Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2549
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
31 กรกฏาคม 2549
 
All Blogs
 
การคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืช

การคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืช

17 สิงหาคม 2548 16:07 น.


รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
ในการเจรจาความตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหรัฐ หัวข้อการคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นหัวข้อสำคัญที่ยุ่งยากซับซ้อนและถูกเข้าใจผิดมากที่สุดหัวข้อหนึ่ง ปัจจุบัน ฝ่ายสหรัฐยังไม่ได้ยื่นข้อเสนอใดๆ ต่อฝ่ายไทยในหัวข้อสิทธิบัตร

แต่จากเอฟทีเอที่สหรัฐทำกับประเทศอื่นๆ พบว่า ฝ่ายสหรัฐเรียกร้องให้คู่เจรจาเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ปี 1991 หรือ UPOV91 ซึ่งมีขอบเขตเนื้อหาการคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ครอบคลุมเข้มงวดกว่ากฎหมายไทยในปัจจุบันมาก

นักเคลื่อนไหวองค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการและนักวิจัยจากสถาบันกึ่งเอกชนบางแห่งต่างออกมาคัดค้าน UPOV91 กันอย่างแข็งขัน โดยอ้างว่า UPOV91 จะส่งผลร้ายต่อเกษตรกรไทย ทำให้บรรษัทข้ามชาติมีสิทธิผูกขาดในการผลิต ขาย และนำเข้าทุกชิ้นส่วนของพืช เกษตรกรจะไม่มีสิทธิเก็บผลผลิตของพืชเพื่อใช้เพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป และจะมีต้นทุนการใช้ทรัพยากรพืชสูงขึ้นจากการผูกขาดโดยบรรษัทข้ามชาติไม่กี่ราย ซึ่งเป็นเจ้าของสิทธิบัตรพันธุ์พืชดัดแปลงจำนวนมาก อีกทั้งนักปรับปรุงพันธุ์พืชไทยจะไม่ได้รับประโยชน์ เพราะ UPOV91 ถูกออกแบบมาเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืชที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีชีวภาพซึ่งต้องลงทุนสูง

ปัจจุบันประเทศไทยก็มีการคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชใกล้เคียงสิทธิบัตรอยู่แล้วคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งอาศัยพื้นฐานจากอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ปี 1978 หรือ UPOV78 และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพหรือ CBD ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย

แต่ทั้งหมดนี้ ยังมีขอบข่ายและระดับการคุ้มครองต่ำกว่า UPOV91 ซึ่งขยายการคุ้มครองไปสู่ทุกส่วนของพืช รวมทั้งผลผลิต อีกทั้งจำกัดนิยาม "พันธุ์ใหม่" ให้แคบเป็น "พันธุ์ใหม่เชิงพาณิชย์" (ดอกผลและส่วนแพร่พันธุ์ยังไม่เคยถูกซื้อขายเชิงพาณิชย์มาก่อน) ขยายสิทธิคุ้มครองให้ครอบคลุมการนำเข้า ส่งออก และมีข้อยกเว้นสิทธิคุ้มครองที่เข้มงวดชัดเจนขึ้น

ส่วนข้อกล่าวหาว่า UPOV91 ห้ามมิให้เกษตรกรเก็บเมล็ดเพื่อใช้เพาะปลูกในฤดูกาลต่อไปนั้น ไม่เป็นความจริงเพราะ UPOV91 ยินยอมให้รัฐบาลภาคีสามารถออกกฎหมายรับรองสิทธิของเกษตรกรที่จะเก็บเมล็ดไว้เพาะปลูกได้ แต่ต้องในแปลงที่ดินของตนเองเท่านั้น

ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า UPOV91 จะทำให้เกษตรกรไทยมีต้นทุนสูง เพราะต้องพึ่งพาบรรษัทข้ามชาติที่มีอำนาจผูกขาดในเทคโนโลยีชีวภาพนั้น หากเข้าใจว่า การคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชทั้งใน UPOV78 และ UPOV91 หมายถึงเฉพาะ "พันธุ์พืชใหม่" ที่แตกต่างจากพันธุ์พืชที่มีอยู่แล้วเท่านั้น ฉะนั้น เกษตรกรไทยก็จะไม่ได้รับผลกระทบและจะยังคงสามารถใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชดั้งเดิมของตนต่อไปได้

ตัวอย่างที่กลุ่มผู้คัดค้านยกขึ้นบ่อยที่สุดคือ ข้าวหอมมะลิไทย โดยอ้างว่า หากยอมรับ UPOV91 พันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยก็จะถูกปล้นชิง และเกษตรกรไทยจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิจากบรรษัทข้ามชาติมาปลูกในทุกฤดูกาลตลอดไป

แต่ตัวอย่างนี้ก็เพียงสะท้อนถึงความไม่รู้หรืออาจแกล้งจงใจบิดเบือนของกลุ่มผู้คัดค้าน เพราะพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยไม่ใช่ "พันธุ์พืชใหม่" ตามนิยามของ UPOV จึงไม่มีผู้ใดสามารถจดทะเบียนเป็นสิทธิผูกขาดได้ ซึ่งก็คือ ไม่มีใครในโลกที่จะมีสิทธิห้ามมิให้เกษตรกรไทยใช้ประโยชน์จากพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยได้

หากบรรษัทข้ามชาติสามารถเพาะพันธุ์ข้าวหอมชนิดใหม่ออกมาได้ ก็ต้องเป็นพันธุ์ที่แตกต่างทางชีวภาพอย่างชัดเจนจากพันธุ์ข้าวหอมอื่นๆ รวมทั้งข้าวหอมมะลิไทย จึงจะสามารถจดทะเบียนรับความคุ้มครองได้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็เพียงว่า หากมีการผลิตข้าวหอมพันธุ์ใหม่ออกขายในตลาดโลก ข้าวหอมมะลิไทยก็จะมีคู่แข่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น (นอกเหนือไปจากคู่แข่งเดิมๆ เช่น ข้าวหอมอินเดีย ข้าวหอมออสเตรเลีย เป็นต้น)

ผู้คัดค้านมองข้ามความจริงว่า ปัจจุบันเกษตรกรไทยบางส่วนก็ใช้พันธุ์พืชดัดแปลงจากต่างประเทศอยู่แล้ว เช่น ถั่วเหลือง หัวหอมใหญ่ เป็นต้น โดยนำเข้ารวมหลายพันล้านบาททุกปี และนี่ก็ไม่ใช่กรณี "เกษตรกรไทยถูกผูกขาดและพึ่งพาบรรษัทข้ามชาติ" เพราะเกษตรกรไทยจะเลือกใช้พันธุ์ดั้งเดิมของตนก็ได้ แต่ที่เลือกใช้พันธุ์นำเข้าเพราะต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพดีและสม่ำเสมอ แม้จะลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ก็ได้ราคาและกำไรต่อพื้นที่เพิ่มขึ้นด้วย เพราะผลผลิตใช้ป้อนอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ดี ตลาดมีความแน่นอน ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นทั้งๆ ที่ประเทศไทยก็ยังไม่ได้เป็นภาคี UPOV91 แต่อย่างใด

กลุ่มผู้คัดค้าน UPOV91 ไม่เข้าใจว่า ปัจจุบันประเทศไทยก็มีทั้งนักปรับปรุงพันธุ์พืชและห้องทดลองที่มีคุณภาพและศักยภาพสูงแม้จะเพิ่งเริ่มต้น ฉะนั้น การเพิ่มความคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชจะมีผลดีในระยะยาว เป็นการวางพื้นฐานให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของไทยได้พัฒนาเติบโตขึ้น และสามารถนำเอาทรัพยากรชีวภาพของไทยที่หลากหลายอุดมสมบูรณ์มาสร้างประโยชน์ให้แก่เกษตรกรไทย ผู้บริโภคไทย และมนุษยชาติ

การเข้าเป็นภาคี UPOV91 ยังเป็นการยกสถานะของประเทศไทยให้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของโลก ให้นักวิจัยไทยเข้าถึงข้อมูลและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ในต่างประเทศได้ง่ายและรวดเร็ว เพื่อนำมาวิจัยต่อยอดให้เป็นของคนไทย อีกทั้งยังเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของไทยในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพด้วยการคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชไทยในระดับที่ทัดเทียมกับสากลอีกด้วย

แต่เทคโนโลยีชีวภาพของไทยยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะเข้มแข็งมีศักยภาพในการประดิษฐ์คิดค้นสูงขึ้น ฉะนั้นท่าทีของฝ่ายไทยคือ เจรจากับฝ่ายสหรัฐให้ยืดเวลาการเข้าเป็นภาคี UPOV91 ออกไประยะหนึ่ง เช่น 5-7 ปีเพื่อให้ทั้งรัฐบาลและเอกชนไทยมีเวลาเตรียมพร้อมเร่งลงทุนพัฒนาปัจจัยพื้นฐานของไทย เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก UPOV91 ได้เมื่อเวลานั้นมาถึง



Create Date : 31 กรกฎาคม 2549
Last Update : 31 กรกฎาคม 2549 23:59:11 น. 0 comments
Counter : 672 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

eaglenews
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






[ ลงสมุดเยี่ยม ]
eaglenews's blog

" ข่าวเด่นวันนี้ "


"แจ้งเว็บไซต์ไม่เหมาะสม"


Friends' blogs
[Add eaglenews's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.