ความจริง-ความดี-ความงาม.........พยายาม-ส่งมอบ-ให้ปวงชน <<<<<<<<<<<<<<<<<
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
13 มกราคม 2553
 
All Blogs
 

ความหมายภายใต้ตัวอักษรจีนโบราณ : ตราประทับจีน

การนฤมิตสร้างสรรค์จิตรกรรมจีนนั้น ตามความนิยมมาแต่เก่าก่อน
จะต้องประกอบด้วย "ตรีสัมบูรณ์" คือ ความสมบูรณ์สามอย่าง
ทั้งสามอย่างต้อง สอดคล้องกลมกลืน กันอย่างเหมาะสม


ถ้าเทียบเป็นเสียงดนตรีก็ต้องบอกว่ามี "ฮาร์โมนี่"

คนจีนเรียกว่า "เหอ" (和) หรือ "ฮั้ว" ในภาษาแต้จิ๋ว

คนญี่ปุ่นเรียกว่า "วะ"


คำนี้เป็นคำที่มีความหมายเชิงบวก แต่คนไทยกลับเอาไปกล่าวถึงเชิงลบ

เช่น ฮั้วประมูล (คือสมคบกันโกงในการค้ากับทางราชการ)






แล้วสามอย่างนั้นมีอะไรบ้าง

1. ตัวรูปเขียน
2. ตัวอักษร อาจเกี่ยวข้องกับรูป อาจเป็นบทกวี อาจเป็นบันทึกกาลสมัย
อาจเป็นบันทึกสถานที่ อาจเป็นข้อวิจารณ์ ชื่อผู้วาด ชื่อผู้เขียน
3. ตราประทับ


นี่เป็นรายละเอียดในส่วนรูปเขียน
ไม่นับสไตล์การเข้าม้วนแบบต่างๆ




สำหรับเกี่ยวกับภาพรวมของตราประทับ มีคนเขียนไว้พอประมาณแล้ว
ไม่ขอกล่าวซ้ำ ให้หาอ่านได้ที่บล็อกคุณมามิยะ คุณไฮกุ เป็นต้น



ความงาม และ ความหมาย ของศิลปะจีน ญี่ปุ่น เกาหลี มุ่งเน้นที่
"รสนิยม"
ผมเองค่อนข้างชมชอบในคติแบบญี่ปุ่นในแง่ "วะบิ" "ซะบิ"
งามแบบ ลึกลับ เก่าคร่ำ ไม่เหมือนเสร็จ ยังขาดๆอยู่


ลองหาดูในตราประทับละกัน

ดูดีๆ ดูมากๆ ดูบ่อยๆ............แล้วจะเห็น สัมผัสได้ และรู้สึก



แค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวจะเพ้อเจ้อเกินควร


.....................................


เชิญชมภาพครับ



ติง เซินโจว (丁 身 洲 : ชือแซ่) แกะเมื่อปี 2524



หุยคงไจ (回 空 齋 ชื่อสตูดิโอ : หวนคืนสู่ความว่างเปล่า)
บ้านอยู่ห้วยขวาง (เสียงใกล้ หุยคง) แกะเมื่อปี 2524



สี่จู๋ (洗 竹 ฉายา : อาบน้ำต้นไผ่) แกะเมื่อปี 2524



ซานสุ่ย (山 水 ภูเขาแม่น้ำ : คือทิวทัศน์) แกะเมื่อปี 2524



เซินโจว (身 洲 : ชื่อ) แกะเมื่อปี 2525



กู่เหริน (古 人 ฉายา : คนโบราณ) แกะเมื่อ 20 มิย. 2525



ติงเซินโจว (丁 身 洲 : ชื่อแซ่) แกะเมื่อ 18 มิย. 2525



กู่ซง (古 松 ฉายา : สนโบราณ)
เสียงใกล้คำว่า กุศล แกะเมื่อ 20 มิย. 2525




โจว (洲 : ชื่อ) แกะเมื่อปี 2525



ซานจื่อฟู่ (三 子 父 ฉายา : พ่อของซานจื่อ)
แกะเมื่อ 3 กพ. 2531



ย่างยิงเค่อ (養 鷹 客 ฉายา : อาคันตุกะเลี้ยงเหยี่ยว)
แกะเมื่อ 4 กพ. 2531



ติงจวีซื่อ (丁 居 士 ฉายา : ประสกติง) แกะเมื่อ 6 กพ. 2531



ตุงเสียอินจื้อ (東 邪 音 至 : ห้องของ "เสียงภูตบูรพา" - ชื่อกู่ฉิน)
แกะเมื่อ 6 กพ. 2531



ตรารูปภาพ (ฉายา : คนเลี้ยงเหยี่ยว) แกะเมื่อ 6 กพ. 2531



หลานหยวนจุง (蘭 園 中 บันทึกสถานที่ : กลางสวนกล้วยไม้)
แกะเมื่อ 9 มีค. 2531



ฉินเล่อ (琴 樂 ฉายา : รื่นรมย์กู่ฉิน) แกะเมื่อ 11 กพ. 2531



สี่จู๋ (洗 竹 ฉายา : อาบน้ำต้นไผ่) แกะเมื่อ 13 มีค. 2531



ฉีสือ (奇 石 ฉายา : หินประหลาด) แกะเมื่อ มค. 2532



หวู (無 : ไร้, นิร ) แกะเมื่อ มค. 2532



กู่เหรินจือซู่ (古 人 之 鉥 ฉายา : ตราของคนโบราณ)
แกะเมื่อ 30 มีค. 2532



ติงซื่อ (丁 氏 : สกุลติง) แกะมื่อ 9 เมย. 2532



ติงเซินเจียนยิ่น (丁 身 堅 印 ตราชื่อพี่ชาย : แกะให้เป็นที่ระลึก)
แกะเมื่อ 13 เมย. 2532



ตู๋เต้า (毒 道 มรรคาแห่งพิษ : บันทึกเมื่อผมเริ่มศึกษาพิษวิทยา)
แกะเมื่อ 11 พค. 2532







จะเห็นว่าผมใช้ตราประทับสื่อถึงสิ่งต่างๆได้ไม่จำกัด

เส้นจะขาดๆแหว่งๆ กรอบจะขรุขระ เส้นหนาบ้าง บางบ้าง ไม่สม่ำเสมอ


ก็คือ วะบิ ซะบิ นั่นเอง


ในความสัมบูรณ์ มีสิ่งที่ไม่สมบูรณ์

สิ่งที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดความสัมบูรณ์




เครื่องมือของนักแกะตราประทับ คือ สิ่วเหล็กปลายคมขนาดต่างๆ

จึงเรียกกันว่า "พู่กันเหล็ก"


..................................................



ของแถม

ลองดูที่ท้องกู่ฉิน "เสียงภูตบูรพา" ตัวนี้
(ทำขึ้นที่กรุงเทพฯในราวปี 2532 ดูแบบจากกู่ฉินสมัยราชวงศ์ถัง)

มีอักษรจีน และตรา แกะแล้วปิดทองคำเปลว










東 邪 音 (เสียงภูตบูรพา)








ตราที่โปรไฟล์ซึ่งเป็นตราแกะปิดทองคำเปลว อ่านว่า
หุยคงจือเป่า (回 空 之 寳 : สิ่งล้ำค่าของหุยคงไจ)



จะล้ำค่าแค่ไหน ก็ ล้วนต้อง "หวนคืนสู่ความว่างเปล่า"


อย่าไปยึดมั่นถือมั่นครับ






โลกแลโลก วนเวียน แปรเปลี่ยนผัน

จากอุบัติ แล้วพลัน เสื่อมสลาย

ดูดุจ ฟองน้ำผุด ในธารพราย

เปล่งประกาย.....แตกวับ.....ลับไป





***********************************



ฟังเพลงกู่ฉินผสมเซียว สักเพลงนะครับ
เป็นเพลงกู่ฉินเพลงแรกที่ผมได้ฟัง....แล้วก็ต้องมนต์สะกด
รักทันที................ช่างใจง่ายจริงจริงเรา






ขอบคุณ You Tube ที่นำเพลงแสนไพเราะมาแบ่งปัน










 

Create Date : 13 มกราคม 2553
34 comments
Last Update : 25 พฤษภาคม 2553 21:03:13 น.
Counter : 14645 Pageviews.

 

ใช่เลยครับ
เสน่ห์ของตราประทับคือความไม่สมบูรณ์นี่แหละ

ผมเคยพยายามทำภาพเลียนแบบตราประทับ
แล้วก็ต้องมากร่อนเส้นขอบเอาเอง
รู้สึกว่ายากเหมือนกันครับ
จะเลียนแบบยังไงก็เทียบกับของจริงไม่ได้

อีกอย่างคือคล้ายๆ กับงานประเภท woodcut
ที่ใช้เพียงความทึบและความโปร่งเล่าเรื่องราว
ทำออกมาให้ลงตัวยากเหมือนกันครับ

 

โดย: พลทหารไรอัน 14 มกราคม 2553 0:17:10 น.  

 

ขอบคุณคุณเจฟมากครับ

สำหรับ "ความทึบและความโปร่ง"

จริงๆแล้วคำพูดไม่กี่คำก็สามารถสื่ออะไรได้มหาศาล

ชักอยากดูชมตราประทับของคุณขึ้นมาแล้ว if u pls

 

โดย: Dingtech 14 มกราคม 2553 8:23:23 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปทักทายนะคะ อาจไม่ค่อยเข้าใจเรื่องตัวอักษรจีนซักเท่าไร แต่มีเพื่อนเป็นคนจึนคนนึงที่สามารถเล่นเครื่องดนตรีที่คุณผู้หญิงเล่นได้เก่งมากๆ เวลาไปเที่ยวที่บ้านเธอจะชอบเล่นให้ฟังเพราะมากๆ คะ

 

โดย: คนชอบอ่านผ่านมาทัก 14 มกราคม 2553 23:04:43 น.  

 

แป๋วอยากรู้เรื่องตราประทับนี่มานานแล้วค่ะ
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

แป๋วเห็นมีคุณกะว่าก๋านี่ล่ะใช้ตราประทับเยอะ
น่าจะไปฝากคำถามว่าคุณก๋าแกะเองหรือเปล่า

คุณ dingtech แกะเองทั้งหมดที่เอารูปมาฝากเลยหรือคะ
แป๋วชอบหลายๆอันเลยค่ะ

 

โดย: SevenDaffodils 16 มกราคม 2553 6:41:01 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับ

บล้อกคุณน่าสนใจมากเลยครับ
ผมเองก็ชอบทำตราประทับครับ
แกะไว้หลายอันเลย

ปล. ตอบพี่แป๋ว

ผมจ้างแกะครับ 5555
ไม่สามารถครับ



ขออนุญาตแอด
และเข้ามาขอความรู้ด้วยนะครับ








 

โดย: กะว่าก๋า 16 มกราคม 2553 8:07:30 น.  

 

ปล.แกะตราประทับเองด้วย
สุดยอดมากๆเลยครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 16 มกราคม 2553 8:09:42 น.  

 

คุณแป๋ว, คุณก๋า ครับ

ขอบคุณที่เม้นท์ ขอตอบคำถาม -

ไม่ได้แกะเองทั้งหมดครับ

อันแรกเป็นเพื่อนชาวจีนแกะให้เป็นที่ระลึก

อย่างที่บอกครับ ถ้าเขียนรูปจีนจำเป็นต้องมีตราประทับ

ของคุณก๋าที่ทำเป็นภาษาไทย กับลายมือ

หรือตัวอักษร หรือรูปภาพ

ผมว่าผสมกลมกลืนกันดีเยี่ยมเลยครับ

ยากเหมือนกันที่จะให้ลงตัวอย่างคุณเจฟว่า

ผมเลยใช้แต่แบบ traditional มาตลอด





 

โดย: Dingtech 16 มกราคม 2553 16:54:48 น.  

 

ดีจัง ได้ความรู้ดี ๆ อีกแล้ว เวลาดูภาพเขียนจีนก็มักจะเห็นความสมบูรณ์ทั้งสาม แต่เพิ่งจะรู้ว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก

ตะก่อนไม่รู้จักคำว่า วะบิ ซะบิ เพิ่งมาได้อ่านหนังสือชื่อเดียวกัน เป็นหนังสือแปล เขียนโดยเลนนาร์ด โคเรน อ่านแล้วชอบมาก เนื้อหาดี รูปเล่มออกแบบได้สวยมาก มีความเป็นวะบิ ซะบิแบบเต็ม ๆ เลยค่ะ

เห็นตราประทับแล้วชอบจัง ตัวอักษรสวยแบบมีเอกลักษณ์ดี ตัวหนังสือใต้ท้องกู่ฉินก็สวยมากค่ะ

ว่าจะถามหลายทีแล้วก็ลืม ชื่อของคุณdintech หมายถึงอะไรคะ

 

โดย: haiku 17 มกราคม 2553 0:11:40 น.  

 

อืมส์ ชอบคำกลอนจังเลยค่ะ

 

โดย: วนิส 17 มกราคม 2553 9:52:55 น.  

 

หวัดดีตอนสายครับ

คุณไฮกุถามที่มาของชื่อ ง่ายมาก
พยางค์แรกเป็นแซ่ในภาษาจีน ที่บังเอิญไปพ้องๆกับชื่อเล่นที่เพื่อนเรียก
พยางค์ที่สองเป็นคำแรกของนามสกุลภาษาไทย

เออแปลกดีนะ...ทำไมบล็อกล่าสุดของเรามาพูดถึง วะบิ - ซะบิ โดยไม่ได้นัดหมาย


คุณวนิสครับ กลอนนี้มีแรงบันดาลใจจากคำอุปมาในพระสูตรมหายาน(วัชรเฉทิกปรัชญาปารมิตาสูตร) ที่กล่าวถึงสิ่งปรุงแต่ง(ธรรมารมณ์)เป็นเหมือน ความฝัน พรายน้ำ สายฟ้า ภูติหลอน พยับหมอก ล้วนดำรงอยู่ครู่เดียวก็ดับไป

ดูเหมือนจริง แต่ไม่จริง


 

โดย: Dingtech 17 มกราคม 2553 11:12:42 น.  

 

ได้ความรู้จังเลยคะ

ตราประทับแบบนี้จะเป็นแบบเดียวกับที่ประทับให้ไปรษณีย์เวลามีการส่งจดหมายรึป่าวคะ

 

โดย: จอมมารขาวดำ 18 มกราคม 2553 9:01:24 น.  

 



คุณจอมมารครับ...

คล้ายในผลลัพท์ คือตราที่ออกมา

ไม่คล้ายในวัสดุที่ใช้ทำตราประทับ

ไปรษณีย์มักใช้เป็นตรายาง หรือโลหะ ที่ใช้สารเคมีกัดกร่อน เหมือนที่เราใช้กันในสำนักงาน

ของจีนที่ใช้ในงานศิลปะ มักนิยมใช้หินสบู่ หินคว้อซ ไม้เนื้อแข็ง หรือโลหะหล่อ(สมัยโบราณ) วิธีการแกะใช้สิ่ว เป็นงาน handmade ปัจจุบันมีเครื่องมือพิเศษช่วยเป็นเครื่องเจียร์คล้ายๆหัวกรอของหมอฟัน สำหรับพวกมือาชีพแกะเอาเร็วให้นักท่องเที่ยว ส่วนตัวผมชอบแบบเก่าครับ

 

โดย: Dingtech 18 มกราคม 2553 12:27:33 น.  

 

แป๋วไปลองถามอากู๋ดูเรื่องตราประทับค่ะ
เลยไปเจอเว็ปที่ให้ทำตราประทับเป็น png ด้วย
ลองเล่นสนุกไปเลย

ตอนแวะที่สนามบินญี่ปุน มีร้านนึงขายตราประทับอันจิ๋วเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษด้วยค่ะ ไม่สวยเท่าของจีนแต่ก็น่ารักมากเลย อันนึงแพงมาก ตอนแรกจะซื้อสองอันเป็นชื่อย่อของตัวเอง แต่ไม่ไหว เลยตัดใจซื้อตัว S มาตัวเดียว เอาไว้ทำบล็อก อีกอย่างคนข้างๆชื่อขึ้นต้นด้วยตัว S เหมือนกัน เผื่อเขาอยากจะใช้ ยังไม่ได้ลองใช้เสียทีค่ะ

เคยเห็นคำว่าวะบิ - ซะบิครั้งแรกจากบล็อกคุณกะว่าก๋า
พอกลับไปเยี่ยมบ้าน เจอหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้
เลยซื้อมา อ่านไปได้หน่อยหนึ่งแล้ว ยังไม่มีเวลาอ่านต่ออีกค่ะ
แต่เท่าที่อ่าน ชอบศิลปะแบบนี้นะคะ

แป๋วมีคำถามเรื่องชื่อเหมือนคุณไฮกุเลยค่ะ
มีคนถามแทนแล้ว เลยได้อ่านคำตอบสบายไป

ปล. ขอบคุณที่ไปชมสวนที่บ้านค่ะ
ถามไถ่ทักทายจริงๆ
ต้องบอกว่าอัพบล็อกในสวนรักเพราะไม่สบาย
หาอะไรที่ต้องใช้สมาธิทำจะได้ลืมๆเรื่องป่วยๆไปเสียค่ะ
วันนี้ดีขึ้นหน่อยนึงแล้ว

 

โดย: SevenDaffodils 19 มกราคม 2553 0:37:31 น.  

 

หวัดดีตอนเช้ามืดครับคุณแป๋ว

ขอให้หายป่วยเร็วๆนะครับ

เห็นชื่อคุณแล้วก็นึกถึงเวิร์ดสเวอธ ตอนเขาร่อนเป็นก้อนเมฆ แล้วก็มองลงมาที่ทุ่งแดฟโฟดิลริมชายน้ำ...
โมแรนติคมากเลยครับ....

ดอกไม้นี้ผมชอบมาก คนจีนเรียกดอกจุ๊ยเซียน
เคยเห็นที่ เจ เจ คยขายเรียกว่านเทวดาน้ำ
นึกถึงนาร์ซิสซัสเฝ้าแต่หลงโฉมตัวเอง มองดูเงาไม่ไปไหน.........ตอนเด็กอยู่ ผมก็เคยซิสซี่แบบนี้อะ

ขอบคุณที่แวะมาทักทายคัฟ


 

โดย: Dingtech 19 มกราคม 2553 5:47:29 น.  

 

//www.silkqin.com/11misc/lindquist.htm

รู้สึกหน้าแตกครับ จำชื่อคนเขียนผิด

ว่าแต่เมนต์ชัชหายไปไหนหมดคราบบ

 

โดย: ชัช (กู่ฉิน ) 19 มกราคม 2553 6:58:17 น.  

 

ดีจัง ได้อ่านเกี่ยวกับฉินอีกเล่มแล้ว

......KM ของฝรั่งนี่มันeffectiveดีจริงๆ

ช่างค้น ช่างเขียน ช่างนำเสนอ

เม้นท์ชัชไม่หายครับ เก็บไว้ที่พิเศษ 555

 

โดย: Dingtech 19 มกราคม 2553 8:18:45 น.  

 

วันก่อนแวะมา
กล่องเม้นท์หายครับ
เลยไม่ได้ทักทาย

วันนี้กล่องเม้นท์มาเรียบร้อยแล้ว อิอิอิ

ขอบคุณสำหรับคำชมเรื่องบล้อกของผมด้วยนะครับ






 

โดย: กะว่าก๋า 19 มกราคม 2553 14:01:44 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับ





 

โดย: กะว่าก๋า 20 มกราคม 2553 6:40:04 น.  

 

สำหรับสังคมบางแห่ง
การแบ่งชนชั้นคงจำเป็น
เพราะมิเช่นนั้น
ผู้ปกครองอาจจะลำบากในการปกครอง

ศาสนาพุทธเป็นรศาสนาที่ไม่มีชั้นวรรณะ
จึงอยู่ไม่ไ่ด้ในประเทศเหล่านี้

ที่สุดแล้วมันขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้นำนะครับ

ผมคิดว่าระบบการปกครองไม่สำคัญเท่ากับคุณธรรมของผู้ปกครอง

ถ้าต่างคนต่างรู้หน้าที่
แล้วทำตามหน้าที่ของตน
สังคมคงจะสงบสุข

ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองแบบใด


 

โดย: กะว่าก๋า 20 มกราคม 2553 12:37:20 น.  

 

ชอบ หวนคืนสู่ความว่างเปล่า
ชื่อนี้
หวนคืนสู่ความว่างเปล่า...
อา...

 

โดย: ม่วนน้อย IP: 125.24.226.7 21 มกราคม 2553 23:52:46 น.  

 

มาชมค่ะ มีตราประทับกับเค้าเหมือนกัน ได้มาตอนไปเที่ยวเมืองจีนค่ะ เก็บมานาน จนเริ่มเขียนโปสการ์ด เลยเอาเป็นตราประจำตัวไป

 

โดย: ก้าวไปตามใจฝัน 22 มกราคม 2553 15:01:46 น.  

 

ดิฉันสนใจตราประทับ ตั้งแต่เห็นของพี่ก๋าแล้วค่ะ

สมัยสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ ทรงพระอักษรจีน ดิฉันก็ชื่นชม มากค่ะ

ก่อนนี้ แลกเปลี่ยนแสตมป์กับเพื่อนจีน เขาประทับมามุมซองทุกครั้ง ตามประสาเด็กชั้นประถม ก็ไม่เข้าใจค่ะ ตัดแต่แสตมป์แช่น้ำ แล้วทิ้งซองไป เพราะจำนวนเยอะมาก

ตอนนี้เพื่อนแต่งงานไปแล้ว และไม่สนใจแลกเปลี่ยนกับเพื่อนเด็กอีกต่อไปค่ะ


เห็นเพื่อนอีกคน ทำงานบริษัทฝรั่ง มีตราประทับเป็นโครเมี่ยมทรงสูง เมื่อกดลง ก็เป็นแบบสปริง ประทับตราเป็นชื่อภาษาอังกฤษ แต่เป็นอักษรตัวพิมพ์ธรรมดาค่ะ รู้สึกจะครึ่งเดียว อีกครึ่งล่างเป็นสัญลักษณ์อะไรสักอย่างค่ะ

มาอ่านที่นี่แล้วเข้าใจมากขึ้น ไม่มีแซ่ แต่อยากแกะใช้บ้างค่ะ

เพื่อนเรียนศิลปากร เขาแกะเฉพาะชื่ออักษรตัวหน้า แล้วมีเครือเถาพัน เก๋มาก นั่นหนุ่มทำให้...

สนใจค่ะ สงสัยคืนนี้คงฝันถึงอักษรจีนทั้งคืน...
ขอบคุณมากค่ะ


จันทรวารสิริสวัสดิ์ มานมนัสสวัสดิ์สิริค่ะ

 

โดย: sirivinit 1 กุมภาพันธ์ 2553 18:51:05 น.  

 

ผมพักแฟลตดินแดงครับ น่าจะไม่ไกลจากบ้านคุณนัก

ถามหน่อย จะได้ไหม? ใช่ ชื่อ กศ หรือครับ?

ที่เมืองจีน ตราประทับ เคยเห็นชาวจีนยืนแกะ แต่ผมไม่ได้สนใจ

อ่อน มากๆ เรื่องศิลปะ อาจจะต้องค่อยๆ ซึม ซับเล็กๆนิดๆ จากบล็อกนี้ ก็ได้

 

โดย: yyswim 4 กุมภาพันธ์ 2553 2:06:31 น.  

 

[url=//image.free.in.th/show.php?id=971ca756cc1d4bf9af48e22e26ca6769][img]//image.free.in.th/z/ic/dsc03203.jpg[/img][/url]

 

โดย: พชร อินทรสิทธิ์ IP: 192.168.182.238, 183.88.249.58 27 ตุลาคม 2554 13:27:51 น.  

 

สวัสดีครับ คุณเจ้าของกระทู้

อยากทราบว่า ชาดตราประทับที่คายน้ำมันออกมาเช่นในรูปเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปรกติหรือเปล่าครับ

ของผมก็เป็นเหมือนกัน

 

โดย: Nong IP: 202.44.135.34 11 กรกฎาคม 2555 22:47:09 น.  

 

คุณ Nong ครับ

ขอตอบว่าขึ้นอยู่กับส่วนผสมของชาดว่าผสมน้ำมันมากน้อยแค่ไหน

ที่เห็นในบล๊อกมีน้ำมันซึม...เป็นชาดของญี่ปุ่น สีออกจะแกมส้ม ผสมน้ำมันมาก
เวลาเอาตรากดแป้นชาด..
ถ้ากดแรง ชาดจะติดมากจนเยิ้ม ประทับแล้วน้ำมันจะคาย
ต้องกดที่แป้นให้เบาลงครับ

ชาดของจีนจะข้นกว่า สีแดงจัดกว่า ใช้แล้วมักจะไม่คายน้ำมัน น่าใช้กว่าครับ

ถึงคายน้ำมันแล้ว...เวลาเอาไปเปี่ยวเสร็จจะไม่ค่อยเห็นหรอกครับ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม

 

โดย: Dingtech 12 กรกฎาคม 2555 8:20:29 น.  

 


ขอบคุณพี่มากเลยครับ

ว่าแต่ขอถามพี่อีกนิดครับ การ เปี่ยว ที่พี่ว่าหมายถึงการเข้าม้วนหรือเปล่าครับ

ในความหมายของพี่ถ้าเราเอาไปเปี่ยวเสร็จแล้ว ชิ้นงานที่ออกมาก็จะมีรอยน้ำมันน้อยลงใช่ไหมครับ

วันหลังต้องขอคำแนะนำอีกเยอะเลยนะครับ
สวัสดีครับ

 

โดย: Nong IP: 202.44.135.34 16 กรกฎาคม 2555 18:25:58 น.  

 

การเปี่ยวคือการเข้าม้วน หรือแปะภาพบนพื้นหลัง
ในกรรมวิธีต้องทำให้ตัวภาพเปียกน้ำก่อนแล้วค่อยทากาว
ผมคิดว่าตอนที่เปียกนั่นแหละ...ที่น้ำมันถูกล้างให้เจือจาง

ยินดีครับคุณ Nong

 

โดย: Dingtech 17 กรกฎาคม 2555 1:57:33 น.  

 

chroloquine [url=https://chloroquineorigin.com/#]chloroquine malaria[/url] cloroquin

 

โดย: aralen buy IP: 136.243.138.66 19 กุมภาพันธ์ 2564 13:20:51 น.  

 

hydroxicloroquin https://plaquenilx.com/# hydroxychloroquine tablets

 

โดย: hydroxychloroquinr IP: 92.204.174.134 17 กรกฎาคม 2564 22:58:41 น.  

 

chloroquine natural sources https://chloroquineorigin.com/# hydroxychloroquine sulfate 200 mg tab

 

โดย: hydroxichlorine IP: 92.204.174.134 22 กรกฎาคม 2564 13:55:04 น.  

 

https://cialiswithdapoxetine.com/ cialis 20mg

 

โดย: cialis pills IP: 46.161.11.64 27 พฤศจิกายน 2564 2:18:27 น.  

 

hydro clore quinn https://keys-chloroquinehydro.com/

 

โดย: pzfpqh IP: 46.161.11.64 6 พฤษภาคม 2565 15:38:54 น.  

 

hydroxychloroquine 200 mg tablets https://keys-chloroquinehydro.com/

 

โดย: nwauwz IP: 46.161.11.64 7 พฤษภาคม 2565 2:14:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Dingtech
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]









◉ ภุมราท้าโลกกว้าง . . เกินฝัน

หวังวาดสู่สวรรค์ . . . . . เวิกโพ้น

แท้คืนสู่สามัญ . . . . . . มละตื่น

ยังฉงนงวยโงกโง้น . . . .โง่ตื้นลืมตาย ฯ





Dingtech :

ผมเป็นคนธรรมดา ธรรมดา มาจากบ้านนอก
รักศิลปะทุกชนิด ทุกรูปแบบ ทุกสัญชาติ

รักชาติไทย รักประเทศไทย
รักคนไทยทุกคน จงรักภักดี และ
เคารพสักการะพระมหากษัตริย์ไทย

ยินดีแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆทุกคนครับ





since 16 December 2009

New Comments
Friends' blogs
[Add Dingtech's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.