กุมภาพันธ์ 2556

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog
พระไตรปิฏก-ข้าวมธุปายาส






ข้าวมธุปายาสในพระไตรปิฏก

     เชื่อว่ามีหลายคนที่เคยกินข้าวมธุปายาส  และบางคนที่กินข้าวมธุปายาสเพราะเชื่อว่าเป็นอาหารที่เคยมีมาในสมัยพุทธกาล   จึงอยากลิ้มลองกินบ้าง   สำหรับข้าวมธุปายาสที่เราคุ้นเคยกันจะมีส่วนผสมของนมสด เมล็ดธัญญพืช ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารสูง สำหรับร้านต่าง ๆที่ขายข้าวมธุปายาสก็จะมีสูตรเฉพาะที่แตกต่างกันออกไปโดยใช้วัตถุดิบที่เลือกสรรแล้วผสมกับนมวัวให้มีความเข้ากันอย่างลงตัวและมีรสชาติอร่อยถูกปากคนกิน เพื่อให้ลูกค้าติดใจกลับมาอุดหนุนซื้อกินกันอีก

  เล่ากันว่าในสมัยพุทธกาล ข้าวมธุปายาสเป็นอาหารที่ปรุงขึ้นมาจากธัญญพืชและผลไม้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นในสมัยนั้น ทั้งผลไม้สุกดิบที่หามาได้ ธัญญพืชคืออาหารประเภทข้าว ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียว ข้าวจ้าว ข้าวฟ่าง ข้่าวสาลี ลูกเดือย ฯลฯ แล้วก็นำเอาน้ำนมวัวบริสุทธิ์มาเป็นเครื่องปรุงหลักในการหุงต้มธัญญพืชและผลไม้ตามขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น

  เชื่อหรือไม่ว่า..ข้าวมธุปายาสนี้เป็นอาหารมื้อสุดท้ายที่นักบวชสิทธัตถะฉันก่อนที่พระองค์จะบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า......

    มีเรื่องเล่าในพระไตรปิฏกว่า....

    ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล นางสุชาดาธิดาของเศรษฐีผู้หนึ่งแห่งตำบลอุรุเวลาเสนานิคมได้ปรุงข้าวมธุปายาสอันประณีตเพื่อไปแก้บนเทวารักษ์ได้บนบานไว้ว่า ขอให้ได้สามีผู้มีสกุลเสมอกัน และขอให้ได้บุตรชายคนแรกจึงนำถาดทองคำบรรจุข้าวมธุปายาส มาแก้บนต่อรุกขเทวดาที่ต้นไทรใหญ่(ต้นนิโครธ)ครั้งแลเห็นพระบรมโพธิสัตว์ประทับ ณโคนต้นไทรนั้นทรงรัศมีออกจากพระวรกายแผ่ซ่านไปทั่วปริมณฑลเข้าใจว่าเป็นรุกขเทวดาจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสไปถวายพร้อมกับถาดทองคำ พระองค์ทรงแบพระหัตถ์ทั้งสองออกรับถาดข้ามธุปายาสแล้วทูลว่า

"ความปรารถนาของหม่อมฉันสำเร็จฉันใดขอสิ่งที่พระองค์ท่านปรารถนาจงสำเร็จเถิด"

ประวัติการปรุงข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาในสมัยพุทธกาล มีดังนี้

“ก่อนที่จะถึงวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือนหกนางสุชาดาก็ใช้ให้บุรุษทาสกรรมการทั้งหลายเอาฝูงแม่โคจำนวน 1000ตัวไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือเพื่อให้แม่โคทั้งหมดได้บริโภคเครือชะเอม อันจะทำให้น้ำนมมีรสหวานหอม แล้วแบ่งโคนมออกเป็น 2 พวก พวกละ 500 ตัว เพื่อรีดเอาน้ำนมจากแม่โค 500 ตัวในกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 500 ตัวในกลุ่มหลังบริโภค ครั้นแล้วก็แบ่งแม่โคในกลุ่มหลังจำนวน 500 ตัว ออกเป็น 2 พวก พวกละ 250 ตัว แล้วรีดเอาน้ำนมแม่โค 250 ตัวจากกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 250 ตัว ในกลุ่มหลังบริโภค กระทำการแบ่งกึ่งกันเช่นนี้ลงมาทุกชั้นๆ จนเหลือ 16 ตัว แล้วแบ่งออกเป็น 2 พวก พวกละ 8 ตัว นำน้ำนมของแม่โค 8 ตัวแรกมาให้อีก 8 ตัวสุดท้ายบริโภค ทำเช่นนี้เพื่อจะให้น้ำนมของแม่โค 8ตัวที่เหลือมีรสหวานอันเลิศจนกระทั่งเหลือแม่โคที่จัดไว้ใช้ 8ตัว ในคืนก่อนวันเพ็ญเดือน 6 หนึ่งวัน นางจึงนำภาชนะมารองเพื่อเตรียมจะรีดน้ำนมใส่ลง ขณะนั้นน้ำนมก็ไหลออกมาเองจนเต็มภาชนะเป็นมหัศจรรย์ปรากฏ นางสุชาดาเห็นดังนั้นก็รู้สึกปิติยินดีเข้ารับภาชนะซึ่งรองน้ำนมนั้นด้วยมือตน นำมาเทลงในภาชนะใหม่แล้วใส่ลงในกระทะนำขึ้นตั้งบนเตา ใส่ฟืนเตรียมก่อเพลิงด้วยตนเองเวลานั้นสมเด็จอัมรินทราธิราชก็เสด็จลงจุดไฟให้โชติช่วงขึ้น ท้าวมหาพรหมทรงนำทิพย์เศวตฉัตรมากางกั้นเบื้องบนภาชนะที่หุงมธุปายาสนั้น ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ได้มาประทับยืนรักษาเตาไฟทั้ง 4 ทิศ เหล่าเทพยดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาติต่างพากันนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์มาโปรยใส่ลงในกระทะด้วยเมื่อน้ำนมเดือดก็ปรากฏเป็นฟองใหญ่ไหลเวียนขวาทั้งสิ้น จะกระเซ็นตกลงพื้นแผ่นดินแม้นสักหยดหนึ่งก็ไม่มีครั้นสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ดี (น้ำนมที่เคี้ยวจนข้นมีรสประณีตกลมกล่อมรสอร่อยมากเรียกว่า "ขีรปริวรรต" )นางจึงนำมาบรรจุลงในถาดทองคำข้าวมธุปายาสอันหุงเสร็จเรียบร้อยก็พอดี ไม่มีพร่องไม่มีเกินแล้วปิดฝาด้วยถาดทองอีกใบหนึ่งห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ เมื่อนั้นนางก็จัดแต่งอาภรณ์ให้เรียบร้อยยกถาดทองคำซึ่งบรรจุมธุปายาสอันโอชะทูนขึ้นไว้บนศีรษะของตนแล้วเดินนำไปสู่ที่ประทับแห่งพระบรมโพธิสัตว์ต้นนิโครธพฤกษ์ ”

  ข้าวมธุปายาสในครั้งพุทธกาลเป็นอาหารที่ปรุงให้มีรสหวานนุ่มมีส่วนผสมของข้าวอ่อนที่ยังไม่สุกจัดคั้นออกจากรวงเป็นน้ำ แล้วหุงกับน้ำนมสดเจือด้วยน้ำผึ้งมีความข้นพอที่จะปั้นให้เป็นคำได้

   เมื่อถวายแล้วนางจึงทูลลากลับไปยังที่อยู่แห่งตนด้วยจิตใจอันปีติเบิกบาน ข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา ถือเป็น ภัตตาหารมื้อแรก หรือ การถวายอันสำคัญ ก่อนที่พระบรมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   เมื่อนางสุชาดาทูลลากลับไปแล้ว พระบรมโพธิสัตว์จึงเสด็จจากร่มนิโครธพฤกษ์ ทรงถือถาดมธุปายาสนั้นเสด็จสู่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เมื่อทรงพระวรกายแล้วจึงประทับนั่งริมฝั่งแม่น้ำนั้น บ่ายพระพักตร์สู่ถิ่นบรูพา คือตะวันออก ทรงปั้นข้าวปธุปายาสเป็นปั้น ได้ ๔๙ ปั้น แล้วเสวยจนหมด ซึ่งถือเป็นอาหารทิพย์อันจะคุ้มได้ถึง ๔๙ วัน ในการเสวยวิมุตติสุขภายหลังการตรัสรู้

    ข้าวมธุปายาสนั้นมีชื่อเรียกหลายชื่อ ว่าข้าวทิพย์ ข้าวมธุปายาสยาคู หรือข้าวยาคู

สำหรับพระพุทธรูปปางรับมธุปายาสจะอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ แบพระหัตถ์ทั้งสองยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยารับมธุปายาส นั่งห้อยพระบาทก็มีแต่ก็เห็นมีอยู่เฉพาะที่หอกรมานุสรณ์เท่านั้น

  ได้ทราบประวัติของข้าวมธุปายาสแล้ว ทำให้เราทราบว่าข้าวมธุปายาสเป็นอาหารวิเศษหรืออาหารทิพย์ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เราสามารถทำสูตรข้าวมธุปายาสแทนมื้ออาหารได้ด้วยสูตรหลากหลายที่เราสามารถทำได้ด้วยตนเอง จะใช้นมสดใส่ธัญพืช 5ชนิด หรือ9ชนิดจะใส่ผลไม้แห้งหรือผลไม้สดในน้ำนมก็ได้ หรืออาจจะใช้นมถั่วเหลืองแทนนมวัวก็ได้ก็สามารถแทนมื้ออาหารที่ทำให้ไม่จำเจแล้วและยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย

  สำหรับใครที่คิดอยากกินข้าวมธุปายาสแล้วสำเร็จธรรมนั้น ก็คงต้องขึ้นอยู่กับบุญกุศลและภูมิธรรมของแต่ละบุคคลแล้ว.......


แนะนำเวปไซต์เข้าไปศึุกษาเรื่องนางสุชาดาและการถวายข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาได้ที่ //www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20.0&i=152&p=1




Create Date : 15 กุมภาพันธ์ 2556
Last Update : 14 มิถุนายน 2560 15:47:22 น.
Counter : 1826 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ineverdie
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments