Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
22 กุมภาพันธ์ 2560
 
All Blogs
 
เทศน์วันมาฆะบูชา ณ วัดท่าขนุน ปี2555 ตอนที่1

✨ 💎 เทศน์วันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุน ปี ๒๕๕๕ ( ตอนที่ ๑) 💎 ✨

💫 นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
💫 นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
💫 นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

✨ สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง กุสะลัสสูปะสัมปะทา สะจิตตะปะริโยทะปะนัง เอตัง พุทธานะสาสะนัง ติ ✨

🌈 ณ บัดนี้อาตมภาพรับหน้าที่วิสัชนาในโอวาทปาฏิโมกข์คาถา เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญาบารมี และสร้างเสริมกุศลบุญราศีของญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ที่พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันมาฆบูชา ณ วัดท่าขนุนแห่งนี้ 💫

🍃 ญาติโยมทั้งหลายในปี ๒๕๕๕ นี้ จัดว่าเป็นปีมหามงคลใหญ่อีกปีหนึ่ง ก็คือว่า เป็นปีครบ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น เสด็จออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ทรงแสวงหาธรรมะอยู่ ๖ ปีเต็ม ๆ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบล อุรุเวลาเสนานิคม ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อพระชมน์มายุ ได้ ๓๕ พรรษา 🙏🏻

🌱 หลังจากนั้น .. พระองค์ท่านก็ได้เสด็จออกสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้ได้รับประโยชน์ในธรรมะที่พระองค์ท่านตรัสรู้อยู่ ๔๕ ปีเต็ม ๆ แล้วจึง เสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา 🌹

🌿 หลังจากนั้นเป็นต้นมา เราก็ได้นับเป็นพุทธศักราชที่ ๑ ก็คือ พ.ศ.ที่ ๑ หลังจากการปรินิพพานของพระองค์ท่านแล้ว บัดนี้ล่วงมา ๒,๕๕๕ ปี บวกกับการตรัสรู้แล้วเสด็จออกประกาศพระศาสนา อีก ๔๕ ปี จึงเป็นปีที่ครบ ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 🌷

☘ ทั้งทางราชการ และทางคณะสงฆ์ ได้กำหนดให้ ปีนี้เป็นปีแห่งการเฉลิมฉลอง ๒,๖๐๐ ปี การตรัสรู้ เรียกว่า ✨ งานเฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปีการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ✨ ดังนั้น..การประกอบกองบุญการกุศลใด ๆ ก็ตามภายในปีนี้ ถือว่าเรามีส่วนในการร่วมฉลอง ๒,๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราไปด้วย 🔮

🍀 เมื่อองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว หลังจากเสวยวิมุตติสุขอยู่ ๔๙ วัน พระองค์ท่านก็เสด็จไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เพื่อแสดงธรรมโปรด ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ เมื่อปัญจวัคคีย์มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ให้แยกย้ายกันไป เพื่อประกาศศาสนาในที่ต่าง ๆ พระองค์ท่าน ก็เสด็จไปยังแคว้นมคธของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อที่จะโปรดองค์พระราชา ซึ่งได้มีปฏิญาณสัญญาต่อกันเอาไว้ว่า เมื่อพระองค์ท่านตรัสรู้แล้ว จะกลับมาโปรด และสามารถสงเคราะห์ให้พระเจ้าพิมพิสาร พร้อมด้วยบริวารอีก ๑๑๐,๐๐๐ คน เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ส่วนอีก ๑๐,๐๐๐ คนเข้าถึงพระรัตนตรัย ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นอย่างมาก ❤

🎋 เมื่อพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้น มีพระภิกษุสงฆ์มาบวช ในบวรพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากขึ้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเล็งเห็นวาระพิเศษ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ซึ่งเป็นวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ ✨ พระภิกษุสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป เดินทางมาประชุมรวมกัน โดยไม่ได้นัดหมาย ณ เวฬุวัน ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น ล้วนแต่เป็นพระอรหันตขีณาสพ ✨ เป็นบุคคลที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทานการบวชให้ โดยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาทั้งสิ้น 🔮

🌤 เมื่อวาระสำคัญ มาประจวบกันดังนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเห็นว่าสมควรที่จะแสดง ❤ โอวาทปาติโมกข์ตามพุทธประเพณี ❤ คำว่า “พุทธประเพณี” ก็คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์นั้น เมื่อตรัสรู้และเสด็จสั่งสอนประชาชนไประยะหนึ่ง จนกระทั่ง มีพระภิกษุสงฆ์บวชเข้ามาในบวรพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากพอแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วแต่ละพระองค์ ก็จะทรงประกาศ ✨ โอวาทปาติโมกข์ ✨ ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก็คือ หลักการในพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายนั้น เมื่อถึงเวลาออกไปสั่งสอนประชาชน จะได้กล่าวคำสอนไปในแนวเดียวกันทั้งหมด ❤

💎 โอวาทปาติโมกข์ 💎 ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ประกาศในวันนั้น ประกอบด้วยเนื้อหาเป็นพระบาลีว่า

🌸 ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา 🌸 แปลเป็นใจความว่า ขันติ คือ ความอดทนนั้น เป็นตบะอย่างยิ่งของผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย

🌼 นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา 🌼 องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ ล้วนแล้วแต่กล่าวถึง พระนิพพาน ว่าเป็นที่สุดแห่งธรรมของพระองค์ท่านทั้งสิ้น

🌸 น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี 🌸 บุคคลที่ยังฆ่าผู้อื่นอยู่ ไม่ถือว่าเป็นบรรพชิต

🌼 สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต 🌼 บุคคลที่ยังเบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ได้ชื่อว่าเป็นสมณะ

🍀 เนื้อหาที่กล่าวมานี้ ก็คือ ❤ หลักการในพระพุทธศาสนา ❤ ว่าการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้น เป้าหมายสูงสุด ก็คือ ✨ พระนิพพาน ✨ บุคคลที่จะไปสู่พระนิพพานได้ ต้องประกอบด้วย ความอดทนและพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง การที่เรายังเบียดเบียน เข่นฆ่าและทำร้ายผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นนักบวช นี่คืออุดมการณ์ของพระพุทธศาสนา เป้าหมายสูงสุดที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศต่อพระสงฆ์ทั้งหลาย 🙏🏻

🌿 หลังจากนั้นแล้วพระองค์ท่านก็ได้ประกาศหลักการของพระพุทธศาสนาว่า ✏

🌸 สพฺพปาปสฺส อกรณํ 🌸 ให้เว้นจากการกระทำความชั่ว คือบาปทั้งปวง

🌼 กุสลสฺสูปสมฺปทา 🌼 ให้ทำความดีให้ถึงพร้อม

🌸 สจิตฺตปริโยทปนํ 🌸 ให้ทุกคนชำระจิตใจของตนให้ผ่องใสจากกิเลส

❤ นี่คือ หลักการของพระพุทธศาสนา ❤ ที่ทุกคนจะได้ยึดถือ นำไปปฏิบัติ การที่เราจะละเว้นความชั่วทั้งปวงนั้น ก็คือ 🌟 การที่ทุกคนตั้งมั่นอยู่ในศีล สมาธิ และปัญญา 🌟

⛱ ⛱ เว้นจากความชั่วใน กายทุจริต ก็คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ดื่มสุราเมรัย เป็นต้น
⛱ ⛱ เว้นจากการกระทำชั่วโดย วจีทุจริต ก็คือ การพูดโกหก พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดวาจาไร้ประโยชน์
⛱ ⛱ เว้นจากการกระทำความชั่วโดย มโนทุจริต ก็คือ ไม่คิดเบียดเบียนคนอื่น ไม่คิดฆ่าฟันคนอื่น ไม่คิดอาฆาตพยาบาท และมีความเห็นเป็นสัมมาทิฎฐิ

🍀 นี่คือ การละเว้นจากความชั่วทั้งปวง คือเว้นจากความชั่วด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจนั่นเอง 💎

🎊 ส่วนการกระทำความดีให้ถึงพร้อม ก็เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม ก็คือ ต้องกระทำความดีด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจเช่นกัน ก็คือกายของเราไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มสุราเมรัย วาจาของเราไม่โกหก ไม่ส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ใจของเราไม่คิดอาฆาตพยาบาทผู้อื่น ไม่คิดโลภอยากได้ของเขาจนเกินพอดี และมีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ก็คือ การประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริตและมโนสุจริตนั่นเอง 🎊

(มีต่อ... 📚)
Credit fbMotanaboon.com13กพ2560 (กราบ)😊
...



Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2560 8:53:10 น. 0 comments
Counter : 697 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

doraeme
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 12 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add doraeme's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.