Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2549
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
14 มิถุนายน 2549
 
All Blogs
 
รหัสลับนวัตกรรม โดย ดนัย เทียนพุฒ

คนของประเทศชาติอยู่กับทะเล อยู่กับมหาสมุทร จะมีวิธีการคิดและวิถีความเป็นอยู่แตกต่างกันหรือไม่ ผู้เขียนได้แต่คาดเดาเอาว่าเราน่าจะแตกต่างกัน แต่คงไม่ถึงกับต้องไปวิเคราะห์วิจัยหาถึงเหตุและผลกันให้เป็นเรื่องใหญ่โตหรือมีอภิปรายโต้เถียงกัน (อาจจะกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของไทยเราก็ได้ในเรื่องโต้เถียงกัน)

เวลาที่เราได้มีโอกาสไปดูชีวิตความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งก่อสร้างของประเทศตะวันตก จะรู้สึกว่า
-ทำไมสิ่งก่อสร้างของคนตะวันตกจึงใหญ่โตกว่าบ้านเราเป็น 10 เท่า ยกเว้นที่เมืองจีนเท่านั้นซึ่งดูใหญ่พอจะเปรียบกันได้ อาทิ กำแพงเมืองจีน พระราชวังต้องห้ามหรือแม้กระทั่งจตุรัสเทียนอันเหมิน
-สิ่งก่อสร้างของเขาส่วนใหญ่จะทำด้วยหิน หรือการแกะสลักหิน การตัดหินภูเขามาทำสิ่งก่อสร้าง ขณะที่บ้านเราทำจากดินเผาหรืออิฐถือปูน ปูนปั้น แกะสลักไม้ จึงเกิดเป็นข้อกังขาว่าใครจะมีสิ่งประดิษฐ์ล่ำเลิศหรือคิดเชิงนวัตกรรมได้ดีกว่ากัน แต่ที่แน่ๆ ของที่ทำจากหินน่าจะคงอยู่ได้นานกว่าทำด้วยดิน

และหากต้องพูดแบบชาตินิยมก็คงต้องบอกว่าเราน่าจะดีกว่า!!

โลกกลมๆ ใบนี้ดูเหมือนเป็นโลกของธุรกิจการแข่งขันที่ทำให้คนในแต่ละประเทศต้องคิดหาสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เหนือกว่า แข่งขันได้ดีกว่า และสุดท้ายสามารถครอบงำความคิดหรือวิถีชีวิตของประเทศคู่ค้าจนกระทั่งนำไปสู่ความร่ำรวยของชาติที่เหนือกว่าได้ในที่สุด

ธุรกิจและชาติแห่งนวัตกรรม
การพัฒนาเศรษฐกิจที่อยู่บนฐานการผลิตและพัฒนาต่อมาที่เป็นเศรษฐกิจที่อยู่บนฐานการลงทุน ซึ่งจำเป็นต้องมีทั้งเทคโนโลยีการผลิตโดยเฉพาะเครื่องจักรและแหล่งเงินทุนจากแหล่งที่มากกว่าในประเทศ นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ นักกลยุทธธุรกิจ ฯลฯ ต่างพบว่ามีโอกาสยากที่จะทำให้ประเทศชาติมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงโดยเฉพาะประะเทศที่ไม่ได้มีความได้เปรียบในสิ่งเหล่านี้หรือไม่สามารถคิดเทคโนโลยีเองได้

ศตวรรษที่ 21 กลายเป็นโลกใหม่ที่จะชนะกันด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกกันว่า ไบโอเทค นาโนเทค และความรู้ใหม่ ทำให้ทุกประเทศต่างมุ่งไปสู่เศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มหรือเรียกกันแต่เดิมว่า เศรษฐกิจแห่งความรู้
แต่ปัจจุบันกำลังพูดถึงหรือปรับทิศทางกันใหม่ในเรื่องราวของเศรษฐกิจความรู้ที่เป็นลักษณะ เศรษฐกิจแห่งนวัตกรรม ผู้เขียนขอเรียกสั้นๆ ว่า เศรษฐกิจนวัตกรรมแล้วกัน

โอกาสทางธุรกิจหรือพื้นที่ว่างทางการตลาด ไม่ว่าจะโดยทฤษฎีอะไร ในอดีตหรือปัจจุบัน คนที่ทำธุรกิจจำเป็นต้องแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า “โอกาสทางธุรกิจ” หรือ “พื้นที่ว่างทางการตลาด” (Market Space) ขณะที่การทำสงครามแย่งชิงดินแดน ในสมัยก่อนถ้าอยู่ในสนามรบจะเลือกพื้นที่ที่มีชัยภูมิดีหรือโอกาสที่จะชนะในการทำศึก หากเป็นพวกแสวงหาหรือล่าอาณานิคมจะแล่นเรือออกไปหา “ดินแดนใหม่ หรือแสวงโชคในทะเลลึก”
ทั้งหมดนี้อาจจะสรุปเรียกได้ว่า “โอกาสทางธุรกิจ”
พื้นที่ว่างสีขาวหรือ “White Space” ตลาดใหม่แต่เป็นความเก่งเดิมๆ ได้เริ่มมีการศึกษาและพูดถึงเมื่อนักคิดทางกลยุทธรุ่นใหม่คือ ฮาเมลและพราฮาลัด ได้พูดถึง ความสามารถหลักของธุรกิจที่เรียกว่า Core Competencies จะเป็นสิ่งที่ชนะเหนือการแข่งขัน โดยสิ่งนี้เป็นทั้งเทคโนโลยี นวัตกรรม หรืออะไรที่คู่แข่งขันไม่อาจจะเลียนแบบได้ และต้องใช้ความสามารถหลักของธุรกิจนี้เข้าไปในพื้นที่ที่ยิ่งใหญ่กว่าพื้นที่ว่างสีขาว ซึ่งเรียกว่า ”เมกะ-โอกาส”ที่ไม่ใช่ตลาดเดิมและความสามารถเดิม
จุดนี้ถือเป็นการพลิกโฉมจากการเน้นด้านการผลิตหรือผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ไปสู่การมุ่งทรัพยากรเพื่อสร้าง “นวัตกรรมที่มีมูลค่า (Value Innovation”

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่บรรดากูรูหรือนักคิดในช่วงทศวรรษสุดท้ายก่อนศตวรรษที่ 21 จึงสนใจเรื่อง “มูลค่าใหม่” เราจึงได้ยินเรื่องราวของกลยุทธทะเลลึกสีฟ้าหรือ Blue Ocean Strategy
ซึ่งในความจริงแล้วเป็นการแสวงหาดินแดนใหม่หรือแสวงโชคในทะเลลึกแบบเดิมนั่นเอง เพียงแต่การสร้างรูปแบบหรือเส้นโค้งมูลค่าใหม่ตามศัพท์ที่เรียกในกลยุทธทะเลลึกสีฟ้านี้คือ การหยิบหรือหาความต่างอาจจะเรียกว่า ช่องว่างในระหว่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมเดียวกับธุรกิจเราแล้วใช้โมเดล ลด-ขยาย-เลิก-สร้าง เพื่อหาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ไปในช่องว่างดังกล่าวโดยไม่คิดแบบชนะหรือโจมตีคู่แข่งก็เพียงเท่านั้นจริงๆ ในกลยุทธดังกล่าว

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการหามูลค่าใหม่หรือนวัตกรรมที่มีมูลค่า

ถอดรหัสลับนวัตกรรม
ช่วง 2-3 ปีมานี้เราคงได้ยินคำว่า “นวัตกรรม” ถี่มากขึ้นเพราะดูจะเป็น “อาวุธทางปัญญา” สิ่งเดียวที่น่าจะทำให้ธุรกิจและชาติรอดพ้นปัจจัยร้ายๆ ทั้งหลายไปได้หรืออาจจะหนีการไล่ล่าของทุนนิยมก็เป็นได้

นวัตกรรมเป็นสิ่งที่สูงมากกว่าความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดเดียว
ถ้าลองไปดูดิกชันนารีทางธุรกิจ จะบอกว่าเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการและระบบ รวมถึงการดำเนินการในกระบวนการธุรกิจ
-ความคิดสร้างสรรค์เป็นการคิดที่เกิดขึ้นเหมือนสร้างจินตนาการทางความคิดเป็นการค้นหาหลักการ
-ขณะที่นวัตกรรมนำความคิดหรือจินตนาการทางความคิดไปปฏิบัติจนสำเร็จ
-นวัตกรรมยังเป็นความสามารถในการแปลหลักการไปสู่คุณค่าจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ
-ผลลัพธ์ของกระบวนการนวัตกรรมคือ การแปลงความคิดเข้าไปในผลิตภัณฑ์และบริการที่จับต้องได้จนกระทั่งสร้างให้เกิดรายได้เชิงพาณิชย์ต่อธุรกิจหรือชาติ
-ดรักเกอร์ บอกว่าผลลัพธ์เชิงนวัตกรรมได้มาจากการทุ่มเทและการมุ่งหวังหาโอกาสทางนวัตกรรม ซึ่งอาจเป็นผลได้ของความไม่ปกติจากสิ่งรอบตัว ความต้องการในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงในตลาด อุตสาหกรรม ประชากรศาสตร์หรือเทคโนโลยีใหม่

สรุปเป็นว่าธุรกิจและชาติต้องการอาศัยนวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ดีกว่าในอดีตและดึงให้พ้นวิกฤตการณ์

ผู้เขียนจึงเสนอว่า เราควรมีการพัฒนาสิ่งที่เป็นโปรโตคอลของนวัตกรรม (Innovation Protocol) อาจจะพูดแบบชาวบ้านว่า กรอบการสร้างนวัตกรรมหรือให้ทันสมัยหน่อยจะเรียกว่า “รหัสลับนวัตกรรม” (Innovation Code) ซึ่งจะมีวิธีย่อๆ ที่ประกอบด้วย การสร้างความคิด การประเมินผลกระทบของความคิดดังกล่าวหลังจากนั้นจึงเข้ากระบวนเพาะบ่มความคิดให้เป็นนวัตกรรม ถ้าทำได้ค่อยลงทุนและทำเชิงพาณิชย์ (ขอกู้จากแหล่งทุนหรือจะลงทุนเอง)

ทั้งหมดนี้ล่ะครับ! ที่เป็นวิธีการจะถอดรหัสลับนวัตกรรม เพราะเราไม่มีวิธีอื่นที่จะต่อสู้ในเศรษฐกิจนวัตกรรมกับประเทศยักษ์ใหญ่ หรือมหาอำนาจทางเทคโนโลยีและเงินทุน นอกจากจะใช้กลยุทธที่จะถอดรหัสลับนวัตกรรมมาใช้ต่อสู้และสร้างชาติให้ร่ำรวยขึ้นมาบ้าง


อ.ดนัย เทียนพุฒ
Aj.Danai Thieanphut
DNT Consultants


Create Date : 14 มิถุนายน 2549
Last Update : 22 มกราคม 2551 17:27:53 น. 0 comments
Counter : 905 Pageviews.

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.