บันทึกอิเล็กทรอนิกส์
 
มิถุนายน 2557
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
27 มิถุนายน 2557
 
 
กฎของโอห์มและความต้านทาน

กฎของโอห์มและความต้านทาน

การอ่านค่าความต้านทาน
ค่าความต้านทานโดยส่วนใหญ่จะใช้รหัสแถบสีหรืออาจจะพิมพ์ค่าติดไว้บนตัวต้านทานถ้าเป็นการพิมพ์ค่าติดไว้บนตัวต้านทานมักจะเป็นตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังวัตต์สูง ส่วนตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังวัตต์ต่ำมักจะใช้รหัสแถบสี
การอ่านค่ารหัสแถบสีสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาอาจจะมีปัญหาเรื่องของแถบสีที่ 1 และแถบสีที่ 4 ว่าแถบสีใดคือแถบสีเริ่มต้นให้ใช้หลักในการพิจารณาแถบสีที่ 1,2 และ 3 จะมีระยะห่างของช่องไฟเท่ากันส่วนแถบสีที่ 4 จะมีระยะห่างของช่องไฟมากกว่าเล็กน้อย

ค่าความต้านทานแถบสี

1.หันแถบสีค่าผิดพลาดไปทางขวามือ (ลักษณะแถบสีค่าผิดพลาดจะมีระยะห่างจากแถบสีอื่นๆ มากที่สุด และจะเป็นสี น้าตาล แดง ทอง และเงิน เท่านั้น ) ยกตัวอย่าง ตัวต้านทาน 4 แถบสี ส่วนใหญ่ค่าผิดพลาดคือสีทอง (ค่าผิดพลาด +- 5% ) ตัวต้านทาน 5 แถบสี ส่วนใหญ่ค่าผิดพลาดคือสีน้าตาล (ค่าผิดพลาด +- 1% )
2.การอ่านให้อ่านแถบสีไล่จากซ้ายไปขวา แถบสีที่อยู่ก่อนแถบสีค่าผิดพลาด คือแถบสีตัวคูณ ส่วนแถบสีก่อนหน้านั้นให้น้าค่ามาไล่กันตามล้าดับ
3.แปลงค่าหน่วยให้อยู่ในรูปของตัวเลขที่อ่านง่าย

คำอุปสรรค (Prefixes)


คำอุปสรรคที่ใช้แทนตัวพหุคูณ

ตัวคูณ

ชื่อ

สัญลักษณ์

1018

เอกซะ (exa)

E

1015

เพตะ (peta)

P

1012

เทระ (tera)

T

109

จิกะ (giga)

G

106

เมกะ  (mega)

M

103

กิโล (kilo)

k

102

เฮกโต (hecto)

h

101

เดคา (deca)

da

10-1

เดซิ (deci)

d

10-2

เซนติ (centi)

c

10-3

มิลลิ (milli)

m

10-6

ไมโคร (micro)

?

10-9

นาโน (nano)

n

10-12

ฟิโก (pico)

p

10-15

เฟมโต (femto)

f

10-18

อัตโต (atto)

a

การทดลอง

เครื่องเมือและอุปกรณ์

  1. มัลติมิเตอร์                                      
  2. แหล่งจ่ายไฟสำหรับทดลอง
  3. แผงสำหรับทดลอง
  4. ตัวต้านทาน 100 ?
  5. ตัวต้านทาน 200 ?

วิธีทดลอง

เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์  ต่อวงจรตามรูป

  • ป้อนไฟ  5VDC และ 10VDC ทำการวัดค่า กระแสและแรงดัน ตามลำดับ
  • บันทึกผลการทดลอง
  • เปลี่ยนค่าตัวต้านทานเป็น 200 ?
  • ป้อนไฟ  5VDC และ 10VDC ทำการวัดค่า กระแสและแรงดัน ตามลำดับ
  • บันทึกผลการทดลอง

รูปวงจร

จากรูป คำนวณตามกฎของโอมห์

กฎของโอมห์

จะได้ตามตารางความสัมพันธ์ระหว่าง แรงดัน กระแส และความต้านทาน
ตารางที่ได้จากการคำนวณ


ค่าของตัวต้านทานที่ 100 ?

ค่าแรงดัน (V)

ค่ากระแส (A)

100 ?

5 V

50 mA

100 ?

10 V

100 mA

ค่าของตัวต้านทานที่ 200 ?

200 ?

5 V

25 mA

200 ?

10 V

50 mA

ตารางที่ได้จากผลการทดลอง


ค่าของตัวต้านทานที่ 100 ?

ค่าแรงดัน (V)

ค่ากระแส (A)

100 ?

5 V

51 mA

100 ?

10 V

102 mA

ค่าของตัวต้านทานที่ 200 ?

200 ?

5 V

25 mA

200 ?

10 V

52 mA

สรุปผลการทดลอง
            จากการผลทดลอง และการคำนวณ ค่าที่ได้จะแตกต่างกันเล็กน้อยเพราะมีค่าความผิดพลาดอาจจะมาจากการสูญเสียและอื่นๆ
            จากการทดลอง เมื่อป้อนแรงดันให้วงจร 5VDC ให้ตัวต้านทาน 100 ? จะวัดกระแสได้ 51 mA และเมื่อป้อนแรงดันให้วงจร 10VDC ให้ตัวต้านทาน 100 ? จะวัดกระแสได้ 102 mA ต่อมาได้เปลี่ยนตัวต้านทานเป็น 200 ?  เมื่อป้อนแรงดันให้วงจร 5VDC ให้ตัวต้านทาน 200 ? จะวัดกระแสได้ 25 mA เมื่อป้อนแรงดันให้วงจร 10VDC ให้ตัวต้านทาน 200 ? จะวัดกระแสได้ 52 mA
            จะสรุปความสัมพันธ์ตามกฎของโอมห์ได้ คือ เมื่อค่าความต้านทานมากกระแสจะไหลได้น้อยลง และในทางตรงกันข้าม เมื่อค่าความต้านทานน้อยลงกระแสก็จะไหลได้มากขึ้น ถ้าป้อนแรงดันมากกระแสก็จะไหลได้มากถ้าป้อนแรงดันน้อยกระแสก็จะน้อยด้วย เป็นไปตามกฎของโอห์มที่กล่าวมาข้างต้น

ที่มา://www.star-circuit.com/article/Ohm-Law-Resistance.html




Create Date : 27 มิถุนายน 2557
Last Update : 27 มิถุนายน 2557 11:50:32 น. 0 comments
Counter : 3781 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

bosszi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ช่างอิเล็กทรอนิกส์ วันทั้งวันก็ยุ่งอยู่กับงาน ทดลองวงจรที่ไม่มีประโยชน์ไร้สาระไปวันๆ
[Add bosszi's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com