Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
ทริป พุหางนาค อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ตอนที่ 2


แล้วก็ถึงสำนักสงฆ์พุหางนาค ชมป้ายก่อน

--------

แปลกแต่จริง พบลานหิน อายุนับล้านปี วางเรียงรายซ้อนกันตามธรรมชาติ อย่างน่าอัศจรรย์

พิสูจน์ความจริงด้วยตาของคุณเองได้แล้ววันนี้

ที่สำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาค อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี


เปิดให้เข้าชมเวลา 9.00น.ทุกวัน ติดต่อสอบถาม 087-811-7890




มัคคุเทศก์น้อยรอพวกเราอยู่แล้ว น่ารักจริงๆ





หนูชื่อแคท ยินดีต้อนรับสู่พุหางนาคค่ะ





มีน้ำสมุนไพรกำลังวัวเฉลิมให้ดื่ม สนใจหาซื้อไปต้มทานที่บ้านได้ ย่าลองทานแล้วมีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ดื่มแล้วชื่นใจจริงๆค่ะ

*****

หญ้ากำลังวัวเฉลิม

พืชสมุนไพรในพื้นที่ ที่นำมาต้ม กลิ่นหอม และรสชาดคล้ายน้ำใบเตย แต่สรรพคุณ น่าสนใจ แก้ปวดเมื่อย

ปวดข้อ ขับพิษต่างๆ บำรุงกำลัง ฯลฯ

****


//www.suphan.biz/puhangnak.htm





สำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาค อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี





สองหนูน้อยกำลังสนใจภาพจากพุหางนาค





คุณชาลี ตัวแทนชาวโอเค.มอบเงินสนับสนุนให้ทางสำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาค





อ.เจี๊ยบตัวแทนมอบน้ำดื่ม





จากนั้นก็เตรียมลุยกันเลยค่ะ





คุณชาลีชี้ให้ดูโพรงนกแก๊ก มีหลายโพรงจัง ต้นนี้คงอายุเป็นร้อยปีได้มัง





'พุหางนาค'แห่งเมืองอู่ทอง

'พุหางนาค'แห่งเมืองอู่ทอง ความงดงามบนปากเหวแห่ง 'หายนะ' จากสัมปทานระเบิดหิน : คอลัมน์ชวนเที่ยว

ชื่อของ “พุหางนาค” สวนหินล้านปีแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มเป็นที่รู้จักกันดีในช่วงปีที่ผ่านมา ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยว บุกเบิกใหม่ที่มีความงดงามโดดเด่น มีความหลากหลายทางธรรมชาติ มีแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ บนเทือกเขาเตี้ยๆ ใกล้กับตัวเมืองอู่ทองทางทิศตะวันตก

พุหางนาค เป็นพื้นที่ภูเขาในเขตการดูแลของวนอุทยานพุม่วง เริ่มมีการพัฒนาปรับปรุงให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ โดยกลุ่มผู้คนในท้องถิ่นที่เห็นความสำคัญ ต้องการอนุรักษ์ผืนป่าและปกป้องพรรณไม้หายากที่พบดาษดื่นอย่างจันผา ปรง กระเจียวป่า สลัดได ผกากรอง สุพรรณิการ์ มะค่า สมุนไพรพื้นเมือง รวมไปถึงสัตว์ขนาดเล็กที่ถูกไล่ล่าจนเกือบจะสูญพันธุ์อย่างไก่ป่ามิให้ถูกทำลาย
ไป โดยมีคุณภาคภูมิ จิตต์โสภณ และสำนักสงฆ์พุหางนาคเป็นแกนนำสำคัญ


ในช่วงแรกของการเริ่มต้นอนุรักษ์ อาสาสมัครที่เป็นคนในพื้นที่ได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม ”ชมรมอาสาสมัครนำเที่ยวสำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาค” จัดเวรยามออกเดินเท้าเป็นหูเป็นตาขับไล่คนมักง่ายที่แอบลักลอบขึ้นมาตัดพรรณไม้หายาก ล่าสัตว์และเก็บหินที่ มีความสวยงามลงไปขาย แต่ผลพลอยได้จากความตั้งใจเดิม ได้ขยายมาเป็นการสำรวจเส้นทางเดินเพื่อสร้างการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
และความต้องการที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมบนเขาพุหางนาคที่แปลกตาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของท้องถิ่นอู่ทองในอนาคต


ความโดดเด่นของพุหางนาค นอกจากความหลากหลายของพันธุ์ไม้หายาก ยังมีโขดหินรูปร่างแปลกตาของภูเขา “หินปูนโดโลไมต์” ที่มีอายุราว 450-500 ล้านปี ในยุคออร์โดวิเชียน พื้นผิวบนสุดของภูเขาเป็นชั้นหินแปร เรียกว่า “หินแคลซิลิเกต” มีลักษณะของ เนื้อหินดูเป็นริ้วแนว (Foliation) คดโค้ง (Fold) คล้ายเปลือกไม้ และลายแถบเป็นชั้นแผ่นบาง (Lamina) สีอ่อนสลับสีเข้มในชั้นหิน
เมื่อกระบวนการทางธรณีวิทยาของเปลือกโลกได้ยกเค้นดันให้เกิดเป็นเทือกเขาสูงขึ้นจากที่เคยอยู่ใต้ทะเล เกิดการกัดเซาะและการแปรสภาพเป็นสนิมหินผุพังจากน้ำฝน ลมพายุ รวมไปถึงการชอนไชของรากไม้และการสะสมของกรดตะกอนดิน ได้ก่อให้เกิดสวนหินรูปร่างแปลกตา ที่กลายมาเป็นจินตนาการของผู้คนที่มาเยือน ทั้ง เต่ายักษ์ ปลาวาฬ และลูก จระเข้ หินรูปหัวใจ ในสวนหินพุหางนาค


ในช่วงปีแรกของการ “ปกป้องและพัฒนา” ที่เริ่มต้นโดย “ภาคประชาชน” ในท้องถิ่น หน่วยงานรัฐหลายแห่งก็ได้ช่วยอำนวยความสะดวกและให้แนวทางการพัฒนาแก่กลุ่มผู้นำในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา วนอุทยานพุม่วง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช หน่วยงานราชการผู้ดูแลพื้นที่ ได้ประสานความร่วมมือกับกลุ่มอาสาสมัคร ให้มีการสำรวจขยายพื้นที่เส้นทางท่องเที่ยวจากสวนหินของพุหางนาคเดิมออกไปทางเขารางกระปิด เขาทำเทียมและเขาคอก ซึ่งในช่วงเดือนกรกฎาคม

ที่ผ่านมา กลุ่มอาสาสมัครได้มีการพบสิ่งก่อสร้างเก่าแก่บนยอดเขามากกว่า 15-20 จุด เป็น “อาคารหินเทิน” สัณฐานรูปทรงกลมที่มีการนำหินแคลซิลิเกตสกัดเป็นก้อน ขนาดที่แรงมนุษย์สามารถยกได้เพียงคนเดียวมาเรียงซ้อนขึ้นเป็นอาคารรูปทรงกระบอกหากสมบูรณ์จะมีความสูงประมาณ 3-4 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เมตร ด้านหลังอาคารถูกปรับพื้นที่เป็นลานดินราบเสมอ เฉพาะอาคารหินบนยอดเขาสูงสุด 2 ยอดของเทือกเขา ก็พบอาคารหินที่มีการปรับพื้นด้านหลังเป็นลานกว้าง ชิ้นส่วนของหินศิลาแลงที่มีลวดลายปูนปั้นทำเป็นยอดสถูปและเศษอิฐแบบวัฒนธรรมทวารวดีที่มีการผสมแกลบข้าวอ้วนป้อมอยู่ในเนื้อ ถูกขุดรื้อเพื่อหาวัตถุโบราณ กระจายตัวอยู่ทั่วบริเวณยอดเขา


อาจารย์วรณัย พงศาชลากร นักวิชาการอิสระทางมานุษยวิทยา ให้ความเห็นที่น่าสนใจไว้ว่า รูปแบบของอาคารหินใกล้พุหางนาคในครั้งแรกสร้างนั้น ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อและศาสนาพื้นเมือง แบบที่เรียกว่า “หินตั้ง” ที่จะปรากฏหินรูปแบบต่างๆ ล้อมรอบพื้นที่หรือศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นอาคารหอคอยหิน หรือ “หอหินเทิน” (Stone Tower) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ ในการ “ตามไฟ” (Illuminations) จากหลักฐานที่จะพบจุดที่ตั้งของหอหินเทินบนยอดเนินเขาลดหลั่น เฉพาะทางฝั่งทิศตะวันออกของเทือกเขาที่หันหน้าไปทางแม่น้ำจระเข้สามพัน และแนวฝั่งทะเลตมโบราณ(ป่าโกงกาง) ของเมืองอู่ทองในยุค 1,800-2,000 ปี ก่อนการเกิดของเมืองรูปวงกลมในยุคทวารวดีเท่านั้น


การสร้างหอหินตามไฟ เฉพาะทางฝั่งเขาทิศตะวันออกที่รับกับแนวฝั่งทะเลโบราณ ก็เพื่อใช้เป็นจุดสังเกต (Landmark)ของการเดินทางโดยทางน้ำเข้าสู่ที่ตั้งของชุมชนโบราณในยุคแรกเริ่มที่เทคโนโลยียังต้องพึ่งพาธรรมชาติ ไม่ทันสมัยเหมือนในปัจจุบันจากป่าโกงกางที่มีคลองซับซ้อนห่างไกล เมื่อมองมายังแนวเขาทอดตัวยาว กลางวันก็จะเห็นควัน กลางคืนจะเห็นไฟ เป็นหลักฐานสำคัญ

ในช่วงแรกแห่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในภูมิภาค (ชนพื้นเมือง) กับวัฒนธรรม-ผู้คนภายนอก (จากอินเดีย) ก่อนจะพัฒนาเข้าสู่วัฒนธรรมทวารวดีในช่วงต่อมาจนเมื่อน้ำทะเลงวดลงในหลายร้อยปีต่อมา เส้นการเดินทางทั้งทางน้ำและทางบกเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น หอหินเทินบนยอดเขาจึงหมดความสำคัญลง จนผู้คนในยุควัฒนธรรมทวารวดีในช่วง 1,100-1,300 ปีที่แล้ว ได้กลับขึ้นมาบนยอดเขาและได้ดัดแปลงส่วนบนของหอหินเทิน ให้กลายมาเป็นสถูปเจดีย์บน “พระสุเมรุ” สมมุติ สถาปนาให้เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อทางพุทธศาสนาในยุคนั้น


การสำรวจพบหอหินเทิน บนเทือกเขาที่มีความงดงามทางธรรมชาติและความหลากหลายของพืชพรรณที่เขาพุหางนาค ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ของการท่องเที่ยวให้กับเมืองอู่ทอง ที่มีทั้งแหล่งโบราณคดีเก่าแก่มากมาย พืชพันธุ์สมุนไพรที่น่าสนใจอย่าง กำลังวัวเฉลิม,ว่านสามสิบ (สาวร้อยผัว), จันผาป่าปรง และสวนหิน 500 ล้านปี แถมยังมีการจัดการท่องเที่ยวแบบมี “จิตสำนึก” โดยภาคประชาชนที่เข้มแข็งในท้องถิ่น


ถึงในวันนี้จะได้หมดอายุสัมปทานไปแล้ว แต่ร่องรอยแนวหน้าผาหินสีขาวสะดุดตาที่เกิดจากการระเบิดหินก็ยังคงเป็นความกังวลใจของผู้คนในท้องถิ่น เกรงว่าผู้มีอำนาจรัฐหันจะกลับไปต่อสัมปทานบัตรให้อีก ซึ่งนั้นก็หมายความว่า หลักฐานของอาคารหินยุคเริ่มแรกแห่งสุวรรณภูมิ ที่ในวันนี้หลายแห่งก็ตั้งชิดติดกับปากเหวของหน้าผา และหลายแห่งก็ได้อันตรธานหายไปแล้วกับการระเบิดหินในอดีต


หากในวันใดช่วงก่อนเที่ยง ชาวเมืองอู่ทองยังคงได้ยินเสียง “ตูม” ขึ้นอีกเพียงครั้ง เท่ากับหายนะมาเยือนสถานที่แห่งนี้อีกครั้ง และนั่นก็แสดงว่า ความงดงาม ความหลากหลายและหลักฐานเก่าแก่บนเทือกเขาและที่พุหางนาค ไม่ได้มีความสำคัญใดๆ กับเมืองสุพรรณบุรีเลย

การเดินทาง : จากวงเวียนหอนาฬิกา อ.อู่ทอง เลี้ยวไปตามเส้นทางไปวัดเขาพระ แยกซ้ายมีป้ายเล็กๆ บอกทางไปสำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาค

เลี้ยวไปตามเส้นทางจะมีป้ายบอกทางตลอด จนไปสิ้นสุดที่สำนักสงฆ์

...................

('พุหางนาค'แห่งเมืองอู่ทอง ความงดงามบนปากเหวแห่ง 'หายนะ' จากสัมปทานระเบิดหิน : คอลัมน์ชวนเที่ยว)


//www.komchadluek.net/detail/20120819/137977/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87.html#.UHI1Ia6ECb8

ชมอ.วรนัย เล่าที่พุหางนาค ที่่ช่องระวังภัย ได้รายละเอียดเยอะดีค่ะ


//www.rawangpai.com/home/program/ok-social/20120804/4525/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84-4-%E0%B8%AA%E0%B8%84-55--%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87-2/




ต้นไม้เติบโตอย่างทรหดบนหิน





ชมสวนหิน





การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง


ป้ายคติธรรมมีอยู่ทั่วไปในสำนักสงฆ์ถ้ำพุหางนาคแห่งนี้

ในภาพคือเสาอโศกจำลองของพระเจ้าอโศกมหาราช





แค่เริ่มต้นก็ต้องปีนป่ายบันไดทางขึ้นเสียก่อน





จากนั้นก็เข้าสู่โซน หินลับแล

หินรูปหัวลิง





เหมือนปลาซักเกอร์





ต้นสลัดไดที่นี่มีอยู่มากมาย ตอนไปไม่ใช่ช่วงออกดอก





แนวหินสูงใหญ่ระหว่างทาง





หินรูปหัวใจ





รากไม้เหนี่ยวรัดตามซอกหิน





เส้นสายศิลป์จากรากไม้





หินรูปช้างสามเศียร





ตรงนี้เหมือนช้างทั้งตัวไหมคะ





แม้แต่หินที่ซ้อนกันลวดลายยังไม่เหมือนกัน คงเป็นที่ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่ต่างกัน





ความมหัศจรรย์ของหินรายทาง





สำรวจเนื้อหินที่มีลวดลายแตกต่างกันในแต่ละจุด



แต่ละก้อนที่เรียงซ้อนกันใหญ่มหึมา





และแล้วเราก็มาถึงจุดชมวิว สามารถมองเห็นได้ทั้งเมืองสุพรรณเลยทีเดียว





ท้องฟ้าที่มืดคลึ้มไปด้วยเมฆหมอก จึงทำให้ได้ภาพที่ไม่แจ่มนัก





หินงาม,ป่างาม นางแบบก็งาม





ความอ่อนโยนบนความแข็งแกร่ง





ต้นกล้วยไม้บนคาคบ และเหล่าบรรดานักเก็บเกี่ยวความงามของธรรมชาติ





ลวดลายคล้ายเกลียวคลื่น แม้หินผาอันแข็งแกร่งยังเกิดลวดลายพริ้วไหวได้

ปรึศนาที่จะต้องค้นหาความจริงกันต่อไป





เหล่าสมาชิกเก็บความงามของดอกไม้จิ๋วๆ

เนื่องจากบล๊อกนี้ย่าหลงหินซะแล้ว ดอกไม้ของทริปนี้ย่าขอยกยอดไปรวมกันไว้ที่บล๊อกหน้านะคะ





ป่าไผ่อันอุดมสมบูรณ์ แทงยอดอ่อน





แลลอดชมเมืองผ่านจันผา,กอไผ่ และเหล่าไม้ใหญ่





เก็บภาพเบื้องหลังคุณนิดถ่ายคลิบร้องเพลง พุหางนาค ของน้องใบเฟริน

ชมคลิปได้จากลิงค์นี้ค่ะ


//www.oknation.net/blog/pasalarksee/2012/09/27/entry-1





หินในดงต้นตีนตุ๊กแก ที่มีอยู่มากมายในป่าแห่งนี้





กองหินมหัศจรรย์ ตรงจุดขาวเหลืองที่หินก้อนบน น้องเฟรินชี้ให้ดูลวดลายเหมือนพญานาค

ภาพระยะใกล้ดูได้ที่บล๊อกคุณนิดค่ะ





จันผาสัญญารัก





หินเทินกับจันผา จุดไฮไลท์ของที่นี่





มีต้นไผ่ขอเอี่ยวเข้ามาในเฟรมด้วย





ถ่ายเจาะลายหิน ตรงโซนนี้สีหินออกสีสนิมเหล็ก ริ้วหินเป็นคลื่นอ่อนพริ้วเหมือนยามน้ำพัดซัดสาด





เดิมที อ.ศุภศรุต อยากให้ย่าไปถ่ายที่แนวหินตั้งปริศนา แต่ถามน้องเฟริน มัุคคุเทศก์น้อยของเราเธอบอกว่าต้องเดินอีกไกลเลยทีเดียว

พวกเราจึงตัดสินในเดินกลับ มีเวลาน้อยค่ะเพราะจะเดินทางกลับเย็นนี้กันเลย ไม่ได้ค้าง ขากลับจึงขอถ่ายรูปกับรากไม้ลายศิลป์เป็น

ที่ระลึกสักหน่อย ผลัดกันถ่ายกับคุณนิดด้วยกล้องของตัวเองค่ะ





ในดงไม้(สลัดได,จันผา) ถึงจะมีต้นไม้รายล้อมดูร่มรื่นอยู่ แต่พวกเราชุ่มโชกไปด้วยเหงื่อ





กลับลงมาระหว่างทางเต็มไปด้วยจันผา





แลลอดจันผา





ย่าไปแค่หินเมืองลับแล และจุดชมเมืองแล้วก็เดินย้อนกลับ ขอเอาแผนที่สวนหินธรรมชาติเขาพุหางนาคมาให้ดู

เผื่อท่านที่สนใจจะไปเที่ยวชม ยังมีจุดที่น่าชมอีกมากมาย เรียกว่าหากขึ้นเขาตั้งแต่เช้า เดินสำรวจทั้งวันก็ไม่รู้ว่า

จะครบทุกจุดหรือเปล่า ย่าจึงฝากท่านผู้อ่านหากไปเที่ยวที่นี่อย่าลืมถ่ายภาพมาให้ชมกันบ้างนะคะ




ต่อไปเป็นตอนที่ 3 ดอกไม้จากทริปนี้และเก็บตกอีกเล็กน้อยค่ะ


Create Date : 05 ตุลาคม 2555
Last Update : 8 ตุลาคม 2555 10:16:48 น. 3 comments
Counter : 6733 Pageviews.

 
เห็นหิน โครงสร้าง ความแปรปรวนจาก ความร้อนที่เกิด
ขึ้นกับหินหรือลาวา ทำให้เกิดภาพต่าง ๆ ตามจินตนาการ
ของแต่ละคน น่าดูครับ

ตามความเห็นของผมนะครับ สำนักสงฆ์อยู่ตรงนั้นก็ดี
แล้วจะได้ดึงดูดคนให้มาเที่ยว หาความรู้

แต่ก็ไม่ควรให้ขยายพื้นที่เพื่อสร้างถาวรวัตถุอีก มันจะ
ทำให้ ธรรรมชาติเสียไป

บาปหรือเปล่าครับนี่


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 5 ตุลาคม 2555 เวลา:12:44:56 น.  

 
สวัสดีค่ะย่าดา..

ชอบโพรงนกบนต้นไม้จัง..

ต้นหนึ่งมีตั้งหลายโพรงแน่ะ..

รากต้นไม้ก็สวยนะคะ ใหญ่มากๆ

ย่าดาผอมไปหรือเปล่าค่ะ..?

แต่ก็เพียวลมดี เวลาเดินไกล้จะเดินไม่เหนื่อยมากนะค่ะ

รักษาสุขภาพด้วยนะค่ะ ตอนนี้ แกมี มาบุกถึงบ้านแล้ว

ต้องระวังนำ้จะท่วมเอานะค่ะ



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 5 ตุลาคม 2555 เวลา:13:02:09 น.  

 
คุณไวน์ตอนนี้ ภาคประชาชน,ภาครัฐ เขาช่วยกันดูแลอยู่ค่ะ

ย่าไม่ผอมหรอกค่ะ เพียงแต่ตอนนี้พยายามออกกำลังกายโดยการว่ายน้ำทุกวัน ตัวดำเชียว


โดย: ดา ดา วันที่: 5 ตุลาคม 2555 เวลา:13:17:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ดา ดา
Location :
1 Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Friends' blogs
[Add ดา ดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.