Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
 
10 กุมภาพันธ์ 2550
 
All Blogs
 
โมเดลของดัชนีวัดผลสำเร็จด้าน HR : HR Scorecard Model

ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และการสื่อสารโทรคมนาคมมีผลทำให้โลกธุรกิจ
จำเป็นต้องปรับตัวตามในระดับความเร็วที่สูงเช่นเดียวกัน
ผู้เขียนเคยไปบรรยายในช่วงครบรอบวันสถาปนาจัดตั้ง โครงการ HRD ของ NIDA เกี่ยวกับ
"ทิศทางของ HRD ในศตวรรษที่ 21" ในช่วงที่ซักถามปัญหามีท่านอาจารย์ท่านหนึ่งได้สอบถามว่า
(1) แนวคิดของทฤษฎีทางตะวันตกจะปรับใช้กับโลกตะวันออกได้มากน้อยเพียงใด
และ (2) ในเรื่องของการพัฒนาธุรกิจ ถ้าหัวขบวนเร็วมากและคนที่อยู่ข้างหลังไม่สามารถวิ่งตามหัวขบวน
ได้ทันจะมิทำให้การพัฒนาล้มเหลวหรือ
ประเด็นของคำถามนับว่ามีความน่าสนใจและผู้เขียนได้ตอบในที่สัมมนาไปแล้ว แต่ประเด็นที่
อยากหยิบมาขยายความต่อในที่นี้ก็คือ การทำให้หัวขบวนขับเคลื่อนในอัตราที่เร็วมากๆ

ถ้าอยากชนะในธุรกิจต้องเร็วเท่าความคิดดิจิตอล ดิจิตอลมีความเร็วสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้เขียนเชื่อว่า ความคิดก็ต้องเร็วขึ้นเช่นกัน สำหรับบุคคล
ที่ฝึกใช้ความคิดบ่อยๆ เส้นประสาทเชื่อมโยงในสมองจะมีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้คิดได้เร็วขึ้นและสิ่งนี้เป็น
ความเชื่อของผู้เขียนที่มีต่อธุรกิจ
ธุรกิจที่ต้องการเป็นผู้นำในโลกยุคดิจิตอล จะต้องเป็นธุรกิจที่มีนวัตกรรมที่เหนือและล้ำหน้า
กว่าคู่แข่งและสิ่งนี้เองที่จะเป็นพลังผลักดันให้คู่แข่งขันหรือธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ยิ่งมีการปรับตัว
และหานวัตกรรมใหม่ออกมาสู่โลกธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจพัฒนาก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
"ทุนทางปัญญา" (Intellectual Capital) เป็นสิ่งที่สำคัญต่อธุรกิจที่จะทำให้ธุรกิจมีนวัตกรรม
ใหม่ๆ ออกมาได้มากน้อยเพียงใด หรือเป็นแรงผลักดันทางกลยุทธของธุรกิจที่จะทำให้ธุรกิจชนะในการแข่งขัน
"การบริหาร HR" เป็นแรงขับให้เกิดผลงานที่มีค่าสูงสุด แต่จะสามารถทำดังเช่นที่ว่านี้ได้
การบริหาร HR จะต้องมีการวัดผลสำเร็จด้าน HR (The HR Scorecard) ที่เป็นรูปธรรมและต้องเข้าใจใน
2 ประการข้างต้นที่กล่าวมา ผู้บริหาร HR ต้องสามารถผลักดันให้ธุรกิจเร่งไปสู่หัวขบวน สิ่งที่เป็นคำถามหรือข้อสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่า ผู้บริหาร HR เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความ
รับผิดชอบของฝ่าย HR มากน้อยเพียงใด เพราะหากไม่เข้าใจในเรื่องที่จะต้อง "ผลักดันให้ธุรกิจเร่งไปสู่-
หัวขบวน" ด้วย "ทุนทางปัญญา" ที่ธุรกิจมีอยู่ หากเป็นเช่นนั้นธุรกิจก็ไม่สามารถแข่งขันจนชนะในโลกยุคดิจิตอลนี้ได้
การที่ผู้เขียนต้องคลุกคลีหรือมีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้บริหารธุรกิจโดยเฉพาะ CEO/MD
หรือผู้บริหารสูงสุดจากธุรกิจหลายๆ แห่ง ผู้บริหารธุรกิจทุกท่านมักจะพูดกับผู้เขียนอยู่เสมอว่า
(1) ช่วยหาผู้บริหาร HR ให้กับบริษัทหน่อยได้หรือไม่ เพราะธุรกิจต้องการผู้บริหาร HR อีก
รูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่รูปแบบที่มีอยู่หรือเป็นเช่นที่ผ่านมา
(2) ในเมืองไทยไม่มีสถาบันที่สอนในวิชาบริหารทรัพยากรบุคคลที่ผลิตบุคลากรให้สามารถ-
ทำงานตามที่ธุรกิจต้องการไม่ได้หรือ หรือว่าสิ่งที่สอนกันอยู่นั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงให้ทันกับโลกของความเป็นจริง
สิ่งที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเห็นการพัฒนาด้านการบริหาร HR ในต่างประเทศคิดว่าน่าสนใจมากๆ
เพราะสามารถทำให้ฝ่าย HR เข้าไปมีบทบาทในธุรกิจที่สูงมากจนกระทั่งมีบางตำแหน่งงานน่าจะทำเป็น
อย่างมาก เช่น
……Chief Learning Officer ของบริษัท Chevron Corporation
……Work force Planning and Development ของบริษัท Sun Microsystems
……President ของ General Motors University
……Chief Learning Officer ของบริษัท AT&T
……President ของ Motorola University
2-3 เรื่องข้างต้นทำให้ผู้เขียนมานั่งคิดทบทวนหรือกลับไปมองใหม่ว่า การบริหาร HR ในธุรกิจ
บ้านเราเป็นอย่างไรจึงมีพัฒนาการที่ช้ามาก หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็ยังอยู่ในอัตราที่ไม่น่าพอใจนักเพราะ
ถ้าเป็นที่น่าพอใจคงไม่มีประเด็นข้างต้น

บทสรุปของผู้เขียนในเรื่องนี้จึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะสามารถวัดผลสำเร็จด้าน HR ให้ได้อย่าง-
แท้จริง เพราะมิฉะนั้น "ผู้บริหาร HR จะไปผลักดันให้ธุรกิจเร่งไปสู่หัวขบวนของอุตสาหกรรมได้อย่างไร"
โมเดลของดัชนีวัดผลสำเร็จด้าน HR

ผู้เขียนได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า Prof.Dave Ulrich ได้นำเสนอมิติใหม่ของฝ่าย HR ที่จะก้าว
ไปสู่ การเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ (Strategic Partner) พร้อมกับทิ้งท้ายไว้ว่าจะได้ถ่ายทอดสิ่งที่เป็น "องค์-
ความรู้ใหม่สำหรับ HR ในศตวรรษที่ 21" โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดผลสำเร็จด้าน HR (The HR Scorecard)
การเสนอคุณค่าของ HR
ก่อนที่จะนำเข้าไปสู่ โมเดลของดัชนีวัดผลสำเร็จด้าน HR (The HR Scorecard Model) ผู้เขียน
อยากจะหยิบยกสิ่งที่เป็นเรื่องที่เข้าใจยากที่สุดในงาน HR มาขยายความ ซึ่ง Prof.Dave Ulrich ได้อธิบาย
ในการสัมมนา "The 8th World Congress of HRM Paris 2000" ทั้งนี้ก็เพราะว่าหากไม่เข้าใจในสิ่งนี้
การวัดผลสำเร็จด้าน HR จะไม่ตรงตามที่ธุรกิจต้องการ
สิ่งที่ผู้บริหาร HR เข้าใจในเรื่อง "การเสนอคุณค่าของ HR" ให้กับฝ่ายงาน หน่วยงาน/องค์กร
หรือธุรกิจก็คือ การปรับเปลี่ยนระบบงาน HR ใหม่ เช่น การสรรหาโดยใช้อินเตอร์เน็ต การนำเรื่องความ-
สามารถ มาประยุกต์ใช้ในระบบประเมินค่างาน การพัฒนาบุคลากร การจ่ายค่าตอบแทนและการจัดการผลงาน
การปรับแนวคิดของการฝึกอบรม & พัฒนา ให้เป็นแนวคิดด้าน e-Learning หรือการจัดการความรู้ (KM: Know-
ledge Management) หรือการนำเทคโนโลยีมาช่วยในระบบธุรการงานบุคคลโดยเฉพาะเรื่อง HRIS (Human
Resource Information System)
ทั้งหมดนี้ยังก้าวไปไม่ถึงเรื่องของ "การเสนอคุณค่าของ HR ต่อธุรกิจ"
รูปแบบการเสนอคุณค่าของ HR
เป็นความโชคดีอย่างยิ่งที่ Prof.Dave Ulrich ได้ขยายความให้เห็นถึง "รูปแบบการเสนอคุณค่าของ
HR" ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
นิยาม : การนิยามการเสนอคุณค่าของ HR จะต้องนิยามโดยผู้รับบริการมากกว่าจะเป็นนิยาม
ที่มาจากผู้ให้บริหาร (ฝ่าย HR)
รูปแบบ : ในรูปแบบการเสนอคุณค่าของ HR Prof.Dave Ulrich เรียกว่า "ตรรกคุณค่าของผู้นำ"
โดยผู้นำและ HR จะต้องส่งมอบ (1) สิ่งที่ทำให้พนักงานเกิดความมุ่งมั่นผูกพัน (Commitment) เมื่อพนักงาน
มีความมุ่งมั่นผูกพันก็จะ (2) ส่งมอบสิ่งที่ทำให้ลูกค้าเกิดความมุ่งมั่นผูกพัน และ (3) จะเกิดผลลัพธ์กับ
ผู้ลงทุน รูปแบบการส่งมอบคุณค่าทั้งหมดนี้จึงจะเรียกได้ว่า "รูปแบบการเสนอคุณค่าของ HR"
ฝ่าย HR จะถูกนิยามใหม่ว่า "สามารถส่งมอบคุณค่าได้" มากกว่า "สามารถทำได้"
สำหรับสิ่งที่ฝ่าย HR ต้องสามารถส่งมอบคุณค่าได้คือ การคิดร่วมกัน (Shared Mindset) ความ-
สามารถพิเศษ (Talent) ความเร็ว (Speed) การเรียนรู้/การไม่มีขอบเขตของหน่วยงาน (Boundaryless/
Learning) แบรนด์ผู้นำ (Leadership Brand)

เมื่อสามารถมีพื้นฐานในสิ่งเหล่านี้แล้ว ผู้บริหารธุรกิจทุกท่านจะสามารถปรับเปลี่ยน
"สถาปัตยกรรม HR" ไปสู่ "HR เชิงกลยุทธได้หรือกล่าวได้ว่า HR เป็นทรัพย์สินเชิงกลยุทธ" (A Strategic Asset) ผู้เขียนคิดว่าเรือง ดัชนีวัดผลสำเร็จด้าน HR (The HR Scorcard) มีคุณค่าสูงสุดในด้านการบริหาร
HR โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อต้องการให้ฝ่าย HR เสนอคุณค่าต่อธุรกิจ ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants






Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2550
Last Update : 23 กรกฎาคม 2550 22:11:52 น. 10 comments
Counter : 1493 Pageviews.

 
การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงความสามารถคืออะไรและ การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์คืออะไรคะ?


โดยคุณ ปริยาภัทร เชษฐมาส


โดย: คุณ ปริยาภัทร IP: 58.8.122.94 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:15:08:56 น.  

 
เรียนคุณปริยาภัทร
การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงความสามารถ หมายถึง
1.การประยุกต์เรื่องการจัดการความสามารถ (CBM:Competency Based Management ) เข้า
มาใช้ในทุกระบบของการบริหารคน
และที่สำคัญมากก็คือการ กำหนดนิยามความสามารถที่เน้นถึง "Superior Performance "
การกำหนดโมเดลความสามารถ (Competency Model ) เพื่อนำไปใช้ในระบบที่สำคัญของHR
หรือ การจัดทำเรื่อง ค่างานแบบBroadband ตามแนวคิดของความสามารถ
2. เป็นการมองเรื่อง ความสามารถของคน (Human Competence ) ที่ผ่านทางระบบ
" Competency Based Application HR Systems " จนกระทั่งสามารถได้สิ่งที่เรียกว่า " ทุนมนุษย์ (Human Capital )"

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants


โดย: Dr.Danai IP: 58.8.122.94 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:15:09:34 น.  

 
เรียนคุณปริยาภัทร (ต่อ)
การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ
หมายความถึงการทำเรื่องกลยุทธในการบริหารคน
เช่น การจัดทำวิสัยทัศน์ ภารกิจ และจัดทำโมเดลธุรกิจของ HR
ที่ประกอบด้วย ขอบเขตผลลัพธ์สำคัญ (KRA: Key Result Area )สมมติฐานทางกลยุทธ (Strategic Hypotesis )
ดัชนีวัดผลสำเร็จ (KPIs) ซึ่งหลังจากนั้นจะไปวางกลยุทธด้านคน
ฑั้งหมดนี้ก็จะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่าดัชนีวัดผลสำเร็จด้าน HR (HR Indicators) หรือ HR Scorecard ครับ

เรื่องความสามารถ
ในความจริงเรื่องของความสามารถ (Competency) มีพูดถึงกันค่อนข้างมากในปัจจุบัน แต่ก็ยังสับสนในความหมายกันอยู่พอสมควร
ผมเองใช้ในความหมายของความสามารถตามแนวคิดของผู้บุกเบิก
คือ
.....ความสามารถหมายถึง การบูรณาการ ความรู้ ทักษะ ทัศนคติและคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Attribute) จนทำให้เกิดผลงานที่มีคุณค่าสูงสุด (Superior Performance) หรือมีประสิทธิภาพ

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants



โดย: Dr.Danai IP: 58.8.122.94 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:15:11:06 น.  

 
อาจารย์คะประโยชน์ของการวางแผนทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์คืออะไรคะ และมีขั้นตอนรายละเอียดอย่างไรคะ

Sasitorn


โดย: คุณ Sasitorn IP: 58.8.122.94 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:15:12:03 น.  

 
To Sasitorn
ทำให้สามารถบริหารคนเชิงกลยุทธได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการบริหารทุนมนุษย์ได้แตกต่างจากองค์กรอื่น ๆ
ในรายละเอียดผมคิดว่าให้ไปศึกษาจากหนังสือของผม
-การบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ศตวรรษที่ 21 พิมพ์ครั้งที่2เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมากครับ


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants


โดย: Dr.Danai IP: 58.8.122.94 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:15:12:50 น.  

 
โมเดลความสามารถ

๑ ปัจจุบันมีการพูดถึงความสามารถกันมาก และก็ถูกชักนำไปในทางด้านความสามารถในความหมายของ การฝึกอบรมและพัฒนาค่อนข้างสูง
๒ ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง การนิยามความสามารถในเชิงของ
-ความรู้ -ความเข้าใจ
-ทัศนคติ
-และทักษะ
ไม่กว้างอย่างเพียงพอที่จะใช้ในระบบการบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)
๓ ดังนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงโมเดลของความสามารถที่นิยมใช้ในการพัฒนาเรื่องกันอย่างชัดเจนเสียก่อน
โดยปกติโมเดลของความสามารถจะมีอยู่ทั่ว ๆ ไป ที่นิยมกัน ใน3 โมเดลคือ
-The Single Job Competency Model
- The " One Size Fits All " Competency Model
- The Multiple Job Competency Model
ในรายละเอียดคงต้องติดตามตอนต่อๆๆๆๆไปนะครับ

การพัฒนาโมเดลความสามารถ
(Developing Competency Model)
ผมพบว่าในหลาย ๆ องค์กรฝ่าย HR หรือ ธุรกิจสนใจที่จะนำ
โมเดลความสามารถเข้ามาใช้ในองค์กรแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี
-บางองค์กรก็ช่วยกันคิดขึ้นมาซึ่งก็มีทั้งที่ทำถูกต้องและก็เป็นแบบของตนเองคือไม่เหมือน ใครเลย
-บางองค์กรก็ซื้อเวลาใช้วิธีการจ้างที่ปรึกษาให้เข้ามาดำเนินการซึ่งก็เป็นวิธีการที่น่าสนใจ แต่ก็เจอปัญหาเช่น
1ที่ปรึกษามักจะขายPagkage สำเร็จรูปจากต่างประเทศ โดยที่นิยามความสามารถอาจเป็นแบบแค่การฝึกอบรมคือ ความรู้ ทักษะ ทรรศนคติ
2 ที่ปรึกษาอาจมีประสบการณ์ในองค์กรบางองค์กรที่พัฒนาขึ้นมาตามความเข้าใจ หรือ ไปศึกษาจากเวบไซท์ต่าง ๆ แล้วมานำเสนอให้ธุรกิจ ก็เป็นการลองผิดลองถูก
3 ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ตรงทั้งการเสนอโมเดล และImplement มาแล้วในธุรกิจ
4 ที่ปรึกษาที่เคยแต่อ่านมาบรรยายแต่ไม่เคยทำซึ่งก็น่าสนใจที่มีความสามารถในการโน้มน้าวให้คนเชื่อได้โดยอ้างบริษัทที่เคยทำงาน หรือ พยายามรวมมาเยอะ ๆ จนไม่รู้ว่าทำจริงหรือไม่
ฯลฯ
-บางองค์กรก็ลองผิดลองถูกทั้งสองวิธีมาแล้วและอยากหาแนวทางใหม่
ผมมีข้อเสนอให้ดำเนินการดังนี้
1ถามในทีมบริหารว่ามีใครรู้และเข้าใจเรื่องความสามารถจริง ๆ กี่คน
2 ที่อยากนำมาใช้เพราะอะไร เป็นแฟชั่น หรือ ได้ยินมาอ่านมา หรือ ๆๆๆๆๆๆ
3 คิดว่าใครเหมาะสมที่สุดในการรับผิดชอบเรื่องนี้
ขอให้ท่านตอบคำถามเหล่านี้ก่อนแล้วผมจะมาเล่าต่อถึงวิธีดำเนินการที่ประสบความสำเร็จ ขององค์กรได้อย่างไม่ยากนัก


ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants


โดย: DrDanai IP: 58.8.122.94 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:15:15:28 น.  

 
ผมอ่านหนังสืออาจารย์เรื่องค่าตอบแทนตามผลสำเร็จ แล้วชอบมากครับ แต่รู้สึกเนื้อหาค่อนข้างเยอะ บางเรื่องผมอยากให้ขยายความโดยละเอียด อาจารย์มีหนังสือที่เกี่ยวกับเรื่องนี้อีกไหมครับ? ขอบคุณ


โดย: wi IP: 125.27.17.187 วันที่: 27 เมษายน 2550 เวลา:12:05:06 น.  

 
ผมตอบให้แล้วครับ

ตอนนี้สามารถอ่านข้อเขียนใหม่ ๆ ได้ที่
คิดไทย สไตล์โมเดิรน์

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants


โดย: Dr.Danai IP: 58.8.123.126 วันที่: 3 พฤษภาคม 2550 เวลา:22:33:05 น.  

 
การใช้ KPI ในการวัดผลการประเมินผลงานมีผลดีอย่างไรครับ


โดย: อัครเดช เถียรประภากุล IP: 58.10.80.151 วันที่: 20 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:39:27 น.  

 
-มีความเป้นระบบชัดเจน
-ไม่มีอคติจากผู้ประเมิน
-ผลงานเป็นของผู้ทำ หรือ ตามสัดส่วน คือ ใครทำใครได้ ทีมนั้น ๆ หรือ แผนกนั้นๆ


โดย: Dr.Danai (dnt ) วันที่: 23 กรกฎาคม 2550 เวลา:22:11:21 น.  

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.