ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2555
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
3 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
แคนจีน (笙) . . . พั ฒ น า ไป ไ ก ล ม า ก แ ล้ ว









แคน

คนไทยกับแคนรู้จักคุ้นเคยกันดีมาก โดยเฉพาะในภาคอีสาน

แท้จริงแล้วจะเรียกว่าเป็นดนตรีของ "คนลาว" น่าจะตรงกว่า

แต่ดั้งเดิมมาคนอีสานก็เรียกตนเองว่าเป็นลาว ภาษาก็เป็นภาษาลาว

ดนตรีกับเพลงประจำเผ่าพันธุ์ก็คือ "การลำ" โดยมี "แคน" บรรเลงคลอตลอด

วิวัฒนาการของแคนคงมีมานานเนแล้ว ประวัติตำนานว่าถึงการเลียนเสียงนกสวรรค์โน่น

แคนของเรา (ไทย-ลาว) รักษารูปแบบดั้งเดิมไว้ได้สมบูรณ์มาก

ส่วนประกอบทั้งหมดเป็น...วัสดุธรรมชาติ และ ทำด้วยมือเกือบ 100 %

ไม้ไผ่(ไม้ซาง,ไม้ไผ่เฮี้ย) ใช้ทำเป็น "ลูกแคน"

ไม้จริง (ไม้ประดู่,ไม้แดง,ไม้รัก) ที่เป็นส่วนเป่าลมเข้าทำเป็น "เต้าแคน"

มูลของแมลงชนิดหนึ่ง (แมงน้อย,แมงขี้สูด) ใช้เป็นตัวเชื่อมประสานลูกแคนกับเต้าแคน และปิดรู

โลหะผสมเงินและทองแดง ตีเป็นแผ่นบาง ใช้ทำเป็น "ลิ้นแคน"


ต้องยอมรับว่าเสียงแคนกับหมอลำแบบดั้งเดิม...เป็นเพลงที่ผมคุ้นหูมาตั้งแต่เกิด

ฟังออก ฟังเป็น และซาบซึ้งในความไพเราะอย่างที่สุดตราบจนทุกวันนี้

ไม่อยากให้มีการดัดแปลงไปจากเดิมเลย



แต่ความคิดนี้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อผมได้พบกับนักดนตรีจีน(ไต้หวัน) คนหนึ่ง ในยูทูป

洪紹桓 ... หงเส้าหวน หนุ่มน้อยอายุน่าจะไม่เกิน 20 ปี

สามารถเดี่ยว แคนจีน (笙) ที่ปรับปรุงพัฒนาจนใช้เล่นกับวงออร์เคสตร้าได้



แคนจีน (笙) นั้นมีประวัตินานเนกาเลจริงๆ

หลักฐานทางโบราณคดีเก่าแก่ไปถึงก่อน คศ. 1100 ปี

มีรูปคนเป่าแคนในหลุมฝังศพโบราณ มีรูปวาด รูปสลักบนหิน รูปบนมโหรทึกสำริด

ยังมีการกล่าวถึง 笙 ในคัมภีร์ "ซือจิง (诗经)" ที่อนุมานว่าแต่งก่อน คศ.ราว 700 ปี

พวกฝรั่งเพิ่งรู้จักและนำแคนจีนเข้าไปยังทวีปยุโรปเมื่อ ปี คศ.1740 และ ปี คศ.1777

ปัจจุบันแคนจีนพัฒนามาตั้งแต่ ปี คศ.1950 โดยปรับรูปร่าง จำนวนลูกแคน และคีย์เสียง

มีจำนวนลูกแคนมากขึ้น ตั้งแต่ 24, 26, 32 และ 36

มีคีย์เสียงเทียบได้สูงไปถึงต่ำ เกายินเซิง (高音笙) แคนโซปราโน่,

จุงยินเซิง (中音笙) แคนอัลโต้, ซื่อจุงยินเซิง (次中音笙) แคนเทเนอร์

ตียินเซิง (低音笙) แคนเบสส์

บรรดานักดนตรีที่เล่นแคนจีนทั้งหลายก็คิดค้นพัฒนาไม่หยุดนิ่ง

แต่งเพลงใหม่ เรียบเรียงปรับปรุงเพลงเก่า ทั้งแบบดั้งเดิม และแบบสากล

ที่ไปไกลสุดๆคือสามารถใช้บรรเลงกับวงซิมโฟนีออร์เคสตร้าเล่นดนตรีคลาสสิก

ผลงานออกมากลมกลืนรื่นโสตรประสาท ให้ความไพเราะไปอีกแบบครับ Smiley



ผมทึ่งทั้งคุณภาพของแคนจีน ทั้งทึ่งในความสามารถของนักดนตรีวัยรุ่นคนนี้

เพลงที่เล่นก็นับว่าเป็นเพลง "ยากส์" เพราะแต่งไว้สำหรับนักสีไวโอลินมือชั้นเซียน

นี่เป็นการอภิวัฒน์เครื่องดนตรี "แคนจีน" ที่ก้าวลึกลงไปถึงเท็คนิกการบรรเลงขั้นสูงมาก



เชิญลองฟังดูสิครับ


แคนจีนเล่นเพลงยิปซีแอร์ของ พลาโบ้ เซอราซาเต้
เดี่ยวแคนจีน โดย หงเเส้า-หวน (洪紹桓 อายุ 15 ปี..ขณะนั้น)
เรียบเรียง โดย ฝงไห่-หยวิน (馮海雲)
บรรเลงเปียโนคลอ โดย เซียวหยา-หยวิน (蕭雅芸)








.........................................


หงเเส้า-หวน (洪紹桓)





นักดนตรีหนุ่มคนนี้กำลังศึกษาในสถาบันดนตรีชั้นสูงคือ
มหาวิทยาลัยศิลปกรรมไถหนาน (國立臺南藝術大學)
วิชาเอกคือแคนจีน () มีเกียรติบัตรและรางวัลการันตี
ในฝีมือ-ฝีปากว่า...เป่าแคนแสนเสนาะไพเราะแสนขยัน
นอกจากดนตรีแล้วยังชอบขับมอเตอร์ไซคล์แบบเด็กวัยรุ่น
ใช้เวลาว่างไปบรรเลงเปิดหมวกตามแหล่งที่มีนักท่องเที่ยว
เป็นทั้งการฝึกฝน แสดงออก และหาลำไพ่ใช้สอยอีกทางหนึ่ง
คิดว่าเขาจะเป็นนักดนตรีที่เชี่ยวชาญในด้านแคนจีนระดับครูแน่นอน






..........................................



มีให้ฟังอีกคลิปเป็นการบรรเลงแบบดั้งเดิม
เพลงนี้แต่งขึ้นใหม่เมื่อปี คศ.1956 สำหรับใช้เดี่ยวแคนจีน
ชื่อเพลง "พญาหงส์คู่สยายปีกร่อนบิน (鳳凰展翅)"
บรรเลงโดย หยางซินหยวี (楊心瑜)





..........................


ลองฟังแคนแบบดั้งเดิมเปรียบเทียบดูครับ
คลิปนี้เป็นการเป่าแคนโชว์แขกต่างชาติที่กุ้ยหลิน
ฟังดีๆออกแนว "เต้ย" ของอีสานบ้านเฮาแทรกแซมอยู่ครับ



ขอบคุณ You Tube ที่นำเพลงไพเราะมาสู่เราเสมอมา




......................................



ผมเคยฟังการบรรเลงแบบปรับปรุงพัฒนาของเครื่องดนตรีไทยหลายครั้ง

เช่น เดี่ยวจะเข้ผสมออร์เคสตร้า ตลอดจนมีผู้ทดลองผสม ระนาดบ้าง ซอบ้าง ฆ้องวงบ้าง

แต่เล่นเป็นเพลงไทย (เดิม) รู้สึกว่าเสียงของเครื่องดนตรีไทยกับของเครื่องสากลนั้น

"ไปกัน" คนละทิศละทาง ไม่เข้ากันสนิทแบบที่ทางจีนเขาทำ



แต่มียุคหนึ่งที่วงเครื่องสายไทยนิยมเอาเครื่องดนตรีชาติอื่นมาผสม

เราเรียกว่า...วงเครื่องสายผสม

เครื่องที่ใช้ผสม เช่น ขิม, ไวโอลิน, เปียโน, และออร์แกน เป็นต้น

การบรรเลงดนตรีไทย (เดิม) แบบนี้ ต้องปรับเสียงให้เข้ากันจนฟังได้สนิทหู

ออร์แกนต้องขยับลิ้น ไวโอลินก็ต้องตั้งเสียงใหม่



ก็เป็นความคิดที่ผมเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ที่พบเห็น

แต่ส่วนลึกแล้ว หัวโบราณอย่างผม...ชอบของดั้งเดิมทั้งหมด

หากอยากจะมีการปรับเปลี่ยน...ก็ขอให้ทำอย่างกลมกลืนกัน ไม่ขัดหู

ต้องยกย่องว่าทางจีน...ทำได้แบบผสานสนิทขั้น "ไร้รอยตะเข็บ" จริงๆ

และผมก็เชื่อว่า...คนไทยเราทำได้ ครับ Smiley








(ปฉลข : รูปประกอบเอามาจากวิกกี้ และเฟสบุ๊คของ หงเส้า-หวน ครับ)

..........................................


ขอบคุณที่แวะมา แล้วเจอกันใหม่

สวัสดีครับ

Smiley Smiley Smiley









Create Date : 03 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2555 2:43:12 น. 27 comments
Counter : 16786 Pageviews.

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง

ไม่เคยเห็นแคนจีนมาก่อนเลยครับ
แต่เชื่อแน่ว่าไม่กี่ปีนี้ น้องคนนี้
จะกลายเป็นนักดนตรีระดับโลกแน่นอน

เวลาเห็นคนจีนเค้าฝึกดนตรีหรือกีฬา
จะรู้สึกทึ่งมากๆ
เค้าฝึกกันตั้งแต่เด็กอย่างเข้มงวดและมีวินัย

เหมือนที่พี่ดิ่งบอกว่าดนตรีไทย
พอประยุกต์กับดนตรีสากลแล้วไม่ค่อยเข้ากัน
ผมเห็นด้วยเลยครับ

ผมว่าเครื่องดนตรีไทยมีระดับเสียงที่ยังไม่ลงตัวกับโน๊ตดนตรีสากล
ด้วยเสียงของเครื่องดนตรีด้วยครับ
ดูไม่ค่อยเข้า

กลายเป็นดนตรีไทยร่วมสมัยที่คุ้นหูที่สุด
ก็ต้องมาจากวงบอยไทยของบรู๊ซ แกสตัน









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา:5:22:51 น.  

 
สวัสดีครับ ทักทาย






โดย: ต้นกล้า อาราดิน วันที่: 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา:11:32:48 น.  

 
เพิ่มเติมข้อมูล :

แคนจีนจะมีลักษณะคล้ายกับแคนน้ำเต้าของลีซู
มากกว่าแคนของชาวอีสานบ้านเฮา






แคนน้ำเต้า “ฟู่วหลูว”
เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นกันของผู้ชายลีซู
ซึ่งจะเล่นในเวลาที่ว่างหรือช่วงประเพณีต่าง ๆ
โดยใช้บริเวณลานวัฒนธรรมชุมชนเป็นสถานที่เล่น
หรือเล่นระหว่างทางไปท่องเที่ยวต่างหมู่บ้าน
เพื่อส่งเสียงให้ผู้คนได้ยิน และก็จะใช้เครื่องดนตรีเป็นสื่อ
เพื่อแสดงความคิดถึงต่อกัน จนทำให้เครื่องดนตรีเป็น
ที่นิยม และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

วัสดุอุปกรณ์
1.ลูกน้ำเต้า
2.ไม้เฮี้ย
3.ขี้ผึ้ง

วิธีการทำ
1.นำลูกน้ำเต้าที่แห้งแล้วมาเจาะรูทั้ง 2 ข้าง
ของลูกน้ำเต้า
2.เอาเมล็ดน้ำเต้าข้างในออกให้หมด
3.ตัดไม้เฮี้ยที่แห้งแล้ว 5 อันสั้นยาวตามลำดับ
แต่อันที่ยาวที่สุดต้องยาวเท่ากัน 2 อัน
4.นำไม้ที่ตัดแล้วมาใส่ในลูกน้ำเต้าที่เจาะรูไว้
5.นำขี้ผึ้งมาปิดรูตรงที่ใส่ไม้ไว้เพื่อให้แน่น

(จาก //www.hilltribe.org/thai/lisu/lisu-music.php)


โดย: Dingtech วันที่: 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:04:23 น.  

 
แคนน้ำเต้าของอาข่า




แคน (หละเจ่)
เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นกันของผู้ชายอาข่า
ซึ่งจะเล่นในเวลาที่ว่างหรือช่วงประเพณีต่าง ๆ
โดยใช้บริเวณลานวัฒนธรรมชุมชนเป็นสถานที่เล่น
หรือเล่นระหว่างทางไปท่องเที่ยวต่างหมู่บ้าน
เพื่อส่งเสียงให้ผู้คนได้ยิน
เครื่องแคนของอาข่ายังไม่พบว่าเกิดขึ้นในช่วงใด
หรือมีตำนานกล่าวว่าอย่างไร จากที่ได้สอบถามข้อมูลกับ
ผู้เฒ่าผู้แก่ของอาข่าได้ความว่า เมื่อก่อนชาวอาข่าทำ
แคนขึ้นมาเอง แต่ไม่สามารถที่จะเล่นได้เพราะไม่รู้จังหวะ
และวิธีการเป่า แต่เนื่องจากคนอาข่าสื่อสารกับผีได้
ซึ่งผีสามารถที่จะเป่าแคนได้ ชาวอาข่าจึงเรียนรู้จังหวะ
และวิธีการเป่าแคนมาจากผี ซึ่งความรู้นั้นจึงตกทอดกัน
มาจนถึงปัจจุบัน

(จาก //www.hilltribe.org/thai/akha/akha-music.php)


โดย: Dingtech วันที่: 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:39:35 น.  

 
แคนน้ำเต้าของล่าหู่




หน่อ คือ แคน
ใช้เป่าในช่วงเต้นรำภายในหอแหย่ หรือในการเต้นรำฉลองปีใหม่กลางหมู่บ้าน

(จาก //www.hilltribe.org/thai/lahu/lahu-identity.php)


โดย: Dingtech วันที่: 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:44:45 น.  

 
แคนของม้ง




เป็นภาษาม้ง อ่านว่า เฆ่ง หรือ qeng ซึ่งแปลว่า แคน
หรือ mouth organ
เฆ่ง หรือแคนเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากลำไม้ไผ่
และไม้เนื้อแข็ง
มีปรากฏในเอเชียมากว่า 3,000 ปีแล้ว
และถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง


โดย: Dingtech วันที่: 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:50:02 น.  

 
สมัยเด็ก ผมเคยเล่นระนาดทุ้มครับครูดิ่ง
ซ้อมเพลงไทยเดิมบ่อยๆ

เคยนั่งคิดว่าเราจะแต่งเพลงไทยเดิม เพลงใหม่ๆขึ้นมาบ้างได้มั้ย

ตอนเรียนดนตรีไทย ก็ซ้อมไปเฉพาะภาคปฏิบัติ แต่ภาคทฤษฎีแล้ว ผมเรียนไม่รู้เรื่องเลยครับ สงสัยจะไร้พรสวรรค์




อ่อ เรื่องหนังสั้นขอติดครูไว้ก่อนนะครับ ช่วงนี้ลูกชายเพิ่งเปิดเทอมเลยวุ่นๆอยู่ครับ


โดย: Polarbee วันที่: 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:55:02 น.  

 
แคนของเผ่ามลาบรี




ชายมลาบรีกำลังเป่าแคน โดยแคนของชาวมลาบรี
เป็นแคนแบบลาวหรืออีสาน

(จาก //www.cesd.soc.cmu.ac.th/2012/collection.php?cmd=group:MB&id=1317)


โดย: Dingtech วันที่: 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:57:47 น.  

 
พ่อก๋าไม่วีไอพีเลยครับพี่ดิ่ง 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 พฤศจิกายน 2555 เวลา:21:35:55 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 พฤศจิกายน 2555 เวลา:6:09:53 น.  

 
หมิงหมิงจ้อไม่หยุด ฉุดไม่อยุ่ครับพี่ดิ่ง 555
ผมเลยยังไม่กล้าพอไปโรงหนังเพื่อดูหนังเลยครับ
กลัวถามจนเก้าอี้ข้างๆไม่ได้ดูครับ 555

ครั้นจะไม่ให้ถามก็ไม่ได้
ก็เด็กมันอยากรู้นะครับ 5555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 พฤศจิกายน 2555 เวลา:8:01:17 น.  

 
ครูคะ หนูว่าส่วนหนึ่งเพราะเครื่องดนตรีไทย คีย์เสียงมันไม่ตรงกับโน้ตสากลรึเปล่า เช่น โน้ตตัวที เสียงในดนตรีไทยก็ไม่เท่ากับ "ที" สากล จำไม่ได้ว่าต่ำหรือสูงกว่าเดิม และส่วนหนึ่งเพราะว่าไม่ได้มีการเอามาmixedกันให้ดีเท่าไหร่รึเปล่าคะ

ที่เห็นเอามารวมกันแล้วเพราะมาก ก็คือเพลงที่ฟังในเรื่อง "โหมโรง" ที่เอาเปียโนมาเล่นคู่กับระนาดเอก เพราะมากกก


โดย: หวงหลิง IP: 61.90.29.94 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:49:35 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา:6:13:43 น.  

 
เคยมีเพื่อนฝรั่งข้างบ้านเป่าแคนด้วยค่ะ เห็นเขาแล้วรู้สึกว่าดูเขาจะ"อิน"แคนกว่าแป๋วมาก เพื่อนไปอยู่อีสานมาหลายปีค่ะ

วงมโหรีที่โรงเรียนก็มีไวโอลินด้วยนะคะ ฟังดูตอนนั้นก็เพราะดี คิดว่าเครื่องดนตรีฝรั่งมาเข้าวงไทยพอไปได้ แต่เครื่องดนตรีไทยบรรเลงเพลงฝรั่งบางทียังขัดๆหูอยู่ แต่คลิปของพี่เนียนมากจริงๆค่ะ

ขอบคุณพี่ที่แวะไปยินดีหน้านั้นด้วยนะคะ


โดย: SevenDaffodils วันที่: 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา:13:34:36 น.  

 
วันนี้ผมอัพบล๊อกใหม่ เที่ยวภาคเหนือต่อ ดูร่มรื่น
เย็นสบายตา.

เข้าผ่าน IE หรือ ไฟว์ฟอกซ์ สบาย แต่ถ้าผ่านอากู๋
โครม ไม่ได้ครับ มีป้ายห้ามไว้...เพื่อนหลายคนว่า
มันไม่ติดใคร เพียงแต่มีป้ายหลอกไว้ครับ

ถ้าว่างเชิญนะครับ

เมื่อวันเสาร์อาทิตย์ แกงค์พวกเราอยู่ นครนายก ไปกิน นอน แหะ ๆ ส่วนใหญ่กิน
กันมากกว่า หนุก นั่งนอนเม้าส์กันอร่อยพอ ๆ กับอาหารที่ บ่งบ๊ง กะ คุณโอ เนินน้ำ

หวัดดีครับครูดิ่ง แคนของภาคอิสาณผมก็ชอบฟัง
เป็นเสียงดนตรีที่ทำให้สนุกสนาน ยังไม่เคยเห็น
หรือคนเป่าแคนเพลงเศร้าเลยครับ

ผมคุยกับคุณสิน เป็นเพื่อนกับหมอเมืองพร้าวเช่น
เดียวกับครูดิ่ง คงเรียนที่เดียวกันหรือเปล่าครับ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา:14:49:55 น.  

 
เสียงแคนดังในอุษาคเนย์มานานกว่า3000ปีแล้วและกำลังจะเป็นสิ่งตกหล่นทางประวัติศาสตร์และชนชาติ เพิ่งทราบว่ามีวิวัฒนาการเป็นรุ่นที่5แล้ว ขอบคุณเสียงแคนทีไพเราะเสนาะหูครับ


โดย: surya21 (surya21 ) วันที่: 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา:15:21:29 น.  

 
เข้าใจว่าจนถึง ณ บัดนี้
ผมคงเป็นคนเดียวในคณะ
ที่ส่งธีสิสเป็นการ์ตูนครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 พฤศจิกายน 2555 เวลา:19:00:20 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 พฤศจิกายน 2555 เวลา:6:25:12 น.  

 
ผมนั่งอ่านหนังสือในห้องน้ำ
ก็พบคำสอนในเรื่องของการมีปัญญา

พีะท่านก็บอกว่า
ต้องให้ปัญญาแก่พระและฆราวาสไปพร้อมๆกัน

ถ้าพระสอนผิด
ศิษย์ก็จำผิดๆไปใช้กับชีวิตตนเอง
สังคมก็แย่ตามไปด้วย



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 พฤศจิกายน 2555 เวลา:19:54:44 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง








โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 พฤศจิกายน 2555 เวลา:6:22:57 น.  

 
เห็นจะจริงอย่างพี่ดิ่งว่านะครับ
ผมเคยเดินห้างเข้าห้องน้ำ
ผู้ชายกำลังตบแป้งเติมลิปครับ 555

โลกเปลี่ยนไปแล้ว




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:32:39 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง









โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา:6:19:05 น.  

 
เพิ่งเคยเห็นแคนจีน ขอบคุณที่นำข้อมูลมาฝากค่ะ


โดย: sawkitty วันที่: 8 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:31:07 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ดิ่ง







โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา:5:38:02 น.  

 
ท่าทางจะเป่ายากน่าดู
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .


โดย: warit วันที่: 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา:10:49:36 น.  

 
ขอบคุณครูดิ่งที่แนะนำเครื่องดนตรีจีนให้รู้จักนะคะ เพิ่งรู้ว่าจีนก็มีแคนด้วย แต่ดูลักษณะแล้วน่าจะซับซ้อนและเล่นยากกว่า ฟังเสียงแล้วเพราะดีจังค่ะ

เห็นน้องหงเล่นแคนจีนแล้วทึ่งจัดเลยค่ะ อายุน้อยแต่เก่งมหัศจรรย์ อนาคตต้องเป็นนักดนตรีระดับโลกแน่ ๆ


โดย: haiku วันที่: 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา:22:35:54 น.  

 
พอได้ข่าวว่าครูดิ่งไม่ค่อยสบาย เลยรีบแวะมาเยี่ยม และให้กำลังใจครับ



ท่าทางครูดิ่งจะกรำงานหนักและเครียดอยู่นะครับเนี่ย
ไม่รู้ว่าครูดิ่งมีเด็กปั้นมาช่วยงานอยู่หรือเปล่าครับ
จะได้แบ่งเบาภาระงานที่มีได้บ้าง

ผมเองก็กลัวโรคหัวใจเหมือนกัน ช่วงก่อนหน้านี้ก็เจ็บหน้าอกบ่อยๆ ถูกเรียกให้ไปตรวจคลื่นหัวใจแต่ก็ยังไม่ไป แต่พักหลังพอได้พักผ่อน และออกกำลังกายก็ดีขึ้นครับ

ผมไม่รู้ว่าจะพูดให้กำลังใจครูแบบไหนดี
จะพูดว่า"สู้ต่อไปทาเคชิ" ก็กลัวครูจะโหมงานหนักไปซะอีก



จะพูดว่า"ปล่อยวางบ้างครับครู" ก็กลัวว่างานที่ครูต้องทำมันสำคัญมากๆจนปล่อยวางไม่ได้ คงต้องหาตัวช่วยบ้างนะครับครู

พรุ่งนี้ครูต้องออกเดินทางแล้ว พักผ่อนให้เต็มที่นะครับ


ปล. คนสูงวัยที่บ้านมักบ่นว่า ไม่ไหวแล้ว อยากหาคนช่วย เหนื่อย พอจะช่วยกลับไล่กลับออกมาซะอย่างนั้น แล้วโชว์เดี่ยวตลอด ผมล่ะกลุ้มใจ อยากบอกท่านว่า ท่านเลี้ยงผมมาขนาดนี้ ส่งผมเรียนมาขนาดนี้ เชื่อใจผมบ้างเถิด ให้ผมจัดการบ้าง แม้ในตอนแรกอาจจะเก้ๆกังๆบ้างค่อยๆฝึกกันไป แต่พอไปเรื่อยๆผมก็จะชำนาญขึ้น แบ่งเบาภาระท่านได้แน่นอน

พักผ่อนบ้างนะครับครู


โดย: Polarbee วันที่: 9 พฤศจิกายน 2555 เวลา:22:41:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.