<<
มกราคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
26 มกราคม 2554
 

ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal: SEPA)

ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ

(State Enterprise Performance Appraisal: SEPA)

คณะ รัฐมนตรีได้มีมติเมื่อปี 2538 เห็นชอบให้นำระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจมาใช้ เพื่อติดตามและกำกับดูแลประสิทธิภาพการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยมีการเชื่อมโยงเข้ากับระบบแรงจูงใจของพนักงานและคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ และได้แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการประเมินผลฯ



สำนักงาน คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้มีการปรับปรุงระบบประเมิน ผลฯ เป็นระยะ เพื่อให้ระบบประเมินผลฯ มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ โดยในปี 2547 ได้มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินผลฯ ในหัวข้อการบริหารจัดการองค์กรขึ้น เพื่อผลักดันให้รัฐวิสาหกิจพัฒนาระบบการบริหารจัดการขององค์กรในด้านต่างๆ ให้ทัดเทียมกับมาตรฐานการบริหารจัดการองค์กรระดับสากล โดยได้คัดเลือกกระบวนงานหลัก 5 หัวข้อซึ่งมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการองค์กรมาเป็นหัวข้อ พิจารณาประเมินผล อันประกอบด้วย บทบาทของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ การบริหารความเสี่ยง การควบคุมและตรวจสอบภายใน การบริหารจัดการสารสนเทศ และการบริหารทรัพยากรบุคคลในปี 2550 คณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจ ได้กำหนดให้มีการปรับปรุงระบบประเมินผลฯ อีกครั้ง เพื่อให้ระบบประเมินผลฯ มีความเป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และเป็นเครื่องมือในการพัฒนารัฐวิสาหกิจไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างแท้จริง โดยได้มีคำสั่งคณะกรรมการประเมินผลฯ ที่ 7/2550 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงระบบประเมินผลฯ และคณะอนุกรรมการฯ ได้เสนอให้ประยุกต์ระบบการประเมินตนเอง (Self Assessment Report: SAR) และเกณฑ์การประเมินรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA) เข้าเป็นส่วนหนึ่งในระบบประเมินผลฯ



คณะกรรมการประเมินผลฯ ได้มีมติในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2551 เห็นชอบแนวทางการพัฒนาระบบประเมินผลฯ ตามที่คณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบประเมินผลฯ นำเสนอและกำหนดให้ทดลองใช้ระบบดังกล่าวในการประเมินผลฯ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป โดยใช้ชื่อว่า ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal: SEPA) และกำหนดให้มีรัฐวิสาหกิจนำร่องประจำปี 2551 จำนวน 3 แห่ง คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้านครหลวง และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นอกจากนี้ยังมีคำสั่งคณะกรรมการประเมินผลฯ 30/2551 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการดูแลการประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ เพื่อกำกับดูแลการพัฒนาระบบ SEPA เพื่อให้เหมาะสมในการใช้เป็น

เครื่องมือในการประเมินผลรัฐวิสาหกิจต่อไป

ที่มา //www.sepo.go.th/pes.html?menu=28




 

Create Date : 26 มกราคม 2554
8 comments
Last Update : 26 มกราคม 2554 8:58:45 น.
Counter : 1855 Pageviews.

 
 
 
 
ผมว่า มันเป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรม เมื่อนำมาใช้จริงๆ ผมขอเดาไว้ก่อนว่า จะเกิดการขัดแย้งทางความคิดเกิดขึ้นจากการตีความ ซึ่งจะต้องมีการประชุมกันอีกหลายครั้งกว่าจะลงตัว และ เมื่อลงตัว ระบบต่างๆจากการเริ่มต้น จะเปลี่ยนแปลงไปตามระบบเดิมๆ ซึ่งก็จะตรวจวัดได้ไม่เที่ยงตรงครับ

แค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ แล้วดูกันว่า ปี สองปี ผลจะเป็นอย่างไร...
 
 

โดย: wbj วันที่: 26 มกราคม 2554 เวลา:10:32:05 น.  

 
 
 
ถ้ากำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนก็น่าจะช่วยได้นะครับ
 
 

โดย: peng IP: 110.168.34.108 วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:23:46:06 น.  

 
 
 
เป็นช่องทางการทำมาหากินของผู้ที่อยากเป็นที่ปรึกษาของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ การแปลความเป็นภาษาไทยยังอ่านไม่รู้เรื่องเลย ไม่ทราบว่าจะรีบนำมาใช้กันไปทำไม ประเทศไทย กลไก หรือทฤษฎีการบริหารมันเฟ้อมากไป การนำมาบังคับใช้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคนไม่กี่คน แต่ภาระที่เกิดกับหน่วยงานต่างๆ มากเหลือเกิน
 
 

โดย: Zebra IP: 58.137.211.68 วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:12:49:59 น.  

 
 
 
วิเคราะห์ได้โดนใจจริงๆ
 
 

โดย: deknont IP: 192.168.182.44, 124.122.3.146 วันที่: 10 มีนาคม 2554 เวลา:23:17:45 น.  

 
 
 
TQM, TQA SEPA, TRIS คือภาระของผู้ที่จะต้องกรอกข้อมูลไปสังเวยสารพันคำถาม ถามแล้วถามอีก ขอข้อมูลเพิ่มเติมไมรู้จักอิ่ม ไม่ต้องทำภารกิจองค์กรกัน ไม่ทราบว่าได้อะไรกันบ้าง
อยากให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ต้องแบหรับภาระนี้จากการบงการของผู้บังบับบัญชา สะท้อนความรู้สึกกัน กระทรวงการคลังได้ทบทวนหรือพิจารณาความท้าทายในการนำระบบนี้มาใช้บ้างหรือไม หรือมีหน้าที่สั่ง (ตามคำแนะนำ)
 
 

โดย: espa IP: 101.108.109.227 วันที่: 29 เมษายน 2554 เวลา:22:25:12 น.  

 
 
 
เห็นด้วยกับคุณ Zebra ครับ
 
 

โดย: เอก IP: 210.1.63.246 วันที่: 24 มกราคม 2555 เวลา:10:11:15 น.  

 
 
 
ลอกเขามาจากฝร่ง ทฤษฎีตะวันออก เอเซีย แน่นอนกว่า เป็นรูปประธรรม เมืองถูกฝรั่งลอกเป็นที่ปรึกษามามากแล้ว เกือบทุกหน่วยงาน แต่ที่ปรึกษาไม่เคยรับผิดชอบความเสียที่เกิดขี้น
 
 

โดย: navy IP: 223.205.57.219 วันที่: 1 มีนาคม 2556 เวลา:10:16:25 น.  

 
 
 
สคร. ไม่ต้องกลัวว่างงานนะครับ ไม่ต้องหาทฤษฎีใหม่ ๆ มาให้รัฐวิสาหกิจใช้นักหรอกครับ ให้แต่ละรัฐเขาดำเนินธุรกิจของเขาไปดีกว่าครับ
 
 

โดย: เอก IP: 58.181.179.254 วันที่: 4 มีนาคม 2556 เวลา:15:42:06 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

deknont
 
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add deknont's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com