มิถุนายน 2560

 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog
มิลินทปัญหา - บทที่ ๗ สติ (ข้อ ๖. - ข้อ ๑๖.)


มิลินทปัญหา - บทที่ ๗ สติ (ข้อ ๖. - ข้อ ๑๖.)

     ๖. "องค์ประกอบของการตรัสรู้(โพชฌงค์) มีกี่อย่าง"
         "เจ็ด ขอถวายพระพร"
         "บุคคลจะตื่นรู้สัจธรรมด้วยโพชฌงค์อย่างน้อยกี่อย่าง"
         "อย่างเดียว คือธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ไม่มีทางเข้าใจอะไรอื่นถ้าปราศจากธรรมข้อนี้"
         "ถ้าเช่นนั้นเหตุใดจึงกล่าวว่า โพชฌงค์มีเจ็ดอย่างเล่า"
         "ดาบของพระองค์ที่อยู่ในฝักฟันอะไรได้เล่า ถ้าไม่ชักออกมาถือไว้"
         "ไม่ได้ พระคุณเจ้า"
         "ฉันใดก็ฉันนั้น ขอถวายพระพร หากไม่มีโพชฌงค์ที่เหลือมาประกอบธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ก็ไม่อาจทำให้ตรัสรู้ได้"
     ๗. "บาปหรือบุญให้ผลมากกว่ากัน"
         "ขอถวายพระพร บุญให้ได้มากกว่า บุคคลที่ทำชั่วจะเดือดร้อนกระวนกระวายและรู้ว่าได้ผิดไปแล้ว บาปจึงไม่เพิ่มขึ้น ส่วนบุคคลที่ทำบุญไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย ความยินดีและบันเทิงใจบังเกิดขึ้น เมื่อบันเทิงย่อมผ่อนคลาย พอสบายใจก็รู้สึกพอใจ เมือพอใจจิตย่อมตั้งมั่นได้ง่าย จิตที่ตั้งมั่นดดยชอบย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ด้วยเหตุนั้นบุญย่อมเจริญขึ้น ดังนั้นบุญจึงให้ผลมากกว่า  บาปเป็นเรื่องเล็กน้อยเมือเทียบกับบุญ"
     ๘. "การทำกรรมชั่วโดยรู้ กับโดยไม่รู้ แบบไหนทำบาปได้มากกว่า"
         "การกระทำโดยไม่รู้บาปมากกว่า ขอถวายพระพร"
         "ถ้าอย่างนั้นเราก็ควรจะลงโทษคนที่ทำกรรมชั่วโดยไม่รู้ให้หนักกว่าเป็นสองเท่า"
         "มหาบพิตรทรงคิดไหมว่า คนที่จับก้อนเหล็กร้อน ๆโดยที่ไม่รู้ว่าร้อน มือน่าจะไหม้พองมากกว่ากรณีที่รู้ว่าเหล็กร้อน"
        "ถ้าไม่รู้ว่าร้อน ย่อมถูกไหม้พองหนัก"
        "ขอถวายพระพร ฉันใดก็ฉันนั้น สำหรับคนที่ทำกรรมชั่วโดยไม่รู้"
    ๙. "บุคคลที่อาจจะไปถึงพรหมโลกหรือทวีปอื่นด้วยร่างกายนี้ มีอยู่ไหม"
        "มีอยู่ ขอถวายพระพร ง่ายพอ ๆกับที่พระองค์อาจจะกระโดด
ใกล้ ๆ โดยกำหนดจิตว่า 'จะกระโดดไปตรงนั้น' ผู้ที่ฝึกจิตจนได้ฌานย่อมไปพรหมโลกได้"
     ๑๐."มีโครงกระดูกอะไรที่ยาวถึง ๑๐๐ โยชน์ด้วยหรือ"
          "ในมหาสมุทร มีปลาลำตัวยาว ๕๐๐ โยชน์ (ประมาณ ๓,๕๐๐ ไมล์) ย่อมมีโครงกระดูกยาวเช่นนั้นได้"
     ๑๑."เป็นไปได้หรือที่บุคคลอาจดับลมหายใจเข้าออก"
          "เป็นไปได้ เปรียบเหมือนกับบุคคลที่มิได้อบรมจิต อาจระงับการกรนของตนได้ด้วยการพลิกตัว เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นไปได้ที่บุคคลที่อบรมจิตจนถึงฌานแล้ว จะสามารถระงับลมหายใจเข้าออกได้"
     ๑๒."เหตุใดจึงเรียกมหาสมุทรว่ามหาสมุทร"
          "เพราะว่าเป็นที่ที่มีการผสมของเกลือและน้ำอย่างสม่ำเสมอกัน"
            (สม = สม่ำเสมอ, อุทท = น้ำ รวมกันคือ สมุทท = สมุทร)
     ๑๓."เหตุใดมหาสมุทรจึงมีรสเดียว"
          "เพราะความที่น้ำในที่นั้นมีมาช้านาน"
     ๑๔."บุคคลอาจจะตัดแม้สิ่งอันละเอียดที่สุดได้ไหม"
          "ได้ ขอถวายพระพร ปัญญาอาจจะตัดแม้สิ่งที่ละเอียดสุขุมได้"
          "อะไรเล่าคือสิ่งที่สุขุม"
          "ธรรมะ เป็นสิ่งที่สุขุม อย่างไรก็ตาม ธรรมทั้งปวงก็มิได้สุขุมทั้งหมด ธรรมที่หยาบก็มี ละเอียดหรือหยาบเป็นเพียงการแจกแจง แต่สิ่งที่อาจจะตัดได้ทั้งหมด ย่อมตัดได้ด้วย(โลกุตร) ปัญญา ไม่มีอะไรที่อาจจะตัดปัญญาได้"
     ๑๕."พระคุณเจ้านาคเสน สิ่งที่เรียกว่า 'วิญญาณ' 'ปัญญา' และ'ภูตัสมิง ชีโว'(ชีวะในภูติ) แตกต่างกันในเนื้อหาหรือว่าแตกต่างกันเพียงชื่อเรียกเท่านั้น"
          "ขอถวายพระพร วิญญาณมีความรู้ต่าง ๆ เป็นลักษณะ ปัญญามีความรู้ชัดเป็นลักษณะ ส่วนภูตัสมิงชีโวเป็นสิ่งที่ไม่มีในที่ไหนๆ"
     ๑๖.พระเถระกล่าวว่า "พระผู้มีพระภาคได้ทรงกระทำสิ่งที่ทำได้ยากยิ่งไว้ คือการแยกแยะนามธรรมที่เกิดจากอายตนะ โดยแสดงให้เห็นว่า สิ่งนั้น ๆเป็นผัสสะ เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นเจตนา และเป็นจิต"
          "อาราธนาพระคุณเจ้าแสดงตัวอย่าง"
          "สมมติว่าบุคคลผู้หนึ่งจะประกอบน้ำขึ้นมาฟายมือหนึ่ง ลิ้มรสแล้วบอกได้ว่า 'น้ำนี้มาจากแม่น้ำคงคา นี้มาจากแม่น้ำยมุนา นี้มาจากแม่น้ำอจิระวดี นี้มากจากสรภูนที และนี้มาจากมหินที' ยากยิ่งกว่านั้นคือการแยกแยะนามธรรม คือจิตและเจตสิกที่เป็นไปกับอายตนะ" เนื่องจากเป็นเวลาเที่ยงคืนแล้ว พระเจ้ามิลินท์จึงถวายเครื่องบูชาธรรมแด่พระนาคเสนเถระ แล้วรับสั่งว่า "เหมือนราชสีห์ในกรงทองที่ปรารถนาอิสระภาพภายนอก ข้าพเจ้าก็ปรารถนาชีวิตในเพศบรรชิตเช่นกัน แต่คงมีชีวิตไม่ยืนยาวเพราะว่ามีศัตรูมาก"
          หลังจากที่ได้ไขปัญหาข้องใจของพระเจ้ามิลินท์แล้วพระนาคเสนเถระก็ลุกขึ้นจากอาสนะและกลับไปยังสังฆาราม ไม่นานหลังจากที่พระนาคเสนเถระออกไป พระเจ้ามิลินท์ทรงไตร่ตรองคำถามคำตอบ และสรุปว่า "ทุกอย่างที่เราถามเหมาะสมแล้วและทุกอย่างที่พระคุณเจ้านาคเสนตอบก็สมควรแล้ว" เมื่อกลับมาถึงสังฆาราม พระนาคเสนเถระก็ไตร่ตรองและสรุปเช่นเดียวกัน


ที่มา: หนังสือมิลินทปัญหา - กษัตริย์กรีกถาม พระเถระตอบ โดย นวพร เรืองสกุลถอดความเป็นภาษาไทย




Create Date : 15 มิถุนายน 2560
Last Update : 15 มิถุนายน 2560 22:20:31 น.
Counter : 877 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ineverdie
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



New Comments