มิถุนายน 2553

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
เรียนประวัติศาสตร์ผ่านวรรณกรรม
หลายคนต่อหลายคน ยังจดจำเรื่องราว ภาพของประวัติศาสตร์ ซึงได้รับการถ่ายทอดมาเป็นภาพยนตร์ และละครอย่างซาบซึ้งตรึงตราใจ หรือไม่ก็ประทับใจ ในเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่อ่านมาจากวรรณกรรม ในขณะเดียวกัน ก็มีคนหันหลังให้กับประวัติศาสตร์ และลืมเอนไปอย่างง่ายดาย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกทีบางคนมักจะกล่าวว่า ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องน่าเบื่อและเป็นเรื่องที่ยากจะจดจำ และเป็นเรื่องปกติที่คนส่วนใหญ่ จะปลื้ม ปิติที่จะพูดคุย และจดจำเรื่องน้ำเน่าหรือเนื้อเรื่องจากจิตนาการจากนวนิยายในชีวิตของสังคมในปัจจุบัน คำตอบจากคนกลุ่มนี้จะเป็นเช่นไร ถ้ามีคนต่างชาติมาสนใจ และรู้ประวัติสาสตร์มากกว่าคนไทยด้วยกันเอง และถามถึงรากเหง้าแห่งตัวตนของพวกคนไทยเป็นมาเช่นไร ชาวต่างชาติควรจะหัวเราะขบขันที่คนไทยไม่สามารถตอบคำถามในเรื่องที่ตนคิดว่าน่าเบื่อหรือเรื่องที่ตนคิดว่าจดจำได้อย่างหรือร้องไห้ด้วยความตื้นตันใจให้กับความไร้รากเหง้าของตนเอง คงเป็นเรื่องที่สุดจะคาดเดา ฤาว่าบรรพชนจากอดีตจะไม่มีโอกาสพบอนุชนในปัจจุบันเพื่อเล่าเรื่องราวที่มีมา เพราะฉะนั้น ถ้าคิดว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ลองหันมามองอีกวิธีหนึ่งที่จะเข้าใจเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้อย่างง่ายขึ้นโดยไม่ต้องมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองนั้นคือ การเรียนรู้ประวัตศาสตร์ ผ่านสื่อ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ละคร หรืองานวรรณกรรม โดยเฉพาะนวนิยายที่อิงเรื่องราวประวัติ วรรณกรรมคือกระจกสะท้อนประวัติศาสตร์ นวนิยายอิงประวัติศาสตร์เปรียบเหมือนการปลุกอดีตให้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง และเป็นกระจกสะท้อนบางเสี้ยวของประวัติศาสตร์ แม้จะเป็นการหยิบยกเกร็ดทางประวัติศาสตร์บางช่วงบางตอนมาเรียบเรียงหรือเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่แต่ก็แฝงภาพบรรยากาศทางประวัติศาสตร์ได้อย่างละเอียดลออเด่นชัด เต็มไปด้วยกลวิธีนำเสนอเรื่องราวสนุกสนานแยบคายด้วยอรรถรสและความรุ่มรวยของภาษา ผ่านตัวละครที่เป็นรูปแบบผ่านตัวละครที่เป็นรูปธรรมสัมผัสได้ สร้างความบันนเทิงละความจรรโลงใจ ทำให้คนอ่านได้ซึมซับประวัติศาสตร์โดยไม่รู้ตัว และยังช่วยเสริมสร้างมุมมองบทเรียนวิชาประวัติศาสตร์นอกห้องเรียน ให้เต็มอิ่ม ส่วนเนื้อหาของนวนิยายก็สะท้อนวิถีชีวิต ความคิดทัศนคติของสังคมในยุคนั้น พร้อมทั้งให้แง่คิดและสัจธรรมที่น่าสนใจเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างอัศจรรย์ กุศโลบายแห่งเรียนประวัติศาสตร์ ประโยชน์ที่ได้รับนอกเหนือจากการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านวรรณกรรมแล้ว ยังเป็นการจุดประกายให้ผู้สนใจต้องการที่จะเรียนรู้ได้อย่างรื่นรมย์ เกิดแรงบันดาลใจให้เกิดการต้องการศึกษาค้นคว้าทางประวัตศาสตร์เพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจความเป็นมาของอดีตอันส่งผลถึงความเป็นมาในปัจจุบัน เพราะ ประวัติศาสตร์เปรียบเหมือนนวนิยายเล่มใหญ่เนื่องด้วยไม่มีใครรู้ว่า เรื่องราวประวัติศาสตร์นั้นจริงเท็จแค่ไหน ฉะนั้นประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องท้าทาย และเป็นเรื่องที่ ไม่ยากเกินจะจดจำอีกต่อไป อ่านประวัติศาสตร์ผ่านวรรณกรรม วรรณกรรมพาเราย้อนไปตั้งแต่ยุคเริ่มแรกรุ่งอรุณแห่งความสุขในอาณาจักรสุโขทัย จนก่อร่างสร้างกรุงศรีรามเทพนครอโยธยา ชวนให้นึกถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ความเข้มแข็งของเหล่า ขุนศึก( ไม้เมืองเดิม) ผู้หาญกล้า และความผาสุกของเหล่าประชาราษฎร์ที่สืบ สายโลหิต ( โสภาค สุวรรณ ) มารุ่นต่อรุ่นแต่กลับมาล่มสายเพราะการแตกความสามัคีของชาวสยาม ราวกับ ปลายเทียน ( แก้วเก้า ) แห่งความรุ่งเรือง เลือนลับหายแต่ก่อนจะเสียกรุงครั้งที่สอง วีรกรรมของชาวบ้าน บางระจัน ( ไม้ เมืองเดิม ) ซึ่งยืนหยัด ต่อสู้กับพม่ารามัผญจนตัวตายก็ยังปรากฏให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ชัด และในยามที่บ้านเมืองแตกกระสานซ่านเซ็น เมื่อนั้นพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงเป็นผุ้กอบกู้บ้านเมืองขึ้นมาใหม่เป็นกรุงธนบุรี และแล้วบ้านเมืองก็เป็นปึกแผ่นดั่งเมืองเทพดาฟ้าอมรในนามกรุง รัตนโกสินทร์ ( ว. วินิจฉัยกุล )ผ่านยุคทองแห่งวรรณคดี และยุคทองแห่งการค้าขาย สู่ยุคแห่งการต่อสู้กับการล่าจักรวรรณนิยม ชาวสยามจึงได้เห็นพระปรีชาญาณแห่งองค์ บูรพา ( ว. วินิจฉัยกุล ) พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๔ และ รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงเป็น ร่มฉัตร ( ทมยันตี ) คุ้มเกล้าด้วยพระบารมีพร้อมทั้งมีโอกาสได้เรียนรู้ถึงเกร็ดประวัตศาสตร์ จากการเดินทางของหญิงสาวชื่อมณีจันทร์ ผ่านกระจกเพื่อไปสู่อีกห่วงเวลา เธอคอยช่วยเหลือบ้านเมืองให้พ้นช่วงวิกฤติของสยามที่หมิ่นเหม่ต่อการถูกฉีกแผ่นดิน เป็นส่วนๆ ใน ทวิภพ ( ทมยันตี ) ขณะเดียวกันหญิงอีกคนได้มีชีวิตอยู่ท่ามกลางการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน แผ่นดินแล้วแผ่นดินเล่า นามว่า พลอย ซึ่งอยู่มาถึง สี่แผ่นดิน ( ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ) ตั้งแต่รัชกาล ที่ ๕-๘ อย่างไรก็ตามในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ เหตุการณ์ที่พลิกหน้าประวัติศาสตร์ของเมืองไทย คือการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น ระบอบ ประชาธิปไตย ซึ่งเลาขานใน ราตรีประดับดาว ( ว. วินิจฉัยกุล ) ก็นำเสนอแง่มุมของสังคมในยุคนี้ได้อย่างน่าสนใจ จากยุคเสื่อมระบอบศักดินาได้สะท้อนให้เห็นสายน้ำของ สองฝั่งคลอง ( ว. วินิจฉัยกุล ) และช่องว่างของราชนิกุลที่สูงส่งกับประชาชนธรรมดาที่เคยมีมาได้ถูกสายใยแห่งรักมัดรวมร้อยดวงใจไว้ด้วยกันใน ปริศนา ( ว. ณ ประมวลมารค ) และ ชั่วนิรันดร ( ประภัสสร เสวิกุล เพียงแค่นี้ เชื่อเหลือเกินว่า แม้จะไม่ได้สัมผัส ถึงอรรถรสภายในเรื่อง แต่ลำนำที่เรียงร้อยเรื่องราวก็พาให้ผู้อ่านไปสู่เส้นทางประวัติศาสตร์ ได้อย่าเพลิดเพลินโดยปราศจากอคติและข้ออ้างว่าคนไทยถูกยัดเยียดตำราประวัติศาสตร์แบบท่องอาขยานใส่ความคิกอย่างน้องก็ได้ภูมิใจว่า แม้ไม่รู้ถึงแก่น แค่กระพี้ก็ยังดี




Free TextEditor



Create Date : 21 มิถุนายน 2553
Last Update : 25 มิถุนายน 2553 16:35:49 น.
Counter : 495 Pageviews.

1 comments
  
Ahaa, itts nice dioalogue concerning this piec oof writin here aat thuis webpage, I hhave read alll that, sso now mme allso commjenting here.
It iss perfect time tto makee some plas foor thhe lng ruun annd it iss ttime
tto bbe happy. I ave reawd his submit andd
iif I mmay I dsire tto coujsel yyou sme interestiing iissues orr advice.
Perhaaps yyou ccan write subsequemt articless relatkng to thiis article.
I desikre tto rad even more thingts abouit
it! It iis perfet tme to mke some pllans foor thhe futur annd it_s
tie too bee happy. I hae rea this post annd if I
could I want tto suggewt yoou ffew interesting thingvs or
suggestions. Perbaps youu can wdite nerxt articles referriong tto thiss article.
I wat too read evven moire things aboout it! //foxnews.co.uk/
โดย: Rolland IP: 192.95.30.51 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:11:12 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Darakaparkay
Location :
นครนายก  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



'_'
http://thaicursor.blogspot.com  getcode

'_'