ชีวิตคน ไม่ยืนยาว เหนือกาลเวลา จงทำดี มีธรรมา ติดตัวเอย
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2558
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
18 มิถุนายน 2558
 
All Blogs
 

หลักการตอกเสาเข็ม

              มีรุ่นน้อง มาถามผมเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม ว่าส่วนใดควรตอกก่อนหรือหลัง ซึ่งผมได้ตอบไปแล้ว และคิดว่าควรจะเขียนเป็นเรื่องไว้ด้วย เพื่อเป็นความรู้ สำหรับผู้สนใจที่เข้ามาอ่าน ผมจึงเขียน เรื่อง หลักการตอกเสาเข็ม ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

หลักการตอกเสาเข็ม
              ในระหว่างการตอกเสาเข็ม จะมีแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเคลื่อนตัว ของเสาเข็มและโครงสร้างใต้ดิน ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ดังนั้น การลดผลกระทบดังกล่าว จะอยู่ที่การจัดการแรงสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นต้นเหตุที่สำคัญ ซึ่งมีหลักในการพิจารณา ดังนี้
              ๑ เสาเข็มขนาดใหญ่ จะเกิดแรงสั่นสะเทือน มากกว่าเสาเข็มขนาดเล็ก จึงควรตอกเสาเข็มขนาดใหญ่ก่อน เพื่อลดผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือน ที่มีผลต่อเสาเข็มขนาดเล็ก
              ๒ ดินแข็งจะมีความต้านทาน ต่อการเคลื่อนตัวของเสาเข็ม มากกว่าดินอ่อน จึงควรตอกเสาเข็ม บริเวณดินแข็งก่อน เพื่อลดผลกระทบต่อการเคลื่อนตัวของเสาเข็ม ในบริเวณดินอ่อน
              ๓ กรณีบริเวณตอกเสาเข็ม อยู่ติดกับทางน้ำ เช่น คลองหรือแม่น้ำ ควรตอกเสาเข็มบริเวณด้านใน ออกไปยังบริเวณที่ติดทางน้ำ เพราะน้ำสามารถสลายแรงสั่นสะเทือนลงได้
              ๔ การตอกเสาเข็ม ที่มีลักษณะเป็นวงรอบ เช่น เสาเข็มรั้ว จะขวางกั้นแรงสั่นสะเทือน จึงควรตอกเสาเข็มหลังสุด
              ๕ กรณีที่มีเสาเข็มเจาะร่วมด้วย ควรตอกเสาเข็มก่อน เพื่อป้องกันการแตกร้าวของเสาเข็มเจาะ
              ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ผมหวังว่า ผู้สนใจที่เข้ามาอ่าน คงได้รับความรู้และมีความเข้าใจ ในหลักการตอกเสาเข็ม ดียิ่งขึ้น


              พร้อมกันนี้ ผมมีเพลง มาให้ฟังกัน เพื่อความบันเทิง เป็นการส่งท้าย ครับ

กรุงเทพมหานคร




 

Create Date : 18 มิถุนายน 2558
0 comments
Last Update : 18 มิถุนายน 2558 19:08:52 น.
Counter : 7176 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


วิศวกรที่ปรึกษา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]




ประกอบอาชีพวิศวกรโครงสร้างและวิศวกรโยธา

ไม่สนับสนุนการออกแบบและก่อสร้างอาคาร รวมทั้งงานต่อเติมที่ผิดกฎหมายต่อพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522


New Comments
Friends' blogs
[Add วิศวกรที่ปรึกษา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.