประเทศด้วย (อ๊ะ อ๊ะ อย่าเพิ่งงงว่าหนังแบบนี้ขายต่างประเทศได้ด้วยเหรอ เราจะคุยกันในรายละเอียดเรื่องการขายหนังไทยไปต่างประเทศ ) เพราะอาร์เอสได้ปูทางไว้บ้างแล้วจากการขายหนังใหญ่ ไปต่างประเทศ เพราะหนังใหญ่ที่ฉายในประเทศเท่านั้นไม่สามารถทำกำไรได้ มีแต่เจ็บตัว

ส่วนคุณภาพหนังของทั้งสองค่ายนี้ไม่ขอกล่าวถึงอยากให้ไปเสียเงินซื้อดูกันเอง ช่วยๆกันหน่อยเพราะว่าลงทุนไปตั้งเยอะ

ส่วนค่ายเล็กๆล่ะ อย่าง “ อีโล้นซ่าส์” ไม่น่าเชื่อ แต่ก็ต้องเชื่อ ยอดขายน่ะหลักล้านแผ่นในภาคแรก ด้วยแรงเชียร์ และแรงโปรโมท และความกล้าหาญของนักแสดงทำให้ยอดขายพลุ่งไปโลด แต่อย่าถามถึงคุณภาพนะ คนที่ดูแล้วบอกว่า เขาใช้อะไรทำมันถึงได้ออกมา ... ขนาดนี้
แต่ก็ไม่วาย ภาค 2 ยังออกมาขายได้อีก แต่ก็เบาลงเพราะคนที่ซื้อแล้วรับไม่ได้ก็มีเยอะ


มาถึงตรงนี้ ต้องขยาย ขอขยายเรื่องหนังแผ่นแนวอีโรติกกันล้สนๆเลยดีกว่า เอาน่ะ ไม่ต้องเขินหรอก รู้น่าว่า อยากรู้ เพื่อไม่ให้เสียเวลา เริ่มกันที่ ทำไมถึงต้องมีแต่อีโรติกเต็มท้องตลาดหนังแผ่น เช่นนี้ ???

เหตุผลไม่ยากเลยขอรับ

1. อย่างที่บอกว่า งบประมาณที่ใช้สำหรับการทำหนังแผ่นไม่มาก ดังนั้นหนังที่ จะทำได้ มีไม่กี่ประเภท

หนังตลกเหรอ สู้พวกตลกที่เขาอัดลงแผ่นไมได้ คนเขียนมุขตลกได้ไม่ใช่เรื่องง่าย
หนังแอ็คชั่น ก็ใช้ทุนสูง มีเทคนิคอีกมากมาย งบบานแน่
หนังรักโรแมนติก คอหนังแผ่นไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ ทำตลาดยาก
หนังผี ก็ไม่อยากสู้กับหนังใหญ่เพราะว่ามีเยอะแล้ว และพวกหนังแผ่นในช่วงแรกๆก็ทำซะเยอะแล้ว กลุ่มคนดูมีแค่กลุ่มหนึ่ง

2. อีกเหตุผลคือ หนังอาร์ ถูกลิดรอนและขอร้องให้ระงับการขาย ทำให้คนที่ต้องการที่จะเสพหนังประเภทนี้มีอยู่เยอะ ก็ต้องกระหาย เอ๊ะ ใช้คำผิด ต้องใช้ว่า เฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ

3. การทำการตลาดไม่ยาก เพราะแค่เอาดาราดังมาลงแผ่น พวก ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ก็โอเช รับมาขายกันอยู่แล้ว ง่ายกว่า หนังเรทอาร์ที่ดาราไม่ดังซะอีก

4. การโปรโมท สื่อยินดีที่จะเขียนถึงดาราอยู่แล้ว ยิ่งเป็นเรื่องแบบนี้ สื่อยิ่งให้ความสนใจ แทบไม่ต้องทำอะไรมากก็มีการลงข่าวให้แล้ว

เหตุผล พอแค่นี้ก่อนดีกว่า เพราะว่า มากกว่านี้อาจจะจับได้ว่า เรารู้ไม่จริง ฮ่า ฮ่า ฮ่า

แต่บอกได้เลยว่า หนังประเภทนี้ จะฮือฮาไม่นานหรอก เพราะ ลงทุนในเรื่องตัวแสดงเยอะ ทำให้ต้นทุนในการผลิตแต่ละเรื่องต่ำ แต่ โปรดักชั่น ออกมาไม่ดี ก็เลยทำให้ยอดขายไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุนไป ไม่นานก็เปลี่ยนแนวทำ ตามประสาคนไทยที่เห็นใครทำอะไรได้ดีก็จะแห่ทำตามกัน โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพสักเท่าไหร่ นัก

แล้วหนังที่ทำมาจากเพลง ของ คาราบาวล่ะ เป็นอย่างไร ?

อันนี้บอกได้เลยว่าไม่มีทางขาดทุน เพราะอะไร ? ก็เพราะว่า แฟนเพลงของคาราบาว ทั่วประเทศ ซื้อคนละแผ่น เหมือนเทปก็คุ้มแล้ว

แล้วถ้ามีคนมาเลียนแบบอีกล่ะ ? อันนี้ไม่ขอตอบดีกว่า ดูกันเองก็แล้วกัน

เรามาทายกันไหมว่า หนังประเภทไหนที่จะเป็นที่นิยมผลิตกันต่อไป
ขอย้ำ! เน้นการผลิตนะขอรับ ไม่ได้เน้นที่ว่า ผู้บริโภค ชอบแบบไหน

จบเรื่องหนังแผ่นก่อนดีกว่า เขียนมากกว่านี้เกรงว่าจะเดินเที่ยวเล่นคลองถมยากขึ้น ว่าแล้วก็ขอตัวไปหาซื้อหนังต้องห้าม ก่อนดีกว่า ซาหวัดดี ขอรับ กระผม 




Create Date : 07 พฤษภาคม 2548
Last Update : 7 พฤษภาคม 2548 4:10:14 น. 1 comments
Counter : 1006 Pageviews.

 


โดย: เราเอง IP: 203.188.24.103 วันที่: 6 เมษายน 2549 เวลา:10:46:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

เอ็นจัง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add เอ็นจัง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.