Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2549
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
5 สิงหาคม 2549
 
All Blogs
 
ตัวแบบ (Model) สู่ธุรกิจแห่งนวัตกรรม

“ธุรกิจแห่งนวัตกรรม” หรือ “Innovative Enterprises” เป็นวิสัยทัศน์ใหม่ กฏเกณฑ์ใหม่หรือกลยุทธการเติบโตใหม่ของธุรกิจที่ทั่วโลกยอมรับว่า เป็นดังสกุลตราใหม่ของการแข่งขันหรืออาหารมื้อศักดิ์สิทธิ์ของธุรกิจแห่งศตวรรษที่ 21ในนิตยสารบิสซิเนสวีค ครบรอบ 75 ปีเดือนตุลาคม 2004 ได้นำเสนอถึง อนาคตของนวัตกรรมไว้อย่างน่าสนใจ อาทิ

 ด้านเทคโนโลยีใหม่ จะอยู่ใน 3 กลุ่มคือ นาโนเทค (Nanotech) เป็นความสามารถในการสร้างวัสดุใหม่ๆ จากระดับล่างสุดให้สามารถแปลงไปสู่ การรักษาสุขอนามัย (การต่อสู้กับมะเร็ง) การผลิตและคอมพิวเตอร์ พลังงาน (Energy) ซึ่งถ้าพลังงานยังคงราคาสูงต่อไป เทคโนโลยีใหม่อาจจะกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่าเชิงเศรษฐกิจเร็วกว่าที่ทุกๆ คนคาดคิด เช่น ไฮโดรเจนจากพลังงาน พลังงานจากแสงอาทิตย์หรือก๊าซธรรมชาติ ชีววิทยา (Biology) มูลค่าเชิงเศรษฐกิจของไบโอเทคมีผลกระทบพอๆ กับไมโครชิป ซึ่งในทางการแพทย์อาจทำให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น

 ด้านแหล่งของนวัตกรรม จะมีในซิลิคอนวัลเล่ย์ ซึ่งยังคงเป็นผู้นำในการร่วมลงทุนของบริษัทที่เกิดจากการรวมของอินโฟเทคกับไบโอเทคและนาโนเทค แหล่งที่สองคือเอเซีย ประเทศญี่ปุ่นที่มีการลงทุนด้าน R&D มาอย่างยาวนานได้ขยับไปร่วมลงทุนกับประเทศอื่นๆ เช่น อินเดียและจีน อย่างเช่นกรณีของหัวเว่ย เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมระดับโลกโดยรัฐบาลจีนหวังว่าจะช่วยลดช่องว่างการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระหว่างจีนกับไต้หวัน ญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา
......บริษัทหัวเว่ย (Huawei) มีพนักงานด้าน R&D 10,000 คนหรือ 46% ของพนักงานทั้งหมด
มีห้องแล็บในอังกฤษ อินเดีย สวีเดน สหรัฐอเมริกาและอีก 7 เมืองในจีน
มีสิทธิบัตรในปี 2004 จำนวน 1,590 รายการ เพิ่มขึ้น 33% จากปี 2002
โครงการใหม่ เช่น โทรศัพท์ 3G เครือข่ายเทเลคอมรุ่นใหม่และอินเตอร์เน็ตเกียร์

.....กรณีของอินเดีย บริษัท ทาทา (Tata) ซึ่งได้ประโยชน์จากนวัตกรรมโดยเฉพาะในการพัฒนา “Indica” ในราคา 6,000 ดอลลาร์สหรัฐและส่งออกไปยังยุโรป วิศวกรของทาทาพัฒนาขึ้นมาจากแนวคิดของการใช้ทักษะแรงงานที่ราคาถูกแทนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ใช้ในบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นหรือสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้ประหยัดต้นทุนได้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในด้านต้นทุนการออกแบบและการผลิต ผลลัพธ์ที่ได้คือ Indica มีจุดคุ้มทุนที่จำนวน 80,000 คัน เทียบแล้วราวๆ ต่ำกว่าราวๆ 30% ของบริษัทรถยนต์ระดับโลกถ้าต้องการกำไรในรุ่นแบบเดียวกัน
นั่นคือ ธุรกิจต่างประเทศที่ต่างกำลังเร่งเครื่องเต็มที่ในการหนีชาติอื่นด้วย “นวัตกรรม” (Innovation)

 ตัวแบบ (Model) สู่ธุรกิจแห่งนวัตกรรม
ผู้เขียนจึงสนใจว่าธุรกิจไทยเราจะมีโอกาสในการสร้างสู่การเป็นธุรกิจแห่งนวัตกรรม (Innovative Enterprises: IE) ได้หรือไม่

ด้วยการศึกษาแนวคิด หลักการและทฤษฎีด้านการสร้างทุนทางปัญญา (Intellectual Capital : IC) หรือสินทรัพย์ทางปัญญา (Intellectual Asset) พบว่า องค์ประกอบของทุนทางปัญญานี้จะนำไปสู่ความสำเร็จของนวัตกรรมที่มีมูลค่า (Value Innovation) ซึ่งเป็นแนวทางที่แตกต่างไปจากเดิมของการสร้างนวัตกรรมโดยการสร้างความคิดใหม่ หรือมุ่งแต่การทำด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D)
จุดประกายในเรื่องทุนทางปัญญา (IC) ทำให้ผู้เขียนสนใจพัฒนาตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทยขึ้นมา

ทุนทางปัญญาที่ว่านี้หมายถึง ความรู้ที่ปรับเปลี่ยนสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Assets) ให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้นี้เป็นผลรวมของสิ่งที่เรียกว่า องค์ประกอบของทุนทางปัญญา เช่น ทุนมนุษย์ หรือทุนทรัพยากรบุคคล ทุนความสัมพันธ์กับลูกค้า ผู้ร่วมค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ และทุนโครงสร้าง อาทิ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ตราสินค้า ลิขสิทธิ์ ฯลฯ

 ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์ของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจไทยนี้ เรียกย่อๆ ว่า ตัวแบบ SICM (A Strategic IC Model) พัฒนาขึ้นจากการlสังเคราะห์สิ่งที่บริษัทได้จัดทำวิสัยทัศน์ ภารกิจ การจัดทำระบบ ISO และกลยุทธที่มี KPIs วัดกลยุทธทั้งหมดสร้างเป็นต้นแบบ IC ของธุรกิจพร้อมดัชนีวัด IC หลังจากนั้นจึงแปลงสู่ตัวแบบ SICM ที่มีองค์ประกอบหลักและองค์ประกอบย่อยของทุนทางปัญญาพร้อมด้วย KPIs วัดองค์ประกอบดังกล่าว
สำหรับตัวแบบ SICM จะมีรูปแบบที่นำไปปฏิบัติภายในธุรกิจดังรูปต่อไปนี้



โดยที่องค์ประกอบหลักทั้ง 4 ของตัวแบบ SICM จะมีองค์ประกอบย่อยของทุนทางปัญญาสำหรับธุรกิจที่น่าสนใจดังนี้
ทุนภาวะผู้นำ(Leadership Capital) จะมีองค์ประกอบย่อยคือ วัฒนธรรมเชิงคุณค่าและความภูมิใจในประสิทธิภาพขององค์การ
ทุนความสัมพันธ์ (Relational Capital) จะมีองค์ประกอบย่อยคือ ความสัมพันธ์กับลูกค้า ผู้ร่วมค้า
และพนักงาน ความพึงพอใจและจงรักภักดีต่อองค์การของลูกค้าและการรักษามูลค่าเพิ่มในบริการ

ทุนองค์การ (Organizational capital) จะมีองค์ประกอบย่อยคือ กระบวนการเรียนรู้ในการผลิต ทรัพย์สินทางปัญญา (ตราสินค้า, เครื่องหมายการค้าและซอฟท์แวร์) คุณสมบัติเฉพาะผลิตภัณฑ์และฐานข้อมูลทางความรู้

ทุนทรัพยากรบุคคล (Human Resource) จะมีองค์ประกอบย่อยคือ ความเชี่ยวชาญเฉพาะ การริเริ่มและการเรียนรู้ การจัดการความรู้ให้เพิ่มขึ้น การฝึกอบรมและพัฒนา กับสวัสดิการและการดูแลพนักงาน

ซึ่งตัวแบบ SICM จะใช้วัดธุรกิจและคนในองค์การด้วยองค์ประกอบของทุนทั้ง 4 ด้านว่าจะมีช่องว่าง (GAP) อะไรกับผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจเทียบกับคู่แข่งขันสำคัญในอุตสาหกรรมแล้วจึงจะนำไปสู่นวัตกรรมเชิงมูลค่า เพื่อจะได้รูปแบบแห่งนวัตกรรม

หากผู้บริหารธุรกิจหรือองค์การใดสนใจ สามารถอีเมล์พูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้เขียนได้ ก็เพราะว่า ตัวแบบ SICM นี้เป็นจุดประกายที่จะใช้แปลงสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้แต่มีมูลค่าขององค์การให้นำไปสู่นวัตกรรมเชิงมูลค่าสำหรับธุรกิจที่อยากจะก้าวสู่การเป็น “ธุรกิจแห่งนวัตกรรม”


อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants


Create Date : 05 สิงหาคม 2549
Last Update : 22 มกราคม 2551 17:27:30 น. 0 comments
Counter : 3599 Pageviews.

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.