ทะเล ภูเขา ป่าไม้ สายน้ำ ธรรมชาติ บ้านของเรา

ลุ้น"พะยูง"และ"จระเข้" ของไทยขึ้นและปรับบัญชีไซเตสในการประชุมCITES Cop16

ไม้พะยูง จะขึ้นบัญชีไซเตสได้หรือไม่ ต้องลุ้น



ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 16 (The 16th Meeting of the Conference of Parties to CITES : CITES CoP16 ) ระหว่างวันที่ 3 - 14 มีนาคม 2556 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ



ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดประชุม CITES Cop ซึ่งเป็นการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ มีประเทศเข้าร่วมประชุม 178 ประเทศ หลังจากเป็นเจ้าภาพเมื่อปี พ.ศ. 2547 ในการประชุม CITES Cop13 ในการประชุมครั้งนี้จะมีผู้เข้าร่วมประชุมและผู้ติดตามและผู้สังเกตการณ์ไม่น้อยกว่า 2000 คน ในการประชุม CITES Cop16 ประเทศไทยได้เสนอความประสงค์ต่อที่ประชุมไซเตส ดังนี้
1.ไม้พะยูงขึ้นบัญชี 2 ไซเตส
2.ขอปรับลดจระเข้น้ำจืดและน้ำเค็มลดลงจากบัญชี 1 เป็นบัญชี 2
3.ขอปรับคำจำกัดความของพันธุ์ไม้เทียมไม้กฤษณา
4.เสนอให้วันที่ 3 มีนาคมของทุกปีเป็น “วันอนุรักษ์สัตว์ป่าโลก World Wildlife Day”
การป้องกันการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ถือเป็นความร่วมมือของประเทศต่างๆทั่วโลกทั้ง 178 ประเทศที่เป็นภาคีอนุสัญญา ประเทศล่าสุดที่เข้าร่วมภาคีอนุสัญญานี้คือ เลบานอน



CITES (CITES คืออะไร)
ไซเตส (CITES) เป็นคำย่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) ได้ถูกยกร่างขึ้นในการประชุมสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติหรือ IUCN ที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกามีผู้เข้าร่วมประชุม 88 ประเทศและมีผู้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ทันที 21 ประเทศเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2516 เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอนุสัญญาวอชิงตัน (Washington Convention) ประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วยแต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาในปีพ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 78



ในการประชุมในแต่ละครั้งจะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสของไซเตส ระดับรัฐมนตรีด้านการอนุรักษ์ฯของแต่ละประเทศมาพูดคุยตกลงและโหวตให้พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ของแต่ละภูมิภาคที่เสนอต่อที่ประชุมต้องได้รับการยอมรับตามกฎเกณฑ์ของการประชุม การโหวตในแต่ละหัวข้อ ต้องมีเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของประเทศที่ร่วมประชุม และการเสนอขอปรับบัญชีไซเตสขึ้นหรือลดลง หรือเปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่างๆ ต้องมีประเทศไม่น้อยกว่า 10 ประเทศให้การรับรอง อาจโดยวิธีลับหรือไม่ลับขึ้นอยู่การรับรองของประเทศสมาชิก ซึ่งประเทศมหาอำนาจมักจะมีอิทธิพลต่อการลงคะแนนโหวตจึงมีการล็อบบี้ประเทศต่างๆ ให้ได้ตามกำหนดของไซเตส การโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ประเทศส่วนใหญ่มักไม่แสดงท่าทีใดๆ เพราะแต่ละข้อเสนอต่อที่ประชุมจะมีประเทศที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์และมักจะมีการเมืองระหว่างประเทศแฝงอยู่ด้วย



ในการประชุมครั้งนี้ที่มีข้อถกเถียงกันในระหว่างการประชุมอย่างกว้างขวาง อาทิ หมีขั้วโลก Polar bear ที่อเมริกาได้เสนอจากบัญชี 2 ขึ้นเป็นบัญชี 1 ซึ่งในที่สุดที่ประชุมลงมติไม่ผ่านการขอปรับบัญชีดังกล่าว เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา
สำหรับข้อเสนอของประเทศไทยหัวข้อสำคัญคือ ไม้พะยูง ซึ่งยังไม่ได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชีใดๆ ของไซเตส และกำลังมีปัญหาการลักลอบตัดในป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ทางภาคอีสานของไทยอย่างรุนแรงในขณะนี้ ด้วยไม้พะยูงมีราคาแพง ที่ตลาดปลายทางมีราคาลูกบาศก์เมตรละนับแสน และประเทศที่เป็นแหล่งออเดอร์รายใหญ่ได้แสดงความกังวลต่อที่ประชุมว่า หากขึ้นบัญชีไซเตสแล้วประเทศไทยจะมีไม้พะยูงเพียงพอต่อความต้องการของเขาหรือไม่ และมีข้อพิสูจน์ได้อย่างไรว่าไม้ที่ออเดอร์นั้นเป็นไม้พะยูงหรือชนิดไม้ที่มีลักษณะใกล้เคียงคือ ชิงชัน ฯลฯ หากนำเข้าโดยที่ไม่รู้เกรงว่าอาจจะผิดต่อกฎบัตรสัญญาอนุสัญญาไซเตสได้



อย่างไรก็ตามประเทศดังกล่าวก็ได้แสดงท่าทีที่ไปในทิศทางบวกต่อกรณีไม้พะยูง ยังคงต้องลุ้นต่อไปว่า เมื่อถึงวาระที่จะต้องโหวตให้ไม้พะยูงขึ้นบัญชี 2 ไซเตสได้หรือไม่นั้น คงต้องรออีกสองวันข้างหน้า ในการประชุม CITES CoP16 ซึ่งจะมีการประชุมจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2556 นี้

และล่าสุด 8 มีนาคม 2556 ข้อเสนอของประเทศไทยที่เสนอทั้งจระเข้น้ำจืดและน้ำเค็มเพื่อขอปรับลดบัญชีจากบัญชี 1 (ห้ามซื้อขายระหว่างประเทศเด็ดขาด ซื้อขายได้โดยรัฐต่อรัฐหรือเพื่อการศึกษาวิจัยและเพาะพันธุ์เท่านั้น) เป็นบัญชี 2(ซื้อขายได้แต่ต้องควบคุมและไม่เกิดความเสียหายหรือลดจำนวนลง) ไม่ผ่านเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ของประเทศสมาชิกที่เข้าประชุม อย่างไรก็ตาม จะมีการนำข้อเสนอนี้ต่อที่ประชุมใหญ่อีกครั้งเพื่อขอโหวตอีกครั้งได้โดย

จะต้องได้รับเสียงสนับสนุน  1 ใน 3 เพื่อให้ได้สิทธิเข้าพิจารณาและโหวตอีกครั้ง ด้วยในรอบแรกคะแนนใกล้เคียงกันมาก และยังมีบางประเทศที่ไม่ได้ลงคะแนน บางประเทศงดออกเสียง จึงอาจจะล็อบบี้คะแนนเสียงจากประเทศเหล่านี้ได้เพื่อให้ผ่านการปรับบัญชีได้โดยมีคะแนน 2 ใน 3 ของประเทศผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้

จากข้อสังเกตจากการโหวตในรอบแรกจระเข้น้ำจืดซึ่งโหวตโดยวิธีเปิดเผยได้คะแนนเสียงมากกว่าการโหวตโดยวิธีลับซึ่งใช้ในการโหวตจระเข้น้ำเค็ม เพราะฉะนั้นในรอบสุดท้ายประเทศไทยน่าจะใช้วิธีการโหวตแบบวิธีเปิดเผย และอาจจะเสนอแต่จระเข้น้ำจืดเท่านั้นเข้ารับการพิจารณาในรอบสุดท้ายซึ่งโอกาสที่จะผ่านมีมากกว่า

 

 




 

Create Date : 07 มีนาคม 2556
10 comments
Last Update : 12 มีนาคม 2556 0:11:51 น.
Counter : 3075 Pageviews.

 

ก๊อกๆ ก๊อกๆ เคาะประตูบล็อค
แลดูวิชาการ เหมือนอ่านหนังสือวิชาสังคมอุตสาหกรรมอยู่เลยคะ ดีดีๆ เหมือนได้อัฟเกรดความรู้ ทั่วไป

^^
ห่างหายไปเหมือนเกือบจะนาน
สบายดีไหมคะ

 

โดย: โน็ตตัวดำ 8 มีนาคม 2556 11:40:07 น.  

 

เค้าสรุปว่าอย่างไร มาเล่าต่อด้วยนะคะ



*** ผักกาดที่ตากไว้ คิดว่าน่าจะเป็นวิธีการถนอมอาหารของเค้ามังคะ

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 8 มีนาคม 2556 21:35:48 น.  

 

สวัสดีบ่ายๆ แดดเปรี้ยงค่ะ


 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 11 มีนาคม 2556 13:03:31 น.  

 

ได้ความรู้ไปสอบวิชา International Relations and Environment พอดีเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

โดย: ดร.เรนนี่ 11 มีนาคม 2556 19:43:12 น.  

 

อะไรที่ดี ควรค่าแก่การคุ้มครอง ป้องกัน
ให้มีไว้หลงเหลืออยู่ ก็ขอลุ้นให้ได้รับการพิจารณาค่ะ
มีความคืบหน้าแล้ว มาบอกกล่าวกันดัวยนะคะคุณstory


 

โดย: Sweety-around-the-world 12 มีนาคม 2556 23:09:19 น.  

 

ของที่อนุรักษ์ บางทีเราก็ไม่ต้องการให้สูญหายไปจริงๆนะคะ
เพราะนับวันยิ่งหายาก และดูยากขึ้นมาทุกที
ยิ่งลูกหลานโตมา เค้าก็ไม่รู้จักเลยว่า คืออะไร
อย่างน้อย เหลือไว้ให้ลูกหลานเราได้ศึกษา
และเรียนรู้บ้างก็ดี

ยิ่งเห็นไม้เป็นท่อนๆ หลายร้อยท่อนก็ใจหาย
บ้าน 1 หลังใช้ไม้เยอะขนาดไหน
ไม่พอไปลักลอบตัดไม้อีกนี่สิ
เกิดความเดือดร้อนหลายที่จริงๆค่า





Dinner บนตึกสูงระฟ้า ของไทย
ไบหยกสกาย



 

โดย: Rinsa Yoyolive 14 มีนาคม 2556 10:38:48 น.  

 

อ่านแล้วได้ความรู้เพิ่มอีก... แต่ยังไม่เคลีย
คืออยากรู้เพิ่ม ไม้พะยุง เป็นไม้เนื้อแข็งมาก หรือ
แข็งขนาดไม้สัก...

ก็เห็นเขาว่า ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ มีราคาแพง ถ้า
แข็งมากการขึ้นรูปแกะสลักหรือเจาะรูมันก็ยาก

หรือเขาต้องการไปทำ ตั้งเตียงนอนครับ 555

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 18 มีนาคม 2556 20:05:49 น.  

 

นั่นสิ ทำไมไม้พะยูง เป็นที่ต้องการกันมากเหลือเกิน ราคาสูงตามความต้องการเลยเนอะ


*** พอจัดสรรเวลาได้ อัพบล็อกเพิ่มเติมต่อนะคะ


 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 20 มีนาคม 2556 6:58:25 น.  

 

ขอบคุณสำหรับโหวตที่บล็อกไบหยกนะคะ อิอิ
ตึกสูงของไทยเราไม่น่าเชื่อว่า มีอายุนานมากๆ
รินก็มองเห็นร่องรอยความเก่าตามลิฟท์และชั้นจอดรถเหมือนกันค่า

กลัวว่า วันหนึ่งถล่มลงมาจะเป็นอย่างไร เพราะพื้นดินเราก็ทรุดลงเรื่อยๆ ด้วย

ส่วนอาหาร อร่อยดีค่า ^O^



วิหารทองคำ วัดท่าซุง 2013



 

โดย: Rinsa Yoyolive 21 มีนาคม 2556 13:51:38 น.  

 

ส่งสุข สุข วันศุกร์ค่ะคุณstory
และยังลุ้นไปกับคุณค่า ของสิ่งที่คู่ควร
ให้ควร ให้คงอยู่ต่อค่ะ


 

โดย: Sweety-around-the-world 22 มีนาคม 2556 21:05:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


story_dnp
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




http://i11.photobucket.com/albums/a171/merrymod/flower01.gif
New Comments
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
7 มีนาคม 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add story_dnp's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.