Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
24 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 
Case Study : DTac

การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะ MBA ในวิชาการบริหารกลยุทธ หรือ การจัดการกลยุทธ ซึ่งในโลกของความเป็นจริงจะมีความแตกแต่งจากชั้นเรียนเป็นอย่างมาก

การที่จะทำให้ นศ.MBA ได้เรียนรู้และสร้างคุณค่าทางปัญญาจากผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่สูงถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ แต่การลงมือปฏิบัติในสภาพจริงของธุรกิจโดยการศึกษา และวิเคราะห์ หรือ ดูงาน ก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน

สำหรับ การวิเคราะห์ธุรกิจ จาก Case Study ของ นศ.ในอันดับต่อมา ครับ ลองรับฟังและรับชม
(สามารถให้ความเห็นได้อย่างอิสระ)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNTConsultants

***************************************************

Case Study : DTac

นศ.ศิรัญญา ชำนาญกิจ

บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
วิสัยทัศน์ (Vision)
ดีแทค จะเป็นบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมที่ประชาชนเจาะจงเลือกใช้บริการ ทุกเมื่อที่ต้องการสื่อสารถึงกัน อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการดำเนินธุรกิจและในชีวิตประจำวัน
พันธกิจ (Mission)
ดีแทค จะเป็นบริษัทสื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำระดับโลก ที่
• เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภค และนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการบริการที่ดีที่สุด เพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าได้อย่างฉับไว
• สร้างบรรยากาศการทำงานที่เปิดโอกาสเต็มที่ให้พนักงานได้แสดงความสามารถ และเติบโต รวมถึง ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับผลการปฏิบัติงาน
• สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมาย (Goal)
• เพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทโดยวิธีการเพิ่มความสามารถในการทำกำไร
• รักษาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านการให้บริการ ช่องทางการจำหน่าย การจัดกลยุทธ์ตาม
กลุ่มลูกค้า เครือข่ายช่องสัญญาณ และความรวดเร็วในการส่งข้อมูล
• นำเสนอนวัตกรรมใหม่ในด้านบริการอย่างต่อเนื่องด้วยความหลากหลายและคุณภาพเพื่อ
ตอบสนองของความต้องการและวิถีชีวิตของผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม
• เสริมสร้างคุณภาพของการให้บริการแก่ลูกค้าและบริการหลังการขาย
• พัฒนาบุคลากรและองค์กรเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดด้วยหลักพึงปฏิบัติและจรรยาบรรณที่ดี

1. ภาพรวมของการประกอบธุรกิจ
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) (TAC) จัดตั้งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2532 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบความถี่ 800 MHz Band B และระบบความถี่ 1800 MHz ภายใต้สัญญาสัมปทานที่ได้รับจาก บมจ. กสท. โทรคมนาคม (กสท) มีอายุสัญญาสัมปทานสิ้นสุดในปี 2561 โดยมีรูปแบบที่ให้ดำเนินการสร้าง ติดตั้งเครือข่ายจนสามารถให้บริการพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่สร้างและติดตั้ง พร้อมกับจัดสรรส่วนแบ่งรายได้ให้แก่ กสท. หรือที่เรียกว่า BTO (Build-Transfer-Operate) TAC เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในปี 2538 โดยให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งแบบใช้เสียง (voice) และไม่ใช้เสียง (non-voice) รวมทั้งการให้บริการข้อมูลและบริการเสริมต่างๆ เช่น บริการรับฝากข้อความตัวอักษร (SMS) บริการดาวน์โหลดภาพกราฟฟิกและเสียงเรียกเข้า บริการส่งภาพเคลื่อนไหวพร้อมข้อความ (MMS) เป็นต้น TAC ได้เปลี่ยนชื่อทางการค้าเป็น “DTAC” หรือ “ ดีแทค “ ในปี 2544 โดยเสนอแผนบริการในรูปแบบต่างๆ ที่เข้าใจง่าย และส่วนใหญ่ไม่คิดค่าบริการรายเดือน นอกจากนี้ยังคิดอัตราค่าใช้บริการโทรศัพท์ภายในประเทศอัตราเดียวทั่วประเทศ ปัจจุบัน TAC มีทุนจดทะเบียน 5,350 ล้านบาท ทุนเรียกชำระแล้ว 4,744 ล้านบาท
ปัจจุบัน TAC เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศไทย ด้วยส่วนแบ่งตลาด ณ สิ้นปี 2546 ประมาณร้อยละ 29 โดยให้บริการกับลูกค้าในระบบจดทะเบียน (Postpaid) และระบบบัตรเติมเงิน (Prepaid) ณ สิ้นปี 2546 TAC มีผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดจำนวน 6,550,496 เลขหมาย แบ่งเป็นระบบ Postpaid จำนวน 1,167,543 เลขหมาย และระบบ Prepaid จำนวน 5,382,953 เลขหมาย เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2545 จำนวน 1,095,934 เลขหมาย

2. ลักษณะการให้บริการ
การให้บริการและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ TAC และบริษัทย่อย ประกอบด้วย
(1) การให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
(2) การขายเครื่องโทรศัพท์ และชุด Starter Kit
(3) การค้าปลีก
2.1 การให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
TAC ดำเนินธุรกิจให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ภายใต้สัมปทานจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย มีอายุสัญญาสิ้นสุดในปี 2561 ซึ่ง TAC ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งแบบเสียง (voice) และ แบบไม่ใช่เสียง (non-voice) ให้กับลูกค้าในระบบจดทะเบียน และระบบบัตรเติมเงิน ในหลายรูปแบบด้วยกัน โดยบริการแบบไม่ใช่เสียง อันรวมถึง การให้บริการทางด้านข้อมูลบริการ SMS บริการ MMS การดาวน์โหลดเสียงเรียกเข้า และภาพกราฟฟิก รวมทั้งบริการเสริมอื่น ๆ จะเป็นการให้บริการร่วมกับพันธมิตรผู้พัฒนา Content (Content Provider) นอกจากนี้ TAC ยังให้บริการข้ามแดนอัตโนมัติแก่ลูกค้าในระบบจดทะเบียนที่นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในต่างประเทศ และลูกค้าของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในต่างประเทศที่เลือกใช้โครงข่ายของ TAC เมื่อใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างเดินทางอยู่ในประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงการให้บริการข้ามแดนอัตโนมัติที่ทำไว้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในต่างประเทศ
ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในระยะเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายรายมีการขยายโครงข่าย และช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อขยายพื้นที่ให้บริการ และเพื่อให้สินค้าและบริการเข้าถึงผู้ใช้บริการจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้มีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในวงกว้างครอบคลุมประชากรที่มีฐานะเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลาย รวมทั้งครอบคลุมประชากรในพื้นที่ต่าง ๆ ได้มากขึ้น นอกจากนี้ การที่ค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีอัตราที่ถูกลง และการเข้ามาเป็นลูกค้าในระบบบัตรเติมเงินสามารถทำได้ง่ายขึ้น นับเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าในระบบบัตรเติมเงิน เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ของธุรกิจ


3.1.3 การตลาดและภาวะการแข่งขัน
ข้อได้เปรียบและกลยุทธ์ในการแข่งขันของ TAC
(ก) ข้อได้เปรียบในการแข่งขันของ TAC
TAC เชื่อว่า TAC มีข้อได้เปรียบที่จะทำให้ TAC ประสบความสำเร็จในการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ดังต่อไปนี้
(1) TAC มีแบรนด์เนมที่เป็นที่รู้จัก
TAC เริ่มใช้แบรนด์เนม “ดีแทค” เมื่อต้นปี 2544 โดยได้ลงทุนเป็นจำนวนมากในการพัฒนา และประชาสัมพันธ์“ดีแทค” ให้เป็นชื่อที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากที่สุดชื่อหนึ่งของประเทศ โดย TAC มุ่งเน้นให้ “ดีแทค” เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายแรกของไทยที่คำนึงถึงความสำคัญของลูกค้ามากกว่าความสำคัญด้านเทคโนโลยีหรือราคา
(2) เน้นการใช้กลยุทธ์ที่ให้ความสำคัญต่อความต้องการของลูกค้า
TAC เชื่อว่า TAC เป็นผู้ให้บริการรายแรกที่ใช้กลยุทธ์การให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการ
ของลูกค้าอย่างแท้จริง โดยได้พัฒนาและนำเสนอรูปแบบของสินค้าและบริการใหม่ ๆ ที่เข้าใจง่าย และราคายุติธรรม
TAC เชื่อว่า กลยุทธ์การสร้างแบรนด์เนมและการเน้นการบริการที่ให้ความสำคัญกับลูกค้า ส่งผลให้“ดีแทค” ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างกว้างขวางในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คุณภาพสูงและเป็นผู้นำในการริเริ่มการให้บริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ใช้งานง่ายและไม่เอาเปรียบผู้บริโภค
(3) TAC มีโครงข่ายที่สามารถรองรับการให้บริการด้านข้อมูลครอบคลุมทั่วประเทศ
ปัจจุบัน โครงข่ายของ TAC สามารถให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ครอบคลุมประมาณร้อยละ 92 ของจำนวนประชากรของประเทศ และเป็นโครงข่ายเดียวที่สามารถรองรับเทคโนโลยี GPRS ทั่วทั้งโครงข่าย TAC จึงสามารถให้บริการสื่อสารข้อมูลบนโครงข่ายโดยใช้เทคโนโลยี GPRS เช่น MMS นอกจากนี้ โครงข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการอย่างทั่วถึง ทำให้ TAC มีข้อได้เปรียบเหนือผู้ให้บริการรายใหม่ที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากในการพัฒนาโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทัดเทียมกับ TAC ทั้งนี้ ความสามารถของโครงข่ายที่รองรับการรับส่งข้อมูลได้ทั่วทั้งโครงข่าย ทำให้ TAC สามารถแข่งขันในตลาดการให้บริการสื่อสารข้อมูลซึ่งเป็นตลาดที่กำลังมีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(4) TAC ได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 2 รายหลัก
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 2 รายของ TAC คือ เทเลนอร์ ซึ่งถือหุ้นใน TAC ทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่าน UCOM รวมกันประมาณร้อยละ 40.3 ของทุนชำระแล้ว และ UCOM ซึ่งถือหุ้นโดยตรงใน TAC ประมาณร้อยละ 41.6
Telenor ASA (บริษัทแม่ของเทเลนอร์) เป็นผู้นำตลาดในประเทศนอร์เวย์ และเป็นสมาชิกคณะกรรมการ GSM Association ซึ่งเป็นสมาคมที่รับผิดชอบในการกำหนดมาตรฐานของเทคโนโลยี GSM สำหรับกิจการโทรคมนาคม Telenor ASA เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยตรง และโดยผ่านการลงทุนในประเทศต่าง ๆ กว่า 12 ประเทศ โดยมีลูกค้ากว่า 31.4 ล้านราย ดังนั้น กลุ่มเทเลนอร์จึงสามารถสนับสนุนและช่วยเหลือ TAC ในด้านความรู้ในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งด้านเทคนิค และด้านการดำเนินธุรกิจ
UCOM เป็นผู้ก่อตั้ง TAC และเป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำรายหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งได้ถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศไทยให้แก่ TAC
(5) TAC มีฐานลูกค้าและมีส่วนแบ่งตลาดที่มีขนาดใหญ่
TAC เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ เป็นอันดับสองของประเทศไทย โดยพิจารณาจากส่วนแบ่งตลาด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 สูงสุดเป็นอันดับสอง ประมาณร้อยละ 29 ของจำนวนผู้ใช้บริการทั้งหมดของประเทศ (ในขณะที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่อันดับสามของประเทศ มีส่วนแบ่งตลาดเพียงประมาณร้อยละ 8)
ฐานลูกค้าที่มีขนาดใหญ่ และส่วนแบ่งตลาดในระดับสูงของ TAC ทำให้ TAC มีข้อได้เปรียบในด้านความสามารถในการกำหนดรูปแบบการบริการให้เหมาะกับลูกค้าทั่วไปในวงกว้าง และตลาดลูกค้ากลุ่มองค์กร ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวโดยคู่แข่งรายใหม่และรายที่มีขนาดเล็กกว่าจะเป็นไปได้ยากกว่า เนื่องจากต้องใช้ทุนในการดำเนินการที่สูงมาก
(ข) กลยุทธ์ของ TAC
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย TAC จึงมีนโยบายในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
(1) การคงนโยบายที่ให้ความสำคัญต่อความต้องการของลูกค้า
หลักการสำคัญภายใต้ปรัชญา “ดีแทค” คือ การให้บริการที่ให้ความสำคัญต่อความต้องการของลูกค้าและให้บริการที่ใช้งานง่าย ซึ่งรวมถึงการให้บริการที่รวดเร็วแก่ลูกค้า และการจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์แบบเชิงรุก TAC เชื่อว่า ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่จะยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต และผู้ใช้บริการจะมีความต้องการใช้บริการที่หลากหลายขึ้น ดังนั้น ผู้ใช้บริการจึงมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับคุณภาพของบริการมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ TAC จึงมีนโยบายที่จะเป็นผู้นำด้านการบริการลูกค้า โดยการปรับปรุงงานด้านการให้บริการลูกค้า ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่ขึ้นตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมเพื่อทำหน้าที่ด้านลูกค้าสัมพันธ์ และสนับสนุนงานด้านการให้บริการลูกค้า
(2) TAC มีนโยบายในการเพิ่มปริมาณการใช้บริการของลูกค้า
ฐานลูกค้าของ TAC มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา และลูกค้าของ TAC จำนวนมากเป็นผู้ที่เพิ่งเริ่มใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อย่างไรก็ดี TAC คาดว่าจำนวนลูกค้ามีแนวโน้มจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลงในอนาคต TAC จึงได้มุ่งเน้นการเพิ่มปริมาณการใช้บริการของลูกค้าแต่ละราย โดย
• การเสนอรูปแบบบริการ และบัตรเติมเงินในลักษณะที่กระตุ้นให้มีการใช้บริการมากขึ้นและหาซื้อได้ง่าย ขึ้นเช่น บัตรเติมเงินราคา 50 บาท รวมถึงการเติมเงิน 20 บาทผ่านระบบอิเล็คโทรนิค
• การประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบถึงบริการต่าง ๆ ของ TAC เช่น SMS, MMS
• การจัดรายการสิทธิประโยชน์และเอกสิทธิพิเศษ (Loyalty Program) ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
• การเพิ่มปริมาณการใช้บริการของลูกค้าโดยวิธีใหม่ ๆ รวมถึงการลดอัตราค่าใช้บริการในช่วงสุดสัปดาห์
การแนะนำรูปแบบบริการใหม่
(3) เป็นผู้นำด้านการเสนอบริการรูปแบบใหม่ ๆ
TAC มีนโยบายที่จะรักษาความเป็นผู้นำตลาดในด้านการเป็นผู้ริเริ่มการให้บริการและโครงสร้างค่าบริการรูปแบบใหม่ โดยการนำเสนอบริการรูปแบบใหม่ ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ลูกค้าใช้บริการได้ง่ายและสะดวกขึ้นต่อไป ตัวอย่างเช่น MMS, My, Happy Dprompt, Baby Sim
(4) TAC มีนโยบายเน้นการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่ม
ปัจจุบันธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทย มีการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่มที่ค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ดี หากมีการให้บริการในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการให้บริการด้านข้อมูลมากขึ้น และลูกค้ามีความต้องการที่จะใช้บริการด้านข้อมูลที่มีความหลากหลายและมีลักษณะเฉพาะมากขึ้น TAC เชื่อว่า การให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นในอนาคต และบริการที่ให้กับผู้ใช้บริการโดยทั่วไป จะต้องมีลักษณะที่สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันตามพื้นที่ให้บริการ หรือสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของลูกค้า โดยในระยะที่ผ่านมา TAC ได้นำเสนอบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ตั้งอยู่บนหลักการที่กล่าวมาข้างต้น
(5) TAC ยังคงนโยบายขยายและปรับปรุงโครงข่าย TAC
TAC มีนโยบายที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงข่าย โดยพัฒนาการให้บริการในอาคารที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีจำนวนประชากรหนาแน่น เช่น กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่ TAC ให้บริการครอบคลุมอยู่แล้ว และเลือกขยายโครงข่ายในพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ของประเทศ นอกจากนี้ TAC ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาบนเทคโนโลยี GSM ที่จะทำให้ TAC เป็นผู้นำตลาดในด้านการให้บริการด้านข้อมูล และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงข่าย เช่น การร่วมมือกับโนเกียในการทดลองนำเทคโนโลยี EDGE หรือ Enhanced Data Rate for GSM Evolution มาใช้บนโครงข่ายบางส่วนของ TAC ซึ่งเทคโนโลยี EDGE นี้ สามารถรองรับการส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงกว่าเทคโนโลยี GPRS และทำให้ผู้ให้บริการใช้คลื่นความถี่ (spectrum) ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(6) TAC ยังคงขยายการให้บริการที่หลากหลายผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ
TAC มีแผนที่จะเพิ่มการให้บริการด้านต่าง ๆ กับลูกค้าโดย TAC ได้ทำความตกลงกับพันธมิตรผู้พัฒนา Content และโปรแกรมใช้งาน ในการให้บริการ Content และ Solution ของพันธมิตรบนโครงข่ายของ TAC โดยมีข้อตกลงทางธุรกิจในลักษณะของการพัฒนาโปรแกรมใช้งาน (Application) และให้สิทธิกับ TAC ในการนำมาให้บริการบนโครงข่ายของ TAC (Licensing) กิจการร่วมค้า หรือการให้บริการข้อมูลภายใต้ข้อตกลงในการแบ่งรายได้ระหว่างกัน เช่น TAC ได้ร่วมมือกับไมโครซอฟท์เปิดให้บริการ MMIS กับลูกค้าของ TAC ภายใต้ชื่อ DTAC Mobile Information Service
3.1.4 การจำหน่ายและช่องทางการจำหน่าย
TAC เห็นว่า การดำเนินการด้านการตลาดที่สำคัญ คือ การประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้ทราบถึงประโยชน์ใช้งานของโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งในด้านเสียงและด้านข้อมูล ซึ่ง TAC เชื่อว่า เมื่อผู้บริโภคมีความเข้าใจในเรื่องความสะดวกจากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น ประเทศไทยจะมีการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบัน TAC เน้นการประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบถึงประโยชน์ใช้งานของ SMS และ MMS และการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประโยชน์ของ MMIS กับลูกค้าประเภทองค์กร นอกจากนี้ TAC ยังมีนโยบายที่จะสำรวจความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้รับข้อมูลลูกค้าที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้บริการของ TAC
บทวิเคราะห์ธุรกิจ
ในธุรกิจนี้ทางผู้จัดทำได้นำทฤษฏี 3C มาใช้ในการวิเคราะห์ ดังนี้

Competitors การแข่งขัน
ในภาคธุรกิจสื่อสารซึ่งเป็นประเภทของธุรกิจที่มีผู้แข่งขันน้อยราย ซึ่งการแข่งขันจึงจำเป็นที่ต้องใช้เทคนิคและกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างดีเยี่ยมทีเดียวจึงจะสามารถยืนหยัดอยู่ได้ ซึ่งในปัจจุบันการแข่งขันที่ค่อนข้างดุเดือดเพราะคู่แข่งมีฐานของระบบที่ค่อนข้างจะมีความพร้อมต่างกัน อาทิ เอไอเอส มีสถานีฐานที่มีอยู่จำนวนมากและครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่จึงเป็นระบบที่ไดเปรียบในด้านสัญญาณ ส่วนทรู คอร์ปอเรชั่น ก็เป็นระบบทีมาใหม่มีระบบที่หลากหลายครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภค เช่น ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบอิเทอร์เน็ตและระบบสัญญาณโทรทัศน์ยูบีซี เป็นต้น
ดังนั้น ดีแทคเองต้องหาแนวทางที่พอจะสู้กับคู่แข่งที่มีความพร้อมเพราะเริ่มต้นก่อนและมีฐานที่ดีกว่าโดยดีแทค ใช้ระบบการบริการที่ดีและค่าบริการที่ถูกกว่าเพื่อดึงดูดลูกค้าจากคู่แข่งโดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยทำงาน

Customers กลุ่มลูกค้า
กลุ่มลูกค้าที่อยู่ในวัยทำงานและกลุ่มวัยทำงานที่ปริมาณผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดในตลาดการแข่งทันนี้ โดยกลุ่มวัยรุ่นนั้นเน้นการบริการที่ประหยัดและหลากหลาย คือ ค่าบริการค่อนข้างถูกเพราะกลุ่มวัยรุ่นนิยมสนทนาทางโทรศัพท์เป็นระยะเวลานานในแต่ละครั้ง ส่วนกลุ่มคนทำงานนั้นเน้นที่การติดต่อที่ง่ายและรวยเร็วเพราะส่วนใหญ่เป็นการติดต่อเรื่องงานเสียส่วนใหญ่
ซึ่งจากการดูข้อมูลการศึกษาต่างๆก็ยังมีลูกค้าที่เลือกใช้บริการยังน้อยอยู่เพราะบางส่วนยังยึดติดกับการบริการและระบบเดิมที่ใช้อยู่จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาระบบให้มากขึ้นเพื่อที่จะลดช่องว่างที่อยู่ระหว่างคู่แข่งให้ลดลงมากที่สุด

Cost ต้นทุนต่ำ
การเลือกใช้ต้นทุนที่ต่ำจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทางดีแทคเลือกใช้ คือ การเพิ่มสถานีฐานเพื่อรองรับการใช้บริการของลูกค้าในส่วนต่างๆของประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้นและเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากขึ้นนั้น โดยปกติแล้วต้องใช้เสาทาร์วเวอร์ที่ใหญ่ซึ่งเป็นต้นทุ่นที่สูง และต้องใช้คู้กันคือตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้เก็บอุปกรณ์ส่งสัญญาณต่างที่เป็นอุปกรณ์อินดอ หรือเป็นอุปกรณ์ที่ต้องเก็บให้มิดชิดและรักษษอุณหภูมิอยู่เสมอ
แต่ทางดีแทคเลือกใช้อุปกรณ์ที่สามารถทดแทนหรือสามารถใช้งานได้เหมือนกัน คือจากที่ต้องใช้เสาส่งสัญญาณขนาดใหญ่ก็เปลี่ยนมาเป็นเสาขนาดกลางและเล็กหรือเน้นที่จะติดตั่งไว้บนอาคารสูงเพื่อลดความสูงของเสาลงและเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เป็นอินดอมาเป็นอุปกรณ์เอาท์ดอที่สามารถทนกับสภาวะอากาศโดยรอบได้และไม่จำเป็นต้องใช้ตู้คอนเทนเนอร์อีก เป็นต้น

ข้อเสนอแนะ
เนื่องจากระบบดีแทคเป็นระบบที่มีสถานีฐานที่น้อยและไม่ครอบคลุมจึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่มีผู้ใช้บริการยังน้อยอยู่
ดังนั้นถ้าทางดีแทคเร่งพัฒนาระบบโดยเพิ่มสถานีฐานและเจาะกลุ่มที่ยังไม่มีระบบสื่อสารของบริษัทคู่แข่งเข้าไปถึงซึ่งมีอยู่บางส่วนของประเทศเมื่อกลุ่มนี้ใช้ระบบหรือมีระบบให้ใช้เมื่อนั้นผู้คนที่ต้องการติดต่อด้วยและกลุ่มที่ออกมาจากชมชนเพื่อหารายได้ในเมืองก็จะใช้ระบบตามไปด้วยเช่นกัน




Create Date : 24 สิงหาคม 2551
Last Update : 24 สิงหาคม 2551 23:26:56 น. 0 comments
Counter : 8588 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.