สังคมที่อบอุ่น....เกิดขึ้นได้จากการแบ่งปัน
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
28 สิงหาคม 2551
 
 

การสร้างแบรนด์



การประกอบธุรกิจในทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไป หากเปรียบการทำธุรกิจ เป็นสนามกีฬาที่มีการแข่งขันของกีฬาหลายประเภท การแข่งขันที่มีผู้เล่นมากหน้าหลายตา ยุทธวิธีหลากหลายที่งัดเอามาใช้กันในสนาม มันจึงเป็นการยากที่ใครคนใดคนหนึ่งจะสามารถมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงได้ดังเช่นในสมัยก่อน นอกจากเราจะต้องแข่งขันกับนักเล่นที่มีคุณสมบัติเท่ากันแล้ว บางครั้งเราก็ต้องแข่งขันกับผู้เล่นที่มีคุณสมบัติมากกว่า เช่น ทุนจากต่างชาติ( ห้างยักษ์ใหญ่ ) หรือทุนเคลื่อนที่ ( ตลาดนัด )

ทุกวันนี้ เราทุกคนมุ่งแต่จะหาสินค้า เพื่อมาจำหน่ายผู้บริโภค แต่น้อยคนนักที่จะคิดสร้างสรรสินค้าขึ้นมาเอง จัดจำหน่ายเอง เพื่อสร้างความแตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่ในท้องตลาด


เรามาดูตัวอย่างการสร้างแบรนด์ของสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวของไก่ทอดชื่อดังกัน ว่าเค้ามีที่มาอย่างไร

ต้นกำเนิดของร้านเคเอฟซีเริ่มต้นจาก Colonel Harland D.Sanders
(ผู้พันฮาร์แลนด์ ดี แซนเดอร์ส) ท่านเป็นผู้คิดค้นสูตรไก่ทอดที่มีรสชาติและชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก อีกทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง ร้านเคเอฟซี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2433 ที่เมืองเฮนรี่วิลล์ มลรัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนที่ท่านจะเริ่มธุรกิจร้านอาหาร ท่านได้ผ่านงานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินรถไฟ การเดินเรือกลไฟ นายหน้าขายประกันชีวิต แต่ด้วยความอุตสาหะและความรักในการปรุงอาหาร ท่านได้เปิดร้านอาหารแห่งแรกขึ้นที่ปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งในเมืองคอร์บิน “มลรัฐเคนตั๊กกี้” เพื่อให้บริการแก่ผู้ที่เดินทางผ่านไปมา กิจการร้านอาหารของท่านก็เริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ท่านได้ขยายกิจการไปยังโรงแรมที่ตั้งอยู่อีกฟากของถนนโดยเปิดร้านอาหารขนาด 142 ที่นั่ง
ผู้พันแซนเดอร์ส รักการทำอาหารและชอบทดลองการปรุงแต่งอาหารด้วยเครื่องเทศแปลกๆ ท่านได้ทดลองผสมเครื่องเทศและสมุนไพร 10 ชนิดกับแป้งสาลี คลุกเคล้ากับไก่แล้วนำไปทอด ในวันหนึ่งขณะที่ท่านกำลังเตรียมไก่ทอดเพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว ท่านได้ผสมเครื่องเทศตัวที่ 11 ลงไปในส่วนผสมเดิมนั้น และท่านได้กล่าวว่า “ด้วยส่วนผสมทั้ง 11 ชนิดนี้ ผมได้ค้นพบไก่ทอดที่อร่อยที่สุดเท่าที่ผมเคยกินมา” และสูตรไก่ทอดนี่เอง ที่เป็นสูตรลับที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2478 แซนเดอร์ส ได้รับการยกย่องจากผู้ว่าการรัฐเคนตั๊กกี้ให้เป็น “Kentucky Colonel” ในฐานะที่ร้านอาหารของท่านเป็นร้านอาหารที่มีชื่อเสียงเป็นที่เชิดหน้าชูตาของรัฐเคนตั๊กกี้ ธุรกิจร้านอาหารของท่านเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างดีจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2493 ได้มีการตัดถนนเส้นใหม่ ทำให้ผู้คนใช้เส้นทางเดิมลดน้อยลง คุณลุงจึงตัดสินใจปิดกิจการร้านอาหารของตน

ด้วยคุณภาพของไก่ทอดสูตรลับเฉพาะของคุณลุง ในปี พ.ศ. 2495ผู้พันแซนเดอร์สได้เริ่มธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยเงินลงทุนเพียง105 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ เดินทางไปพร้อมกับสูตรลับ ขั้นตอนและอุปกรณ์ในการทอดไก่ของท่าน เพื่อขายกรรมวิธีการทอดไก่ด้วยสูตรลับของเครื่องเทศแก่เจ้าของร้านอาหารภัตตาคารทั่วสหรัฐอเมริกา ท่านได้แวะเยี่ยมและถ่ายทอดกรรมวิธีการทอดไก่ตามแบบฉบับของท่าน เมื่อเสร็จแล้วท่านก็จะไปนั่งรับประทานอาหารและต้องปฎิบัติสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “Coloneling” เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าของท่านประทับใจในรสชาติไก่ทอดและบริการอันดีเลิศ ท่านขายแนวความคิดนี้เพียง 5 เซ็นต์ เป็นค่าลิขสิทธิ์ของไก่ทุกชิ้นที่ขายไป โดยที่สัญญาส่วนใหญ่จะเป็นเพียงการ ตกลงกันโดยการจับมือเท่านั้น ปี พ.ศ. 2507 มีผู้สนใจเข้าร่วมธุรกิจกับผู้พันแซนเดอร์สกว่า 600 คนทั่วสหรัฐ อเมริกา และแคนาดา

เมื่อขอบข่ายของธุรกิจได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางเกินความสามารถที่ผู้พันแซนเดอร์สจะรองรับได้ ท่านก็ได้ตัดสินใจขายธุรกิจให้กับกลุ่มนักลงทุนโดยการนำของ John Y. Brown Jr. (จอห์น วาย บราวน์ จูเนียร์) อดีตผู้ว่าการรัฐเคนตั๊กกี้ และ Jack Massy (แจ๊ค แมสซี่) จากเมืองแนชวิลล์ มลรัฐเทนเนสซี โดยที่ผู้พันแซนเดอร์ส ยังคงดำรงตำแหน่งเป็น Kentucky Fried Chicken Goodwill Ambassador เพื่อคอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำต่าง ๆ ธุรกิจก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วและเริ่มมีชื่อ (Kentucky Fried Chicken Corporation) ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2512 โดยมีสาขามากกว่า 3,500 แห่งทั่วโลก ในขณะนั้น

เคยถามตัวเองเหมือนกันว่า ทำไมคนไทยเราถึงไม่มีแบรนด์อย่างนี้บ้าง ไก่ทอด ที่ใครๆคิดว่าทอดกินที่บ้านได้ กลายเป็นสินค้าหลัก ที่ทำเงินประเทศมากมายมหาศาล

สินค้าที่มีความเฉพาะอยู่ในตัว จะขายได้เรื่อยๆ นอกจากจะมีคู่แข่งที่มาทีหลัง ยังไงก็ต้องตามเจ้าต้นตำรับอยู่ดี


การสร้างแบรนด์ เป็นเรื่องยาก โจทย์ที่ยากที่สุด คือ ทำอย่างไรสินค้าจึงจะติดตลาด คนส่วนมากจึงถอดใจ และหันไปหาสินค้าที่มีอยู่แล้วในท้องตลาดมาขายต่อ เพื่อทำกำไรเล็กน้อย

ผู้ประกอบการทุกวันนี้ ซื้อสินค้าจากแหล่งเดียวกัน เรื่องรูปแบบก็ไม่ต้องแข่งกันมากมาย เราจะแข่งกันที่ราคา ใครสามารถตั้งราคาได้ต่ำที่สุด หาสินค้าได้ใหม่สุด ก็จะเป็นผู้ชนะไป

แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นผลดีกับผู้ประกอบการเลย บางรายตั้งราคาขายขาดทุนก็มี เพราะอยากได้ลูกค้านั่นเอง โดยลืมมองถึงต้นทุนที่ได้ใช้ไปในการขายสินค้าทั้ง ค่าเช่าที่ , ค่าเดินทางไปซื้อสินค้า , ค่ากินอยู่ระหว่างซื้อสินค้า , ค่าขนส่ง , ค่าสึกหรอของสินค้า ฯลฯ

การขายสินค้าเป็นเรื่องง่าย แต่การขายให้ได้กำไรนั้นเป็นเรื่องยากจริงๆในสังคมปัจจุบัน ยุคที่มีแต่คนขายและคนซื้อไม่มีกำลังซื้อ

เฮ้อ..........ไม่รู้จะเป็นไปอีกนานแค่ไหนนะ ยิ่งคิดก็ยิ่งเหนื่อย


.............................................................




 

Create Date : 28 สิงหาคม 2551
2 comments
Last Update : 28 สิงหาคม 2551 16:14:17 น.
Counter : 1202 Pageviews.

 

ดีมาก ๆเลยครับ

 

โดย: DPU-->MK48 IP: 202.133.135.240 7 กุมภาพันธ์ 2552 21:34:31 น.  

 

ผมจะลองทำแบรนด์เป็นของตัวเองเล็กๆดูครับ

ใครมีอะไรคุยกันได้น่ะครับ

MSN : Fordza_za@hotmail.com

 

โดย: peterford IP: 222.123.16.40 24 พฤษภาคม 2553 10:17:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

jintean
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




สาวช่างฝัน ราศีกันย์ ขยันหาโปรเจคใหม่ๆมาเปลี่ยนแปลงชีวิต ชอบสิ่งท้าทาย ชอบความหลากหลาย รักสัตว์ แต่ไม่รักเด็ก ( เพราะไม่ใช่นางงาม ) ชอบลักษณะของเป็ด ( เพราะทำอะไรได้หลายอย่าง แต่ไม่เก่งสักอย่าง ) ไม่ชอบเผด็จการ ชอบทำอาหาร ( แต่ไม่ค่อยมีฝีมือ ) ถ้าว่าง...เชิญมาคุยกันนะคะ ยินดีต้อนรับค่ะ
New Comments
[Add jintean's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com