space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2559
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
2829 
space
space
2 กุมภาพันธ์ 2559
space
space
space

ที่มา การเคารพธงชาติไทย การแสดงความเคารพ

การยืนเคารพธงชาติ ประเพณีนิยมที่เราได้รับการปลูกฝังให้ปฏิบัติตามตั้งแต่เด็ก เมื่อเข้าเรียนระดับอนุบาลก็มีพีธีเคารพธงชาติหน้าเสาธงที่เราได้ปฏิบัติกันอย่างพร้อมเพรียงก่อนเข้าเรียน จนถึงระดับมัธยมศึกษาก็ยังคงมีพิธีนี้อยู่ และเมื่อได้เข้าทำงานในบางแห่งก็มีการเคารพธงชาติก่อนจะเริ่มงานในแต่ละวัน แต่รู้หรือไม่ว่าประเทศไทยเรามีการเคารพธงชาติกันครั้งแรกเมื่อใด และเหตุใดจึงต้องมีการเคารพธงชาติ

ลัทธิชาตินิยมในสังคมไทย?

ชาตินิยม คือความเป็นสมัยใหม่ในลักษณะที่เป็นเครื่องมือนำไปสู่การสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ระบบบริหารเดียวกัน ประเพณี วัฒนธรรมเดียวกัน และเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันต่อชาติ

ลัทธิชาตินิยมในสังคมไทยเกินขึ้นเมื่อสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า จึงได้คิดหาวิธีที่จะให้รัฐบาลของตนมั่นคงและบริหารประเทศได้นานที่สุด วิธีที่ทำได้ดีที่สุดคือ พยายามชักจูงประชาชนให้สนับสนุนตนมากที่สุด โดยใช้วิธีการปลูกฝังลัทธิชาตินิยมในหมู่ประชาชน

ในช่วงนั้นก็มีเหตุการณ์ที่ฝรั่งเศสบีบบังคับเอาดินแดนไปจากไทย และการเข้าร่วมกับญี่ปุ่นเพื่อประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา จึงทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกร่วมที่จะสนับสนุนรัฐบาล ต่อมามีการประกาศใช้รัฐนิยมอย่างเป็นทางการซึ่งมีแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเคารพธงชาติในประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 4

ปลูกฝังการเคารพธงชาติ

การให้ความสำคัญกับการเคารพธงชาติหลังจากผ่านการประกาศรัฐนิยมให้มีการเคารพธงชาติแล้ว รัฐบาลยังได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุกระจายเสียง โดยผ่านทางรายการสนทนาระหว่างนายมั่น ชูชาติกับนายคง รักไทย (เป็นชื่อที่สมมติขึ้นเพื่อส่งเสริมลัทธิชาตินิยมโดยตรง) ในรายการสนทนาระหว่างนายมั่น-นายคงนั้น ? ได้พูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับธงชาติ ความสำคัญของธงชาติ และการประดับธงชาติในวันสำคัญต่างๆ

การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ชักชวนให้ประชาชนเคารพธงชาตินั้นก็ได้มีการกล่าวถึงความสำคัญของธงชาติว่าเป็นเครื่องหมายของความเป็นชาติ ความเป็นไทย และเป็นที่รวมแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนายมั่น-นายคง ได้กล่าวไว้วันที่ 14 กันยายน พ.ศ.2485?กำหนดนัดหมายประชาชนให้เคารพธงชาติพร้อมกันทั่วทั้งประเทศดังนี้

“…ทงชาติเปนเครื่องหมายของความเปนเอกราชของชาติไทย เปนเครื่องหมายที่รวมความสูงสักดิ์ และความสักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงของชาติไทย…”?

“เมื่อเช้านี้เท่ากับเราได้เปิดฉากไหม่ของชีวิตชาติไทยอีกด้านหนึ่ง คือการเคารพทงชาติ ซึ่งเปนด้านสำคันมาก เพราะเปนการรวมจิตไจของคนทั้งชาติเข้าด้วยกัน รวมจิตไจของคนทั้งชาติ เข้าสู่ความเปนเอกราชของชาติ และเกียรติอันสูงสุดของชาติที่รวมหยู่ที่ทงชาติไทย แม้การนี้จะได้นัดแนะกันล่วงหน้าไม่กี่วันก็ตาม แต่ได้ผลส่วนรวมเปนที่น่ายินดีมาก เท่าที่ฉันได้ยินได้ฟังจากบุคคลที่หยู่ไนสถานที่ต่างๆ กัน จะยังมีบกพร่องกันบ้างเล็กน้อยนั้น เข้าไจว่าคงเกิดจากยังไม่เข้าไจกันดี”

จากที่ได้กล่าวมาจะพบว่าการเคารพธงชาติเกิดจากลัทธิชาตินิยมในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ต้องการหล่อหลอมให้เกิดความเป็นหนึ่งเดียวของคนในชาติ เกิดความรู้สึกรักชาติ และในปัจจุบันก็ยังคงมีการเคารพธงชาติอยู่เพื่อแสดงถึงการเคารพต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตชาวไทย

การประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่?4 เรื่องการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี

จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีความเห็นว่า ธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นสิ่งที่ชาวไทยควรให้การเคารพ และเชิดชู คณะรัฐมนตรีจึงได้ประกาศรัฐนิยมฉบับที่ 4 เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2482 ดังนี้

1. เมื่อได้เห็นการชักธงชาติขึ้นหรือลงจากเสาประจำสถานที่ราชการตามเวลาปกติ หรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยวหรือนกหวีดเป่าคำนับ หรือให้อาณัติสัญญาณการชักธงชาติ หรือลดธงชาติ ให้ทุกคนแสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม

2. เมื่อได้เห็นธงไชยเฉลิมพล ธงเรือรบ ธงประจำกองยุวชนทหาร หรือธงประจำกองลูกเสือ ให้แสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามประเพณีนิยม

3. เมื่อได้ยินเพลงชาติ ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการก็ดี ซึ่งบุคคลบรรเลงในงานพิธีอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ให้ผู้ที่ร่วมงานอยู่ในวงงานนั้นแสดงความเคารพโดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม

4. เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งทางราชการบรรเลงในราชการก็ดี ซึ่งบุคคลบรรเลงในโรงมหรสพหรือในงานสโมสรใดๆก็ดี ให้ผู้ร่วมงานหรือ ที่อยู่ในงานหรือในโรงมหรสพนั้นแสดงความเคารพตามระเบียบเครื่องแบบ หรือตามประเพณีนิยม

5. เมื่อได้เห็นผู้ใดไม่เสดงความเคารพในข้อ 1, 2, 3 และ 4 นั้น พึงช่วยกันตักเตือนชี้แจงให้เห็นความสำคัญแห่งการเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี

ที่มา : www.mthai.com




Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2559
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2559 12:20:58 น. 0 comments
Counter : 2440 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 2960660
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2960660's blog to your web]
space
space
space
space
space