ส่งเสริมสนับสนุน การปลูพืชคลุมดิน เพื่อคืนความสมดุลให้กับผืนดิน อยากเห็นสังคมที่มีคามเห็นแตกต่างได้ แต่ไม่แตกแยก
Group Blog
 
 
สิงหาคม 2551
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 สิงหาคม 2551
 
All Blogs
 

การปลูกพืชคลุมดินซีรูเลียมให้ประสบผลสำเร็จ

การปลูกพืชคลุมดินซีรูเลียมให้ประสบผลสำเร็จ

การปลูกพืชคลุมดินซีรูเลียมให้ประสบผลสำเร็จ
สอบถามเพิ่มเติม covercrops Tel. 08-6157-9205
การปลูกพืชคลุมดินซีรูเลียมให้ประสบผลสำเร็จ
การปลูกยางพารานั้นจะประสบผลสำเร็จได้นอกจากจะต้องมีการเตรียมพื้นที่ การใช้พันธุ์ยางที่ดี และต้องบำรุงรักษาสวนยางอย่างสม่ำเสมอแล้ว การกำจัดวัชพืชก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมากและใช้ต้นทุนในอัตราสูง โดยเฉพาะสวนยางพาราในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งการกำจัดวัชพืชจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากพบว่าตั้งแต่เริ่มปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา เกษตรกรส่วนหนึ่งที่ปลูกยางพาราไม่ประสบผลสำเร็จเพราะสวนยางได้รับความเสียหายจากการถูกไฟไหม้เป็นจำนวนมาก ส่วนสาเหตุเนื่องจากเกษตรกรปราบวัชพืชก่อนเข้าฤดูแล้งไม่ดี และทำทางป้องกันไฟแคบเกินไปหรือกวาดเศษใบไม้ไม่หมด การปราบวัชพืชจึงเป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูงเพราะจะต้องทำทุกปีตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเปิดกรีด โดยเฉพาะปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าราคาสารปราบวัชพืช ค่าน้ำมัน ตลอดจนค่าแรงงานได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก
ในปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าพื้นที่ทำการเกษตรได้ผ่านการปลูกพืชไร่มาอย่างยาวนาน ไม่มีการคืนธาตุอาหารคืนกลับสู่ดินเลย อีกทั้งมีการใส่ปุ๋ยเคมีมากเกินไป มีการไถพรวนทุกฤดูปลูกทำให้หน้าดินมีการชะล้างสูง และดินเสียสภาพโครงสร้างทำให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
การปลูกพืชคลุมดินในตระกูลถั่วในสวนยางพาราเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถควบคุมวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินซึ่งได้จากการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และจากการย่อยสลายตัวของเศษซากพืชคลุมเป็นอินทรีย์วัตถุ เหล่านี้ เป็นผลทำให้การทำสวนยางสามารถได้รับผลผลิตเร็วขึ้นกว่าปกติ ประมาณ 6-12 เดือน เป็นการลดต้นทุนการผลิตได้อีกทางหนึ่ง เพราะพืชคลุมดินตระกูลถั่วมีประโยชน์มากมายหลายด้าน คือ ช่วยป้องกันการชะล้างและการพังทะลายของดิน ควบคุมวัชพืช และจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืชได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการปลูกพืชคลุมดินพันธุ์ "ซีรูเลียม" จะให้ผลตอบแทนในระยะยาว เนื่องจากให้เศษซากสูงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ไม่จำเป็นต้องไถกลบในแต่ละปี ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืชได้มาก อีกทั้งเมล็ดเป็นที่ต้องการของตลาดสามารถจำหน่ายได้ในราคา 300-400 บาทต่อกิโลกรัม การดูแลรักษาสวนก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นต้นยางเจริญเติบโตได้ดีกว่าการไม่ปลูกพืชคลุม
ชื่อวิทยาศาสตร์(Scientific name)
ถั่วคลุมดินซีรูเลียมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่าCalopogonium caeruleum(Benth.) Sauvalle
ชื่อพ้อง(Synonyms)
Calopogonium coeruleum (Benth.) Sauvalle Calopogonium coeruleum (Benth.) Sauvalle var. glabrescens (Benth.) Malme Calopogonium sericeum (Benth.) Chodat & Hassler Calopogonium sericeum (Benth.) Chodat & Hassler var. villicalyx Chodat & Hassler
Stenolobium caeruleum Benth.



ชื่อสามัญ(Common names)
ถั่วซีรูเลียมมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นดังนี้ bejuco culebra, bejuco de lavar, calopog"nio-perene, canela-araquan, chorreque, cip¢-araquan, cip¢-de-macaco, feijao-bravo, feijao-de-macaco, feijaozinho-da-mata, haba de burro, cama dulce.

ถิ่นกำเนิดและการกระจายตัว
ถั่วซีรูเลียมมีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง( Central America) แถบประเทศเม็กซิโก( Mexico) อินดีส์ตะวันตก(West Indies) เขตร้อนตะวันออกตอนใต้ของอเมริกา( tropical South America) ไปจนถึงตอนใต้ของบราซิล( southern Brazil) ต่อมาก็มีการปลูกในออสเตรเลีย และแถบเอเชียตอนใต้ เช่นมาเลเซียและประเทศไทย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ซีรูเลียม(Calopogonium cearuleum (Benth.) Sauvalle ) เป็นพืชคลุมตระกูลถั่ว ประเภทเถาเลื้อยอายุข้ามปี ขึ้นได้ทั่วทุกภาคของประเทศในดินร่วนทรายและดินเหนียว ยกเว้นบนที่สูงเนื่องจากอากาศหนาวจัด ใบจะแห้ง ดอกและใบจะร่วง ลำต้น เลื้อยบนดินมีขนเห็นไม่ชัด ราก รากที่งอกจากเมล็ดจะเป็นรากแก้ว ส่วนของลำต้นที่สำผัสกับผิวดินจะแตกรากใกล้ข้อใบ เป็นชนิดรากฝอยเกาะยึดผิวดิน ช่วยตรึงในโตรเจนจากอากาศ ดอก สีม่วง ใบ มีสีเขียว เป็นมันค่อนข้างหนาคล้ายใบโพธิ์ เมล็ด มีขนาดใหญ่ เปลือกหุ้มเมล็ดหนา น้ำหนักหนึ่งกิโลกรัมมี 28,000 เมล็ดเป็นพืชคลุมที่ทนต่อโรคแลแมลง ทนต่อสภาพร่มเงาและความแห้งแล้ง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของซีรูเลียม
ดิน(Soil)
ถั่วซีรูเลียมสามารถปรับตัวได้ดีในดินเกือบทุกประเภท และเติบโตได้ในระดับ pH
ของดินต่ำถึงระดับ 4.00
สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีการระบายน้ำดี ตอบสนองต่อปุ๋ยฟอสฟอรัส
และปูนได้ดีแม้ในดินที่มีสภาพเป็นกรดและไม่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ย (acid infertile soils)

ความชื้น(Humidity)
สามารถปรับตัวได้ในเขตร้อนชื้นที่มีระดับปริมาณน้ำฝน 1,000-3,000 มิลิเมตรต่อปี อีกทั้งยังทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีฝนตกน้อยถึงระดับ 700 มิลิเมตรต่อปีนั้นคือทนแล้งกว่า
C.mucunoides and Pueraria phaseoloides

อุณหภูมิ(Temperature)
เติบโตได้ในเขตร้อนชื้นที่มีระดับอุณหภูมิสูงสุด 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 18 องศาเซลเซียส ในตอนกลางวัน และจะมีข้อจำกัดในการเจริญเติบโตที่ระดับอุณหภูมิสูงสุด 35 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุด 10 องศาเซลเซียส

แสง(Light)
ทนร่มเงาได้ดี แต่จะให้ผลผลิตเมื่อได้รับแสง 60-100 เปอร์เซ็นต์
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืชคลุมซีรูเลียม
การวางแผนกำหนดช่วงระยะเวลาในการปลูกที่เหมาะสมก็มีความสำคัญ เพราะว่าในเขตพื้นที่ปลูกยางใหม่ มีช่วงฤดูฝนเพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น ถ้าปลูกล่าช้าแล้วจะทำให้การเลื้อยของเถาถั่วไม่ทันที่จะคลุมได้เต็มพื้นที่ก็เข้าสู่ช่วงแล้งเสียก่อนทำให้ชะงักการเจริญเติบโต สู้วัชพืชไม่ได้จากการทดลอง และศึกษาจากการปลูกในพื้นที่จริงของเกษตรกร สามารถกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูกได้ดังนี้
ระยะการเพาะต้นกล้า ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนมิถุนายน
ระยะการปลูก ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายน ถึงต้นเดือนสิงหาคม
ระยะเจริญเติบโต ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน
ระยะเริ่มออกดอกและติดฝัก ตั้งแต่เดือนธันวาคม ถึง เดือนกุมภาพันธ์
ระยะฝักแก่และเก็บเกี่ยว ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม
ทั้งนี้ระยะเวลาในการเจริญเติบโตโดยเฉพาะช่วงเวลาการติดดอก ในแต่ละปีอาจจะเลื่อนช้าออกไปหรือเร็วขึ้นได้ตามช่วงแสงที่ต้นถั่วได้รับในแต่ละวัน นั้นคือถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็แล้วแต่ความหนาวจะมาเยือนเร็วหรือไม่นั่นเอง

ตารางแสดงช่วงเวลาการเจริญเติบโตออกดอก และติดฝักของพืชคลุมซีรูเลียม
เพาะกล้า ปลูก เจริญเติบโต เริ่มออกดอก ติดฝัก ฝักแก่และเก็บเกี่ยว
เม.ย พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค.

ข้อดี การปลูกพืชคลุมซีรูเลียม
1. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืชได้มากเนื่องจากพืชคลุมชนิดนี้เมื่อปลูกขึ้นแล้วจะช่วยควบคุมวัชพืชไม่ให้เกิดขึ้น ในฤดูแล้งก็ไม่ตายจึงไม่จำเป็นต้องไถสวนยางอีก ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการไถสวนยางได้มากปกติสวนยางโดยทั่วไปในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำเป็นจะต้องไถสวนยางเพื่อปราบวัชพืช อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเป็นระยะเวลาประมาณ 6 ปี จนกว่าสวนยางจะเปิดกรีดได้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินประมาณ 1,800 - 2,000 บาทต่อไร่ (คิดค่าจ้างไถครั้งละ 150 บาท/ไร่) แต่ถ้าเราปลูกพืชคลุมซีรูเลียมก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายตรงนี้ไปได้
2. ต้นยางจะเจริญเติบโตดี เปิดกรีดได้เร็วกว่ากำหนด และให้น้ำยางมากกว่าสวนยางที่ไม่ปลูกพืชคลุมเนื่องจากสวนยางที่ปลูกพืชคลุมดินจะมีเศษซากของพืชคลุมช่วยเพิ่มธาตุอาหารและอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน ช่วยปรับสภาพดินให้กับดิน ดินจะโปร่ง
วิธีการปลูกและข้อเสนอแนะ
1. เมล็ดพืชคลุมชนิดนี้ในระยะแรกจะเจริญ เติบโตค่อนข้างช้า อาจจะเจริญเติบโตสู้วัชพืชไม่ได้จึงจำเป็นต้องเตรียมพื้นที่ให้ดี ควรจะไถพรวนและฉีดยาและคุมวัชพืชด้วยก่อนการปลูกพืชคลุม
2. แช่เมล็ดพืชคลุมด้วยน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 75 องศาเซลเซียส เวลา 12- 24 ชั่วโมง เทน้ำที่แช่ทิ้งแล้วห่อผ้าให้เมล็ดหมาดๆ แล้วจึงคลุกกับปุ๋ยหินฟอสเฟต(0-3-0) นำไปปลูกต้นฤดูฝน และควรปลูกให้หมดในแต่ละครั้ง แต่ถ้าใช้วิธีเพาะชำในถุงเพาะชำขนาด 2x4 นิ้ว ไว้ก่อนนำไปปลูกสามารถคัดเลือกเฉพาะเมล็ดที่อมน้ำและเปลือกนิ่มแล้ว โดยสังเกตได้จากเมล็ดมีขนาดพองโตขึ้นมาก นำไปหยอดในถุงชำ ถุงละ 2-3 เมล็ด ส่วนเมล็ดที่ยังแข็งอยู่ เรานำไปแช่น้ำอุ่นซ้ำโดยวิธีเดิมอีกรอบ จะได้เมล็ดพร้อมปลูกเพิ่มอีกมาก และเป็นการเพาะเมล็ดที่คุ้มค่ากับราคาเมล็ดที่ซื้อมาในราคาแพงอีกด้วย
3. ควรปลูกพืชคลุมห่างจากแถวยาง 2 เมตร ขึ้นไป และปลูกพืชคลุมเพียง 2-3 แถวโดยการปลูกเป็นหลุมห่างกันหลุมละ 50-75 เซนติเมตร ลึก 1-2 นิ้ว ใช้เมล็ดซีรูเลียม 2-3 เมล็ด/หลุม การปลูกตามวิธีนี้เมล็ดพืชคลุม 1 กิโลกรัมสามารถปลูกในสวนยางได้ประมาณ 4-5 ไร่
4. เมล็ดพืชคลุม ซีรูเลียม ราคากิโลกรัมละประมาณ 300 -450 บาท สามารถสอบถามจากสมาชิกที่ร่วมโครงการปลูกซีรูเลียมแล้วประสบผลสำเร็จ เช่นศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ หรือ ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดสุโขทัย เป็นต้น
ระยะในการวางแถวปลูก
แถวต้นยางx----------------------------------- 7 เมตร ------------------------------------------x
x-----2 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----2 ม.-----x ปลูกพืชคลุม 2-3 แถว
x-----2 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----2 ม.-----x
x -----2 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----1.5 ม.-----x 0 x-----2 ม-----x
x----------------------------------- 7 เมตร ----------------------------------------x

การบำรุงรักษาพืชคลุมดิน
•
อัตราอัตรา15 ก.ก./ไร่ ปีละ 2 ครั้ง
•เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จให้ไถ 2 แถบริมแถวยางเพื่อตัดเถา
แห้งกลบและป้องกันไฟเป็นการทำสาวโดยไม่ไถตรงโคนต้น
•หากต้องการผลผลิตสูงพ่นด้วยpaclobutrazole ความเข้มข้น500 ppm ช่วงออกดอด
•พ่นปุ๋ยสูตรคีเลท(แคลเซียม+โบรอน+ไนโตรเจน+อะมิโนแอซิด)
• 15 ซีซี ต่อน้ำ 10 ลิตรในช่วงออกดอกและติด
ฝัก 2 ครั้ง
•หากมีแมลงทำลายดอกและฝัก ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารกำจัดแมลง 1-2 ครั้ง
การเก็บเกี่ยว
ใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตหลังจากปลูกพืชคลุม 1-2 เดือนอัตรา15 ก.ก./ไร่ ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 15-15-15

หลังจากปลูก 1 ปีเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรก โดยสังเกตสีของฝักเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล •ต้องทยอยเก็บเฉพาะฝักแก่ ใช้กรรไกรตัด กิ่งหนีบโคนช่อฝัก
•เก็บใส่ถุงพลาสติกมัดมากถุงให้เรียบร้อย
นำฝักไปตากแดดประมาณ 4 แดดเมล็ดจะดีดออกจากฝัก •ใช้กระด้งฝัดและพัดลมเป่าเศษเปลือกและสิ่งเจือปนออกให้หมด

การตัดแต่งหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

ไถตัดเถาถั่วที่เหี่ยวแห้งกลบเป็นปุ๋ยและเป็นการป้องกันเป็นเชื้อไฟในฤดูแล้ง โดยต้องไม่ไถให้ถูกบริเวณโคนต้นของถั่ว เพื่อต้นจะได้แตกแขนงเจริญเติบโตต่อไปในฤดูฝนที่มาถึง
เรื่อง /ภาพ: โกศล บุญคง
เอกสารอ้างอิง :
Calopogonium caeruleum[URL: http : //www.tropicalforages.info/key/Forages/Media/Html/Calopogonium_caeruleum.htm]
พัชรินทร์ วณิชย์อนันตกุล,วิมลรัตน์ ศุกรินทร์,สุธาชีพ ศุภเกสรและเกริกชัย ธนรักษ์,รายงานวิจัยการบังคับการออกดอกและติดเมล็ดของพืชคลุมซีรูเลียมด้วยสารการเจริญเติบโตพืช [ URL : http ://www.doa.go.thweb-itclibrarylibararyplant_protect46677.pdf]
วิชิต สุวรรณปรีชา, “ซีรูเลียมพืชคลุมที่ทนแล้ง” เอกสารวิชาการแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง.
•




 

Create Date : 18 สิงหาคม 2551
1 comments
Last Update : 18 สิงหาคม 2551 21:55:01 น.
Counter : 1608 Pageviews.

 

 

โดย: covercrops 20 สิงหาคม 2551 18:18:31 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


covercrops
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]