Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
 
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
14 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
KM ที่ท่านไม่รู้จัก

หลายครั้งที่ผู้เขียนได้บรรยายถึงแนวคิดของการจัดการความรู้ (KM: Knowledge Management) ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดของ KM ที่ถูกต้องว่าจริงๆ แล้วนั้นคืออะไรกันแน่ โมเดล KM แบบไหนจึงจะจัดการได้จนประสบความสำเร็จ และที่สนใจกันมากๆ คือ เกิดการจัดการความรู้จนกระทั่งมีความรู้ใหม่เกิดขึ้นมาได้จริงหรือไม่ รวมทั้งการจัดการความรู้ที่มุ่งเน้นที่ระบบเทคโน-โลยีเป็นหัวใจสู่ความสำเร็จของ KM ที่ธุรกิจเดินทางถูกทางใช่จริงหรือ


ประการแรก เรื่อง KM ที่ผู้บริหารองค์กรนึกถึงคืออะไร
เมื่อเราพูดถึง KM เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้
- เป็นเรื่องของการวางระบบด้านเทคโนโลยีระบบหนึ่งใช่หรือไม่
- เป็นเรื่องของการบังคับกลายๆ ให้ทุกคนเข้ามา Post ข้อความหรือนำเอกสารที่มีอยู่ในรูป Hard Copy ทำให้อยู่ในรูปออนไลน์แล้วนำไปฝากไว้ในระบบอินทราเน็ตขององค์กร
- เป็นระบบการพัฒนาพนักงานในองค์กรอีกรูปแบบหนึ่งของฝ่าย HR
เพราะทันทีที่ผู้บริหารระดับสูงหรือ CEO/MD/President ขององค์กรอยากให้มี KM ในองค์กร ฝ่าย IT หรือฝ่าย HR ขององค์กรมักจะนึกถึงการวางระบบ IT หรือการจัดหา Software ระบบจัดการเวบไซท์ที่เป็นเวบไซท์ท่า (Portal Website) หรือเวบบล็อก (WebBlog/ Blog)


ผู้เขียนอยากให้ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารฝ่าย IT และผู้บริหารฝ่าย HR ได้พิจารณาสิ่งต่อไปนี้ก่อนที่จะนึกถึงระบบซอฟท์แวร์หรือเวบแอพพลิเคชั่นที่จะนำมาใช้ในการจัดการความรู้หรือ KM
(1) ธรรมชาติคนในองค์กรของท่านเป็นอย่างไร เช่น เป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมชอบการเรียนรู้ ชอบการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้ หรือมีกลุ่มคนที่ชอบขีดเขียน สร้างความรู้มากน้อยเพียงใด
หรือว่าองค์กรท่าน/บุคลากรต้องมุ่งทำงานแข่งกับเวลาให้ทันกับการแข่งขันที่มีอย่างรุนแรง จึงทำให้บุคลากรแทบจะไม่มีเวลาค้นหาความรู้หรือพัฒนาตนเอง นอกจากองค์กรจะต้องเป็นผู้จัดให้หรือเสริมให้ตามความจำเป็นในแต่ละโอกาส
(2) วิธีการทำงานในองค์กรของท่าน เป็นลักษณะกลุ่มทำงาน (Working Group) หรือการทำงานข้ามหน้าที่งาน (Cross Functional Team) หรือการมีทีมการเรียนรู้ (Team Learning) อย่างเป็นปกติหรือทำเป็นประจำ ซึ่งบางครั้งอาจจะเรียกว่ามี Morning Meeting ทุกๆ วันของทุกระดับการทำงาน
(3) องค์กรของท่านต้องการสร้างความคิด (ไม่ใช่ความคิดสร้างสรรค์) ที่จะนำไปสู่การจุดระเบิดนวัตกรรม (Innovation) ในองค์กรจนกระทั่งมี “นวัตกรรมเชิงมูลค่า” (Value Innovation) เพราะมีเพียงนวัตกรรมจะแข่งขันไม่ได้เนื่องจากเป็นข้อจำกัดที่ทำให้หลงไปกับนวัต-กรรมด้านเทคโนโลยีหรือผู้บุกเบิกตลาด
ทั้ง 3 ลักษณะข้างต้นนี้ หากองค์กรท่านมีถือว่ามีความพร้อมด้านเนื้อหา (Content) ที่ควรจะมีการจัดการด้วยระบบเทคโนโลยีหรือซอฟท์แวร์ที่มาช่วยในการจัดการความรู้ (KM: Knowledge Management)
แต่ถ้าเป็นในทางตรงกันข้าม หากองค์กรของท่านจัดหาผู้รับจ้างด้านซอฟท์แวร์และฝ่าย IT มาวางระบบและพัฒนาเวบไซท์ท่าความรู้ (Knowledge Portal Website) ขึ้นมาจะดูฮือฮาในตอนแรก และหลังจากนั้นก็จะถึงทางตันคือ เวบไม่เคลื่อนไหวหรือฝ่าย HR หรือฝ่าย IT จะพยายามนำกฎกระเบียบกับเรื่องราวเกี่ยวกับการทำเวบหรือเทคโนโลยีมาใส่ไนเวบนั้น
ยิ่งเป็น Blog ด้วยแล้วโอกาส “ตายท้องกลม” ยิ่งสูงมากเพราะมีแต่คนเข้ามาดู หรือบาบอกว่าดีๆๆๆ แต่ไม่เกิดการสร้างความรู้ ซึ่งมี Blog ในองค์กรที่เป็นลักษณะนี้ค่อนข้างมาก


ประการที่สอง จุดเริ่มต้นของ KM ที่จะประสบความสำเร็จ
ผู้เขียนอยากจะยกตัวอย่างเวบบล๊อกของ OKNATION.NET (www.oknation.net) มาให้พิจารณาดูเพื่อเป็นตัวอย่างในเรื่อง KM


www.oknation.net www.oknation.net/blog/DNT

ถ้าอยากใช้เทคโนโลยีในการจัดการความรู้และทำในรูปแบบออนไลน์เพื่อสร้างเป็นชุมชนความรู้ OKNATION.NET ถือเป็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งด้วยเหตุผลที่ว่า
(1) ลักษณะของ Blog เป็นแบบ Real-Time หรือ Live หรือ Interactive ที่มีการ Update ตลอดเวลา ทำให้ Blog มีสีสันไม่น่าเบื่อชวนติดตาม
(2) ถ้าจะให้ Blog มีชีวิต สิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้ได้คือ
- กลุ่มคนที่เป็นหลักในการสร้างเนื้อหา (Contents) ซึ่งใน OKNATION.NET คือ ทีมงานข่าวของ Nation นั่นเอง
- กลุ่มคนที่เข้ามาแบ่งปันความรู้หรือผู้บริโภคที่สามารถสร้างเนื้อหา (Contents) ได้ด้วยตนเอง อาจเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง นักวิชาการหรือประเภทมือสมัครเล่น
- กลุ่มที่สาม เป็นกลุ่มอยากหรือกระหายกลืนกินความรู้ แต่ยังไม่สามารถก้าวไปสู่กลุ่มที่หนึ่งและสองได้ รอจังหวะเวลาฟักตัว จึงเป็นผู้ดู (Viewer) หรือผู้ให้ความเห็น (Commentator)
ซึ่งในกลุ่มที่ 1 และ 2 ก็เป็นทั้ง 2 แบบนี้ได้ด้วย
(3) จะเป็นชุมชนสร้างความรู้ได้อย่างไร การที่จะเป็นชุมชนสร้างความรู้ได้นั้นมี 2-3 ระดับดังนี้
ระดับแรก คนที่มีความรู้เข้ามาให้ความรู้ แต่ผู้ดูหรือผู้ให้ความเห็นอาจจะยังไม่สามรถสร้างความรู้ด้วยตนเองขึ้นมาได้
ระดับที่สอง ในชุมชนความรู้นั้นได้เกิดพลวัตของการเรียนรู้โดยที่กลุ่มที่สาม เกิดการเรียนรู้แล้วสามารถส่งความรู้เข้ามาแบ่งปัน
ระดับที่สาม คือ กลุ่มคนที่เป็นหลักและกลุ่มคนที่เข้ามาแบ่งปันความรู้ อาศัยความรู้ในชุมชน สร้างความรู้ใหม่
ถ้าสามารถดำเนินการได้ในระดับนี้ จะเป็นชุมชนความรู้ที่สมบูรณ์แบบตามแนวคิดของ Nonaka และ Takauchi

ประการสุดท้าย KM ที่ท่านไม่รู้
ดังนั้นความสำเร็จของ KM จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่ซอฟท์แวร์หรือการมี Blog ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่า KM นั้นเป็นเพียงเครื่องมือในการเก็บ-จัดการ-ส่งต่อในชุมชนความรู้
ความจริงที่ 1 องค์กรจะต้องมีความรู้มาก่อน หมายความว่า เช่น วิธีการทำธุรกิจ ระบบการทำงาน วิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คู่มือการทำงานหรือโมเดลธุรกิจ สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้ที่จับต้องได้ (Tangible Knowledge) ส่วนความรู้ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Knowledge) ซึ่งอยู่ในบุคคลที่ทรงภูมิรู้ในองค์กรแต่อาจจะไม่ได้ “กลั่นความรู้” ออกมาอยู่ในรูปที่จับต้องได้
ถ้าองค์กรสร้างความรู้ (Knowledge Generation) ในกลุ่มนี้ให้มีอย่างต่อเนื่องไม่ได้ โดยเฉพาะ “ความรู้ที่จับต้องไม่ได้” ป่วยการที่จะหาซอฟท์แวร์สุดเลิศหรูด้าน KM เพราะซอฟท์แวร์หรือระบบเทคโนโลยีด้าน KM ก็จะกลายเป็นเพียงเครื่องมือที่แพงมหาศาล แต่ไม่ได้ช่วยอะไรให้องค์กรก้าวสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และจุดหมายปลายทางสุดท้ายก็ไปไม่ถึง “องค์กรแห่งนวัตกรรม”
ความจริงที่ 2 ลำดับต่อมาของการจัดความรู้


การจัดการความรู้ระดับบุคคล องค์กรหรือผู้บริหารจะต้องหาวิธีการกระตุ้นให้บุคคล “ดึงความรู้ที่อยู่ในตัวเอง” ออกมาสู่ภายนอกให้ได้
หลังจากนั้นจึงจัดหมวดหมู่ความรู้ของทีมงานหรือหน่วยงานให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถแบ่งปันความรู้ด้วยองค์กรการฝึกปฏิบัติ (Corporate of Practice) หรือ Community of Practice ที่จะนำไปสู่ขั้นสุดท้าย
การมี “สินทรัพย์ทางความรู้” (KA: Knowledge Assets) ขององค์กรที่จะมีอยู่ด้วยกันใน 4 รูปแบบคือ 1) สินทรัพย์ทางความรู้ที่เป็นการทดลอง (Experience KA) 2) สิน-ทรัพย์ความรู้ที่เป็นแนวคิด (Conceptual KA) 3) สินทรัพย์ความรู้ที่เป็นการทำงานประจำวัน (Routine KA) และ 4) สินทรัพย์ความรู้ที่เป็นระบบ (Systemic KA)


นี่คือความจริงและประเด็นสำคัญที่ไม่ค่อยรู้กันในเรื่อง KM หรือการจัดการความรู้ที่ชอบพูดกันค่อนข้างมากในประเทศไทย

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
DNT Consultants




Create Date : 14 มกราคม 2551
Last Update : 14 มกราคม 2551 16:00:16 น. 0 comments
Counter : 1319 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.