พฤศจิกายน 2554

 
 
2
3
4
5
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
 
 
ภาษาเสปนน่ารู้

ลักษณะเฉพาะ




สิ่งบ่งชี้ลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของภาษาสเปนก็คือ การเปลี่ยนเสียงสระเดี่ยวที่มาจากภาษาละติน ได้แก่ สระ e และสระ o ให้กลายเป็นเสียงสระประสมสองเสียง (diphthong) คือสระ ie และสระ ue ตามลำดับเมื่อสระทั้งสองอยู่ในตำแหน่งที่ลงเสียงหนักภายในคำ การกลายเสียงที่คล้ายกันนี้ยังสามารถพบได้ในภาษาโรมานซ์อื่น ๆ แต่สำหรับภาษาสเปน ลักษณะเหล่านี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ละติน petra > สเปน piedra; อิตาลี pietra; ฝรั่งเศส pierre; โรมาเนีย piatrǎ; โปรตุเกส/กาลิเซีย pedra; คาตาลัน pedra ‘ก้อนหิน’

ละติน moritur > สเปน muere; อิตาลี muore; ฝรั่งเศส meurt / muert; โรมาเนีย moare; โปรตุเกส/กาลิเซีย morre; คาตาลัน mor ‘เขาตาย’

ความประหลาดอีกอย่างหนึ่งของภาษาสเปนยุคแรก (เช่นเดียวกับในภาษาถิ่นกาสกองของภาษาอ็อกซิตัน และเป็นไปได้ว่าเป็นอิทธิพลจากภาษาบาสก์ซึ่งเป็นภาษาพื้นเดิม) คือการกลายรูปพยัญชนะจาก f- ต้นคำ เป็น h- เมื่อใดก็ตามที่ f- ตัวนั้นตามหลังด้วยสระเดี่ยวที่จะไม่กลายเป็นสระประสม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ละติน filium > อิตาลี figlio; โปรตุเกส filho; ฝรั่งเศส fils; อ็อกซิตัน filh (แต่ กาสกอง hilh); สเปน hijo (แต่ ลาดิโน fijo) ‘ลูกชาย’

ละติน fabulari > ลาดิโน favlar; โปรตุเกส falar; สเปน hablar ‘พูด’

แต่ ละติน focum > อิตาลี fuoco; โปรตุเกส fogo; สเปน/ลาดิโน fuego ‘ไฟ’

พยัญชนะควบกล้ำบางตัวในภาษาละติน เมื่อมีวิวัฒนาการไปเป็นส่วนหนึ่งของภาษาต่าง ๆ ในกลุ่มโรมานซ์ยังเกิดผลแตกต่างกันอย่างเป็นเอกลักษณ์ในภาษาเหล่านี้ด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ละติน clamare, flammam (รูปกรรม), plenum > ลาดิโน lyamar, flama, pleno; สเปน llamar, llama, lleno (แต่ภาษาสเปนก็มีรูป clamar, flama, pleno ด้วย); โปรตุเกส chamar, chama, cheio

ละติน octo (รูปกรรม), noctem, multum > ลาดิโน ocho, noche, muncho; สเปน ocho, noche, mucho; โปรตุเกส oito, noite, muito; กาลิเซีย oito, noite, moito



ตัวอักษร





ตัวอักษรเอเญบนแป้นพิมพ์สเปน

ภาษาสเปนใช้อักษรละตินในการเขียนเช่นเดียวกับภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป แต่จะมีอักขระเพิ่มขึ้นมาหนึ่งตัวคือ ‹ñ› หรือเรียกว่า "เอเญ" นอกจากนี้ยังมีทวิอักษร ‹ch› "เช" และ ‹ll› "เอเย" โดยถือว่าทั้งสองเป็นตัวอักษรในชุดตัวอักษรสเปนอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1803[51][52] เนื่องจากใช้แทนเสียงที่ไม่ใช่เสียงเดียวกับเสียงตัวอักษรที่ประกอบขึ้นเป็นตัวมันเอง กล่าวคือ ‹ñ› แทนหน่วยเสียง /ɲ/, ‹ch› แทนหน่วยเสียง /t͡ʃ/ และ ‹ll› แทนหน่วยเสียง /ʎ/ หรือ /ɟ͡ʝ/ ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม แม้ทวิอักษร ‹rr› "เอเรโดเบล" หรือเรียกอย่างง่ายว่า "เอร์เร" (คนละตัวกับ ‹r› "เอเร") จะแทนหน่วยเสียงต่างหากเช่นกันคือ /r/ แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรต่างหากเหมือน ‹ch› และ ‹ll›

ในการประชุมครั้งที่ 10 ของสมาคมบัณฑิตยสถานภาษาสเปนซึ่งจัดขึ้นที่กรุงมาดริดเมื่อปี ค.ศ. 1994 ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยในหลักการใช้ชุดตัวอักษรละตินแบบสากลตามที่องค์กรระหว่างประเทศหลายองค์กรร้องขอ ส่งผลให้ทวิอักษร ‹ch› และ ‹ll› ไม่ถือเป็นตัวอักษรโดด ๆ แต่ถือเป็นพยัญชนะซ้อน เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและการเรียงลำดับคำในพจนานุกรม คำต่าง ๆ ที่ขึ้นต้นด้วย ‹ch› จึงถูกนำไปจัดเรียงอยู่ระหว่างคำที่ขึ้นต้นด้วย ‹ce› และ ‹ci› แทน ต่างจากเดิมที่ถูกจัดไว้ต่อจากคำที่ขึ้นต้นด้วย ‹cz› ส่วนคำที่ขึ้นต้นด้วย ‹ll› ก็ถูกจัดอยู่ระหว่างคำที่ขึ้นต้นด้วย ‹li› และ ‹lo› เช่นกัน อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปครั้งนี้มีผลเฉพาะต่อการเรียงลำดับคำตามตัวอักษรเท่านั้น ไม่มีผลต่อชุดตัวอักษรสเปนซึ่งทวิอักษร ‹ch› และ ‹ll› ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในนั้นอยู่[53]

ดังนั้น ชุดตัวอักษรสเปนจึงยังคงมี 29 ตัว[54] ได้แก่

a, b, c, ch, d, e, f, g, h, i, j, k, l, ll, m, n, ñ, o, p, q, r, s, t, u, v, w, x, y, z




เครื่องหมายอื่น ๆ



คำสเปนแท้จะมีการลงน้ำหนักที่พยางค์ก่อนพยางค์สุดท้ายของคำ หากคำนั้นลงท้ายด้วยสระ (ไม่รวม ‹y›) หรือลงท้ายด้วยพยัญชนะ ‹n› หรือ ‹s› นอกนั้นจะลงน้ำหนักที่พยางค์สุดท้าย แต่ถ้าตำแหน่งที่ลงน้ำหนักในคำไม่เป็นไปตามกฎดังกล่าว สระในพยางค์ที่ถูกเน้นก็จะมีเครื่องหมายลงน้ำหนักเด่นชัด (acute accent) กำกับไว้ข้างบน เช่น página, décimo, jamón, tailandés และ árbol

นอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องหมายลงน้ำหนักเด่นชัดเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างคำพ้องเสียง เช่น ระหว่าง el (คำกำกับนามเพศชาย ชี้เฉพาะ) กับ él (‘เขา’ สรรพนามบุรุษที่ 3 เอกพจน์ รูปประธาน) หรือระหว่าง te (‘เธอ’ สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์ รูปกรรม) de (‘แห่ง’ หรือ ‘จาก’) และ se (สรรพนามสะท้อน) กับ té (‘น้ำชา’) dé (‘ให้’) และ sé (‘ฉันรู้’ หรือ ‘จงเป็น...’)

ในภาษาสเปน จะมีการลงน้ำหนักสรรพนามคำถามต่าง ๆ เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น qué (‘อะไร’), cuál (‘อันไหน’), dónde (‘ที่ไหน’), quién (‘ใคร’) ทั้งที่อยู่ในประโยคคำถามตรง (direct questions) และประโยคคำถามอ้อม (indirect questions) ส่วนคำระบุเฉพาะ (demonstratives) เช่น ése, éste, aquél และอื่น ๆ จะลงน้ำหนักเมื่อใช้เป็นสรรพนาม

คำสันธาน o (‘หรือ’) จะเขียนโดยใส่เครื่องหมายลงน้ำหนักเมื่ออยู่ระหว่างจำนวนที่เป็นตัวเลข เพื่อไม่ให้สับสนกับเลขศูนย์ เช่น 10 ó 20 จะอ่านว่า diez o veinte (‘10 หรือ 20’) ไม่ใช่ diez mil veinte (‘10,020’) แต่เครื่องหมายลงน้ำหนักมักจะถูกละบ่อยครั้งเมื่อสระที่มันกำกับเสียงหนักอยู่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ (ในยุคแรก ๆ คอมพิวเตอร์บางเครื่องสามารถพิมพ์ได้เฉพาะตัวพิมพ์เล็กที่มีเครื่องหมายนี้กำกับเท่านั้น) แต่ราชบัณฑิตยสถานสเปนแนะนำว่าไม่ควรทำเช่นนั้น

ในบางกรณี เมื่อตัวอักษร ‹u› อยู่ระหว่างพยัญชนะ ‹g› กับสระหน้า (‹e, i›) จะต้องใส่เครื่องหมายเสริมสัทอักษรกำกับเป็น ‹ü› เพื่อบอกว่าเราต้องออกเสียง u ตัวนี้ด้วย (ปกติตัว ‹u› จะทำหน้าที่กันไม่ให้ ‹g› ที่จะประกอบขึ้นเป็นพยางค์กับสระ ‹e› หรือ ‹i› ออกเสียงเป็น /x/ เราจึงไม่ออกเสียงสระ ‹u› ในตำแหน่งนี้) เช่น cigüeña (‘นกกระสา’) จะออกเสียงว่า /θiˈɡweɲa/ [ซี.กฺเว.ญา] แต่ถ้าสะกดว่า *cigueña จะต้องออกเสียงเป็น /θiˈɡeɲa/ [ซี.เก.ญา] นอกจากนี้ เรายังอาจพบเครื่องหมายเสริมสัทอักษรดังกล่าวบนสระ ‹i› และ ‹u› ได้ในกวีนิพนธ์ต่าง ๆ เนื่องจากผู้แต่งต้องการแยกสระประสม (ซึ่งปกตินับเป็นหนึ่งพยางค์) ออกเป็นสองพยางค์ เพื่อให้มีจำนวนพยางค์ในวรรคตรงตามที่ฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์ชนิดนั้น ๆ บังคับไว้พอดี เช่น ruido มีสองพยางค์คือ rui-do [รุยโด] แต่ ruïdo มีสามพยางค์คือ ru-ï-do [รูอีโด]




อีกประการหนึ่ง การเขียนประโยคคำถามจะขึ้นต้นด้วยปรัศนีหัวกลับ ‹¿› ส่วนประโยคอุทานก็จะขึ้นต้นด้วยอัศเจรีย์หัวกลับ ‹¡› เครื่องหมายพิเศษสองตัวนี้ช่วยให้เราอ่านประโยคคำถามและประโยคอุทาน (ซึ่งจะแสดงออกให้ทราบได้ด้วยการใช้ทำนองเสียงแบบต่าง ๆ เมื่อสนทนาเท่านั้น) ได้ง่ายขึ้น โดยเราจะทราบได้ตั้งแต่แรกว่าประโยคยาว ๆ ที่อ่านอยู่เป็นประโยคแบบใด (บอกเล่า คำถาม หรืออุทาน) ในภาษาอื่นไม่จำเป็นต้องใช้ ‹¿› และ ‹¡› เนื่องจากมีระบบวากยสัมพันธ์ที่ไม่ก่อให้เกิดความกำกวมในการอ่าน เพราะโดยทั่วไปแล้ว การสร้างประโยคบอกเล่ามักจะนำประธานมาไว้ต้นประโยคแล้วจึงตามด้วยกริยา เราจะย้ายกริยามาไว้ต้นประโยคแล้วตามด้วยประธานก็ต่อเมื่อทำเป็นประโยคคำถาม แต่ในภาษาสเปน เราสามารถเรียงลำดับโดยให้กริยามาก่อนประธานได้เป็นปกติ ไม่ว่าในประโยคบอกเล่าหรือประโยคคำถาม และมักจะละประธานออกไปด้วย (เช่น Is he coming tomorrow?, Vient-il demain?, Kommt er morgen? และ ¿Viene mañana?)


ขอบคุณ วิกิพีเดีย






Create Date : 07 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2554 12:37:39 น.
Counter : 431 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

lizFah
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เปิดบล็อกวันที่ 26 ตค 54

New Comments
MY VIP Friend