deeplove
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Group Blog
 
<<
มีนาคม 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
2 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add deeplove's blog to your web]
Links
 

 
เรื่องราว "นางไม้" กับเพลง "นางไม้ วงตาวัน"



เพลงนางไม้

ศิลปิน "วงตาวัน"
อัลบั้ม "12ราศี"



คืนเหน็บหนาว ...... คราวที่รักร่วงโรย

โบยหนามคม โถมลงสุดตัว

รอบกายดูราวจะหมองมัว

มืดมน และหมดความหมาย



แต่มีแสง....ดวงหนึ่ง (แต่มีแสงดวงหนึ่ง)

ดูงดงามเมื่อยามปรากฎ

ประทับพราว เศร้าใจ

ในรักที่เหี้ยมโหด



เธอเข้ามาทำให้ฟ้าแจ่มใส

คืนหัวใจให้ไออุ่นเรา

ดุจดวงมณีทอรุ้งพราว

ภูติดาว......... หรือว่านางไม้



จูบเธอเหมือน......ไฟอ่อน (จูบเธอเหมือนไฟอ่อน)

ความรักเธอยิ่งร้อนแรงกว่า

ประทับวันลืมเดือน

เสมือนดังมายา



คืนอุ่นไอในนวลเนื้อแนบ.....พราย

พลีหัวใจให้เธอหมดดวง

ตั้งใจจะพลีให้ทั้งปวง

โอ้...... นางเธอกลับจางหาย



เธออยู่ไหน.........ไม่กลับ (เธออยู่ไหนไม่กลับ)

ความลับอันไม่มีคำตอบ

จะคว้าพรายไร้เงา

ที่ไหนในลมหอบ



เธอคือแสง........ดวงหนึ่ง (แต่มีแสงดวงหนึ่ง)

ดูงดงามเมื่อยามปรากฎ

ฝากไว้เพียงรอยจาง

ดังน้ำตารินหยด...........








"นางไม้" คือ ผีผู้หญิงที่เชื่อว่าสิงอยู่ตามต้นไม้ใหญ่

มีต้นตะเคียนเป็นต้น (ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542)

นางไม้เป็นเทวดาที่อยู่ประจำตามต้นไม้ใหญ่ๆ นางไม้สร้างวิมานเป็นที่อยู่บนต้นไม้

แต่ไม่มีใครสามารถแลเห็นวิมานนั้น แต่ถ้าใครตัดต้นไม้นั้น

นางไม้ก็จะไม่มีที่อยู่ นางไม้จึงต้องแสดงฤทธิ์ทำให้คนไม่กล้าตัดต้นไม้

เช่น ทำให้คนที่ตัดต้นไม้ล้มเจ็บ เป็นไข้ หรือคลุ้มคลั่งเป็นบ้า เป็นต้น

ตามจินตนาการของคนแต่ก่อน นางไม้เป็นหญิงสาวสวย ผมยาวประบ่า นุ่งผ้าจีบ

ห่มผ้าสไบเฉียง แต่ต้นไม้บางต้นก็มีเทวดาอยู่ ซึ่งมักเรียกว่ารุกขเทวา

ในวรรณคดีไทยมักจะให้รุกขเทวาซึ่งอยู่ประจำที่ต้นไทร ที่เรียกว่า พระไทร

มีบทบาทเป็นผู้ช่วยพระเอก พระไทรมักจะอุ้มพระเอกซึ่งเป็นกษัตริย์

หรือพระราชโอรสที่มาประทับพักแรมใต้ต้นไทรไปให้เป็นสามีของนางเอก

เช่น อุ้มพระอุณรุทไปนอนกับนางอุษา เป็นต้น เรียกเป็นศัพท์ทางวรรณคดีว่า

อุ้มสม

(ข้อมูลจากเว็บไซต์กาญจนาภิเษก)




การแต่งงานกับนางไม้ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวบ้านมะม่วงหมู่ที่ 4

ตำบลสทิงหม้อ อำเภอเมืองสงขลา จัดขึ้นตามคำบนบานให้นางไม้ช่วยขจัดปัญหา

อุปสรรคต่างๆ ของชีวิต เมื่อสมประสงค์แล้วก็จะตอบสนองด้วยการแต่งงานด้วย

การแต่งงานกับนางไม้ มีความเป็นมาอย่างไรไม่แน่ชัดทราบ แต่ว่านางไม้ที่เชื่อถือกันนี้

สิงสถิตอยู่ในต้นมะม่วงใหญ่ที่บริเวณวัดมะม่วงหมู่ศูนย์กลางทางศาสนาของชุมชน ต่อมา

ต้นมะม่วงนั้นตายลง จึงย้ายไปสถิตที่ต้นไม้ใหญ่อีกต้นหนึ่ง นอกเขตวัด

ใกล้ตลาดนัดของชาวบ้าน แต่ที่ดังกล่าวสกปรก รุกขเทวดาไม่ชอบ

จึงย้ายไปสถิตที่ต้นไม้ใหญ่อีกต้นหนึ่งใกล้ๆ กัน หน้าวัดมะม่วงหมู่

ซึ่งเป็นสถานที่สถิตปัจจุบัน ชาวบ้านเชื่อกันว่า

รุกขเทวดาดังกล่าวเป็นหญิงสาวรูปงามเคยปรากฏนิมิตให้เห็นหลายครั้ง

ครั้นปี พ.ศ. 2523 ชาวบ้านได้ปั้นรูปหญิงสาวแต่งกายงามขนาดเท่าคนจริง

เป็นรูปเคารพไว้ที่ศาลก่ออิฐเล็กๆ ใต้โคนไม้นั้น เรียกกันว่า "เจ้าแม่ม่วงทอง"

อีกกระแสหนึ่งมีเล่ากันต่อๆ มาว่า มีธิดาของเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถูกโจรจับตัวมา

เพื่อปล้นทรัพย์และถูกฆ่าตาย ศพถูกซ่อนอยู่ในโพรงมะม่วงใหญ่

ต่อมาได้แสดงอภินิหารให้ปรากฏเนืองๆ จนชาวบ้านนับถือและเกิดบวงสรวง

บนบานเพื่อความประสงค์ต่างๆ พิธีกรรมการบวงสรวงและการใช้บน

บางครอบครัวนับถือจริงจัง ฝากตัวและบุตรหลานเป็นลูกหลานของเจ้าแม่

หากครอบครัวใดฝากตัวแล้วจะต้องทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่

โดยเฉพาะชายที่มีอายุครบบวช ก่อนบวชต้องทำพิธีแต่งงานเสียก่อน

เมื่อทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่แล้ว ต่อไปจะไปเข้าพิธีแต่งงานกับหญิงอื่นตามปกติวิสัย

ก็ย่อมทำได้ หากชายผู้นั้นมีบุตรชายคนโตก็ต้องทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่สืบแทนบิดาด้วย

การแต่งงานกับเจ้าแม่จึงเป็นเรื่องที่ต้องกระทำสืบทอดกันไปตลอดสายสกุลนั้น

จนถึงรุ่นลูก หลาน เหลน ส่วนผู้ที่มิได้นับถือทั้งสกุลวงศ์ เมื่อประสบปัญหาเดือดร้อน

ขอให้เจ้าแม่ช่วยขจัดปัญหาต่างๆ เมื่อสมประสงค์แล้ว

ก็แก้บนด้วยการกระทำพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่ก็กระทำได้เช่นกัน

พิธีแต่งงานกระทำเช่นเดียวกับการแต่งงานของชาวบ้านกล่าว คือ

มีขันหมาก เงินทอง และเครื่องบูชาที่ต่างจากเครื่องบูชาขันหมากทั่วไป

เช่น หัวหมู สุรา เป็ด ไก่ และผลไม้ เป็นต้น

พิธีแต่งงานทำได้เฉพาะวันอังคารและวันเสาร์เท่านั้น

เจ้าบ่าวแต่งกายเรียบร้อยสวยงามเยี่ยงเจ้าบ่าวทั่วไป และมักเหน็บกริชด้วย

มีการจัดขบวนขันหมากเป็นที่ครึกครื้นเช่นเดียวกับพิธีแต่งงานตามปกติ

เจ้าพิธีเป็นผู้ทำให้ โดยปกติในหมู่บ้านมีคนเป็นเจ้าพิธีได้หลายคน

เช่น นายคล้าย ลูกจันงาม อายุ 81 ปี บ้านเลขที่ 148

นางกิ้มเฉี้ยง โมลิกะ อายุ 76 ปี บ้านเลขที่ 18

เจ้าพิธีจะจัดแจงขันหมากและข้าวของต่างๆ จัดสถานที่ หมอนรองกราบ

และหม้อน้ำสำหรับรดน้ำ แล้วจะกล่าวชุมนุมเทวดาบูชาเทวดา

เช่นเดียวกับพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยทั่วไป

อนึ่งหากผู้หญิงต้องการความช่วยเหลือจากเจ้าแม่ก็กระทำได้

และเมื่อสมประสงค์แล้วก็แก้บนได้ด้วยการแต่งกายเป็นผู้ชาย

เข้าพิธีแต่งงานกับเจ้าแม่ การแก้บนโดบไม่ต้องทำพิธีแต่งงานก็มีบ้าง

ปัจจุบันแม้สังคมจะเจริญขึ้น แต่ประเพณีการแต่งงานกับนางไม้ที่หมู่บ้านนี้

ยังมิได้เปลี่ยนแปลงพิธีกรรมดังกล่าวยังจัดอยู่เรื่อยๆ

และถือเป็นทางแก้ปัญหาอย่างหนึ่งของชีวิตของผู้คนที่เชื่อในเรื่องนี้


(งานวิจัยวัฒนธรรมของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
เรื่อง การศึกษาทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรม : กรณีศึกษา)




ประเพณีแต่งงานกับนางไม้ ในเขตอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

โดยคุณ บุญเลิศ จันทระเมื่อปี พ.ศ. 2542 ปรากฏดังนี้

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษา ประเพณีแต่งงานกับนางไม้ใ

นเขตอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยศึกษารูปแบบ ความเชื่อ

ความหมายและสัญลักษณ์เกี่ยวกับประเพณีแต่งงานกับนางไม้

ปัจจัยและเงื่อนไขในการประกอบพิธีกรรม ตลอดถึงความสัมพันธ์

ระหว่างผู้ประกอบพิธีกรรมกับประเพณีดังกล่าว โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัย

เชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) จากการศึกษาพบว่า

รูปแบบของการประกอบพิธีกรรมแต่งงานกับนางไม้

มีความสอดคล้องกับการแต่งงานของคู่บ่าวสาวโดยทั่วไป

แต่มีความแตกต่างในวัตถุประสงค์และความหมาย ซึ่งมีสาระสำคัญคือ

เป็นประเพณีที่เกิดจากรากฐานวัฒนธรรมการนับถือตายาย

นำมาสู่การเซ่นสรวงบวงพลีแก่วิญญาณบรรพบุรุษ

จัดเป็นการแสดงเพื่อตอบสนองความต้องการที่พึ่งทางใจ อันเป็นลักษณะสำคัญ

ของศาสนาปฐมบรรพ์สัญลักษณ์หลักของพิธีกรรม คือ ทวด ซึ่งถือได้ว่าเป็นวิญญาณ

บรรพบุรุษของผู้ประกอบพิธีกรรม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการกำหนดบทบาท

ความสัมพันธ์ระหว่างลูกหลานกับบรรพบุรุษที่เรียกกันว่า แม่ทวดม่วงทอง

สัญลักษณ์หลักดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้ในพิธีกรรมเพื่อโต้ตอบ

กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมศาสนา จนมีผลสำคัญในการลดความขัดแย้ง

ในเชิงอุดมคติทางศาสนาระหว่างพุทธศาสนาแบบชาวบ้านกับศาสนาอิสลาม

แบบชาวบ้านในพื้นที่แห่งนี้ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมศาสนานี้เอง

เป็นเงื่อนไขสำคัญส่วนหนึ่งในการประกอบพิธีกรรม ซึ่งถือได้ว่า

เป็นพิธีกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคมฉะนั้นสรุปได้ว่า

การจัดประเพณีแต่งงานกับนางไม้ มีเหตุผลทางด้านสังคม

และเหตุผลทางด้านจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ โดยการจัดประเพณีดังกล่าว

มีแนวโน้มปรับตัวสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ทั้งในส่วนของวิธีการ ความหมาย และวัตถุประสงค์










//img301.imageshack.us/img301/8241/10064881hm0.swf








Create Date : 02 มีนาคม 2551
Last Update : 31 กรกฎาคม 2553 0:50:20 น. 5 comments
Counter : 1498 Pageviews.

 
เรื่องแต่งงานกับนางไม้นี่ผมเคยฟังมาจากรายการ the shock เมื่อนานมาแล้วน่ะคับ แต่ฟังแค่ผ่านๆ ที่พี่เอามาลงนี่ละเอียดมากๆเลยคับ ได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีกอย่างนึงแล้วสิ อิอิ
รักนะคับ


โดย: AquiraX IP: 58.8.140.82 วันที่: 2 มีนาคม 2551 เวลา:16:57:37 น.  

 
ดีใจมากครับที่ได้ฟังเพลงนี้อีกครั้ง หาฟังมานานมากแล้ว ขอบคุณมากครับ


โดย: บอล IP: 118.172.97.95 วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:23:11:56 น.  

 
นานๆจะเจอคนฟังเพลงแนวนี้ ดีใจด้วยที่เราไม่ลืม ตอนนี้ยังหาซื้อได้อยู่ ไม่ได้โฆษณามีขายที่ร้านแคป ซีคอน


โดย: อ๊อด IP: 61.7.153.226 วันที่: 12 พฤษภาคม 2552 เวลา:17:53:52 น.  

 
สุดยอดมากครับ..เพลงเพราะมาก...อยากมีไว้ฟังจัง.
haneng_mawaww@hotmailcom


โดย: เหน่ง IP: 124.120.100.170 วันที่: 11 กรกฎาคม 2552 เวลา:10:17:12 น.  

 
0894226712


โดย: โฟม IP: 110.49.40.203 วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:19:11:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.