Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
17 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
ตรรกะต่อต้านการ "ว้ากน้อง" โดยอาจารย์ดองและอาจารย์พราหมณ์หมี

เนื่องด้วยชั้นปีของอาจารย์ดองและอาจารย์พราหมณ์หมีเป็นชั้นปีที่ไม่เห็นด้วย + ต่อต้านระบบการรับน้องแบบ "ว้าก" ราวกับคนอยู่ในสังคมยุค primitive บ้านป่าเมืองดอย อาจารย์ดองและอาจารย์พราหมณ์หมีจึงได้ทำการเขียนตรรกะและข้อแนะนำแสดงทรรศะเรื่องการรับน้องแบบ "ว้ากนอก" นี้ในเวบบอร์ดรุ่น อาจารย์ดองเล็งเห็นว่าหลายคนอ่านแล้วคงชอบ (ทั้งชอบถกและชอบใจ) จึงนำมาแปะในบล็อกส่วนตัวไว้ด้วย

เชิญทัศนา.....

เหตุผลที่อาจารย์ดองและผองเพื่อนร่วมรุ่น 43 เกลียดการว้ากน้อง

นับแต่ 43 เป็นรุ่นมา 43 มิเคยว้ากน้องแม้แต่ครั้งเดียว เพราะเราเชื่อว่าการว้ากน้องมิใช่คำตอบที่เหมาะสมกับชั้นปีเรา (คือชั้นปีอื่นอาจจะเหมาะสม เราไม่ได้บอกว่ามันไม่ดี เพราะการว้าก การวินัย บลาบลาบลา แล้วแต่จะเรียกอะน่ะ ก็เหมือนเหรียญสองด้าน คนที่ได้รับอะไรจากมันก็จะว่าดี แต่ชั้นปีเรา เราไม่ได้อะไรจากมันเราก็เลยไม่ชอบมัน)

1. เราเชื่อว่าการเคารพกันเอง และเคารพกันระหว่างชั้นปี มิต้องใช้การบอกกล่าวเชิงอำนาจใส่ เราเคารพคนอื่นเพราะเขาเคารพเรา เคารพซึ่งกันและกัน เราเคารพพี่เพราะพี่ทำตัวให้น่าเคารพ เราเคารพน้องเพราะน้องทำตัวให้น่าเคราพ ประเด็นสำคัญคือเราให้เกียรติซึ่งกันและกัน

2. เราเชื่อว่าการมีวินัยได้มิใช่เกิดจากกระทำปุ๊บปั๊บในเวลาสามชั่วโมง

3. เราไม่รู้ว่าการรับน้องที่ดีที่สุดเป็นอย่างไร แต่ผลของการที่เรารับน้องแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เคารพซึ่งกันและกัน ส่งผลให้น้อง 44 45 และ 46 ไม่เคยมีปัญหากับรุ่น 43 เลยแม้แต่น้อย


-----------------------



อาจารย์พราหมณ์หมีได้สรุปและสร้างเป็นตรรกะดังนี้ว่า

วิชาตรรกวิทยา ว่าด้วยเหตุผลและการโต้แย้งด้วยเหตุผล 011 (คิดโดยอาจารย์พราหมณ์หมี)

หมายเหตุ การชี้แจงและโต้แย้งด้วยเหตุผลจะต้องไม่มีอารมณืมาเกี่ยวข้องหรือน้อยที่สุด และทั้งสองฝ่ายต้องอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ถ้าไม่ใช่เหตุผล เอาไม้หน้าสามมาคุยกันดีกว่า ดังนั้นพึงอ่านและขบคิดด้วยเหตุผล

1.การรับน้องเป็นคำกลางๆไม่ได้แปลว่าดีหรือไม่ดี มันจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่การนำไปใช้ มีดเฉยๆที่ตั้งอยู่มันบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี ถ้าเอาไปแทงคนมันไม่ดี ถ้าเอาไปหั่นผักแดกนี่ดี

2.เรื่องการเคารพรุ่นพี่

โดยทั่วไปในสังคมมนุษย์ คนเราเคารพกันด้วย

2.1 วัยวุฒิ มีความแก่อายุกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสังคมนั้นๆ เช่นบางที่แก่กว่า 1-2 ปีไม่จำเป็นต้องเคารพนบไหว้มากมาย ในสังคมไทยการแก่อายุถือเป็นเรื่องที่ยืดหยุ่นได้ เพราะมีเพื่อนที่อายุมากกว่า หรือน้อยกว่าให้เห็นเสมอ บางครั้งวัยวุฒิออาจหมายถึงความสัมพันธ์กันโดยสายเลือดด้วย

2.2 ชาติวุฒิ เช่น เคารพด้วยชาติกำเนิด เช่น เราไหว้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินที่เด็กกว่า พราหมณ์ เป็นต้น

2.3 คุณธรรม เช่นเราเคารพผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีใจสูง นี่จัดเป็นสิ่งที่สุภาพชนและคนดียึดถือ

2.4 คุณวุฒิ เพราะคนๆนั้นประกอบด้วยคุณสมบัติที่พึงเคารพเช่น เป็นผู้ทรงความรู้ หรือสังคมๆนั้นเจาะจงวให้เคารพเช่นพระสงฆ์ สมณ ครูอาจารย์

2.5ผู้มีพระคุณทุกรูปแบบ

ทำไมเราต้องเคารพรุ่นพี่

ข้ออ้าง(จากฝ่ายมิจฉาทิฐิ) - เพราะเป็นรุ่นพี่ เป็นกติกาที่สังคมๆนั้นๆกำหนดให้ต้องทำ รุ่นพี่มีอายุมากกว่า รุ่นพี่มีบุญคุณ

แย้ง - อ้างกติกาสังคมไม่ถูก เพราะ สังคมเล็กย่อมครอบด้วยสังคมที่ใหญ่ขึ้นไปอีกที กฏหมู่ก็มี กฏหมายมีจารีต ของสังคมที่ใหญ่กว่าครอบไว้ หากกฏของสังคมที่เล็กกว่า แย้งกับกฏของสังคมที่ใหญ่กว่า เราควรทำตามกฏไหน เช่น สังคมหนึ่งตั้งขึ้นมาเอง มีสมาชิกประมาณ 20 คนออกฏว่ากติกาว่า เราสามารถเอากันอย่างอิสระเสรี นัวเนียได้เลย เราควรเห็นด้วยมั๊ย เพราะหากดูกฏหมายผิดก็ต้องถือว่าผิด หรือหากกฏหมายไม่บัญญัติ จารีตก็บอกว่าผิด เป็นต้น

การเคารพรุ่นพี่ที่เป็นคนอายุมากกว่านิดหน่อยหรือเท่ากันหรือในบางครั้งน้อยกว่า ไม่เข้ากับลักษณะการเคารพในจารีตสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคารพในสังคมไทยเป็นเรื่อง "จิตใจ"ที่ไม่อาจบังคับบัญชาได้ และการบังคับให้เกิดความเคารพย่อมเป็นการแสดงออกเพียงเปลือกนอกเท่านั้น ไม่มีความหมาย

ข้อเสนอ-ปล่อยให้เคารพกันด้วยใจ ให้เป็นไปตามธรรมชาติ มีความยั่งยืนและจริงใจกว่า

3. การสร้างความกดดันนานารูปแบบ

ข้ออ้าง(ของมิจฉาฯ) - เพื่อให้น้องเกิดการรวมตัวกัน เรียกว่ามีทุกข์ร่วมกันก็จะทำให้เกิดความรักความสามัคคีอย่างแท้จริง และแสดงตัวตนของแต่ละคนออกมา อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมตัวเพราะเมื่ออกไปทำงานก็จะเจอความทุกข์ความกดดันที่มากกว่านี้

แย้ง - คนเรามีความทุกข์เสมออยู่แล้วมึงไม่ต้องเอามาให้กูหรอก การสร้างความกดดันหรือสถานการณ์ต่างๆ เป็นเพียง "ละคร" ไม่ใช่ความทุกข์ที่จริงที่ต้องเผชิญ และอาจไม่ตรงกับความทุกข์จริงๆที่จะเกิดขึ้นก็ได้ เพราะไอ้คนสร้างสถานการณ์ก็ยังไม่ได้ไปสัมผัสความทุกข์ความกดดันนั้น(เพราะมันยังเรียนอยู่เหมือนกัน) ส่วนหากเกิดจากคนที่ไปทำงานแล้ว ก็ตอบตัวเองได้ว่ามันคนละแบบ อีกอย่างมนุษย์ทีทางเลือกที่จะทำงานต่างๆกัน ไม่จำเป็นต้องเจอแบบเดียวกัน ในเรื่องการเตรียมตัวจึงนับว่าไม่มีเหตุผล

ส่วนการเกิดความรักความสามัคคี ข้อนี้ไม่มีเครื่องพิสูจน์ใดๆว่ามีความรักความสามัคคีเกิดขึ้นจริงๆ เพราะความรักความสามัคคีไม่มีหน่วยชี้วัด เพราะวันเป็นเรื่องของจิตใจ หากอ้างว่าอาจดูได้จากสิง่ที่เห็น เช่นการกระทำบางอย่างร่วมกัน หรืออารมณ์ร่วมในขณะนั้นๆ ก็ไม่จำเป็นต้องสรุปว่าเกิดความสามัคคี อาจเป็นเพราะสภาพการณ์ในขณะนั้นๆ สภาวะอารมณ์ หรืออื่นๆก็เป็นได้ อีกอย่างงความสามัคคี ไม่อาจสร้างได้ในระยะเวลาสั้นๆ ไอ้ที่เกิดขึ้นน่าจะเรียกว่า "อารมณ์ร่วมที่บ้าคลั่ง" มากกว่าเพราะในที่สุดมันจาหายไป ควาสมมัคคีที่ยั่งยืน เกิดจากจิตใจที่มองเห็นประโยชน์และโทษร่วมกันของทุกคน ไม่อาจมีได้จริงๆด้วยการบิ้วท์ และการแสดงตัวตนออกมาก็ไม่มีเครื่องชี้วัดเช่นกันว่าที่แสดงออกมาเป็นตัวตนจริงๆหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ย่อมต้องอาศัยระยะเวลาอีกที

ขอเสนอ - ในเมื่อเรามีสิทธิสงสัยประสิทธิภาพของรูปแบบการกดดัน ทำไมเราไม่ไปหารูปแบบอื่นๆที่สร้างสรรค์ที่จะดึงเอาศักยภาพ ออกมา ไม่ใช่สร้างมโนภาพ หรืออารมณ์ร่วมอย่างทันทีทันใด เพราะมันไม่ยั่งยืนเลย

3.การอ้างประเพณี

ข้ออ้าง - ทำกันมานานแล้วเป็นประเพณีที่ดีงาม เป็นสิ่งที่ทำสืบๆกันมาจะไปทำลายได้ไง

แย้ง - ประเพณี จะต้องมีคุณสมบัติ อันหนึ่งคือ ทำมานาน แต่การอ้างว่าทำมานานมันเลยดีนั้น ไม่มีเหตุผลรองรับย เพราะหากอ้างว่าทำมานานหรือทำสืบต่อกันมามันจึงดี ควรทำ การปล้นฆ่า ข่มขืน ก็มีมานานรแถมทำกันมาตลอดอารยธรรมมนุษย์ อันนี้ก็น่าส่งเสริมดิ่ ควรทำอ่ะดิ่

ข้อเสนอ -ข้ออ้างนี้ไม่มีเหตุผลโดยสิ้นเชิง เราอาจยืมเอาประเพณีที่เราไตร่ตรองวแล้วว่ามีเหตุผล เช่นจากสังคมอันใหญ่กว่ามาปรับปรุงปฏิบัติ และไม่ควรยึดมั่นอย่างตายตัวเกินไป..

ข้อสรุปและข้อเสนออื่นๆ

1.การรับน้องแบบกดขี่นั้นอยู่บนฐานคิด ที่เห็นมนุษย์ผู้อื่น ต่ำกว่า ด้อยเดียงสากว่า ไม่เท่ากัน มันควรหรือที่จะเห็นคนอื่นเป็นแบบนั้น

2.ในสังคมเน้นความคิดสร้างสรรค์ น่าตลกที่นักศึกษา ไม่อาจแม้แต่จะแสวงหารูปแบบใหม่ๆในการรับน้องให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มัวเอาสมองไปจมจิ๋มอยู่ ดังนั้นไม่ต้องโต้แย้งในเรื่องเนื้อหาสาระเลย รูปแบบยังแก้กันไม่ได้ รูปแบบที่ไร้เนื้อหาสาระควรดำรงวไว้หรือไม่

3.ความสุขสงบสันติ ความรัก ไม่อาจเกิดขึ้นด้วยความรุนแรง ความสุขสงบ ความรัก ความดี ต้องเป็นทั้งเป้าหมายนและหนทาง

4.เอาความรักเป็นที่ตั้งเมจจราเป็นที่ตั้ง เห้นน้องเป็นเพื่อนใหม่ เป็นคนที่เข้ามาพร้อมความไหวหวั่นความลังเลสับสน พิจารณาความต้องการในใจของเค้าให้ถี่ถ้วน ถ้าอย่างนี้สังคมที่มีความรักเมตตาต่อกันจะเกิดได้จริง

5.พี่บางคนมารับน้องเสมอ มีหลายเจตนา บางคนเจตนาดี แต่บางคนอ้างว่าเจตนาดี จริงแล้ว การรับน้องอาจเป็นที่เดียวที่เค้าอาจใช้อำนาจได้เต็มที่ เป็นความจริงเสมือน เป็นมายาภาพ เพราะในโลกแห่งความจริง คนเหล่านี้พ่ายแพ้และไร้อำนาจ จึงโหยหาการรับน้องเสมอ คนที่จัดการรับน้องต้องพยายามมองให้เห็นเจตตนาที่ซ้อนอยู่และคอยระแวดระวัง


เชิญอภิปราย


Create Date : 17 มิถุนายน 2550
Last Update : 17 มิถุนายน 2550 13:58:56 น. 26 comments
Counter : 840 Pageviews.

 
เดี๋ยวแว๊บเข้ามาอ่านนะครับ ขอตัวไปทำงานก่อน แต่บอกสั้นๆ ว่า ผมเคยเป็นพี่ว้ากมาก่อน รู้สึกเสียใจมาก ไม่น่าเป็นเลย ToT


โดย: BAYROCKU วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:14:13:46 น.  

 
555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555555+


โคดโดนใจเลยน้า
โดนรับน้องใกล้บ้าละเนี่ย จะทำเหี้ยอะไรก็อ้างว่าประเพณ๊

เเล้วก็ให้ท่องจัง ไอ่ประโยคที่ว่า"มาก่อนเป็นพี่ มาหลังเป็นน้อง มาพร้อมกันเป็นเพื่อน"

ก๊ายขนาด


โดย: พลอย IP: 222.123.69.23 วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:14:16:53 น.  

 
อิอิ ผมก็อยากบอกเหมือนกันครับ คุณเบย์ฯ ว่าผมก็เคยเป็นพี่ว้ากมาก่อนเหมือนกัน (เป็นการรับน้องจังหวัดไม่ใช่คณะ)

จะรู้อะไรไม่สู้เคยทำเอง จากการได้เป็นพี่ว้าก ทำให้ได้เข้าไปสัมผัสและรู้ระบบคิดว่าทำไม อย่างไร ซึ่งคำตอบที่ผมได้ทราบผมว่ามันก็ตลก ๆ ดี ไร้แก่นสารทีเดียว(ในทัศนะผม)

ดังนั้นผมจึงไม่ชอบระบบการรับน้องแบบว้ากครับ


โดย: I will see U in the next life. วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:14:29:27 น.  

 
ไม่เคยถูกว้ากแต่เคยว้ากคนอื่น
หากย้อนเวลาได้ คงไม่ทำเช่นนั้น

การว้ากน้อง ...
มันคงเป็นการให้รุ่นพี่ได้ลิ้มรสชาติของอำนาจ (อันอุปโลกขึ้นมาเอง)
ไม่ได้มีความหมายหรือก่อให้เกิดประโยชน์อะไรอื่นต่อใคร
อ้อ... มีประโยชน์เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการหารายได้เพื่อไปเที่ยวทะเล


โดย: rebel วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:16:06:12 น.  

 
ผมว่ามันเหมือนการลวงโลกยังไงไม่รู้อะ


โดย: I.Brother วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:18:13:12 น.  

 
น้องเฌิ้ธ สุดที่รักของผมได้ทำการวิพากษ์ไว้ดังนี้

เชิญทัศนาทัศนะ




ขออธิบายเพิ่มเติม เรื่องความเป็นละครของการว๊ากน้อง
ดังที่พี่ตุลได้กล่าวไว้ในข้อ 3 ในวิชาตรรกวิทยา ว่าด้วยการสร้างความกดดันนานารูปแบบ
ที่ว่า
การสร้างความกดดันหรือสถานการณ์ต่างๆ เป็นเพียง "ละคร" ไม่ใช่ความทุกข์ที่จริงที่ต้องเผชิญ และอาจไม่ตรงกับความทุกข์จริงๆที่จะเกิดขึ้นก็ได้

ละคร มีส่วนประกอบหลัก ๆ 3 ประการ
1.ผู้แสดง
2.เรื่องที่แสดง
3.ผู้ชมการแสดง

ในสถานการณ์นี้ ผู้แสดง คือ รุ่นพี่ และรุ่นน้อง
เรื่องที่จะแสดง(บท) คือ น้องบูมไม่ดี จึงต้องถูกลงโทษ รุ่นพี่มาช่วยก็ยังไม่ถูกใจ จึงลงโทษด้วยการยึดบูม เกิดซีนอารมณ์ ขอโทษกันร้องไห้กัน คลี่คลายโดยให้ผู้ชายมาแสดงการแสดงบางอย่าง เกิดการยกโทษ จบ
คนดู คือ ??? ??? ใครอะ รุ่นพี่อื่นๆและคนเดินผ่านไปมาแถวนั้นเหรอ ...ไม่ใช่นะ เพราะที่ดูแล้วบทที่สร้างขึ้นน่าจะให้น้อง 50 ดูเพื่อเตือนใจสอนใจอะไรก็ตามที แต่คนดูกลับเป็นผู้แสดงเองซะแล้วนี่
อะ อะ ไม่เป็นไร นับว่าเป็นละครก็ได้ เป็นละครแนวทดลองก็แล้วกัน คือ ผู้แสดงเป็นผู้ชมด้วย แปลว่ารุ่นพี่ที่ทำหน้าที่แสดงละครอยู่ข้างหน้า และน้อง 50 ที่แสดงละครยืนก้มหน้าอยู่เป็นแถว ก็เป็นคนดูด้วยไปในตัว

จุดมุ่งหมายของละคร
เชคสเปียร์(Shakespeare) ได้กล่าวไว้ว่า ละครคือกระจกสะท้อนชีวิต
(ละครเรื่องนี้สะท้อนชีวิตในด้านใดหรือไม่ ทั้งทางตรงและทางเปรียบเทียบ)
ส่วนอริสโตเติล (Aristotle) พูดถึงละครว่า เป็นการเสนอเรื่องราวที่เลียนแบบการกระทำของมนุษย์
(ละครเรื่องนี้ เป็นการเลียบแบบการกระทำของมนุษย์ในชีวิตจริงตรงไหนบ้าง ทั้งทางตรงและทางเปรียบเทียบ)

จุดมุ่งหมายของการละคร ก็เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของมนุษย์ใน 3 ระดับ คือ

1.ระดับอารมณ์ ให้ความบันเทิง สนุกสนาน ตื่นเต้น กระตุ้นอารมณ์จากชีวิตประจำวันที่น่าเบื่อหน่าย

2.ระดับสมอง ให้แง่คิดความเห็น ถามปัญหาหรือตอบปัญหาเกี่ยวกับชีวิต ของตนเอง สังคม หรือส่วนรวม

3.ระดับจิตใจ ดังจะเห็นได้ว่าการละครทั้งทางตะวันออกและตกล้วนกำเนิดมาจากพิธีบวงสรวงเทพเจ้า ซึ่งมีขึ้นเพื่อผลทางจิตใจของมนุษย์โดยตรง
(เรื่องจุดมุ่งหมายของการละคร อ้างอิงจากหนังสือ “ศิลปะของการแสดง(การละครสมัยใหม่)” ของ อ.สดใส พันธุมโกมล)

เมื่อทราบจุดประสงค์ของละครแล้ว เราดูสิคะว่า อีละครที่เกิดขึ้น มันตอบสนองความต้องการของมนุษย์ข้อไหน ???

ข้อ 1 ...คนดูสนุกมั้ย...
ไม่ (แง่ที่น้อง50เป็นคนดู) เพราะการอยู่ในภาวะกดดันแบบนั้นใครจะสนุก

สนุกสิ ถ้ายืนดูชาวบ้านถูกกดดัน เพราะฉะนั้นคนที่ได้รับการตอบสนองในข้อนี้ก็จะเป็นรุ่นพี่ที่ดูเฉย ๆและพี่ที่แสดงอยู่ข้างหน้าเท่านั้น

ข้อ 2 ช่วยให้ข้อคิดอะไรมั้ย...
ไม่ …ไม่ว่าคนดูจะเป็นพี่หรือน้องหรือใครก็ตาม
อธิบายดังนี้

การที่ละครจะทำหน้าที่ถามคำถามหรือตอบคำถามชีวิตมนุษย์ ก็คือ เมื่อดูแล้วคนดูนำไปเปรียบเทียบกับชีวิตของตนเอง ว่ามันเหมือนกันอย่างไร ไว้เป็นข้อคิด เตือนสติ หรือเป็นหลักในการดำเนินชีวิต และจากเรื่องบทย่อที่เล่าไว้ข้างต้น มันได้ให้ข้อคิด หลักธรรม หรือคำสั่งสอนใด ๆ หรือไม่ …เปล่าเลย ล้วนแต่เป็นสิ่งไร้สาระทั้งนั้น

ตามที่พี่ตุลบอก มันเป็นชุดความทุกข์ที่ไม่มีจริงในชีวิตของมนุษย์ และนำไปเปรียบเทียบไม่ได้สักเรื่อง ...การอยู่ในภารวะกดดันแบบไม่มีสาเหตุ ไม่มีที่มาที่ไป และตัวเราไม่ได้เป็นผู้ก่อ(ชั้นไม่ได้อยากบูมตั้งแต่แรกแล้ว) และไม่สามารถควบคุมให้มันดีหรือไม่ดีได้(ไม่ว่าจะบูมอย่างไรก็ผิด) และไม่มีหนทางใดเลยที่จะคลี่คลายปัญหานี้ได้(จะทำยังไงล่ะคะให้พี่พอใจ ไม่รู้เลย) และสุดท้ายของเรื่อง ที่ผู้รับชะตากรรมต่างเฝ้าหวังว่าทางออกนั้นจะยิ่งใหญ่ มีความศักดิ์สิทธิ์มากพอที่จะแลกกับบาปอันไม่ได้ก่อและไม่มีทางออกนี้ แต่สิ่งนั้นกลับเป็น การแสดงของผู้ชาย(ซึ่งในหลายๆปีที่ผ่านมาเป็นการเต้นประกอบเพลงที่ลามก)
โธ่! สวรรค์! มันเกิดขึ้นจริงหรือนี่!....
เพราะฉะนั้น ละครเรื่องนี้ ไม่ได้สนองความต้องการของมนุษย์ใน “ระดับสมอง” เลย ให้ตายสิ!

ข้อ 3 ระบับจิตใจ ถุย! อย่าได้พูดถึงแม่งเลย มีแต่จะทำให้จิตใจคนเสื่อมถอย หวาดกลัว และสิ้นหวังต่อความมีเหตุมีผลของจักรวาลเสียเท่านั้น

ดิฉันไม่อยากจะนับอีเหตุการณ์เหี้ย ๆ นั่นเป็นละคร
มันเป็นปาหี่ที่สนองจิตใต้สำนึกดิบ ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจหาตัวตน พื้นที่ และความภาคภูมิใจได้ในชีวิตจริง จึงหื่นกระหายมาเที่ยวเอาจากสถานที่และบุคคลอันบริสุทธิ์ เปรียบแล้วก็เหมือนเหี้ยอันหิวโซ ที่ชาวบ้านเขาไล่หนี ก็ซมซาน โซเซ มาขึ้นใต้ถุนบ้านริมน้ำที่มีลูกเจี๊ยบเพิ่งฟักไข่ ลูกไก่น้อยที่บริสุทธิ์ก็ตกเป็นเหยื่อของเหี้ยเหี้ยๆ อย่างไม่มีทางสู้ บ้างก็หลงว่าการถูกเหี้ยกินนั้นเป็นสิ่งประเสริฐ ลูกเจี๊ยบน้อยนั้นก็จะกลายเป็นเหี้ยตามไป และกระทำกับลูกไก่ใต้ถุนบ้านเดิมนี้ทุกปีไปไม่มีสิ้น ส่วนไอ้เหี้ยตัวแรก พอรู้แหล่งมันก็เวียนมาทุกปีไม่มีขาด ก่อเกิดเหี้ยรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากโคตรเหี้ยของมัน

(ดิฉันไม่ได้ด่าใครเป็นเหี้ย เพียงแต่ยกตัวอย่างเหตุการณ์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพพจน์ชัดขึ้นเท่านั้น)



โดย: I will see U in the next life. วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:22:10:41 น.  

 
ห่างจากเหตุการณ์รับน้องมากมาแล้ว
ตอนเป็นน้องใหม่ ก็เคยพาเพื่อนรุ่นเดียวกัน หนีกลับบ้านก่อน
วันต่อมาโดนรุ่นพี่ให้วิ่งรอบคณะ

และเคยโดนว้ากมาแล้ว
พอเป็นพี่ ก็ไม่ได้ไปรับน้อง เพราะไม่ได้ทำกิจกรรมในคณะ
ไปทำกิจกรรมบนตึกกิจกรรม ชุมนุมที่งานอยู่ก็ไม่ค่อยได้รับน้อง

พูดอย่างไรดี ( ไม่ได้เป็นกลางนะ)
พี่รู้สึกว่าการรับน้องมันมีความอบอุ่นบางประการอยู่
ขณะเดียวกันมันก็เพาะเชื้อ อำนาจนิยม อยู่บ้าง

ถามว่าพี่ต่อต้านไหม ก็คงไม่ต่อต้าน
ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ส่งเสริม
555 งงไหม




โดย: grappa วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:22:52:47 น.  

 
กลุ่มทางสายกลางหรือครับนี้ พี่แป็ด

ผมเคยผ่านมา พบว่าการว้ากให้ได้แค่ระดับหนึ่ง ที่สำคัญต้องใช้เวลามากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แต่ทั้งหมดมันไม่ใช่ที่สุด

ระบบว้ากชอบคิดว่า ว้ากแล้วคือที่สุด ต้องได้แบบนั้นแบบนี้ตามอุดมคติ ซึ่งผมว่ามันไม่ใช่

การรู้จักคนสักคน เวลาสี่ปีบางทียังไม่พอให้รู้สันดานที่แท้จริงเลย ว่าไหมครับพี่


โดย: I will see U in the next life. วันที่: 17 มิถุนายน 2550 เวลา:22:57:34 น.  

 
ผมเฉยๆ นะ เรื่องว้ากเนี่ยะ


โดย: ปืนกล IP: 203.131.217.33 วันที่: 18 มิถุนายน 2550 เวลา:10:02:34 น.  

 
เคยโดน และเคยเอาคืน
แต่นั่นมัน สิบกว่าปีมาแล้ว
ตอนนี้ นั่งดู -

เฮ่อ... ตั้งสิบกว่าปีมาแล้ว
มันยังไม่เปลี่ยนวิธีการอีกรึ?

ไม่ครีเอท เอาซะเลยเด็กพวกนี้


โดย: ดาริกามณี วันที่: 18 มิถุนายน 2550 เวลา:17:30:20 น.  

 
ผมว่ารับน้องมันก็เหมือนสงกรานต์

จุดประสงค์ที่ตั้งมาแรกๆ นั้นดี
แต่ทำไปทำมาชักกลายพันธุ์


โดย: ฟ้าดิน วันที่: 19 มิถุนายน 2550 เวลา:0:57:10 น.  

 
ต่อต้านการว๊ากทั่วราชอาณาจักร เย้ ! \\m/


โดย: ShadowServant วันที่: 20 มิถุนายน 2550 เวลา:1:37:16 น.  

 

อาจจะเพราะเราเรียนธรรมศาสตร์ ที่นี่ไม่มีว้าก (แต่ตอนนี้เริ่มมีแล้ว) เราก็เลยไม่เห็นด้วยกับการว้ากเหมือนกัน ไม่ต้องมีมันก็อยู่กันดีๆ ได้อ่ะ แล้วเราก็ไม่เห้นว่าจะต้องรักกัน หรือไปเคารพอะไรรุ่นพี่มากมาย (มันก้แค่คนที่แก่กว่าเราไปกี่ปี) คือถ้ารุ่นพี่ไม่ไปทำอะไรแย่ๆ ใส่มัน น้องมันก็เคารพอยู่แล้ว จะอะไรกันนักหนา แต่ละคนก็มีชีวิตของตัวเองน่ะ

ถ้าจะว้าก ก็ต้องทำกันมาดีๆ คิด plan ล่วงหน้ากันเป็นครึ่งปี ไม่ใช่ ให้ใครก็ได้ออกไปตะโกนๆๆ แหกปากๆๆ แบบนั้นน่ะเจ๊ง เด็กสมัยนี้มันก็ไม่โง่หรอก มันรู้อยู่แล้วว่าพี่แมร่ง FAKE ลับหลังมันไปนั่งขำกันจะตาย

สู้ให้มันทำกิจกรรมฮาๆ เหนื่อยๆ ช่วยกันทำ แฉให้เห้นกันว่าใครเจนท์ ใครรักเพื่อน ใครเห้นแก่ตัว ดีกว่า (มั้ง)



โดย: merveillesxx วันที่: 20 มิถุนายน 2550 เวลา:18:19:53 น.  

 
ของแบบนี้ต้องใจเขาใจเราให้มากๆ ไม่รู้ดิ อ่านแล้วไม่ค่อยอินเท่าไหรรร่ อาจจะผ่านวัยนั้นมานานแล้วก็ได้ อิอิ



โดย: Mesia_82 IP: 203.144.224.162 วันที่: 23 มิถุนายน 2550 เวลา:9:52:56 น.  

 
Can you assist more details about CU TMC?

Thank you in advance


โดย: Sak (TheCobra ) วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:2:03:14 น.  

 
เห็นด้วย เวลาเข้าห้องเชียร์ก็จะโดนยุงกัด

แถมพี่พี่ว้ากก ก็จะมาว้าก แล้วห้ามขยับตัว

ให้นั่งตรงๆ นิ่งๆ

ทรมานสุดๆ


โดย: nonnoiGiwGiw วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:20:09:07 น.  

 
คุณซียูไปตกหลุมรักสาวคนไหนอีกแล้วครับ ขอให้โชคดีเด้อ อย่ามัวแต่อายนะ


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 24 มิถุนายน 2550 เวลา:21:29:39 น.  

 
ผมเฉยๆกับการว้าก....
แต่ก็คงมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ...
ผมว่าการ ว้าก ไม่ขนาดว่าจำเป็นต้องมี
แต่ก็อยู่ในระดับที่ควรจะมีไว้..
...
เพียงแต่อย่าใช้พร่ำเพรื่อเกินไป...
...
ผมไม่เห็นว่า การ ว้าก จะเป็นเรื่องใหญ่ ในชีวิต ขนาดที่เป็นห่วงกัน


โดย: แร้ไฟ วันที่: 25 มิถุนายน 2550 เวลา:0:34:41 น.  

 
จริงๆ จะว้าก จะไซโค จะsotus มันก็อันเดียวกันเนอะ
แต่ผู้นำหลักสูตรการว้ากก็มักจะใช้หลายคำพร่ำเพรื่อ
เพื่อให้เห็นว่าระดับความแรงมันต่างกัน ทั้งที่ความจริงมันก็ครือๆกัน

สมัยพี่เข้าปีหนึ่ง พี่เถียงกับพี่ว้าก จนต้องโดนลากตัวออกจากแถวเลย
นึกย้อนกลับไปก็ตลกดี และก็เห็นว่ามันไม่ได้ทำให้เรารักเพื่อนหรือเคารพรุ่นพี่เพิ่มจากการว้ากหรอก
ทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่ที่การปฏิบัติตัวของเพื่อนเราหรือรุ่นพี่หลังจากนั้นมากกว่า
แต่ประโยชน์ทางอ้อม(พิยดามาก)ที่พี่ว้ากไม่ค่อยนึกเอามาพูดให้เข้าใจกันก็คือ
การสร้างสถานการณ์บีบคั้นแบบว้าก มันทำให้เราหรือน้องใหม่รู้จักที่จะนึกถึงคนอื่นบ้าง
พี่ว่ามันเป็นสถานการณ์จำลองที่ดีมากสำหรับนักศึกษาสื่อสารมวลชนนะ(คณะอื่นไม่รู้)
เพราะในสถานการณ์ที่การกระทำของเราจะมีผลกระทบต่อคนอื่น
เราต้องคิดให้มากว่าก่อนจะตัดสินใจทำหรือพูดอะไร
เรามีสิทธิที่จะพูดและแสดงออกอย่างกล้าหาญ
แม้ว่าส่วนใหญ่พี่ว้ากจะไม่ฟังก็เถอะ เพราะว่ารุ่นน้องมีสิทธิเป็น 0 ฮ่า ฮ่า

ฉะนั้น จะรับน้องด้วยวิธีอะไรก็ได้ แค่ให้น้องทุกคนได้รู้จักกัน
เพื่อที่จะช่วยเหลือกันต่อไปได้ตลอดสี่ปี(หรือตลอดชีวิตยิ่งดี)ก็โอเคแล้ว

ปล.อยากไปรับน้องนอกสถานที่จัง


โดย: getterTu วันที่: 25 มิถุนายน 2550 เวลา:2:26:30 น.  

 
การจะทำให้หนุ่มสาวจากต่างที่ ต่างโรงเรียน ต่างสถานะ ต่างพื้นฐานความคิด ให้รักใคร่กลมเกลียวกันมันยากครับ

สิ่งแรกที่จะทำให้คนหันมาดูแลกันก็คือ "ความลำบาก"
ใครเห็นเพื่อนลำบากไม่ได้ก็ต้องช่วยนั้นแหละคือจุดเริ่มต้นของความรักกันในรุ่น

ดังนั้นเลยมี การ "กดดัน" ในการรับน้อง ก็คือจะมีเหตุการณ์ให้ต้องลำบาก การ "ว้าก" ก็เป็น 1 ในนั้น ความจริงรุ่นพี่ ไม่สำคัญเท่ากับรุ่นของเราเองหรอก

รับน้องมีไว้แต่อย่าให้ถึงกับกดดันจนน้องตาย อย่างนี้ลำบากแน่ครับ


โดย: SummerDegree วันที่: 25 มิถุนายน 2550 เวลา:11:35:01 น.  

 
โอ ตรรกะแห่งการว้าก

ไม่เคยว้ากน้องเลยค่ะ คงเป็นเพราะที่คณะไม่ได้โหดแบบนั้นด้วยล่ะมัง
บางที การที่เราเข้าหาเค้าแบบนุ่มนวลเฮฮา กลับกลายเป็นผลดีเหมือนกันนะคะ


โดย: juriojung วันที่: 25 มิถุนายน 2550 เวลา:19:58:17 น.  

 
ช่างวิเคราะห์อะไรกันปานนั้น.. ใยต้องคิดมาก ทฤษฏีที่ถูกต้องที่สุดน่าจะถาม Marquis de Sade นะจ๊ะ เหอๆๆ เพราะมันคือตัวอย่างวัฒนธรรมซาดิสต์ที่เป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่ยุคกลางนั่นไง ข้ออ้างเหตุผลล้านเจ็ดที่พยายามยกกันขึ้นมาเรื่อง Sotus นั้น ล้วนสนองตัณหาด้านมืดของมนุษย์ที่แอบเรียกตัวเองว่าปัญญาชนทั้งสิ้น เผลอๆ ตอนว้าก..อาจมีบางคนได้สำเร็จถึงสวรรค์ไปแร้ววก็ได้ใครจะรู้...5555

บรรดาว้ากเกอร์ทั้งหลายสมควรจะไปดูหนังของ Pier Paolo Pasolini เรื่อง Salo, le 120 giornate di Sodoma ซะ จะได้เห็นภาพสะท้อนของตัวตนที่แท้จริงในนั้น (อ้อ จริงๆ เรื่องนี้ก็ทำมาจาก The 120 Days of Sodom and Other Writings ของมากีร์ เดอ ซาด นั่นแหละ ใครดูได้จนจบโดยไม่อ้วกไปซะก่อนเชิญมารับยาหอมห้าเจดีย์ได้ฟรีจ้ะ)


โดย: หมีบางกอก (Bkkbear ) วันที่: 25 มิถุนายน 2550 เวลา:23:53:09 น.  

 
ว๊ากมีเหตุผล มีสาระ ห่วงใยน้องอย่างจริงใจ จะดีมาก แต่เด็กเดี๋ยวนี้ว๊ากกันไร้สาระ บ้าอำนาจ เริ่มจะไม่ชอบมาตะหงิดๆแระ


โดย: Chollaphin วันที่: 12 กรกฎาคม 2550 เวลา:16:12:01 น.  

 
มาอ่านจ้า
เคยเป็นเหมือนด็องเลย
รับน้องจังหวัดเนี่ย...

แล้วก็
ยินดีกับอาจารยฺเด็กแนวด้วย
อ่านเรื่องอาจารย์แล้วมาอ่านที่นี่ต่อ
เลยมาตอบที่เดียวตรงนี้เลย


โดย: ยีน IP: 203.113.34.12 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2550 เวลา:20:50:41 น.  

 
ผมเห็นด้วยครับ ควรยกเลิกระบบนี้สักที

สิ่งที่รุ่นพี่สร้างละครตบตาขึ้นมา ก็จะทำให้รุ่นน้องสร้างละครตบตาสะท้อนกลับไป

มิตรภาพจอมปลอม การแสแสร้ง การช่วยเหลือเพื่อนๆ อาจจะมีในเฉพาะช่วงนั้น

แต่ถ้าถามว่า ในระยะยาวล่ะ มันจะยั่งยืนสักแค่ไหน

สุดท้ายรุ่นพี่ รุ่นน้อง ตัวเรา ก็จะหลอกตัวเองว่าให้สร้างในสิ่งที่รุ่นพี่นั้นต้องการ

ชีวิตจริงกับการแสดงมันคนล่ะเรื่องกันน่ะครับ

หากไม่มีการว๊าก ผมก็เชื่อว่ารุ่นน้องทุกคนก็อยากเชื่อฟังและเคารพในตัวรุ่นพี่


***** หากรุ่นพี่คนนั้นดีจริง *****


โดย: เบื่อ IP: 125.24.102.62 วันที่: 24 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:43:11 น.  

 
แจ่ม ต่อต้านระบบการว้าก สุดๆ
เสียเวลา & เสียความรู้สึก


โดย: คนผ่านมา IP: 61.19.52.202 วันที่: 25 พฤษภาคม 2551 เวลา:11:04:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add I will see U in the next life.'s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.