Dr.Danai @ DNT Consultants
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

Case Study: Double A A Strategy

การเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา โดยเฉพาะ MBA ในวิชาการบริหารกลยุทธ หรือ การจัดการกลยุทธ ซึ่งในโลกของความเป็นจริงจะมีความแตกแต่งจากชั้นเรียนเป็นอย่างมาก

การที่จะทำให้ นศ.MBA ได้เรียนรู้และสร้างคุณค่าทางปัญญาจากผู้สอนที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่สูงถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ แต่การลงมือปฏิบัติในสภาพจริงของธุรกิจโดยการศึกษา และวิเคราะห์ หรือ ดูงาน ก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน

สำหรับ การวิเคราะห์ธุรกิจ จาก Case Study ของ นศ.ในอันดับต่อมา ครับ ลองรับฟังและรับชม
(สามารถให้ความเห็นได้อย่างอิสระ)

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNT Consultants

***************************************************************

Case Study : Double A A Strategy

นศ.ชาญยุทธ สุรประภาพิยช์

Œ

Vision
บริษัทจะเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษที่สมบูรณ์พร้อมอย่างรอบด้าน และอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน

Mission
1. พัฒนาจัดตั้งองค์กร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกไม้โตเร็ว
ดำเนินการวางแผนและนโยบายด้านการแบ่งเขตพื้นที่เพาะปลูก เพื่อจัดสรรพื้นการเกษตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดและภาคอุตสาหกรรม
2. เสริมสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่หลากหลาย เพื่อสร้างธุรกิจที่สมบูรณ์รอบด้าน
3. ร่วมสร้างสรรค์สังคมสู่การเรียนรู้ และรักษาสิ่งแวดล้อม
4. ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ออกสู้ตลาดโลกด้วยคุณภาพ และบริการที่ดี

เป้าหมาย
1. ส่งเสริมให้เกษตรกรไทยหันมาปลูกไม้โตเร็วเพิ่มขึ้น
2. สร้างธุรกิจที่ตอบสนองอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ
3. ส่งเสริมให้คนไทยรักการอ่าน และรักษาสิ่งแวดล้อม
4. กระตุ้นยอดขายในประเทศให้โตขึ้น 25%
5. ส่งเสริมการสร้างแบรนด์ อะแวร์เนส สู่ตลาดต่างประเทศ
6. พัฒนาระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานของอุสาหกรรมการผลิตเยื่อกระดาษที่รักษาสภาพแวดล้อม มุ่งสู่มาตรฐาน ISO 14000

วางแผนและเตรียมการอย่างรอบคอบ
สู่อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษแห่งอนาคต

กว่าจะมาถึงวันนี้ ที่ผ่านมาล้วนเป็นความยากลำบากทั้งสิ้น บริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร จำกัด(มหาชน) ก่อตั้งโดย คุณกิตติ ดำเนินชาญวนิชย์ จากยุคเริ่มแรกในโครงการสวนป่ายูคาลิปตัส ก่อนก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมสวนป่าและโรงงานผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษแบบครบวงจรนั้น คุณกิตติได้นักวิชาการที่มีแนวคิดรุกไปข้างหน้าเข้ามาเสริมพลังที่มีอยู่นั้นก็คือ ดร.นิกร วัฒนาพนม อาจารย์คณะบริหารจากนิด้า เข้ามาเป็นที่ปรึกษาเชิงนโยบายด้านการลงทุน คุณกิตติเห็นว่าเป็นพัฒนาการทางธุรกิจแขนงใหม่ของกลุ่มเกษตรรุ่งเรืองพืชผล และดร.นิกรผู้นี้ยังมีหน้าที่สำคัญในการร่วมเจรจากับต่างประเทศในยุคเริ่มแรกนั้นด้วย ดร.นิกรได้เข้ามาร่วมงานกับคุณกิตติ ในยุคที่คุณกิตติเพิ่งเริ่มเข้ามาดูแลงานสวนป่าอย่างเต็มตัว และตลอดเวลาที่ผ่านมา ดร.นิกรจะพูดคุยถึงแนวคิดให้ความเห็นผ่านคุณกิตติเพียงคนเดียวเท่านั้นและดร.นิกรนี่เองที่มีส่วนสำคัญที่ผลักดันและสร้างความมั่นใจให้คุณกิตติจึงตัดสินใจก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษแบบครบวงจร ดร.นิกรเห็นว่าโครงการเยื่อกระดาษครบวงจรเป็นโครงการที่คนไม่อยากเข้ามาทำ แต่ถ้าสามารถทำได้แล้วคนอื่นจะตามทันยาก เพราะกว่าคนอื่นจะมีวัตถุดิบคือไม้ยูคาลิปตัสป้อนแก่โรงงานก็ต้องใช้เวลาปลูกอย่างน้อย 5 ปี คุณกิตติจึงตัดสินใจ เมื่องมองถึงศักยภาพรอบด้านที่มีอยู่ในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นพลังทางการเงินและการเมืองโครงการสวนป่ายูคาลิปตัสที่หวังเพียงตัดเป็นชิ้นไม้สับจำหน่ายให้กับญี่ปุ่น จึงขยายสู่โครงการระดับหมื่นล้าน เพื่อทำการผลิตเยื่อและกระดาษแบบครบวงจร ถ้าไม่มีอุปสรรคตอนต้นปี 2533 ป่านนี้โครงการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษของคุณกิตติ อาจจะส่งสินค้าออกไปยังท้องตลาดเป็นจำนวนมากแล้วก็ได้ เพราะว่าคุณกิตติได้ก่อตั้งบริษัทเพื่อทำโครงการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษมาตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2532 ในนามบริษัท สวนกิตติ พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนก่อตั้ง 20 ล้าน โดยขณะนั้นวางแผนที่จะผลิตเยื่อกระดาษฟอกขาวชนิดใยสั้น มีกำลังการผลิต 175,000 ต้นต่อปี โดยใช้ไม้ยูคาลิปตัสจากบริษัท สวนกิตติ และบริษัท สวนสยามกิตติ เป็นวัตถุดิบ ทั้งสองบริษัทที่จะป้อนไม้ยูคาลิปตัสให้กับโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษตามแผนนั้น ก็คือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทสวนกิตติ พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ ซึ่งต่อมาเข้าใจว่าโครงสร้างการถือหุ้นนี้มีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้โครงการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ ตัดขาดจากกิจการสวนป่า โดยเฉพาะสวนกิตติอย่างสิ้นเชิง โดยระยะหลังใช้ชื่อการถือหุ้นในนามกลุ่มบริษัท เกษตรรุ่งเรืองพืชผล เหตุที่ต้องการตัดชื่อเหล่านั้นทิ้งก็เพื่อการล้างภาพพจน์ในอดีต แม้จะผ่านการพิสูจน์ในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม จนกระทั่งเดือนสิงหาคม 2534 หลังจากที่ปัญหาในคดีการบุกรุกที่ป่าเริ่มคลี่คลาย และแนวโน้มการกลับมาของธุรกิจจะเป็นไปได้ กิตติจึงทำการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อบริษัทมาเป็น "แอ๊ดวานซ์ อะโกร" เพื่อให้ดูว่าพ้นเงาดำของภาพลบในอดีตมิใช่แค่เพียงการเปลี่ยนชื่อบริษัทหรือการถ่ายโอนหุ้นที่อยู่ในนามสวนกิตติและสวนสยามกิตติเท่านั้น เมื่อถึงขั้นตอนที่จะต้องซื้อวัตถุดิบคือไม้ยูคาลิปตัส คงไม่อาจที่จะปล่อยให้แอ๊ดวานซ์ อะโกร ซื้อไม้ยูคาลิปตัวจากสวนกิตติ ได้โดยตรง ตามนโยบายล้างภาพพจน์นั้น บริษัท อะโกรไลน์ส จำกัด จึงถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางในการหาวัตถุดิบมาป้อนให้กับโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษของแอ๊ดวานซ์ อะโกร อีกทอดหนึ่ง ซึ่งบริษัท อะโกรไลน์ส แห่งนี้ถือหุ้นโดยสวนกิตติ 74.99% การลบภาพเก่าๆ และการจัดทัพครั้งใหม่นี้ดูเหมือนว่าจะทำให้คุณกิตติมั่นใจยิ่งขึ้น เพราะยังมิทันที่โรงงานเยื่อและกระดาษโรงแรกจะเสร็จสมบูรณ์ ก็ได้ประกาศโครงการโรงงานเยื่อกระดาษแห่งที่สองขึ้นมาเพื่อรองรับสภาพของตลาดและอุตสาหกรรมนี้ที่ดูจะสดใสอย่างยิ่ง โครงการผลิตเยื่อและกระดาษในนามบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร นั้น นับเป็นโครงการต่อเนื่องจากสวนป่ายูคาลิปตัสที่แม้จะเป็นต่างบริษัทดำเนินการ แต่ก็ถือว่าอยู่ในเครือข่ายหุ้นส่วนใหญ่เดียวกัน
แผนงานขั้นต้นนั้นวางไว้ว่าจะทำการผลิตเยื่อกระดาษที่มีกำลังการผลิต 175,000 ตันต่อปี และผลิตกระดาษพิมพ์เขียนที่มีกำลังการผลิต 217,200 ตันต่อปี เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกบางส่วน ส่วนมูลค่าโครงการแรกนี้จะใช้เงินลงทุนราว 16,740 ล้านบาท โรงงานผลิตเยื่อกระดาษของแอ๊ดวานซ์ อะโกร นอกจากจะผลิตเพื่อป้อนบริษัทแล้ว บางส่วนยังส่งไปยังบริษัท ไฮเทค เปเปอร์ จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตกระดาษชนิดไม่เคลือบผิว ที่มีกำลังการผลิต 41,000 ตันต่อปี และเป็นบริษัทย่อยของแอ๊ดวานซ์ อะโกร นอกจากนี้แอ๊ดวานซ์ อะโกร ยังตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาอีกแห่งหนึ่ง "99 กรุ๊ปเซ็นเตอร์" เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายกระดาษที่ได้จากการผลิตของโรงงานแอ๊ดวานซ์ อะโกรและโรงงานของบริษัทย่อย
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ผู้ซึ่งกิตติ ดำเนินชาญวนิชย์ วางใจให้เข้ามาดูแลรับผิดชอบงานที่ถือเป็นก้าวใหม่ของตระกูลในฐานะประธานกรรมการบริหารแทนตนเอง ซึ่งมีเหตุผลเพียงว่า คุณกิตติ ต้องการที่อยู่ข้างหลังและเก็บตัวมากกว่าการออกมาพบปะสาธารณชน ดร.วีรพงษ์ กล่าวถึงแผนงานที่เร่งทำกันขณะนี้ว่า บริษัทได้พยายามเร่งโรงงานแห่งแรกนี้ให้เสร็จเร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิม 3 เดือน เนื่องจากขณะนี้ตลาดมีความต้องการสินค้าอย่างมาก ยิ่งบริษัทเร่งการผลิตให้เร็วขึ้นเท่าไร ก็หมายถึงรายได้และกำไรจะมากขึ้นตามไปด้วย เดิมโครงการโรงงานเยื่อและกระดาษแห่งนี้ กำหนดว่าการผลิตกระดาษพิมพ์เขียนชนิดไม่เคลือบผิว จะเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2539 การผลิตกระดาษพิมพ์เขียนชนิดเคลือบผิวเริ่มในเดือนสิงหาคม 2539 และการผลิตเยื่อกระดาษเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2539 "ขณะนี้เราเซ็นสัญญาซื้อเครื่องจักร เพื่อติดตั้งในโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษโรงที่สอง พร้อมแผนงานทุกอย่างไว้แล้ว"
ดร.วีรพงษ์ อธิบายอีกว่า เหตุผลที่บริษัทตัดสินใจเริ่มโครงการที่สอง เพราะผู้ผลิตเครื่องจักรได้ขายให้เราในราคาถูกมาก หรือถูกกว่าปัจจุบัน 20% ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทได้มีการเจรจากันตั้งแต่ต้นปี 2537 นอกจากนี้โรงงานแห่งที่สองยังสามารถใช้ผลผลิตจากโรงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ จากการลงทุนของโรงงานแรกได้อย่างเต็มที่เพราะมีเพียงพอ จึงทำให้การลงทุนในโรงงานที่สองนี้ประหยัดในเรื่องต้นทุนด้านระบบสาธารณูปโภคได้มาก อีกประการหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน ที่ทำให้ตัดสินใจเริ่มโครงการสองทันที เพราะเราเห็นว่าอุตสาหกรรมกระดาษในประเทศยังมีอนาคตสดใสอีกมาก เพราะยังมีผลิตภัณฑ์อีกมากมายที่สามารถผลิตได้จากกระดาษ ซึ่งต่อไปบริษัทคงจะต้องเข้าไปทำการศึกษาในส่วนนี้มากขึ้นอย่างไรก็ดีการลงทุนในโรงงานสองนี้ไม่ได้กระทำโดย บริษัทแอ๊ดวานซ์ อะโกรโดยตรง ซึ่งดร.วีรพงษ์ บอกว่าไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เป็นเรื่องของเทคนิคในการบริหารหรือการจัดการเท่านั้น คุณกิตติ พยายามจะจัดโครงสร้างในส่วนของธุรกิจกระดาษให้แยกออกมาอย่างชัดเจน โดยมีแอ๊ดวานซ์ อะโกรเป็นตัวหลัก ซึ่งการจัดตั้งโรงงานแห่งที่สองนี้จะเห็นความชัดเจนขึ้น บริษัทแอ๊ดวานซ์ อะโกร จะเข้าถือหุ้น 99.99% ในบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร โฮลดิ้ง จำกัด ที่มีทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาทเพื่อประกอบธุรกิจโฮลดิ้ง จากนั้นบริษัท แอ๊ดวานซ์ อะโกร โฮลดิ้งจะเข้าถือหุ้น 99.99% ในบริษัทแอ๊ดวานซ์ เปเปอร์ จำกัด ที่มีทุนจดทะเบียน 800 ล้านบาท ซึ่งบริษัท แอ๊ดวานซ์ เปเปอร์ แห่งนี้จะเป็นผู้ที่เข้าลงทุนในโรงงานแห่งที่สองเพื่อผลิตกระดาษพิมพ์เขียน โครงการผลิตกระดาษในนามบริษัทแอ๊ดวานซ์ เปเปอร์ จะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 3,200 ล้านบาท มีกำลังการผลิตเต็มที่ 200,000 ตันต่อปี โดยคาดว่าจะเริ่มทำการผลิตได้ประมาณเดือนธันวาคม 2539

การกลับมาครั้งใหม่ด้วยแผนงานการลงทุนที่ต่อเนื่องและระมัดระวังอย่างรอบด้านเช่นนี้ ดูเหมือนว่า ความหวังที่จะเป็นยักษ์ใหญ่ของอุตสหากรรมกระดาษแบบครบวงจรอยู่ไม่ไกลปลายมือของเขาแล้ว นักต่อสู้ที่ผ่านวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญของชีวิตมาได้ ย่อมหมายถึงว่านับจากนี้ไป ไม่มีสิ่งใดน่าเกรงกลัวอีกเหตุการณ์ที่ผ่าน ได้ให้บทเรียนแก่เขา "กิตติ ดำเนินชาญวนิชย์" มากมาย
ที่มา : //www.gotomanager.com/resources/default.aspx?id=4770


การวิเคราะห์ทัศนภาพ (Scenario Analysis)
วิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกองค์กร
1. การเมือง
สถานการณ์โดยทั่วไปทางการเมืองนั้นยังคงไม่นิ่ง คาดการได้ยาก โดยในวันที่ 16 ก.ย. ที่ผ่านมา พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้งว่าน่าจะมีอายุการทำงานเพียง 1-2 ปีเท่านั้น เพราะเชื่อว่ารัฐบาลผสมจะทำให้ขาดเอกภาพ ประกอบกับสถานการณ์ต่างๆ ยังไม่นิ่ง ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง และในที่สุดจะกลับสู่กระบวนการเดิม และเชื่อว่าจะไม่มีการปฏิวัติซ้ำแน่นอน
วันที่ 16 ก.ย. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศจะทุ่มเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อกลับมามีอำนาจอีก
ดังนั้นสถานการณ์โดยรวมจึงชี้ให้เห็นว่า ประเด็นทางด้านการเมืองนั้นยังคงเกิดการต่อสู้กันอยู่ ซึ่งขณะนี้การเมืองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ อำนาจเก่าซึ่งมีความชัดเจนอยู่แล้ว ขณะที่อำนาจใหม่ที่ยังรวมตัวแบบหลวมๆ ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งเราไม่อาจสรุปสถานการณ์ได้อย่าแท้จริง จึงต้องรอดูหลังการเลือกตั้ง

2. เศรษฐกิจ
ในปี 2548 ภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว แต่สำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสารคนจึงสนใจศึกษาหาความรู้มากขึ้น อีกทั้งยุคนี้นิยมหันมาเลือกใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษแทนพลาสติกมากขึ้นเพื่อรักษา
สิ่งแวดล้อม ทำให้มีความต้องการใช้เยื่อและกระดาษเพิ่มขึ้น สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ของประเทศไทย ในปี 2549 คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากมีหลายปัจจัยสนับสนุน เช่น นโยบายรัฐบาล การบริหารประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์กลุ่มอุตสาหกรรมตามกรอบปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) โดยอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องดำเนินการเพื่อการเป็นศูนย์กลางการพิมพ์
ที่มา : //bchid.dip.go.th/Research/ArticlePrint.asp?WebSiteID=62&ArticleID=250
 ค่าเงินบาท
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจัดสัมมนาเรื่องค่าเงินบาท โดยนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด กล่าวว่า เงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทต่ำกว่ามาตรฐาน (ซับไพรม์) ทำให้นักลงทุนมีการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงรวมทั้งถอนการลงทุนบางส่วน ช่วยให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่ามากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อกองทุนต่างๆ มีการจัดการความเสียหายแล้วเสร็จเงินทุนต่างประเทศจะเริ่มไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนและเงินหยวนจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ไทยควรกลับมาเน้นการลงทุนภายในประเทศ แต่จากการประเมินพบว่าการเมืองในระยะต่อไปยังมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ หากรัฐบาลใหม่ไม่มีนโยบายแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายในเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ จะได้เห็นผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์อย่างชัดเจน เนื่องจากจะมีการตีมูลค่าฐานะสุทธิของกองทุนที่เข้าไปลงทุนในซับไพรม์และประกาศผลประกอบการของบริษัทจัดการกองทุน หลังจากที่ผ่านมายังไม่เคยมีใครออกมาเปิดเผยตัวเลขความเสียหายของการลงทุน สำหรับกรอบของค่าเงินบาทนั้น หากการส่งออกยังขยายตัวและเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวไหลเข้ามาในช่วงปลายปี โดยไม่นับรวมปัจจัยเรื่องซับไพรม์เงินบาทอาจจะอยู่ที่ระดับ 32.90-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : //news.sanook.com/economic/economic_179681.php


การวิเคราะห์ทัศนภาพ (Scenario Analysis)
วิเคราะห์สถานการณ์ภายนอกองค์กร
1. การเมือง
สถานการณ์โดยทั่วไปทางการเมืองนั้นยังคงไม่นิ่ง คาดการได้ยาก โดยในวันที่ 16 ก.ย. ที่ผ่านมา พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับรัฐบาลชุดใหม่หลังการเลือกตั้งว่าน่าจะมีอายุการทำงานเพียง 1-2 ปีเท่านั้น เพราะเชื่อว่ารัฐบาลผสมจะทำให้ขาดเอกภาพ ประกอบกับสถานการณ์ต่างๆ ยังไม่นิ่ง ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง และในที่สุดจะกลับสู่กระบวนการเดิม และเชื่อว่าจะไม่มีการปฏิวัติซ้ำแน่นอน
วันที่ 16 ก.ย. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศจะทุ่มเงิน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อกลับมามีอำนาจอีก
ดังนั้นสถานการณ์โดยรวมจึงชี้ให้เห็นว่า ประเด็นทางด้านการเมืองนั้นยังคงเกิดการต่อสู้กันอยู่ ซึ่งขณะนี้การเมืองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ อำนาจเก่าซึ่งมีความชัดเจนอยู่แล้ว ขณะที่อำนาจใหม่ที่ยังรวมตัวแบบหลวมๆ ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งเราไม่อาจสรุปสถานการณ์ได้อย่าแท้จริง จึงต้องรอดูหลังการเลือกตั้ง

2. เศรษฐกิจ
ในปี 2548 ภาวะเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว แต่สำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสารคนจึงสนใจศึกษาหาความรู้มากขึ้น อีกทั้งยุคนี้นิยมหันมาเลือกใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษแทนพลาสติกมากขึ้นเพื่อรักษา
สิ่งแวดล้อม ทำให้มีความต้องการใช้เยื่อและกระดาษเพิ่มขึ้น สำหรับทิศทางอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ของประเทศไทย ในปี 2549 คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก เนื่องจากมีหลายปัจจัยสนับสนุน เช่น นโยบายรัฐบาล การบริหารประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์กลุ่มอุตสาหกรรมตามกรอบปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) โดยอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องดำเนินการเพื่อการเป็นศูนย์กลางการพิมพ์
ที่มา : //bchid.dip.go.th/Research/ArticlePrint.asp?WebSiteID=62&ArticleID=250
 ค่าเงินบาท
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจัดสัมมนาเรื่องค่าเงินบาท โดยนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด กล่าวว่า เงินบาทมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยประเภทต่ำกว่ามาตรฐาน (ซับไพรม์) ทำให้นักลงทุนมีการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงรวมทั้งถอนการลงทุนบางส่วน ช่วยให้ค่าเงินบาทไม่แข็งค่ามากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อกองทุนต่างๆ มีการจัดการความเสียหายแล้วเสร็จเงินทุนต่างประเทศจะเริ่มไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งการแข็งค่าขึ้นของเงินเยนและเงินหยวนจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ไทยควรกลับมาเน้นการลงทุนภายในประเทศ แต่จากการประเมินพบว่าการเมืองในระยะต่อไปยังมีความน่าเป็นห่วงมากขึ้นเรื่อยๆ หากรัฐบาลใหม่ไม่มีนโยบายแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน
นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้บริหารธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภายในเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ จะได้เห็นผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์อย่างชัดเจน เนื่องจากจะมีการตีมูลค่าฐานะสุทธิของกองทุนที่เข้าไปลงทุนในซับไพรม์และประกาศผลประกอบการของบริษัทจัดการกองทุน หลังจากที่ผ่านมายังไม่เคยมีใครออกมาเปิดเผยตัวเลขความเสียหายของการลงทุน สำหรับกรอบของค่าเงินบาทนั้น หากการส่งออกยังขยายตัวและเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวไหลเข้ามาในช่วงปลายปี โดยไม่นับรวมปัจจัยเรื่องซับไพรม์เงินบาทอาจจะอยู่ที่ระดับ 32.90-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา : //news.sanook.com/economic/economic_179681.php
 การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
สำหรับผลกระทบจากการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) คาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทยมากนัก เพราะภาษีนำเข้าเยื่อกระดาษนั้นต่ำอยู่แล้ว (5% สำหรบการนำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียน และ 10% สำหรับการนำเข้าจากประเทศนอกกลุ่มอาเซียน) รวมทั้งการค้าเยื่อกระดาษระหว่างไทยกับกลุ่มอาเซียนนั้นมีมูลค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่านำเข้าเยื่อกระดาษโดยรวมของไทย แต่การจัดตั้ง AFTA อาจจะมีผลกระทบทางบวกต่อผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษไทย ถ้าหากรัฐบาลลดภาษีนำเข้าสารเคมีและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเยื่อทั้งนี้เพราะการคำนวณ hurdle rate of return โดยสมมติให้ภาษีนำเข้าวัตถุดิบลดลง 50% และคงภาษีนำเข้าเยื่อกระดาษไว้ที่ 5% พบว่าค่า hurdle rate of return นั้นลดลง แสดงว่าอุตสาหกรรมจะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการคำนวณ hurdle rate of return อาจสะท้อนภาพที่เป็นจริงในระยะสั้นเท่านั้น

3. สังคม-วัฒนธรรม
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถทดแทนการนำเข้าได้อย่างมาก อัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมนี้เป็นตัวบ่งชี้ ความเจริญก้าวหน้าทาง สังคม และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี โดยอัตราการบริโภคกระดาษของคนไทยโดยเฉลี่ยมีประมาณ 40 กิโลกรัม/คน/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์เป็นอุตสาหกรรมที่มีความต่อเนื่องกันอย่างเห็นได้ชัด การผลิตของอุตสาหกรรมดังกล่าวแต่ละประเภทเริ่มมีความสมดุลมากขึ้น ทั้งนี้เพราะอุตสาหกรรมขั้นต้นคือ อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ โดยเฉพาะเยื่อใยสั้นมีกำลังการผลิตที่สามารถรองรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้อย่างเพียงพอ
กระดาษดับเบิ้ลเอ เป็นกระดาษที่ทำจากไม้ยูคา อีกทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตนั้นไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นการที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรของคนไทยหันมาปลูกต้นยูคาก็น่าจะเป็นทางออกของการแก้ปัญหา ซึ่งคนไทยมีความรู้รู้และความชำนาญด้านการเพาะปลูกอยู่แล้ว ประกอบกับมีพื้นที่อยู่เป็นจำนวนมากที่รกร้างว่างเปล่าอยู่ จึงเหมาะที่จะส่งเสริมให้ประกอบกิจการด้านนี้ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร และตอบสนองนโยบายของทางภาครัฐ
ซึ่งจากที่ผ่านมาเราพบว่า มีเกษตรกรทั่วประเทศกว่าล้านครอบครัว ที่เข้าร่วมโครงการปลูกต้นกระดาษดับเบิ้ล เอ ทำให้เกิดการสร้างงาน และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ครอบครัว เกิดรายได้หมุนเวียนในทุกกระบวนการกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปีนอกจากนี้ทางบริษัท ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยมีรายได้เสริมนอกเหนือจากการปลูกข้าว โดยการแนะนำให้ปลูกต้นยูคา ตามหัวไร่คันนา และยังเป็นการใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งยังมีการการันตรีรายได้ที่มั่นคงด้วยราคาประกัน เพื่อคลายความกังวลเรื่องความผันผวนเรื่องราคากับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการประกันราคากับบริษัท

4. เทคโนโลยี
 เทคโนโลยีสารสนเทศที่สมัยใหม่
I. ระบบ Logistic
ปัจจุบันโลจิสติกส์มีความสำคัญกับธุรกิจ งานขนส่งเป็นหนึ่งในโลจิสติกส์ที่มีสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะปัจจุบันที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นต้นทุนหลักของการขนส่งมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้การส่งออกสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการต่างประเทศได้ในการเปิดการค้าเสรี (FTA) การบริหารงานขนส่งเป็นกลไกหนึ่งที่เกี่ยวพันกับการส่งออกสินค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการบริหารงานขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง และมีต้นทุนต่ำจึงเป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการพัฒนา ดังนั้นจึงควรที่จะนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานขนส่ง ไม่ว่าจะเป็น ระบบติดตามยานพาหนะ (GPS) โปรแกรมการบริหารงานขนส่ง (Transportation Management System; TMS) เป็นต้น
II. อินเตอร์เน็ต
ประโยชน์การรับส่งข่าวสาร ผู้ใช้ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ได้โดยค่าใช้จ่ายต่ำมาก นอกจากนี้ ยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่เป็นภาพและเสียง ได้อีกด้วย
สำหรับด้านธุรกิจและการค้า ช่วยในการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ เราสามารถเลือกดูสินค้า พร้อมคุณสมบัติผ่านจอคอมพิวเตอร์ของเรา และสั่งซื้อ และจ่ายเงินด้วย บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งนับว่าเป็นความสะดวกสบาย และรวดเร็วมาก สินค้ามีจำหน่าย ทุกประเภท เหมือนห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ผู้ใช้ ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ หรือ สนับสนุน ลูกค้าของตน ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การตอบคำถาม หรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คำแนะนำ รวมถึงข่าวสารใหม่ๆแก่ลูกค้าได้
III. ความปลอดภัยของข้อมูล
คำถามคงอยู่ในใจของคนทั่วไปว่าระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในปัจจุบันดีแล้วหรือ ผู้ใช้เอทีเอ็มเบิกถอนเงินโดยไม่ต้องมีลายเซ็น มีความเชื่อถือได้เพียงไร การใช้บัตรเครดิตที่อยู่ห่างไกล หรือแม้แต่ฐานข้อมูลที่สำคัญ ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการวางมาตรการและออกแบบในเรื่องการรักษาความปลอดภัยกันอย่างดี
ความจำเป็นที่จะต้องดูแลและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการทำงานและเรื่องกฎหมาย เพราะข้อมูลที่เก็บอาจเป็นเรื่องความลับเฉพาะตัว หรือความลับทางการค้า ปัจจุบันจึงเริ่มมีอาชญากรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น การแอบใช้ข้อมูล การแก้ไขข้อมูล ตลอดจนการใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกวัตถุประสงค์ วิธีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยจึงต้องมีการพัฒนาเทคนิคเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
ที่มา : //www.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/technof8.htm#06

วิเคราะห์สถานการณ์ภายในองค์กร
1. อุปสงค์ของตลาด (Market Demand)
ความต้องการเยื่อกระดาษในประเทศจะมีปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจากข้อมูลพบว่าในปี 2543 ปริมาณความต้องการใช้เยื่อกระดาษประมาณ 868,000 ตัน (เยื่อใยสั้น 655,000 ตัน และเยื่อใยยาว 213,000 ตัน) และเศษกระดาษ 1,861,000 ตัน ดังนั้น เยื่อกระดาษที่ผลิตได้จึงเป็นการป้อนให้อุตสาหกรรม กระดาษ ซึ่งโรงงานผลิตเยื่อกระดาษจะมีโรงงานผลิตกระดาษอยู่ในเครือด้วยแล้ว ทั้งนี้ความต้องการใช้เยื่อใยสั้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75.5 ของปริมาณความต้องการใช้ทั้งหมดที่เหลือจะเป็นเยื่อใยยาว เทียบกับกำลังการผลิตเยื่อใยสั้นมีปริมาณเฉลี่ย 956,000 ตัน ขณะที่ความต้องการใช้มีปริมาณ 655,000 ตัน ส่วนเยื่อใยยาวต้องพึ่งพาการนำเข้าทั้งหมด โดยเป็นการนำเข้าจาก แคนาดา สหรัฐอเมริกา ชิลี สวีเดน เยอรมัน และนิวซีแลนด์ สำหรับเศษกระดาษต้องนำเข้าประมาณปีละ 952,000 เมตริกตัน โดยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์ และเป็นการนำเข้าเศษกระดาษลูกฟูกประมาณร้อยละ 72 ของปริมาณการนำเข้าเศษกระดาษ
ในปี 2543 การส่งออกกระดาษและเยื่อกระดาษมีมูลค่า 24,878.04 ล้านบาท และ 27,055.70 ล้านบาทในปี 2544 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.44 และ 13.35 ตามลำดับ ระยะ 10 เดือนแรกของปี 2545 มูลค่าการส่งออก 22,179.61 ล้านบาท ลดลงจากเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.71 เนื่องจากราคาตลาดโลกลดลง โดยมีตลาดส่งออกสำคัญ คือ มาเลเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน จีน สิงคโปร์ และเบลเยียม
ในส่วนของการนำเข้าเยื่อกระดาษในปี 2543 มูลค่า 10,912 ล้านบาท และในปี 2544 มูลค่านำเข้า 8,845.24 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.94 ระยะ 10 เดือนแรกของปี 2545 นำเข้า 7,609.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.64 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเยื่อกระดาษใยยาวที่ไม่สามารถผลิตในประเทศ โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 15.34 ของมูลค่านำเข้าเยื่อกระดาษรวม รองลงมาคือ สหภาพยุโรป 4.06 อื่นๆ 79.95
นายโยธิน ดำเนินชาญวนิชย์ กรรมการผู้จัดการของ แอ๊ดวานซ์ฯ กล่าวว่า ราคาเยื่อกระดาษในปี 2539 ถือว่าเป็นราคาที่ต่ำมาก และขณะนี้แม้ว่าจะยังมีราคาต่ำแต่แนวโน้มเริ่มดีขึ้น และคาดว่าช่วงครึ่งปี 2540 ไปแล้วราคาจะขยับเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการใช้กระดาษในสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะมีมากขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้ปริมาณสต็อกเยื่อกระดาษในโลกมีปริมาณลดลง นอกจากนี้ ยังทำให้ปริมาณเยื่อกระดาษที่ดัมพ์สู่ตลาดเอเชียจะลดลงด้วย ซึ่งจะเป็นเรื่องดีสำหรับบริษัท
สำหรับเป้าหมายของบริษัทในปี 2540 นี้ จัดได้ว่า เป็นการวางเป้าหมายที่เต็มไปด้วยความท้าทายอย่างมาก เพราะจะมีอัตราการขยายตัวถึง 100% จากปีที่แล้ว จากยอดจำหน่ายเกือบ 4,000 ล้านบาทในปี 2539 คาดว่าจะเพิ่มเป็นกว่า 7,000 ล้านบาท

2. ผลิตภัณฑ์ (Production Input)
2.1. คุณภาพ
• Euca AA เป็นเยื่อยูคาลิปตัสฟอกขาวด้วยกระบวนการซัลเฟต
• Euca AA เป็นเยื่อกระดาษที่มีคุณภาพดี ทั้งในด้าน
 Good Formation : ทำให้กระดาษที่ผลิตออกมามีการกระจายตัวที่ดี สม่ำเสมอ
 High Bulk
 Good Opacity : ทำให้กระดาษที่ผลิตออกมามีคุณสมบัติที่จะยอมให้แสงทะลุผ่านได้น้อย ค่ากระดาษที่ดีต้องมีค่าความทึบแสงสูง
 Smoothness ทำให้กระดาษที่ผลิตออกมามีความเรียบ ซึ่งมีผลต่อลักษณะความสวยงามของกระดาษ
 มีค่าความสว่างหลังจากฟอกเยื่อแล้วสูงมาก
 ง่ายต่อการบดเยื่อซึ่งช่วยลดขั้นตอนและการสิ้นเปลืองพลังงานในการผลิตกระดาษ
2.2. ผลกระทบด้านสารเคมี
Euca AA เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นเยื่อที่ผลิตมาจาก ไม้ยูคาลิปตัสที่ได้จากการเพาะปลูก100% ไม่มีการใช้ไม้จากป่ามาเป็นวัตถุดิบ โดยใช้กระบวนการฟอกที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า Elemental Chlorine Free (ECF) หรือ การฟอกเยื่อที่ไม่ใช้แก๊สคลอรีน หมายถึง การฟอกเยื่อที่ไม่ใช้แก๊สคลอรีน แต่ใช้สารประกอบคลอรีนไดออกไซด์แทน คลอรีนไดออกไซด์เป็นสารฟอกที่อ่อนกว่าแก๊สคลอรีน และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าการใช้แก๊สคลอรีน การฟอกเยื่อแบบนี้เป็นการฟอกเยื่อที่มีการใช้มากที่สุดในปัจจุบัน
2.3. ความหลากหลาย
ในฐานะผู้นำทางด้านการผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษพิมพ์เขียน AA มีโรงงานกระดาษพิมพ์เขียน 3 แห่ง ผลิตกระดาษพิมพ์เขียนคุณภาพเยี่ยมทั้งชนิดเคลือบผิวและไม่เคลือบผิว เพื่อจำหน่ายทั้งภายในและส่งออกต่างประเทศ นอกจากนี้ AA ยังมีโรงงานผลิตเยื่อกระดาษใยสั้นอีก 2 แห่ง ด้วยเครื่องจักร และเทคโนโลยีอันทันสมัย โรงงานผลิตเยื่อทั้งสองแห่งจึงมีกำลังในการผลิตสูง เพื่อใช้เยื่อกระดาษเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษของบริษัทฯ และเพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออก
• ผลิตภัณฑ์กระดาษ (Paper Product) ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ คือ กระดาษสำหรับใช้ในงานพิมพ์และเขียน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดดังนี้
ก. กระดาษชนิดไม่เคลือบผิว หรือกระดาษปอนด์ (Uncoated Paper) เป็นกระดาษที่ใช้ในกิจการพิมพ์หรือการเขียน เช่น กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์หนังสือตำรา วารสาร หนังสือพิมพ์ธุรกิจ สิ่งพิมพ์ทั่วไป สมุด กระดาษต่อเนื่องที่ใช้พิมพ์คอมพิวเตอร์ และกระดาษถ่ายเอกสาร กระดาษพิมพ์เขียนที่ผลิตมีขนาดตั้งแต่ 50-120 กรัมต่อตารางเมตร แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ แบบม้วน (Roll) และแบบแผ่น (Sheet)
ข. กระดาษชนิดเคลือบผิว หรือกระดาษอาร์ต (Coated Paper) เป็นกระดาษที่เคลือบด้วยสารสีขาวแบบสองหน้าเพื่อให้ผิวกระดาษมันเรียบ กระดาษที่ผลิตมีน้ำหนักตั้งแต่ 90-160 กรัมต่อ ตารางเมตร โดยจะอยู่ในลักษณะม้วนและแบบแผ่น
• เยื่อกระดาษฟอกขาวใยสั้นจากยูคาลิปตัส (Bleached Eucalyptus Kraft Pulp-BEKP) เยื่อกระดาษที่ออกจากโรงผลิตเยื่อของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้
ก. เยื่อน้ำ (Slurry Pulp) มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของเยื่อที่ผลิตได้ ซึ่งจะส่งผ่านท่อไปยัง โรงผลิตกระดาษของบริษัท เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษต่อไป
ข. เยื่อแผ่นเปียก (Wet Lap Pulp) เป็นเยื่อกระดาษที่มีความชื้นร้อยละ 50 จะผลิตในสัดส่วนประมาณร้อยละ 10 ของเยื่อกระดาษที่ผลิตได้ทั้งหมด เพื่อการส่งขายภายในประเทศและส่วนหนึ่ง จะส่งให้กับบริษัท ไฮ-เทค เปเปอร์ จำกัด เพื่อใช้ในการผลิตกระดาษ
ค. เยื่อแผ่นแห้ง (Dry Pulp) เป็นเยื่อกระดาษที่มีความชื้นร้อยละ 10 จะผลิตในสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 50 ของเยื่อกระดาษที่ผลิตได้ทั้งหมด เพื่อการจำหน่ายทั้งภายในประเทศและเพื่อการส่งออก

3. ผลประโยชน์ของภาคธุรกิจ (Regional Retail Issuer)

ในขณะนี้ทางบริษัทได้ทำการเปิดธุรกิจ การบริการถ่ายเอกสารที่มีชื่อว่า Double Copy Center และ Copy Points ที่มีการบริการคุณภาพสูง และค่าใช้จ่ายต่ำเพื่อดึงดูดลูกค้า แหล่งบริการย่อยเหล่านี้ มีต้นทุนต่อหน่วยที่ต่ำมาก ยอดขายและกำไรที่สูง โดยมีถึง 584 แห่งทั่วประเทศ แต่ละแห่งมีต้นทุนประมาณ 330,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายรายเดือนตกอยู่ที่ประมาณ 97,000 บาท ฉนั้นทางบริษัทจึงมีรายได้ต่อเดือนประมาณ 114,000 บาทต่อแห่ง และจะคืนทุนทั้งหมดเพียงแค่ 19-20 เดือน
นอกจากนี้แล้ว บริษัท AA ยังเป็นเจ้าของกิจการไฟฟ้าอีก 2 แห่งที่ตั้งอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา สถานีไฟฟ้าทั้งสองมีกำลังการผลิต 37.15 MW และ 198 ตันของไอน้ำ ต่อชั่วโมง ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ถึง 250 ล้านบาทในปี 2545 ในอนาคตเราคาดว่าจะมีความต้องการที่สูงขึ้น
(ยังมีต่อ)

ผู้จัดทำ

นายชาญยุทธ สุรประภาพิชย์
วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2551
0 comments
Last Update : 19 สิงหาคม 2551 0:01:43 น.
Counter : 7343 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


dnt
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 41 คน [?]




ที่ปรึกษาธุรกิจชั้นนำด้านจัดการกลยุทธ
( ผู้นำและริเริ่มการจัดทำ Balanced
Scorecard & KPIs)
การบริหาร HR ที่เน้นความสามารถ
(Competency Based Approach)
การพัฒนา HRD-KM และ
การจัดการสมัยใหม่
*************************
Friends' blogs
[Add dnt's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.