ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
31 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

มาฝึก ละนันทิ กันเถอะ




มาฝึก ละนันทิ กันเถอะ


..........นันทิ แปลว่า ความเพลิน การฝึก ละนันทิ แปลว่า ฝึกละความเพลิน

..........ทำไมจึงต้องละความเพลิน

ความดับลงแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน ละนันทิ จิตหลุดพ้น

ละนันทิ หรือ ละความเพลิน เป็นมรรควิธี ที่พระพุทธเจ้า พูดบ่อยสอนบ่อยมากที่สุด จึงคิดว่า เป็นมรรควิธีที่มีความสำคัญ แล้ว มรรควิธีนี้ ใช้ได้ ตั้งแต่ผู้เริ่มต้น ไปสู่วิมุติ เลย โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนมรรควิธีอะไร ที่เรียกว่าความเพลิน

ความเพลิน คือ เมื่อจิต ไปรับรู้ สุข ทุกข์ ( เวทนาขันธ์ ), ความจำ ความคิดอดีต ( สัญญาขันธ์ ) ,ความคิดอนาคต ความปรุงแต่ง หรือ ความฟุ้งซ่าน ( สังขารขันธ์ ) เมื่อจิตผูกติดกับอารมณ์ เหล่านี้ พระพุทธเจ้า เรียกว่า เป็นผู้มีความเพลิน

ความเพลิน นั้น คือ อุปาทาน แล้วเมื่อ จิตผูกติดกับอารมณ์ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อุปาทาน ก็ จะไหลไปเป็น ภพ ชาติ ชรา มรณะ ตามสายของปฎิจจสมุปบาท เมื่อเราฝึกละความเพลิน ก็ คือ การละอุปาทาน เป็นการตัดสายปฎิจจสมุปบาท ไม่ให้ เกิดภพ ชาติ ชรา มรณะ

..........แล้ว จะละความเพลินได้อย่างไร

เราทราบมาแล้วว่า เมื่อ จิต เข้าไปรับรู้ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ พระพุทธเจ้าเรียกเพลิน พระพุทธเจ้า จึงให้จิต เข้าไปตั้งอาศัย ที่ รูปขันธ์ ได้แก่ กาย หรือ ลมหายใจ เมื่อ จิต ตั้งอาศัยอยู่ที่กาย พระพุทธเจ้าเรียก เป็นผู้มีสติ แต่พอ จิต ไปตั้งอาศัย ที่ เวทนา สัญญา สังขาร พระพุทธเจ้า เรียก เพลิน

ฉะนั้น ขันธ์ทั้ง 4 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร เราจึงควรให้ จิต หรือ วิญญาณขันธ์ ไปตั้งอาศัยอยู่ที่ รูปขันธ์ คือ กาย หรือลมหายใจ ถ้า จิต ไปตั้งอาศัยอยู่ที่กาย หรือ การเคลื่อนไหวของกาย หรือ รู้อยู่กับปัจจุบัน พระพุทธเจ้า เรียก ว่า กายคตาสติ แต่ ถ้า รู้ ลมหายใจ เข้า หายใจ ออก พระพุทธเจ้า เรียก อานาปานสติ รู้ลมหายใจ ก็ คือ รู้ รูปขันธ์ หรือ รู้กาย เพราะพระพุทธเจ้า บอกว่า ลมหายใจ เป็นกายอันหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย

แล้ว ขันธ์ ทั้ง 3 คือ ภพ เป็นที่ตั้งอาศัยของจิต ที่จะพาเราไปเกิดในชาติถัดไป พระพุทธเจ้า จึงให้ละทิ้งภพ ที่จะพาเราไปเกิดในอนาคต ให้ จิต มาตั้งอาศัย ในภพปัจจุบัน คือ รูปหรือกาย ในปัจจุบัน ถ้า จิตไปสร้างภพในอนาคต คือ เวทนา สัญญา สังขาร ก็ ให้ทิ้งไห้ไวที่สุด ถ้าใครทิ้งได้ไว ดุจกระพริบตา พระพุทธเจ้าจะทรงชมว่าเป็นผู้มีอินทรีย์ภาวนาชั้นเลิศ และทรงเปรียบ ภพแม้นชั่ว ลัดนิ้วมือเดียว ก็ ยังน่ารังเกียจดุจ มูต ,คูต ( อุจจาระ, ปัสสาวะ )

ฉะนั้น เราจึงควรให้จิต อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับ กาย หรือ ลมหายใจ อย่าให้จิตไป รับรู้ สุข ทุกข์ ความคิดอดีต ความคิดอนาคต พอจิตหลุดไปคิด ให้ดึงจิตกลับมาให้ไวที่สุด ให้มาอยู่กับ ปัจจุบัน ให้มาอยู่ที่กาย หรือ ลมหายใจ เมื่อ เรา ฝึกดีแล้ว จิต จะไม่ไปสร้างภพ จิต หรือ วิญญาณขันธ์ ก็จะ รับรู้แต่รูปขันธ์ รู้อยู่ที่กาย หรือลมหายใจ พอถึงเวลาตาย ลมหายใจดับ จิต จะไม่มีภพให้เป็นที่ตั้งอาศัย จิตก็จะดับไปพร้อมๆกับลมหายใจ ไม่ไปเกิดอีก

..........ปุณณะ ! เรากล่าวว่า ความดับไม่เหลือแห่งกองทุกข์ มีได้เพราะการดับไปแห่งความเพลิน ดังนี้แล

เมื่อเห็นถูกต้อง ย่อมเบื่อหน่าย
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิ
จึงมีความสิ้นไปห่งราคะ
เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ
จึงมีความสิ้นไปแห่งนันทิ
เพราะความสิ้นไปแห่งนันทิและราคะ
กล่าวได้ว่า จิตหลุดพ้นแล้วด้วยดี ดังนี้







 

Create Date : 31 สิงหาคม 2553
13 comments
Last Update : 31 สิงหาคม 2553 21:52:39 น.
Counter : 7522 Pageviews.

 

...อ๋อ...ดีใจจัง ส่งCD มาอีกแล้ว 2 วันถึงเลย ขออนุโมทนาครับ !!!...O_o.......งั้นขอถามสัก 3-4 ข้อนะครับ ...ก็คือว่า...

๑.ที่กล่าวว่า...(กาม พยาบาท เบียดเบียน) นั้น ทำไม ต้องเอา พยาบาท และ เบียดเบียน มาบอก ต่ออีก 2 คำ หรือครับ ก็ เพราะ อกุศล ก็ครอบคลุมหรือรวมอยู่ในคำว่า กาม หมดแล้ว ไม่ใช่หรือครับ เพราะถ้าบรรยาย อกุศล ให้หมด ก็ต้องมีมากกว่า คำว่า พยาบาท เบียดเบียน อีกตั้งหลายข้อ ทำไมต้องเป็น 2 คำนี้ต่อท้าย ด้วยหรือครับ ?

๒.ใน ปฏิจจสมุปาท นั้น การปฏิบัติ เจริญสติ นั้น เริ่มที่ ผัสสะ ใช่ไหมครับ...แล้วที่กล่าวว่า ให้ละการเกิดของจิต นั้น หมายถึงตัว จิตสังขาร ที่มี อวิชชา เป็น ปัจจัย ใช่ไหมครับ คือให้ละการปรุงแต่ง ไปใน กรรมดำ และ กรรมขาว เท่านั้น เพราะ คงไม่ใช่ไห้ละการเกิดของจิต ขณะแรกที่เป็นผัสสะ ใช่ไหมครับ เพราะ ผัสสะต้องเกิด ไปตามเหตุตามปัจจัย ละการเกิดไม่ได้เพราะถ้าได้ก็คือ ตาย น่ะสิครับ !!! ?

๓. วิญญาณ ที่เป็นเหตุให้เกิด นามรูป นั้น นามรูป ตรงนี้ หมายถึง ร่างกายและจิตใจเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับพวก โต๊ะ เก้าอี้ บ้าน รถ ต้นไม้ ฯลฯ...ใช่ไหมครับ...หรือรวมด้วย ??

๓.๑ แล้ว วิญญาณ ตัวนี้ เป็นจิตแบบเดียว กับที่บอกว่า จิตเกิด ก็คือภพเกิด หรือเปล่าครับ เพราะบอกว่า ขันธ์ ทั้ง 3 คือ ภพ เป็นที่ตั้งอาศัยของจิต ที่จะพาเราไปเกิดในชาติถัดไป ถ้างั้น ภพตัวนี้คือ รูปนาม ที่เป็น เพียง (เวทนา สัญญา สังขาร)หรือครับ หรือว่ารวมทั้ง กามภพ รูปภพ อรูปภพ ด้วยไหม ถ้ารวม มันก็ไปซ้ำกับ นามรูป ที่ ต่อจาก วิญญาณ ที่รวมทั้ง ร่างกายและจิตใจ และ โต๊ะ เก้าอี้ บ้าน รถ ต้นไม้ ฯลฯ ใช่ไหมครับ ตรงนี้แหละครับ ว่า รูปภายนอก มาเกี่ยวกันตรงไหน งง...??

๔. ถามเรื่อง จิต ที่ตอนนั้นเคยถามไป แต่ยังไม่ได้คำตอบครับ 55 คือ ขณะที่นอนหลับ แต่ไม่ฝัน นั้น เป็นจิตอะไรครับ ถ้าไม่ใช่ ภวังค์จิต(ที่เป็นจิตเกิดสืบต่อ ดำรงภพชาติของการเป็นบุคคลนั้น) ???

 

โดย: อะไรกัน o-> IP: 118.174.191.241 1 กันยายน 2553 13:26:48 น.  

 

สวัสดี ครับ คุณ อะไรกัน

๑.ตอบ ก็ พระพุทธเจ้าให้ คำนิยาม ไว้ ว่า อกุศล คือ กาม พยาบาท เบียดเบียน มีแค่นี้ ครับ อย่าไปเติม อย่าไปตัด คำพระพุทธเจ้า กามอย่างเดียว ก็ ไม่ครอบคลุมครับ กามคือ ความพอใจ ในรูปรสกลิ่นเสียง ฯลฯ แล้ว ความไม่พอใจในรูปรสกลิ่นเสียง ความโกรธ นี่ ไม่ใช่ อกุศล หรือครับ มันก็ เป็นอกุศล เบียดเบียน ก็ เช่นกัน ฆ่าสัตว์ นี่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ อกุศลหรือ พระพุทธเจ้า นิยามไว้ครอบคลุมแล้ว กาม พยาบาท เบียดเบียน มีแค่นี้ คือ อกุศล อย่าไปเติมอย่าไปตัดครับ ถ้าเราตัด ก็ ไม่ครอบคลุม ถ้าไปเติม ก็ คิดเอง พระพุทธเจ้า ไม่ได้บอกอย่างนั้น เอาตามแค่ที่พระพุทธเจ้าบอกครับ

๒ .ตอบ การปฏิบัติ เจริญสติ นั้น เริ่มที่ ผัสสะ ใช่ไหมครับ สติ แปลว่า ระลึกรู้ เราระลึกรู้ ได้ตอนใหนละครับ บางคน ก็ ไปรู้ตอน ภพ ชาติ ชรา มรณะ แระ มันดับไปแล้ว ถึงจะมีสติ ระลึกรู้ ก็ได้ครับว่า อ้อ เมื่อกี้ มันดับไปแล้ว หรือบางคน พอผัสสะ กระทบ ปุ๊ป รู้ตัว ดับมัน ตั้งแต่ ผัสสะก็ได้ เวทนา ตัญหา อุปาทานก็ไม่เกิด

แล้วที่กล่าวว่า ให้ละการเกิดของจิต นั้น หมายถึงตัว จิตสังขาร ที่มี อวิชชา เป็น ปัจจัย ใช่ไหมครับ คือให้ละการปรุงแต่ง ไปใน กรรมดำ และ กรรมขาว เท่านั้น เพราะ คงไม่ใช่ไห้ละการเกิดของจิต ขณะแรกที่เป็นผัสสะ ใช่ไหมครับ เพราะ ผัสสะต้องเกิด ไปตามเหตุตามปัจจัย ละการเกิดไม่ได้เพราะถ้าได้ก็คือ ตาย น่ะสิครับ

อย่างนี้น๊ะครับ จิต มันเกิดดับของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว ที่เราละ คือ ละ อุปาทาน ครับ พอละอุปาทาน ได้ อวิชชาก็ดับไปเอง สายปฎิจจสมุปบาทก็ไม่เกิด อุปาทานหมด กรรมดำ ก็ ไม่มี กรรมขาว ก็ไม่มี ที่เรา พยายาม ละอุปาทานที่เกิดขึ้น นี่คือ กรรมไม่ดำไม่ขาว คือ อริยะมรรค มีองค์แปด ครับ จิต มันเกิดดับของมันอย่างนั้นอยู่แล้ว ที่เราละนี่ คือให้ละอุปาทาน ละความยึดมั่นถือมั่นในจิตที่มันเกิดดับ แต่ ไม่ใช่ ให้ จิตมันดับหมดโดยไม่เกิดเลย จิตมันไม่ดับหมดหรอก มันเกิดดับตลอดเวลา เพียงแต่เราอย่าไปหลงจิตที่มันเกิดมันดับ ว่า มันเป็นเรา เท่านั้นเอง เวลาเราเห็นจิตที่เกิดดับ ให้เรามีความรู้ว่า นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะ เรา ไม่ได้เกิด และ ไม่ได้ดับ ที่เกิดดับนั้นคือ จิต แค่นั้น ไม่ทราบว่าเข้าใจมั๊ยน้อ ถ้าไม่เข้าใจ มาถามใหม่น๊ะครับ

๓. วิญญาณ ที่เป็นเหตุให้เกิด นามรูป นั้น นามรูป ตรงนี้ หมายถึง ร่างกายและจิตใจเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับพวก โต๊ะ เก้าอี้ บ้าน รถ ต้นไม้ ฯลฯ...ใช่ไหมครับ...หรือรวมด้วย ??

โต๊ะ เก้าอี้ บ้านรถยนต์ ก็ เป็น รูปไง ครับ แต่เป็นรูปภายนอก มันจะเกิดขึ้นได้ ก็ เมื่อ อายะตนะภายใน ไปกระทบ กับมัน เช่น ตาไปเห็น โต๊ะ เก้าอี้ เกิด จักขุวิญญาณ หรือวิญญาณทางตา ถ้า ตา ไม่เห็น โต๊ะ หรือเก้าอี้ มันจะมีวิญญาณทางตา ไปรับรู้มันได้ใหม ตาไม่เห็นมัน มันก็ไม่มี อายะตนะภายนอก ก็ คือ รูป วิญญาณเข้าไปรับรู้ มันก็ เกิด นามรูป แค่นั้นเอง ครับ

๓.๑ จิต หรือ วิญญาณ คือ อันเดียวกัน ครับ มันจะเกิดขึ้นได้ ต้องมี ภพ เป็นที่ตั้งอาศัย คือ ขันธ์ทั้ง 4 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

จิต กับ ภพที่เป็น นามธรรม ที่เป็น ภพที่จะพาเราไปเกิดในอนาคต เกิดดับพร้อมกัน ส่วน รูปขันธ์ เป็น ภพ ปัจจุบัน เป็นภพที่พระพุทธเจ้าให้จิต เป็นที่ตั้งอาศัย

กามภพ ก็ คือ รูปขันธ์, เวทนา ในส่วน ของ สุข ทุกข์ ,สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์

รูปภพ ก็เป็น รูปขันธ์ และเวทนาขันธ์ ในส่วนของ อุเบกขา ,สัญญาในสมาธิที่ยัง มีรูปสัญญาอยู่ คือ ฌาน 1ถึง4 และ ในส่วนของสังขาร

ส่วน อรูปภพ ก็คือ ภพ คือ เวทนา ในส่วนของ อุเบกขา และสัญญาที่ เป็นอรูปสัญญาสมาบัติ ก็ตั้งแต่ อากาสานัญจายตนะ เป็นต้นไป และในส่วนของสังขาร ครับยัง งง อยู่ใหมครับ

สรุป กามภพ และ รูปภพ ก็ อยู่ในส่วน ของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร 4 ขันธ์นี้แหละครับ


ส่วน อรูปภพ นี่ อยู่ในส่วน ของ ขันธ์ ทั้ง 3 คือ เวทนา สัญญา สังขาร แต่ สัญญาเวทยิตนิโรธ เหลือ แค่สังขาร เท่านั้น ที่เป็นภพ ให้จิตตั้งอาศัย

ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ แวะมาถามใหม่น๊ะครับ

๔.คำว่า ภวังค์จิต ไม่ใช่พุทธวัจน ครับ จิต ขณะ หลับ โดยไม่ฝัน ถามว่า มันไปอยู่ในขันธ์ใหน ผมเข้าใจว่า มันอยู่ในส่วนของสัญญาครับ คือ เรานอน เราง่วง นี่ มันเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ครับ ถ้าเราฝัน มันก็ไป สังขารปรุงแต่งแล้ว แต่ถ้าไม่ฝัน ผมว่ามันคงสัญญา ครับ หรือ อีกกรณี นึงมันอาจจะเป็น อุเบกขา ก็ได้ ครับ แต่ เป็น อุเบกขาที่เราเพลินไป เลยไม่รู้ตัว แล้วแต่ว่า จิตขณะนั้น จับอะไร ในขณะหลับครับ

ไม่ทราบว่าได้รับความกระจ่างมั๊ยน้อ ถ้ายังสงสัยอยู่ ก็มาถามใหม่ครับ

ขออนุโมทนา ครับ

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 1 กันยายน 2553 18:46:47 น.  

 

โอ้โห...ส่วนใหญ่ เข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น แล้วครับ เป็นอย่างนี้ เอง...ยกเว้น ในส่วนของ วิญญาณ นามรูป นี่แหละ พอเข้าใจ ขึ้นมากแล้วครับ แต่ยังไม่ แจ่มแจ้ง ก็คือว่า...

...วิญญาณที่เป็นนาม เข้าไปรู้ทั้งรูปและนาม ก็คือ จิตไปรู้ อีก 4 คือ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) นี่เอง...
...แล้ว ที่บอก ว่า วิญญาณ เป็นเหตุให้เกิดนามรูป หมายความว่า พอจิต ไปรู้ อีก 4 ขันธ์ ก็หมายความว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร นั้น มีในจิต นี่เอง ส่วน มันจะมีอยู่ตามธรรมชาติของมัน เราไม่ต้องไปสนใจ เพราะความสำคัญอยู่ที่ว่า มันมีในจิตหรือเปล่า ใช่ไหมครับ...

...งั้นถามต่อว่า วิญญาณ ที่เป็นเหตุให้เกิด นามรูป นั้น หมายความว่า นามรูปที่เป็น ขันธ์ที่เหลือทั้ง๔ นั้นเกิดมีขึ้นในจิต ...แล้วตรงนี้ มันก็เหมือนกับ ในส่วนของ อุปาทาน ที่เป็นเหตุให้เกิด ภพ ...ก็คือ ตัว อุปาทาน ก็เป็นจิต ที่ เป็นเหตุ ให้เกิด ภพ แล้ว ภพ ตัวนี้ ก็คือ รูปนาม อีกใช่ไหมครับ.....

...เพราะฉะนั้น วิญญาณ-นามรูป ก็เหมือนกับ อุปาทาน-ภพ ตรงนี้ก็ ซ้ำกัน หรือเหมือนกัน ใช่ไหมครับ ตรงนี้ ยัง งงติ๊บ อยู่ครับ 55

วิญญาณ --- นามรูป

อุปาทาน --- ภพ

 

โดย: อะไรกัน o-> IP: 118.174.191.198 2 กันยายน 2553 1:08:11 น.  

 


งั้นถามต่อว่า วิญญาณ ที่เป็นเหตุให้เกิด นามรูป นั้น หมายความว่า นามรูปที่เป็น ขันธ์ที่เหลือทั้ง๔ นั้นเกิดมีขึ้นในจิต ...แล้วตรงนี้ มันก็เหมือนกับ ในส่วนของ อุปาทาน ที่เป็นเหตุให้เกิด ภพ ...ก็คือ ตัว อุปาทาน ก็เป็นจิต ที่ เป็นเหตุ ให้เกิด ภพ แล้ว ภพ ตัวนี้ ก็คือ รูปนาม อีกใช่ไหมครับ.....

ตอบ ไม่เหมือนกันครับ วิญญาณ กับ นามรูป เป็นสิ่งที่ อาศัยกันและกันในการเกิดขึ้น แต่ อุปาทาน ไม่ได้ อาศัย ภพ ในการเกิด แต่ อุปาทาน เป็น เหตุให้เกิดภพ ความต่างกันตรงนี้ ผมจะไล่สายปฎิจจสมุปบาทให้ฟัง แล้วจะอธิบายไปด้วยน๊ะครับ แต่ อาจจะ งง หรือ สับสน บ้าง ต้องค่อยๆๆทำความเข้าใจ

เพราะมี อวิชชา เป็นปัจจัย ทำให้เกิด สังขารทั้งหลาย ( ขันธ์ 5 )
เพราะมี สังขาร ( ขันธ์ 4 )เป็นปัจจัย ทำให้เกิด วิญญาณ
เพราะมี วิญญาณ เป็นปัจจัย ทำให้เกิด นามรูป (ขันธ์ 4 )

หยุด ภาพตรงนี้ ก่อนขออธิบายก่อน
เพราะมีสังขาร ( ขันธ์ 4 ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง )เป็นปัจจัย เป็นที่ตั้งอาศัยของวิญญาณ จึงมีวิญญาณ
และ เพราะ มี วิญญาณ เป็นปัจจัย ทำให้เกิด นามรูป ( ขันธ์ 4 ขันธ์ใดขันหนึ่ง ) อีกแล้ว

แสดงว่า วิญญาณ และ ขันธ์ ทั้ง 4 ขันธ์ใดขันหนึ่ง มันอาศัยกันและกัน ในการเกิดขึ้น คือ เกิดพร้อมกัน และ ดับพร้อมกัน คือ วิญญาณ ต้องมีที่ตั้งอาศัย ถึงจะมีวิญญาณได้ ส่วน ขันธ์ใดขันหนึ่ง ใน 4 ขันธ์ ถ้า ไม่มีวิญญาณ เข้าไปรับรู้มันก็มีไม่ได้ มัน เกิดขึ้น และดับไป พร้อมๆกัน ไม่ทราบว่าพอเข้าใจใหม

ต่อน๊ะครับ

เพราะมี นามรูป (ตัวนี้ คือ ขันธ์ 5แระ ) เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ เป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
เพราะมีผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
ไล่ไป ยัน ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ

หลังจาก สฬายตนะ เป็นต้น มา มันไม่ได้อาศัยกัน และกัน ในการเกิดขึ้นแล้ว
แต่ มัน เพราะมีสิ่งนี้ สิ่งนี้ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆจึงเกิดขึ้น มันเป็นการไหลไป ของอาการจิต
เช่น เพราะ เราปลูกต้นมะม่วง จึง ได้ ผลมะม่วง แต่ไม่ใช่ ผลมะม่วง เกิดพร้อมๆกันกับต้นมะม่วง แบบนี้นี่คือความต่าง ถ้าเรา ดับ ผลมะม่วงซ๊ะ ต้นมะม่วง ยัง มีเหลืออยู่ แต่ถ้า เราดับต้นมะม่วงซ๊ะ ผลมะม่วง ก็ มีไม่ได้ อุปาทาน กับ ภพ ก็ เช่นเดียวกัน

ทีนี้ สาย ข้างบน นามรูป คือ ขันธ์ ทั้ง 4 ก็ เป็นภพ แล้วพอมาข้างล่าง ก็ เป็นภพ อีก มันเหมือนกันใหม

ไม่เหมือนกันครับ

คือ นามรูป ข้างบน เป็นที่ตั้ง ของวิญญาณก็จริง แต่วิญญาณนั้น ยังไม่ได้มีอุปาทาน ครับ

คือ นามรูป กับ จิต ก็ เกิด ดับ เกิด ดับ ของมันอยู่อย่างนั้น แล้ว มันเป็นเหตุให้ เกิดสฬายตนะ การกระทบกันของ สฬายตนะ คือ ผัสสะ แล้ว เกิดความเพลิน ไหลไปเป็น เวทนา ไหลไป เป็น ตัญหา ไหลไปเป็น อุปาทาน ,ภพ, ชาติ, ชรา ,มรณะ ก็ เกิดขึ้นตามต่อๆกันมา

ผมจะยกตัวอย่าง เป็น เลข 11-10 -1-2-3-4-5-6-7-8
วิญญาณ กับ นามรูป เปรียบเหมือน เลข สิบเอ็ด จะมี ได้ ก็ ต้อง อาศัย 1กับ1 เกิดขึ้นพร้อมกัน และ สิบเอ็ด ดับไป เลข 1 ก็ ดับ พร้อมกัน หรือ ถ้า มัน ดับไปตัวหนึ่ง สิบเอ็ด ก็ ดับไปอยู่ดี ก็ เป็นแค่ 1,

เลข 11 คือ วิญญาณ กับ นามรูป มันต่าง เป็น ภพ ให้กันและกัน เป็นภพที่ตั้งอาศัย ของกันและกัน

ส่วน อุปาทาน คือ 4 เป็น เหตุ ให้ มี 5 แต่ ถ้า 5 ดับ ยังเหลือ 4 แต่ถ้า 4 ดับ 5 ก็ มีไม่ได้ คือ ภพดับ แต่ อุปาทาน ยังมีอยู่ แต่ ถ้า อุปาทานดับ ภพ ก็ มีไม่ได้ เพราะ ภพ มีอุปาทาน เป็น ปัจจัย

ภพ คือ นามรูป ข้างบน เป็นที่ตั้งของวิญญาณ แต่ยังไม่มี อุปาทาน

ส่วน ภพ ข้างล่าง วิญญาณ มี อุปาทานแล้ว จึงเกิด ภพ ทำให้เกิด ชาติ ชรา มรณะ

ผมไม่รู้ ว่า ผมอธิบายแล้วอะไรกัน จะเข้าใจใหม เพราะ บางที มันก็เข้าใจยาก ลองค่อยๆอ่านซ้ำไปซ้ำมาหลายๆรอบแล้วคิดตามไปด้วยแล้วกันน๊ะครับ

ถ้ายังไม่เข้าใจอีก ก็ มาถามใหม่ครับ ไม่ต้องกลัวผมจะเบื่อ ไม่ต้องเกรงใจ ครับมาถามได้

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 2 กันยายน 2553 21:31:52 น.  

 

โอ้โห...รายละอียดตรงนี้ ไม่เคยรู้มาก่อนเลย เริ่มเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น มากแล้วครับ...!!! ผมอ่านครั้งแรก ยังไม่เข้าใจ ต้องค่อยๆอ่านและพิจรณา 4-5 รอบ ครับ จึงเข้าใจ แต่ไม่แน่ใจว่าจะ เข้าใจถูกต้อง 100% หรือเปล่า เพราะฉะนั้น ผมจะสรุปความเข้าใจของผมนะครับ แล้วคุณ นน อ่านดูว่า ถูกหรือเปล่า ถ้าจุดไหนผิด ช่วยบอกหน่อยนะครับ ก็คือว่า...

1...(อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร) หมายความว่า เพราะ ไม่รู้ จึงปรุงแต่ง ไปในกรรมดำและกรรมขาว จึงทำให้ เกิดมี สังขารทั้งหลาย( ขันธ์ 5 ) คือทำให้เกิด (จิต) ซึ่งมี ขันธ์ ที่เหลืออีก 4 คือ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) เป็น อารมณ์ ที่เกิดมีขึ้นในจิต...

2...(สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ) หมายความว่า พอปรุงแต่งแล้ว ก็หมายถึง มีจิตตัวเดียวกับที่ เกิดอยู่ใน สังขาร นั่นเอง เกิด คือเป็น วิญญาณ ตัวเดียวกันกับที่อยู่ใน สังขาร นั่นเอง เกิดมีขึ้น...

3...(วิญญาณ เป็นปัจจัยให้เกิด นามรูป) หมายความว่า วิญญาณตัวเดียวกันนี้เองอีกนั่นแหละ ที่เกิด รู้อารมณ์ ก็คือ มี (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) ตัวใดตัวหนึ่ง เป็น อารมณ์ นั่นเอง...แต่ตรงนี้ยังไม่มีอุปาทาน...จึงต่างกับ ที่ตั้งอาศัยของจิต คือ ภพ ที่มี อุปาทาน เป็นปัจจัย นั่นเอง...

..เพราะฉะนั้น ถ้าตรงนี้ถูกต้องหมด ในระดับนี้ ก็เข้าใจขึ้นมาระดับนึง แล้วครับ คือแบบนี้นี่เอง......แต่สงสัยต่อในส่วนที่บอกว่า...

...หลังจาก สฬายตนะ เป็นต้น มา มันไม่ได้อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ตรงนั้นก็เข้าใจ แต่สงสัยเฉพาะในส่วนของ (สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ) หมายคว่า ถ้าไม่มี ผัสสะ คือ จิตไม่ไปรู้การกระทบกันของ สฬายตนะ ก็ยังคงมี สฬายตนะ อยู่หรือครับ เพราะบอกว่า ไม่เกี่ยวกันแล้ว เป็นเพียง ต้นไม้ กับ ผลไม้...

...งั้นถ้าไม่มี ผัสสะ แล้ว สฬายตนะ จะมีอยู่ได้ ในลักษณะใหนครับ หรือว่าหมายถึง จิตที่เข้าตั้งแต่ ฌาณที่ 2 เป็นต้นไป จึงจะหมายถึง การ มี สฬายตนะ แต่ ไม่มีผัสสะ อันนี้ ผมเข้าใจถูกไหมครับใช่ไหม และหมายถึงตอน นอนหลับแต่ไม่ฝัน ก็ใช่ด้วยเหมือนกัน ตรงนี้ ยัง งง อยู่ หรือว่าจุดนี่ผิดหมดหรือเปล่าครับ 5555 ช่วยไล่ ตัวกังขา ไปไห้หน่อยครับ มันเกาะผมอยู่ 5555

...และอีกข้อนึงที่บอกว่า...(จิต กับ ภพที่เป็น นามธรรม ที่เป็น ภพ ที่จะพาเราไปเกิดในอนาคต) ตรงนี้ หมายถึง ชาติหน้า คือ หลังจาก ตายเพราะกายแตก ใช่ไหมครับ คือจิตก็ จุติ และ ปฏิสนธิ ตาม อารมณ์ของจิต ดวงสุดท้าย ที่อยู่ในกายเก่านั้น ใช่ใหมครับ...???

...ถ้าใช่ ตรงนี้ ก็เป็นสิ่งที่เรารู้ไม่ได้ใช่ไหมครับ หมายความว่า เรารู้เฉพาะ สาย ปฏิจจสมุปาท ในขณะที่เรา มีชีวิตอยู่ เท่านั้น หมายถึงเราพิสูจให้เห็นเป็นรูปธรรมทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ว่า ถ้ายังไม่หมดกิเลส นั้น จิตมันจะพาข้ามภพข้ามชาติไปเกิดได้อย่างไร แต่ผู้ที่รู้ได้คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ รู้แจ้งโลก รู้ การ จุติ การ อุบัติ ของสัตว์โลก เอ๊ หรือว่าเราก็สามารถรู้ได้ไหมครับ ถ้าได้ ญาณพิเศษ ตรงนี้ลืม จำไม่ได้ครับ...

 

โดย: อะไรกัน o-> IP: 118.174.191.191 2 กันยายน 2553 23:33:04 น.  

 


1...(อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด สังขาร) หมายความว่า เพราะ ไม่รู้ จึงปรุงแต่ง ไปในกรรมดำและกรรมขาว จึงทำให้ เกิดมี สังขารทั้งหลาย( ขันธ์ 5 ) คือทำให้เกิด (จิต) ซึ่งมี ขันธ์ ที่เหลืออีก 4 คือ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร) เป็น อารมณ์ ที่เกิดมีขึ้นในจิต...

ตอบ เพราะไม่รู้ จึง มีขันธ์ 5 เลย ครับ สังขารในที่นี้ มันกินความหมายกว้างไปถึง ทุกสิ่งที่เกิดดับเลย มันอาจจะ ไม่ได้ปรุงแต่งก็ได้ ครับ จิต มันอาจะไปจับ เวทนา หรือ สัญญา ก็ได้ครับ

2...(สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ) หมายความว่า พอปรุงแต่งแล้ว ก็หมายถึง มีจิตตัวเดียวกับที่ เกิดอยู่ใน สังขาร นั่นเอง เกิด คือเป็น วิญญาณ ตัวเดียวกันกับที่อยู่ใน สังขาร นั่นเอง เกิดมีขึ้น...

ตอบ .ข้อนี้ ก็ ตอบเหมือนข้อ 1 สังขาร ตัวนี้ หมายถึง ขันธ์ทั้ง 4 ไม่ได้หมายถึง การปรุงแต่งอย่างเดียว เช่น เพราะมีรูป เป็นปัจจัย ทำให้เกิดวิญญาณ หรือ เพราะมี เวทนาเป็นปัจจัย ทำให้เกิดวิญญาณ ไม่ใช่ แค่ ปรุงแต่งอย่างเดียวครับ

3 ข้อนี้ เข้าใจถูกต้องแล้วครับ

4 หลังจาก สฬายตนะ เป็นต้น มา มันไม่ได้อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ตรงนั้นก็เข้าใจ แต่สงสัยเฉพาะในส่วนของ (สฬายตนะ เป็นปัจจัยให้เกิด ผัสสะ) หมายคว่า ถ้าไม่มี ผัสสะ คือ จิตไม่ไปรู้การกระทบกันของ สฬายตนะ ก็ยังคงมี สฬายตนะ อยู่หรือครับ เพราะบอกว่า ไม่เกี่ยวกันแล้ว เป็นเพียง ต้นไม้ กับ ผลไม้

ตอบ สฬายตนะ ในที่นี้ หมายถึง ธาตุ 4 ดินน้ำไฟลม เลย ครับ หรือ อายตนะภายนอก กับ อายตนะภายใน เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ( นี้ คือ รูป ) ส่วน ใจ ( นี้ คือ นาม ) รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ( นี้ คือ รูป ) ธรรมารมณ์ ( นี้ คือ นาม ) เพราะมี นามรูป จึงมี สฬายตนะ ถึง ไม่มีผัสสะ ตา ไม่ได้ ไปเห็นโต๊ะ แต่ ตา ก็ มีอยู่ โต๊ะ ก็มีอยู่ ตากับโต๊ะ ก็มีอยู่ ตากับโต๊ะ มันไม่ได้หายไปครับ ผัสสะไม่มี แต่ สฬายตนะ ก็ ยังคงมีอยู่

5 .งั้นถ้าไม่มี ผัสสะ แล้ว สฬายตนะ จะมีอยู่ได้ ในลักษณะใหนครับ หรือว่าหมายถึง จิตที่เข้าตั้งแต่ ฌาณที่ 2 เป็นต้นไป จึงจะหมายถึง การ มี สฬายตนะ แต่ ไม่มีผัสสะ อันนี้ ผมเข้าใจถูกไหมครับใช่ไหม และหมายถึงตอน นอนหลับแต่ไม่ฝัน ก็ใช่ด้วยเหมือนกัน ตรงนี้ ยัง งง อยู่ หรือว่าจุดนี่ผิดหมดหรือเปล่าครับ 5555 ช่วยไล่ ตัวกังขา ไปไห้หน่อยครับ มันเกาะผมอยู่ 5555

ตอบ ข้อ นี้ สงสัย จะไม่เข้าใจเป็นอย่างมาก สฬายตนะ คือ อายตนะ ภายนอก กับ ภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ทั้งหมดนี้ รวมเรียกว่า สฬายตนะ หรือ ตัว ธาตุ4 ดินน้ำไฟลม นั่นเอง ไม่น่าจะไปเกี่ยวกับ ฌาน 2 เลย น๊ะ ไปเข้าใจแบบใหนน้อ

ส่วน เรื่องหลับ แล้ว ไม่ฝัน คาดว่า จิต ไปจับที่ อุเบกขา ที่เพลิน ไม่เกี่ยว กะ สฬายตนะเลย มันเกี่ยวกันตรงใหนน้อ อิอิ ไม่เกี่ยวกันมังครับ

6 และอีกข้อนึงที่บอกว่า...(จิต กับ ภพที่เป็น นามธรรม ที่เป็น ภพ ที่จะพาเราไปเกิดในอนาคต) ตรงนี้ หมายถึง ชาติหน้า คือ หลังจาก ตายเพราะกายแตก ใช่ไหมครับ คือจิตก็ จุติ และ ปฏิสนธิ ตาม อารมณ์ของจิต ดวงสุดท้าย ที่อยู่ในกายเก่านั้น ใช่ใหมครับ...???

ถ้าใช่ ตรงนี้ ก็เป็นสิ่งที่เรารู้ไม่ได้ใช่ไหมครับ หมายความว่า เรารู้เฉพาะ สาย ปฏิจจสมุปาท ในขณะที่เรา มีชีวิตอยู่ เท่านั้น หมายถึงเราพิสูจให้เห็นเป็นรูปธรรมทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ว่า ถ้ายังไม่หมดกิเลส นั้น จิตมันจะพาข้ามภพข้ามชาติไปเกิดได้อย่างไร แต่ผู้ที่รู้ได้คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ รู้แจ้งโลก รู้ การ จุติ การ อุบัติ ของสัตว์โลก เอ๊ หรือว่าเราก็สามารถรู้ได้ไหมครับ ถ้าได้ ญาณพิเศษ ตรงนี้ลืม จำไม่ได้ครับ...

ตอบ ข้อนี้ เข้าใจถูกต้องแล้วครับ เรารู้ ไม่ได้หรอก ครับ นอกจาก เราจะมี ญาณหยั่งรู้อนาคต (จุตูปปาตญาณ)แต่ จะเปรียบเทียบให้ฟัง ว่า ถ้าจะถามว่า เมื่อวานมีไหม วันนี้มีไหม พรุ่งนี้ มีไหม ถ้าตอบว่า มี แล้ว ถ้าจะถามว่า ชาตินี้ มีไหม ตอบว่ามี ในเมื่อ ชาตินี้มี จะบอกว่า ชาติที่แล้ว ไม่มี ชาติหน้า ไม่มี แล้ว ชาตินี้ มันเกิดมาจากไหนกันครับ ถ้ามันมี ชาติเดียว คงจบ เพราะ ถ้าตายหมด ก็ ไม่มีใครเกิด จริงไหมครับ เพราะมันมีชาติเดียว แต่นี่ มันเกิดกันทุกวัน มันมาจากไหนกันละครับ จริงไหม

 

โดย: จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส 3 กันยายน 2553 0:53:53 น.  

 

เข้ามาอ่านแล้วมึนไป 3 วินาทีค่ะ จะพยายามเข้าใจ อาจต้องอ่านหลายรอบ ^^

 

โดย: ตัวน้อยตัวนิด IP: 125.24.59.154 3 กันยายน 2553 21:08:45 น.  

 

อุปสนฺโต สุขํ เสติ
ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข

มีความสุขกับการทำใจให้สงบได้ในทุกสภาวะ ตลอดไป...นะคะ



ขอบคุณในทุกความห่วงใย และกำลังใจที่มอบให้กันเสมอมา..นะคะ
ตอนนี้ พอมีกำลังกลับมาประจำบล็อกได้แล้ว..ค่ะ

 

โดย: พรหมญาณี 4 กันยายน 2553 12:02:30 น.  

 

สหสฺสมปิ เจ วาจา อนตฺถ ปท สญฺหิตา
เอกํ อตุถปทํ เสยฺโย ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ

คำพูดที่เหลวไหลไร้ประโยชน์...ตั้งพันคำ
ก็เทียบคำพูดที่มีประโยชน์...คำเดียว...ไม่ได้
เพราะฟังแล้ว...ทำให้ใจสงบ

มีความสุขในชีวิต อันประกอบด้วยการคิดดี พูดดี ทำดี ตลอดไป...นะคะ


 

โดย: พรหมญาณี 6 กันยายน 2553 14:03:23 น.  

 

เป็นการเห็นการทำงานของวิญญานกับนามรูป(ขันธ๕) ทำงานตามเหตุปัจจัยของกันและกัน เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป เห็นจนเบื่อหน่าย คลายความกำหนด วางซึ่งตัณหา เพราะรู้ว่า ขันธ์๕ นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา จิตหลุดพ้นจากกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

 

โดย: nava IP: 27.130.80.101 28 กุมภาพันธ์ 2560 11:52:12 น.  

 

เรียนคุณจูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
เป็นการเห็นการทำงานของวิญญานกับนามรูป (ขันธ๕) ทำงานตามเหตุปัจจัยของกันและกัน เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป เห็นจนเบื่อหน่าย คลายความกำหนด วางซึ่งตัณหา เพราะรู้ว่า ขันธ์๕ นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา จิตหลุดพ้นจากกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ใช่ไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

โดย: nava IP: 27.130.80.101 28 กุมภาพันธ์ 2560 11:54:51 น.  

 

เมื่อความพอใจจางคลาย ความกำหนัด นันทิและตัณหา อุปทานก็จางคลายตาม การปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ ก็น้อยลงและดับไป เมื่อสังขารดับวิญญาณจึงดับ เข้าใจถูกไหมค่ะ

 

โดย: nava IP: 27.130.80.101 28 กุมภาพันธ์ 2560 12:06:33 น.  

 

เพราะความจางคลายแห่งอวิชชา(ผู้รู้อริยสัจ๔)สังขารทั้งหลายจึงดับ การรู้อริยสัจ๔ จึงสำคัญมาก เป็นการใช้มรรคมีองค์๘(ศีล สมาธิ ปัญญา)ในการหลุดพ้นจากกองทุกข์ เข้าใจถูกต้องไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

โดย: nava IP: 27.130.80.101 28 กุมภาพันธ์ 2560 12:14:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ดูกรภิกษุทั้งหลาย : บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
Friends' blogs
[Add จูปีเตอร์เทพแห่งดาวพฤหัส's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.