Group Blog
 
 
มิถุนายน 2551
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
28 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 

วันนี้ในอดีต

๑ มิ.ย.๒๔๘๖
วันทำพิธีเปิดโรงเรียนนายทหารเรือ โดยนายพลเรือตรี พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) ปัจจุบันโรงเรียนนายทหารเรือเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง (สรส.)
ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า "INSTITUTE OF ADVANCED NAVAL STUDIES " กำหนดให้วันที่ ๑ มิ.ย.ของทุกปีเป็นวันสถาปนาหน่วย

๒๔๘๑
วันจัดตั้งหน่วยบินทหารเรือเป็นครั้งแรก โดยเรียกชื่อหน่วยว่า "หมวดบินทะเล"
ขึ้นตรงกับกองเรือรบ

๒๔๘๘
เรือหลวงอ่างทองถูกทุ่นระเบิดฝ่ายสัมพันธมิตรจมลงที่สัตหีบ เรือหลวงลำนี้เดิมชื่อเรือพระที่นั่งมหาจักรี (ลำที่ ๒) สั่งต่อจากประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๙ เปลี่ยนชื่อเป็นเรือหลวงอ่างทอง

๒ มิ.ย.๒๕๒๔
กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ได้ออกประกาศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเวลามาตรฐานซึ่งใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ให้ใกล้เคียงกับเวลาจริง ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปจริง

๒๕๒๕
เริ่มการฝึก คอบร้าโกลด์'๘๔ ในบริเวณอ่าวไทย โดยทหารเรือของทัพเรือที่ ๗ และนาวิกโยธิน สหรัฐอเมริกา ประมาณ ๕,๕๐๐ คน ร่วมซ้อมรบกับทหารเรือไทย โดยใช้เรือประมาณ ๓๐ ลำ

๔ มิ.ย.๒๕๓๕
คณะผู้แทนองค์การทำนุบำรุงอนุรักษ์เรือประวัติศาสตร์โลก (World Ship Trust) ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญ รางวัลมรดกทางการเดินเรือ ปี ๒๕๓๕ (Maritime Heritage Award,1992) ที่มอบให้เป็นเกียรติแก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ของประเทศไทย และเป็นการสดุดีหน่วยงานที่บำรุงรักษาเรือให้คงอยู่ในสภาพที่ดีไว้เป็นสมบัติของชาติ

๕ มิ.ย.๒๔๘๕
กองพลที่ ๓ กองทัพพายัพ มี พลตรี หลวงชำนาญยุทธศาสตร์ (ผิน ชุณหะวัณ) เป็นผู้บัญชาการกองพล ได้ยาตราทัพเข้าสู่เมืองเชียงตุง หลังจากที่ยึดได้ในปลายเดือนพฤษภาคม เจ้าบุญวาสน์ ณ เขมรัฐและประชาชนชาวไทยใหญ่ให้การต้อนรับกองทหารไทยด้วยความชื่นชมยินดี

๒๕๒๘
ตั้ง ค่ายขุนเจืองธรรมิกราช ซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมทหารราบที่ ๑๗, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๗ และจังหวัดทหารบกพะเยา อยู่ที่อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

๖ มิ.ย.๒๔๘๑
วันสถาปนา กรมการเงินทหารบก (กง.ทบ.) ตั้งอยู่ในอาคารหมายเลข ๔ กองบัญชาการกองทัพบก ด้านติดถนนราชดำเนินนอก แขวงบางขุนพรม เขตพระนคร

๗ มิ.ย.๒๔๔๙
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ออก ณ พระที่นั่งอภิเศกดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรทหารเรือ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เป็น นายพลเรือเอก ในกรมทหารเรือ ขณะพระชนม์ ๒๖ พรรษา

๘ มิ.ย.๒๕๑๔
พิธีสวนสนามแสดงแสนยานุภาพของทหารทั้งสามเหล่าทัพ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก ณ บริเวณอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน

๒๕๓๙
วันวางกระดูกงู เรือหลวงสิมิลัน ซึ่งเป็นเรือประเภทเรือส่งกำลังบำรุง ต่อที่อู่เรือบริษัทหูตุง (Hudong) นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน

๙ มิ.ย.๒๔๙๖
กองทัพเรือจัดตั้ง หน่วยอบรมรถสะเทินน้ำสะเทินบก ขึ้นเป็นครั้งแรก ในกองป้องกันสถานีทหารเรือสัตหีบ

๑๐ มิ.ย.๒๔๔๒
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสทะเลฝั่งตะวันออกและตะวันตก ไดเแก่ เกาะสีชัง ศรีราชา บางพระ เกาะคราม ชุมพร เกาะพงัน เกาะเต่า เกาะลังกาจิว เขาสามร้อยยอด รวม ๑๑ วัน โดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เสด็จคืนสู่พระนครเมื่อ ๒๑ มิ.ย.๒๔๔๒


๒๔๗๖
วันเกิดพลเอก วิจิตร สุขมาก อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เกิดที่จังหวัดนนทบุรี

๒๔๘๖
สถานีทหารเรือสัตหีบได้เปลี่ยนฐานะใหม่เป็น มณฑลทหารเรือที่ ๒ มีเขตรับผิดชอบทางด้านชายฝั่งทะเลตั้งแต่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภายหลังได้ยุบเลิกไปเมื่อ ๒๙ มิ.ย.๒๔๙๔

๑๑ มิ.ย.๒๔๔๓
พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ ทรงสำเร็จการศึกษาด้านการทหารเรือจากประเทศอังกฤษ ได้เสด็จกลับประเทศไทยโดยเรือเมล์ชื่อ สิงคโปร์

๒๕๑๔
ตั้ง ค่ายมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองพันทหารราบที่ ๗ กรมทหารราบที่ ๓ กองพลนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อยู่ที่ตำบลตะพง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
กรมตำรวจจัดตั้ง ค่ายศรีนครินทรา เป็นที่ตั้งกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๔๒ และกองกำกับการ ๙ กองบังคับการฝึกพิเศษ ตั้งอยู่ที่ บ้านใสใหญ่ ตำบลถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

๑๒ มิ.ย.๒๔๔๓
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้กรมทหารเรือ (กองทัพเรือในปัจจุบัน) ฝึกหัดนักเรียนนายเรือให้เรียบร้อย ถ้านักเรียนคนใดฝึกหัดได้ดี สมควรส่งไปเล่าเรียนวิชาต่างประเทศได้ จะทรงออกทุนทรัพย์ให้กรมทหารเรือ ส่งนักเรียนออกไปเล่าเรียน วิชาต่างประเทศทุกปี

๑๓ มิ.ย.๒๔๖๓
จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ (ปอด) บวม ขณะเสด็จเยือนสิงคโปร์ พระชนม์เพียง ๓๗ พรรษา ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๔๐ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ ๔ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ต้นราชสกุล จักรพงษ์

๒๔๗๑
จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทิวงคต ที่วังบูรพาภิรมย์ ขณะพระชนม์มายุ ๖๘ พรรษา

๒๔๘๘
เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ บี ๒๔ จำนวน ๔ ลำ ของฝ่ายสัมพันธมิตร เข้าโจมตีเรือรบของไทยซึ่งจอดอยู่ในบริเวณอ่าวสัตหีบ ในระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยทิ้งระเบิดใส่เรือหลวงศรีอยุธยา เรือหลวงสุโขทัย เรือหลวงระยอง และเรือหลวงสุราษฎร์ แต่ลูกระเบิดไม่ตรงเป้าหมาย เรือฝ่ายไทยจึงไม่ได้รับความเสียหาย

๒๕๑๕
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระอนุสาวรีย์จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ค่ายจักรพงษ์ ตำบลดงพระราม อำเภอปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี

๑๔ มิ.ย.๒๓๑๐
เจ้าตากยกทัพเข้าตีได้เมืองจันทบุรี หลังจากที่ขอความร่วมมือจากพระยาจันทบุรีในการกู้กรุงศรีอยุธยาแล้วแต่ไม่สำเร็จ

๑๕ มิ.ย.๒๔๔๓
นายพลตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และผู้รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ ทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานยศให้พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ เป็น "นายเรือโท ผู้บังคับการ" และขอให้ได้รับพระราชทานเงินเดือนๆละ ๕๐๐ บาท

๑๖ มิ.ย.๒๔๙๕
กองทัพเรือได้มีคำสั่งยุบเลิกกองบังคับการหมู่เรือฟริเกต (มฟ.) และให้นายทหารประจำกองบังคับการหมู่เรือได้แก่ นาวาเอก วิเชียร พันธุ์โภคา ผู้บังคับหมู่เรือและนายทหารประจำหมู่เรืออีก ๓ นาย เดินทางกลับพร้อมกับการสับเปลี่ยนทหารประจำเรือหลวงท่าจีน และเรือหลวงประแส (ลำที่ ๒) รุ่นที่ ๑ ชุดที่ ๑ แล้วแต่งตั้งให้นาวาตรี สุวิเชียร ฟุ้งลัดดา ผู้บังคับการเรือหลวงท่าจีน รักษาราชการผู้บังคับหมู่เรือร่วมกับสหประชาชาติ (มส.) อีกตำแหน่งหนึ่งในสงครามเกาหลี

๑๗ มิ.ย.๒๔๗๑
วันคล้ายวันสถาปนา กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ (วศ.ทร.) ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๘๓ หมู่ ๑๒ ถนนพุทธมณฑล สาย ๓ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ

๑๙ มิ.ย.๒๕๒๕
กรมตำรวจจัดตั้ง ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นที่ตั้งกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๒๒ ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และเกียรติประวัติ แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติครบรอบ ๑๒๐ ปี

๒๔๖๑
ไทยส่งทหารอาสาสมัครไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยส่งกองบินทหารบกและกองทหารบกรถยนต์รุ่นแรก ออกเดินทางในวันนี้
ไทยส่งทหารอาสาสมัครไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยส่งกองบินทหารบกและกองทหารบกรถยนต์รุ่นแรก ออกเดินทางในวันนี้

๒๐ มิ.ย.๒๔๖๓
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงเป็นผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ

๒๑ มิ.ย.๒๔๗๖
เกิดรัฐประหารขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) เป็นหัวหน้า

๒๔๐๕
วันประสูติ นายพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระนามเดิม พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ต้นราชสกุล ดิศกุล

๒๔ มิ.ย.๒๔๐๙
วันเกิดนายพลเอก เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ นามเดิม หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์ โอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นบิดาของ ม.ล.บัว กิติยากร พระชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงมีศักดิ์เป็นพระอัยกา

๒๓๙๒
เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพคู่พระทัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคไข้ป่วง (อหิวาตกโรค) ขณะอายุได้ ๗๒ ปี

๒๔๗๕
คณะราษฎร ประกอบด้วยทหารและพลเรือน นำโดย นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ได้เข้ายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย

๒๔๘๓
ตั้ง ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ตั้ง ศูนย์สงครามพิเศษ และหน่วยบัญชาการรบพิเศษที่ ๒ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

๒๔๘๔
พลโท พจน์ พหลโยธิน ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ณ ตำบลวงเวียนพญาไท

๒๔๘๕
จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อนุสรณ์สถานที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติประวัติ ของวีรชนผู้เสียสละชีวิตเป็นชาติพลี เนื่องจากกรณีพิพาทกับอินโดจีนฝรั่งเศส

๒๕ มิ.ย.๒๕๑๓
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ณ สนามข้างสวนสาธารณะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๒๕๑๒
พลตรี สวัสดิ์ มักการุณ ผู้บัญชาการกองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ ๒ นำคณะนายทหารเข้ากราบถวายบังคมลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อไปปฏิบัติราชการสงครามในสาธารณรัฐเวียดนาม ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต

๒๗ มิ.ย.๒๕๔๑
พลโท สุรพล ชินะจิตร เจ้ากรมแผนที่ทหาร ประธานคณะอนุกรรมการเทคนิคร่วมไทย-ลาว แถลงเกี่ยวกับความคืบหน้า ในการปักปันเขตแดน ทางบก ตั้งแต่แก่งผาได ตำบลสบรวก กิ่งอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ลงมาใต้สิ้นสุดที่อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ว่า ได้สำรวจเขตแดนเป็นระยะทาง ๕๓๘ กิโลเมตร และสามารถปักหลักเขตแดนได้แล้ว ๕๓ หลัก จากจำนวนทั้งหมด ๕๖ หลัก

๒๘ มิ.ย.๒๔๗๑
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๗๐ คน

๒๙ มิ.ย.๒๕๑๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเททอง หล่อพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ณ โรงหล่อ กรมศิลปากร

๒๔๒๔
วันประสูติ จอมพลและจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ต้นราชสกุล บริพัตร

๒๔๘๑
เรือดำน้ำ ๔ ลำซึ่งสั่งต่อที่ญี่ปุ่น เดินทางมาถึงประเทศไทย คือ เรือหลวงสินสมุทร เรือหลวงพลายชุมพล เรือหลวงมัจจาณุ และเรือหลวงวิรุณ

๒๔๙๔
เกิด กบฏแมนฮัตตัน โดยนายทหารเรือจำนวนหนึ่งภายใต้การนำของนาวาตรี มนัส จารุภา ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ใช้ปืนจี้ตัว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ขณะกำลังทำพิธีรับมอบเรือขุดแมนฮัตตันซึ่งสหรัฐอเมริกามอบให้แก่ประเทศไทย ที่ท่าราชวรดิฐ และเชิญตัวไปขังไว้ที่เรือหลวงศรีอยุธยาซึ่งจอดอยู่ที่หน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ เพื่อที่จะบีบบังคับให้เปลี่ยนแปลงรัฐบาล ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งผู้แทนเจรจา แต่ฝ่ายทหารเรือไม่ยอมจึงเกิดการปะทะกับกำลังทหารบกและตำรวจฝ่ายรัฐบาลขึ้นหลายแห่งในพระนคร

๒๕๑๒
จอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้นำคณะเดินทางไปตรวจเยี่ยมกองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ ๑ (พลตรี ทวี ดำรงหัด เป็นผู้บัญชาการกองพล) ที่ไปทำการรบในสาธารณรัฐเวียดนาม และได้ประดับเหรียญชัยสมรภูมิแก่ นายทหาร จำนวน ๑๓๐ นาย กับเหรียญชัยสมรภูมิประดับเปลวระเบิด แก่นายทหารอีก จำนวน ๑๖๙ นาย

๓๐ มิ.ย.๒๔๙๔
เรือหลวงศรีอยุธยาที่จอมพลบ ป. พิบูลสงคราม ถูกควบคุมตัวในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ถูกเครื่องบินกองทัพอากาศกราดปืนกล และทิ้งระเบิดจนไฟไหม้เรือจม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ตัดสินใจว่ายน้ำเข้าหาฝั่งกองบัญชาการกองทัพเรือ และคอยอยู่ใต้สะพานท่าน้ำ จนมีนายทหารเรือพบเข้าโดยบังเอิญ จึงถูกนำตัวไปกองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม เพื่อพบกับพลเรือเอก สินธุ์ กมลนาวิน รวมทั้งนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่อีกหลายนาย และเจรจาทำความเข้าใจกันจนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงเดินทางกลับถึงกองบัญชาการของรัฐบาล ในวังปารุสกวันอย่างปลอดภัย เป็นผลให้กบฏแมนฮัตตันยุติลง






 

Create Date : 28 มิถุนายน 2551
0 comments
Last Update : 28 มิถุนายน 2551 12:34:30 น.
Counter : 2395 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


Aisha
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับสู่
Aisha's blog ขอบคุณที่แวะมาค่ะ

Friends' blogs
[Add Aisha's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.