I love you more than I can say
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
25 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 

เทพเจ้าแห่งโชคลาภไฉ่ซิ่งเอี้ย

เมื่อช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา ผมและครอบครัวได้มีโอกาสไปสักการะ เทพเจ้าแห่งโชคลาภไฉ่ซิ่งเอี้ย ณ พุทธสถานจีเต็กลิ้ม จึงอยากมาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้ไปเยี่ยม โดยผมเก็บภาพพร้อมเกร็ดความรู้ต่างๆ มาฝากกันด้วย






ประตูทางเข้าออก





เทพเจ้าเห้งเจีย







เจ้าแม่กวนอิม






ด้านข้างรูปหล่อของเจ้าแม่กวนอิม ขนาดใหญ่ ไปทางประตูทางเข้า ออก นั้นคือ ศาลของ เทพเจ้าแห่งโชคลาภไฉ่ซิ่งเอี้ย องค์จริงที่ทำจากหยกและอัญเชิญมาจากประเทศจีน อันนี้ผมสงสัยมาก ทำไมถึงไม่ค่อยมีคนไปสักการะที่ศาลนี้ ไปรวมกันที่อีกศาล ทั้งๆ ที่ศาลนี้ เป็นองค์ต้นแบบ และนำเข้ามาเลย คนน่าจะไม่ค่อยรู้ รายละเอียดเท่าไร แต่ดีที่คุณแม่ผม ท่านมีความรู้ด้านนี้ ท่านเลยแนะนำให้ไปสักการะ แล้วไปขอโชคลาภจากองค์ที่ทำจากหยกเป็นหลัก





องค์นี้เป็นองค์กลาง ล้อมด้วย ท้าวจตุโลกบาททั้ง 4 จากเมืองจีน



พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า พระพุทธองค์ผู้คุ้มครองด้วยชะตา



มหาเทพ 12 นักษัตร คุ้มครองประจำปีเกิด อยู่บริเวณรอบ พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า



ศาลที่คนนิยมไปขอโชคลาภ




เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี้ย) เทพเจ้าที่คนจีนไหว้กันทั่วโลกเพื่อให้ “เฮง”

เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี้ย) สามารถจัดแบ่งได้ดังนี้

1.ปางมหาเศรษฐี ชัมภล ซึ่งเป็นปางที่ใหญ่ที่สุด และมีความเก่าแก่ที่สุดกว่า 1,200 ปี (กำเนิดจากพระพุทธศาสนามหายาน)

2.ปางบู๊ ทรงเครื่องนักรบโบราณมีเสือประทับอยู่ด้วยคติมาจากความเชื่อที่เป็นยักษ์นั้นเอง มีทั้งพุทธมหายาน เต๋าก็มีการประยุกต์มาเช่นกัน

3.ปางบุ๋น เป็นรูปขุนนางจีนดังที่เห็นกันทั่วไป ซึ่งปางนี้กำเนิดภายหลังไม่กี่ร้อยปี คล้ายคลึงกับเทพเจ้าองค์อื่นๆ ของจีน เช่น ตี่จูเอี้ย แป๊ะกง ฯลฯ อาจจะมีคฑายู่อี่และถือก้อนเงินจีนโบราณ มีที่มาจากลัทธิเต๋าอย่างชัดเจน

เทพเจ้าแห่งโชคลาภ มีความเก่าแก่ยาวนานและมีประวัติความเป็นมาที่สากล ปรากฏในหลายประเทศแถบทวีปเอเชีย แต่ของลัทธิเต๋านั้นมากำเนิดขึ้นภายหลังในประเทศจีนซึ่งจะมีกึ่งตำนานกึ่งนิทานตามตำนานมหาเทพของจีน(ฮงสิงปั้ง) ที่เป็นบุคคลธรรมดาต่อมาภายหลังเมื่อเสียชีวิตจึงได้รับการยกเป็นเทพ ตัวอย่างเช่น เทพเจ้ากวนอู

รูปลักษณะของเศรษฐีชัมภล

มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากเทพเจ้าองค์อื่นอย่างเห้นได้ชัด คือ มีลักษณะอวบอ้วน พุงพลุ้ย ใบหน้าใหญ่ ล่ำ มีความจริงจังแต่แฝงไปด้วยความเมตตากรุณา ท่อนบนของท่านเปลือยเปล่า ประดับไปด้วยสร้อยสังวาล เพชรนิลจินดา กำไล ทั้งองค์เต็มไปด้วยอัญมณีล้ำค่าแสดงถึงความมั่งมีเงินทองทรัพย์สมบัติอย่างเหลือคณานับ บางที่จะประทับนั่งบนแท่นดอกบัวและห้อยพระบาทข้างหนึ่งเหยียบหอยสังข์ มือด้านหนึ่งถือแก้วมณี อีกด้านถือพังพอนไว้ และท่านจะบีบคอพังพอนให้พังพอนอ้าปากคายแก้วแหวนเงินทองออกมา อันเป็นเคล็ดลับโบราณที่กล่าวว่า ทรัพย์สมบัติทั้งมวลบนพื้นพิภพล้วนแล้วอยู่แต่ในผืนดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่างๆ ก็มาจากดิน จากน้ำใต้ดินทั้งนั้น แก้วแหวนเงินทองของมีค่าล้วนแล้วเกิดจากพื้นปฐพีทั้งหมดทั้งสิ้น ผู้ที่มีหน้าที่เฝ้าทรัพย์เหล่านั้นก็คือ เจ้าแห่งเมืองบาดาล โบราณกล่าวว่า คือ งู ดังนั้นสัตว์ที่แก้เคล๊ดกับงูได้ก็คือพังพอนนั่นเอง โบราณจึงได้กำหนดรูปลักษณะของมหาเศรษฐีชัมภลไว้ตามที่ปรากฏในที่ต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่มีพังพอนเป็นสำคัญ

ตามพุทธสูตรกล่าวไว้ว่า “ขอเพียงแต่วาดภาพหรือแกะสลักรูปของมหาเศรษฐีชัมภล จะคิดสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นสมดังปรารถนา เทวรูปมั่งคั่งองค์นี้ก็คือ เทพธนาของพระพุทธศาสนานิกายตันตระ (ในทิเบตคือนิกายลามะ) มีนามว่า “รัตนโกศ ” มีหน้าปกครองดูแลโภคทรัพย์ในแผ่นดินชื่อเดิมคือ “รัตนโกศ มหาพญายักษ์” ทรัพย์สินเงินทองจะไหลมาเทมา และจะรักษาทรัพย์สินที่มีอยู่แล้วอย่างมั่นคง”

เทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี้ย) ปางมหาเศรษฐีชัมภล สำหรับในประเทศไทยมักเรียกท่านว่า ท้าวกุเวร ท้าวชุมพล บางแห่งจะเรียกท่านว่า “เจ้าพ่อขุมทรัพย์” เศรษฐีมหาเศรษฐี หลายคนในประเทศไทยแตะต่างประเทศก็มีการบูชาท่านมานานแล้ว แม้แต่สำนักงานใหญ่ของธนาคารแห่งหนึ่งย่านราษฎร์บูรณะก็มีรูปหล่อของมหาเศรษฐีชัมภลนี้บูชา การบูชาเทพเจ้าแห่งโชคลาภปางนี้นั้น นอกจากให้คุณทางด้านโชคลาภ ทรัพย์สมบัติแล้ว ยังสามารถคุ้มครอง ป้องกันสิ่งอัปมงคลได้ทุกชนิด สามารถปัดเป่าพลังอำนาจที่ไม่ดีต่างๆ ออกไป ซึ่งคนโบราณค้นพบ และหยั่งรู้ในความหมาย จึงได้สร้างรูปเหมือนท่านไว้ทั่วทวีปเอเชียนานกว่าพันปี

สำหรับในประเทศไทยนั้น พุทธสถานจีเต็กลิ้ม จ.นครนายก ถือว่าเป็นต้นตำรับที่ค้นคว้าและเผยแพร่เรื่องของเทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่ซิ้งเอี้ย) ปางมหาเศรษฐีชัมภล ให้เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ

คาถาบูชาขอพรเทพเจ้าแห่งโชคลาภ

เคล็ดคาถานี้บูชาสำหรับท่านที่เกิดปีต่างๆ ทั้ง 12 นักษัตร อันเป็นหัวใจคาถาของทิเบตจารึก เป็นภาษาสันสกฤตมาแต่ครั้งโบราณ โดยให้ตั้งจิตให้สงบระลึกถึงความดี และบุญกุศลที่ได้ประกอบมา แล้วท่องคาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล อธิษฐานของพรจากท่าน

•ท่านที่เกิดปี ฉลู มะโรง มะแม จอ
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สาวหะ”
•ท่านที่เกิดในปี ขาล เถาะ
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม อา ฮูโฮฮัม กษะสะ โอม ชัมภาลา ลาจาเลนไนเยน สวาหะ”

•ท่านที่เกิดในปี มะเส็ง มะเมีย
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน ธะนัม เมธิ หะรี ทากินี ชัมภาลา สะมะภารา สาวหะ”

•ท่านที่เกิดในปี วอก ระกา
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม ปัทมะ โกรธะ อรยะ ชัมภาลา หฤทัย หู ผะฏะ ”

• ท่านที่เกิดในปี กุน ชวด
คาถาหัวใจมหาเศรษฐีชัมภล คือ “โอม ชัมภะละ ชาเลนทะรา เย สวาหา โอม อินทะระ ฌิมขัม ภะมะริ สาวหา”


คาถาขอพรเจ้าแม่กวนอิม
โอม มณี ปัทเม โฮม


ที่มา : แผ่นพับแนะนำ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไฉ่ซิ้งเอี้ย ของ พุทธสถานจีเต็กลิ้ม นครนายก


เกร็ดความรู้อื่นๆ


เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไฉ่ซิ้งเอี้ย-พระกุเวร

กิตติ วัฒนะมหาตม์ : เรื่อง

เมื่อไม่นานมานี้ มีผู้นำเทวรูปพระกุเวรองค์หนึ่ง มาให้ผู้เขียนทำพิธีล้างอาถรรพณ์ให้ เพราะเหตุว่าผู้บูชาเทวรูปองค์นั้นถูกคุณไสยกันทั้งบ้าน อำนาจคุณไสยแทรกซึมไปทุกหนทุกแห่งไม่เว้นแม้ในเทวรูปที่ตั้งบูชาอยู่
คุณไสยมนต์ดำเป็นวิชาชั้นต่ำ ใช้อำนาจผีเป็นหลัก อำนาจผีจะแทรกเข้าไปในเทวรูปได้อย่างไร เรื่องนี้คงต้องว่ากันยาว ในที่นี้ขออธิบายเพียงย่อๆ ก่อนว่าเพราะคนในบ้านนั้นบูชาไม่ดี บูชาไม่เป็น รวมทั้งเทวรูปนั้นอาจจะไม่ผ่านพิธีที่ดีพอด้วย จึงคุ้มครองคนในบ้านนั้นไม่ได้

ที่ขออธิบายย่อๆ เพียงเท่านี้ เพราะผู้เขียนอยากจะพูดถึงเทวรูปพระกุเวรที่ได้รับมา แล้วก็เพราะเป็นเทวรูปที่มีนัยยะเกี่ยวเนื่องกับเทศกาลตรุษจีนนี้ด้วย เนื่องจากผู้สร้างเทวรูปองค์นี้ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นเทวรูปของ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไฉ่ซิ้งเอี้ย ปางมหาเศรษฐีชัมภล

เทวรูปองค์นี้ทำออกมาให้บูชาหลายปีแล้ว เป็นรุ่นก่อนองค์ที่นำมาให้ดูกันนี้ ผู้เขียนจะไม่ขอระบุว่าใครเป็นคนสร้าง
คงพูดได้เพียงแต่ว่า เพราะแนวความคิดแบบจับแพะชนแกะ โมเมเอาเทพเจ้าแห่งโชคลาภของจีนมารวมเข้ากับมหาเศรษฐีชัมภล อันเป็นพระนามหนึ่งของพระกุเวรนี่กระมัง ที่ทำให้เทวรูปองค์นี้แม้จะผ่านพิธีเทวาภิเษกแล้ว ก็ยังไม่วายถูกอาถรรพณ์แทรกเข้าไปเต็มๆ จนไม่สามารถนำพาโภคทรัพย์มาให้ผู้บูชาได้ จนกิจการของผู้บูชานั้นขาดทุนอย่างหนัก

ไม่แม้แต่จะสามารถคุ้มครองผู้บูชาให้พ้นจากอำนาจผี ทั้งๆ ที่พระกุเวร หรือพระชัมภลนั้นเป็นเทพเจ้าผู้ทรงศักดานุภาพเหนือภูตผีและยักษ์ทั้งปวง

ประวัติเดิมของพระกุเวรนั้น ท่านเป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย โภคทรัพย์และแก้วแหวนเงินทองในศาสนาฮินดู ขณะที่ในอีกทางหนึ่งก็เป็นเทพเจ้าฝ่ายยักษ์ มีอำนาจบังคับบัญชายักษ์มาร รากษส และภูตผีปีศาจทุกชนิด ศาสนาพุทธฝ่ายมหายานได้นำไปรวมไว้เป็นหนึ่งในคณะเทพของตน และให้เป็นหนึ่งในเทวดาประจำทิศหรือจตุโลกบาล เป็นใหญ่ในทิศเหนือ ทรงมีพระนามต่างๆ เช่น ธนบดี ธเนศวร เป็นต้น แต่พระนามที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในทางมหายานคือ กุเวร (Kubera) และ ชัมภล (Jambala)
พุทธมหายานในอินเดีย ถูกกองทัพมุสลิมทำลายหมดสิ้นไปแล้ว แต่ยังรุ่งเรืองอยู่ในเนปาล ทิเบต และจีน ชาวทิเบตซึ่งรับศาสนาพุทธฝ่ายมหายานจากอินเดียโดยตรง ยังคงบูชาพระกุเวรในรูปลักษณ์เดิมมาจนทุกวันนี้

คนไทยเราก็มีวิชาไสยศาสตร์ที่เกี่ยวกับพระกุเวรอยู่ คือทำเทวรูปท่านเป็นรูปยักษ์ถือกระบองแบบยักษ์วัดพระแก้ว นิยมบูชาเพื่อป้องกันและขับไล่ภูตผีปีศาจ ตลอดจนวิชาคุณไสยมนต์ดำทั้งหลาย ทั้งยังบูชาเพื่อผลทางโภคทรัพย์ด้วย เราเรียกท่านว่า ท้าวเวสสุวัณ

สำหรับคนจีนเองยิ่งรู้จักพระกุเวรกันอย่างกว้างขวาง เพราะรับศาสนาพุทธฝ่ายมหายานโดยตรงจากอินเดียเช่นเดียวกับชาวทิเบต พระกุเวรในจีน ยังคงได้รับการนับถือมาจนทุกวันนี้ในฐานะที่ทรงเป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล แต่ฉลองพระองค์แบบนักรบจีนโบราณ และถือเจดีย์ คอยพิทักษ์ทางเข้าสู่อาคารที่สำคัญที่สุดในวัดจีนขนาดใหญ่ทุกวัดเสมอ

ท่านมีพระนามในภาษาจีนกลางว่า โตเหวินเทียนหวาง หรือจีนแต้จิ๋วว่า โต้บุ๋นเทียนอ๊วง

แต่นั่นก็มิได้หมายความว่า พระกุเวรของจีน หรือโตเหวินเทียนหวาง จะเป็นเทพแห่งโชคลาภเพียงองค์เดียวที่ชาวจีนรู้จักและนับถือกัน ตรงกันข้าม จีนยังมีเทพแห่งโชคลาภองค์อื่นๆ อีก เพราะคนจีนมิได้นับถือศาสนาพุทธ
ฝ่ายมหายานอยู่เพียงศาสนาเดียว ยังนับถือศาสนาเต๋า ซึ่งมีเทพเจ้าดั้งเดิมของจีนเองเป็นสมาชิกอยู่อีกด้วย
และเทพเจ้าแห่งโชคลาภในศาสนาเต๋าของจีนที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบันนี้ ก็คือ ไฉ่ซิ้งเอี้ย

ไฉ่ซิ้งเอี้ย มีประวัติว่าเดิมเป็นคนที่เคยมีชีวิตอยู่จริง โดยเล่ากันเป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งว่าเดิมท่านเป็นขุนนางตงฉินชื่อเซียงหมิง มีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์โจว (๕๙๑ ปีก่อนพุทธกาล-พ.ศ.๒๙๖) ยุคนั้นกษัตริย์เป็นทรราชย์ ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้รับความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า เซียงหมิงไม่อาจทนได้จึงก่อกบฏ แม้จะไม่สำเร็จ แต่ก็สามารถประหารฮ่องเต้โฉดด้วยวิชาอาคม ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากประชาชนเป็นอันมาก

อีกอย่างหนึ่ง เล่ากันว่าเดิมท่านเป็นผู้พิพากษาในมณฑลยูนนานสมัยราชวงศ์โจว เวลานั้นเกิดฝนแล้งพืชผลไร่นาเสียหาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ท่านจึงเข้าเฝ้าฮ่องเต้และทูลเสนอให้ทรงยกเว้นการเก็บภาษีจากประชาชนในมณฑลดังกล่าว ซึ่งองค์ฮ่องเต้ก็ทรงเห็นชอบ ทำให้ประชาชนในยูนนานเคารพรักท่านกันทั่วไป
และไม่ว่าจะเป็นขุนนางตงฉินหรือตุลาการผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมมาแต่เดิม เมื่อเสียชีวิตแล้วท่านก็ได้รับการนับถือบูชาจนกลายเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ และมีอยู่ ๒ ปาง คือปางบู๊ จะฉลองพระองค์แบบนักรบจีนโบราณ มักมีเสือปรากฏร่วมอยู่ด้วย และปางบุ๋น ฉลองพระองค์แบบขุนนางจีนโบราณ ถือคฑายู่อี่และอ่วงป้อ (ก้อนเงินจีน) ว่ากันว่าปางบู๊นั้นผูกพันกับชาติกำเนิดที่เป็นขุนนาง และปางบุ๋นนั้นผูกพันกับชาติกำเนิดที่เป็นผู้พิพากษานั่นเอง
เทพไฉ่ซิ้งเอี้ย เป็นเทพเจ้าองค์สำคัญที่จะเสด็จมารับการบูชาเป็นองค์แรกในเทศกาลตรุษจีน โดยแต่ละปีท่านจะเสด็จมาในทิศทางที่แตกต่างกันไป อย่างตรุษจีนปีนี้ ตรงกับวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ท่านจะเสด็จมาทางทิศใต้ เราจะเห็นเทวรูปของท่านที่เป็นเรซินระบายสีสวยๆ หรือชุบสีทอง มีจำหน่ายทั่วไปในเยาวราชหรือย่านการค้าของคนจีนตั้งแต่ก่อนเทศกาลตรุษจีนทุกปี
แล้วมหาเศรษฐีชัมภลแบบทิเบต เข้ามาเกี่ยวข้องกับไฉ่ซิ้งเอี้ยได้อย่างไร ?

คนที่คิดทำเรื่องนี้เขาอธิบายว่า ตำนานพระกุเวรในฐานะเทพเจ้าแห่งโชคลาภของมหายานนั้น มีความเก่าแก่ยาวนาน ปรากฏในหลายทวีป แต่เรื่องไฉ่ซิ้งเอี้ยของจีนเป็นนิทานเกิดขึ้นในศาสนาเต๋า เป็นของยุคหลัง
แล้วเขาก็อ้างหลักฐานทางโบราณคดี คือเทวรูปพระกุเวรทำด้วยศิลาจำหลัก ณ เขาเฟยไหลฟง วัดหลิงหยิ่น เมืองหังโจว ซึ่งเป็นเทวรูปพระกุเวรแบบมหายานอินเดียอย่างแท้จริง อายุกว่าพันปีมาแล้ว เขาบอกว่า นี่แหละเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเทพเจ้าแห่งโชคลาภที่เก่าแก่ที่สุดของจีน คือพระกุเวรหรือชัมภลของมหายานนี่เอง
เพราะฉะนั้น เขาก็เลยถือว่า ไฉ่ซิ้งเอี้ยเป็นเทพที่ชาวจีนดัดแปลงมาจากพระกุเวร แล้วเพื่อยืนยันถึงที่มาที่ไปที่ตนคิดว่าถูก ก็เลยจับเอาพระกุเวรหรือชัมภลมารวมกับไฉ่ซิ้งเอี้ย แล้วทำให้เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภไฉ่ซิ้งเอี้ย ปางมหาเศรษฐีชัมภล

ผู้เขียนเห็นแล้วก็สลดใจ นี่เพียงแค่จะหามุขใหม่ๆ มาขายของกัน ถึงกับต้องบิดเบือนตำราโบราณ จับแพะชนแกะกันตามความเข้าใจของตนเองได้ถึงขนาดนี้เชียวหรือ
เรื่องที่ว่า พระกุเวรเป็นเทพโชคลาภของมหายานที่เข้าสู่ประเทศจีนก่อนที่จะเกิดตำนานเทพไฉ่ซิ้งเอี้ยนั้นไม่ผิดหรอก และที่ว่าเทวรูปที่เขาเฟยไหลฟงเป็นรูปลักษณ์ของท่านในทางมหายานก็ใช่ ไม่มีใครเถียง
แต่ได้บอกแล้วว่า คนจีนไม่ได้นับถือศาสนาพุทธมหายานอยู่แค่ศาสนาเดียว ยังนับถือลัทธิเต๋าด้วย แล้วลัทธิเต๋านั้นเขาก็มีเทพเจ้าของเขาเอง ซึ่งมาจากบรรดาเทพพื้นเมืองที่ชาวจีนในภูมิภาคต่างๆ นับถือกันมาตั้งแต่เดิม และเทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี้ยก็รวมอยู่ในนั้น

คำว่าเทพพื้นเมืองก็คือเทพพื้นเมือง เทพพื้นเมืองบางองค์อาจแปลงรูปมาจากศาสนาที่ใหญ่กว่าได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป แม้แต่ศาสนาพุทธฝ่ายมหายานในจีน ก็ไม่มีทางที่จะแพร่หลายเป็นที่นับถือกันมากเช่นปัจจุบันนี้ ถ้าไม่เกิดตำนานเจ้าแม่กวนอิมขึ้นมาจนเป็นที่นับถือกันกว้างขวาง แล้วนักปราชญ์ฝ่ายมหายานก็จับไปรวมเข้าเป็นองค์เดียวกับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร โดยอ้างว่า เรื่องเจ้าแม่กวนอิมที่ชาติกำเนิดเดิมเป็นเจ้าหญิงเมี่ยวซ่านนั้นเป็นนิทานที่แต่งเติมกันขึ้นเอง เรื่องพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรของมหายานเท่านั้นที่เป็นเรื่องจริง และเจ้าแม่กวนอิมที่แท้จริงจะต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ไม่ใช่ผู้หญิง
การกระทำเช่นนี้ เป็นวิธีเดียวกันกับที่คณะผู้สร้างเทวรูปไฉ่ซิ้งเอี้ยปางมหาเศรษฐีชัมภลทำอยู่ และเกิดจากวิธีคิดแบบเดียวกัน
คือลุ่มหลงในความยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธมหายานมากเสียจนเกิดอุปาทาน เห็นสิ่งอื่น เช่น ตำนานเทพพื้นเมืองจีนในศาสนาเต๋าเป็นเพียงของลอกเลียนแบบ ไม่ใช่ของสลักสำคัญอะไร
เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการดูหมิ่นภูมิปัญญาคนอื่น โดยละเลยต่อข้อเท็จจริงอย่างยิ่ง
และผลก็คือ ทำให้คณะผู้สร้างเทวรูปไฉ่ซิ้งเอี้ยองค์นี้ ต้องไปเอาเทวรูปพระกุเวรทิเบตมาใช้เป็นแบบอย่าง เพราะเป็นเทวรูปพระกุเวรแบบมหายานแท้ๆ เพียงสกุลช่างเดียวที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน แล้วทำเป็นลืมไปสนิท ว่าพระกุเวรที่จีนได้รับมาแต่เดิมนั้น ยังคงปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ในรูปลักษณ์ของโตเหวินเทียนหวาง หนึ่งในจตุโลกบาลที่คอยพิทักษ์ศาสนสถานสำคัญ ซึ่งแม้แต่ในพุทธสถานของคณะผู้จัดสร้างเองก็มีอยู่

เมื่อถึงเวลาเทวาภิเษก ก็คงจะพยายามเทวาภิเษกให้เป็นทั้งพระกุเวรและไฉ่ซิ้งเอี้ย ทั้งๆ ที่เป็นเทพคนละองค์กัน ผลก็คือ เป็นวัตถุมงคลที่มีพุทธคุณ (จากพลังจิตของพระสงฆ์ที่นั่งปรก) แต่ไม่เป็นพระกุเวรหรือไฉ่ซิ้งเอี้ยอย่างแท้จริง แม้ว่าจะมีการประจุมนต์ของพระกุเวรทิเบต คือ “โอม ชัมภาลา จาเลน ไนเยน สวาหะ” แล้วก็ตาม
ก็เล่นเอาท่านไปรวมกับไฉ่ซิ้งเอี้ย แล้วไปสลักชื่อที่ฐานท่านว่าเป็นไฉ่ซิ้งเอี้ยเสียแล้วนี่

เมื่อจะเป็นพระกุเวรก็ไม่เต็มองค์ จะเป็นไฉ่ซิ้งเอี้ยก็ไม่ได้ แถมพิธีเทวาภิเษกยังเป็นการเสกรวม มิได้ประจุมนต์กันเป็นรายองค์ ผู้บูชาจึงเท่ากับต้องจับฉลากกัน คือใครโชคดีก็ได้เทวรูปองค์ที่ “ติด” เนื้อมนต์มากไปบูชา ใครโชคไม่ดี ก็ได้องค์ที่ “ติด” น้อย หรือไม่ติดเลยไปบูชา อย่างหลังนี่พอบูชาแล้ว ฐานะความเป็นอยู่ก็ไม่ดีขึ้น พอโดนใครทำคุณไสยก็ป้องกันไม่ได้ เพราะไม่มีทั้งพุทธคุณ และกำลังพระกุเวรที่เป็นเทวราชฝ่ายยักษ์

การบิดเบือนตำราโบราณเพียงเพื่อจะหามุขใหม่ๆ มาประกอบการขายของ ถ้าทำด้วยความเข้าใจผิดก็พอให้อภัยได้ แต่ถ้าทำทั้งๆ ที่รู้ความจริงอยู่แล้ว หรือไม่รู้แต่นึกว่าตนเองรู้ แบบนี้เป็นการสร้างความหายนะให้กับสังคม
และเป็นช่องที่ทำให้คนที่เขาไม่เชื่อถือในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง หาว่างมงายได้อย่างที่เป็นอยู่

ที่มา : //www.aromamodaka.com/text.htm


พุทธสถานจีเต็กลิ้ม


ตั้งอยู่ที่ บ้านบางหอย ต.ศรีจุฬา เป็นที่ประดิษฐานของ เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี้ย (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) ปางมหาเศรษฐีชัมภลหรือที่เรียกว่าปางมหาราช หล่อด้วยโลหะขนาดฐานกว้าง 2 เมตร ลักษณะสมบูรณ์ สมส่วน น่าเลื่อมใส ซึ่งชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพนับถือว่าเป็นเทพเจ้าทีให้คุณทางด้านโชคลาภ ทรัพย์สมบัติ และการค้าขาย โดยในการจัดงานฉลองวันตรุษจีน 222 ปีที่เยาวราช เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมานั้น ได้มีการอัญเชิญรูปหล่อเทพเจ้าแห่งโชคลาภไฉ่ซิ่งเอี้ย ไปให้ประชาชนสักการะบูชาทำให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีรูปหล่อพระโพธิสัตว์และเทพเจ้าต่างๆ อาทิ พระโพธิสัตว์กวนอิม เทพเจ้ากวนอู เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุกวันเสาร์-อาทิตย์
การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ถนนสายสายนครนายก-บ้านสร้าง ประมาณ 28 กิโลเมตร โดยพอเลยแยกโรงเรียนนายร้อย จปร. ให้ตรงไปอีก 35 กม. ใช้เส้นทางดงละคร บ้านสร้าง (เมื่อถึงสี่แยกสามสาวให้ตรงไปอย่างเดียว ห้ามเลี้ยวซ้าย หรือ เลี้ยวขวาเด็ดขาด)

สอบถามรายเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทร 08-1932-3366 , 08-1815-1745 หรือมูลนิธิจีเต๊กลิ้ม (ข้างวัดราชนัดดา) กรุงเทพฯ โทร 0-2222-9768 , 08-1815-1745 ,08-1656-5900

ส่วนตัวผมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อด้านไหนก็ตาม หากเราทำความดีแล้ว เทพเจ้าทุกพระองค์ก็จะคุ้มครองเรา แม้เราจะบูชาเทพต่างๆ แต่ถ้าเราประกอบกรรมชั่ว ชีวิตก็จะหาความเจริญไม่ได้ สิ่งสำคัญในการบูชา หรือการสักการะเทพเจ้า คือ บุญและกรรมดีของเรา แล้วน้อมนำคุณความดีที่เราได้ปรากฎอยู่ของเทพแต่ละคนมาเป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข




 

Create Date : 25 กุมภาพันธ์ 2550
10 comments
Last Update : 25 กุมภาพันธ์ 2550 22:09:36 น.
Counter : 2852 Pageviews.

 

ต.ศรีจุฬาอยู่จังหวัดนครนายกเหรอคะ?

จริงๆ ก็ไม่ไกลมากเนาะ น่าไปอยู่เหมือนกัน

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2550 10:33:58 น.  

 

ขอเที่ยวด้วยคนนะคะ ขอบคุณมากๆสำหรับความรู้ดีๆด้วยค่ะ

 

โดย: Picike 27 กุมภาพันธ์ 2550 2:50:49 น.  

 

ตามมาเอาความรู้ครับ ตอนตรุษจีน ผมล่ะอยากกินขนมเทียนจริงๆ พูดแล้วอยากกิน

อ่านแล้วน่าไปนมัสกาจังครับ เผื่อจะรวยอย่างคนอื่นเขาบ้าง เอิ๊กๆ

เห็นด้วยครับพี่ว่าทำดีแล้วต้องได้ดี แต่กว่าจะได้ดีบางครั้งก็นานอยู่นะครับ

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับพี่

 

โดย: Due_n 27 กุมภาพันธ์ 2550 9:52:25 น.  

 

มาปลอมตัวเป็นคนจีน
แล้วรับความรู้เพิ่มเติมกะเค้าซะหน่อย
ขอบคุณครับสำหรับเรื่องราวน่าสนใจ

 

โดย: Dr.Manta (Dr.Manta ) 28 กุมภาพันธ์ 2550 0:04:27 น.  

 

ได้ความรู้เพิ่มเติมมากๆเลยค่ะ
ขอบคุณนะคะที่แวะไปเยี่ยมค่ะ

 

โดย: tonyham (tonyham ) 13 มีนาคม 2550 18:12:04 น.  

 

ขอตามไปเที่ยวด้วยคนนะคะ เคยแต่ไปไหว้ ไม่เคยไปถ่ายรูปซักที

 

โดย: hypnotizer 14 มีนาคม 2550 0:52:10 น.  

 

ไปไหว้มาเหมือนกันครับ

แต่เป็นที่วัดมังกร คนเยอะดี

 

โดย: สตอเบอร์รี่นมเขย่า (<Strawberry Milk Shake> ) 14 มีนาคม 2550 14:13:19 น.  

 

แวะมาทักทาย จากที่ห่างหายไปนาน คิดถึงกันบ้างหรือเปล่าค่ะ งานยุ่งไปหน่อยค่ะ

 

โดย: ม่ามี๋สามเจ (เจโลไดด้า ) 22 มีนาคม 2550 20:02:41 น.  

 

แวะมาเยี่ยมครับ

เพิ่งจะใช้เนตได้นี่แหละ

แล้วจะมาเยี่ยมบ่อย ๆ นะครับ

 

โดย: ย.ยิ้มแย้ม 29 มีนาคม 2550 3:54:12 น.  

 

วันที่ 31 มกราคม 53 ได้ไปเที่ยวมนัสการพุทธสถานจี้เต็กลิ้ม สวยดีนะไม่เคยไปชอบมากพาพวกเพื่อน ๆ จากกรุงเทพไปด้วย

 

โดย: หน่อยนครนายก IP: 58.137.49.76 1 กุมภาพันธ์ 2553 12:48:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


นายวุ้นกะทิ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add นายวุ้นกะทิ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.