Creative Way... the way to the better performance

 
สิงหาคม 2549
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
30 สิงหาคม 2549
 

กับดักในการแก้ปัญหา

1. ขอบเขตของปัญหากว้างเกินไป

ถ้าปัญหานั้นใหญ่มากๆ เกี่ยวข้องกับกระบวนงาน คน และหน่วยงานหลายหน่วยงาน แล้วเราพยายามที่จะแก้ไขมันให้ได้ในคราวเดียว มันก็เหมือนกับการพยายามกินแอปเปิ้ลทั้งลูกด้วยการกลืนเพียงครั้งเดียว ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ และถ้าเราระบุปัญหาไม่ถูกต้อง ทำให้แก้ไขไม่ถูกจุ ปัญหาที่แท้จริงก็คงจะไม่มีวันหมดไป และมันจะยิ่งสร้างความสับสนและบั่นทอนกำลังใจของผู้แก้ปัญหาลงไปเรื่อยๆ

2. กำหนดวิธีแก้ปัญหา ก่อนจะได้วิเคราะห์ปัญหาอย่างจริงจัง

เราอาจตกลงไปในกับดักนี้ได้ เมื่ออยู่ในสถานการณ์เร่งด่วน ทำให้เรามุ่งแต่จะหาคำตอบมากกว่าพิจารณาว่ามันเป็นคำตอบที่ถูกต้อง ที่สามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือเปล่า

3. ลืมคนที่ใกล้ชิดกับปัญหามากที่สุด

คนที่อยู่ใกล้ชิดกับงานที่สุด มักจะรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในงานนั้นดีที่สุด และรู้ว่าควรจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร ดังนั้นเราจึงควรให้เขามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาอย่างเต็มที่

4. ไม่รู้ตัวว่าปัญหานั้นเกินกำลังอำนาจของตน

การรู้ขอบเขตอำนาจของตนเองก่อนลงมือแก้ปัญหา เป็นสิ่งดี เพราะถ้าลงมือแก้ปัญหาไปโดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ไม่สามารถทำให้แผนการปฏิบัติดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิผล หรือไม่สามารถควบคุมคนอื่นให้ทำตามแผนได้ เราก็อาจต้องประสบกับความยุ่งยากมากมาย ซึ่งอาจทำให้การแก้ปัญหาครั้งนั้นล้มเหลวได้

5. ไม่คิดหาหนทางใหม่ๆ ใช้แต่วิธีเดิมๆ

สิ่งนี้อาจเป็นเพราะว่าคนที่รับผิดชอบในปัญหาคิดสร้างสรรค์กันไม่เป็น เพราะไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องอะไร ก็จะมีทางออกหรือวิธีแก้แบบหนึ่งกำหนดไวในใจกันอยู่แล้ว

6. กล่าวโทษผู้อื่นเป็นนิจ

การชี้นิ้วว่ามันเกิดจากความผิดพลาดของคนนั้นคนนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ แต่มันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย ทั้งนี้ไม่สำคัญว่าใครผิดใครถูก เพราะมันมีแต่จะทำให้ทุกคนเป็นผู้แพ้

7. ตีตนไปก่อนไข้

การคาดคะเนเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ล่วงหน้ามากเกินไป จะทำให้สูญเสียประสิทธิผลในการแก้ปัญหาได้มากทีเดียว ตัวอย่างเช่น เครื่องตัดหญ้าของชายคนหนึ่ง เกิดเสียขึ้นมาในขณะที่เขากำลังใช้งานมันอยู่ ดังนั้น เขาจึงคิดจะไปขอยืมเครื่องตัดหญ้าของเพื่อนบ้าน แต่ขณะที่เปิดประตูเดินออกไปจากบ้าน เขาก็คิดไปต่างๆ นานา ว่า “ ถ้าเพื่อนบ้านปฏิเสธเราจะทำอย่างไร “, “เมื่อปีที่แล้วตอนพลั่วมาขุดดิน เขาก็มีท่าทางไม่ค่อยเต็มใจเท่าไร” , “เขาอาจตั้งใจว่าจะตัดหญ้าในสนามของเขาตอนบ่ายนี้” ฯลฯ
และเมื่อเขาเจอหน้าเพื่อนบ้าน เขาก็หลุดปากถามไปว่า “คุณจะทำอะไรกับเครื่องตัดหญ้าของคุณ! “ แทนที่จะเอ่ยปากขอยืมเครื่องตัดหญ้า
การคิดคาดคะเนเกี่ยวกับเพื่อนบ้านมากเกินไป ทำให้ชายผู้นี้ไม่สามารถคิดหาวิธีไปสู่เป้าหมาย – เครื่องตัดหญ้า- ได้

8. ขาดเกณฑ์ที่ดีในการตัดสินใจ

9. ไม่มีการวางแผนการปฏิบัติและการประเมินผล

อาการล้าสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และมักจะเกิดขึ้นตอนช่วงสุดท้ายของกระบวนการแก้ปัญหา ซึ่งทำให้เราละเลยต่อความสำคัญของแผนการปฏิบัติและการประเมินผลไป เพราะคิดว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการแก้ปัญหาอยู่ที่การหาทางออก ดังนั้นเมื่อได้ทางออก็ถือว่างานสำเร็จแล้ว
ทีมแก้ปัญหามีโอกาสติดกับดักอันนี้ได้ง่ายๆ เพราะเมื่อคิดหาคำตอบได้แล้ว พวกเขาก็มักจะทึกทักเอาเองว่าแต่ละคนรู้ดีอยู่แล้วว่าควรทำอะไร เมื่อไร แต่เมื่อกลับเข้าสู่งานในหน้าที่ของตน พวกเขาก็จะวุ่นอยู่กับงานจนไม่ได้ดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ปํญหานั้น และคาดว่าผู้ร่วมทีมคนอื่นๆ คงกำลังดูแลปัญหาเรื่องนั้นอยู่

จากหนังสือ "เทคนิคการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ"




 

Create Date : 30 สิงหาคม 2549
0 comments
Last Update : 30 สิงหาคม 2549 12:25:30 น.
Counter : 1259 Pageviews.

 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

CreativeWay
 
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




[Add CreativeWay's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com