กรกฏาคม 2557

 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
เตรียมความพร้อมสู่ AEC ในมิติพลังงาน

เตรียมความพร้อมสู่ AEC

            นับถอยไปเหลือเวลาเพียงไม่กี่เดือนที่ไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Asean Economics Community – AEC) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของชาติสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย ,ลาว,เมียนม่าร์,กัมพูชา ,เวียดนาม,มาเลเซีย ,สิงคโปร์,บรูไน ,ฟิลิปปินส์และอินโดนิเซีย

ขณะนี้ทุกชาติต่างเตรียมความพร้อมสู่ AEC ในทุกๆด้านซึ่งมีหลายด้านที่ไทยได้เปรียบในฐานะที่อยู่ตรงกลางของภูมิภาค

แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนคาดไม่ถึงก็คือเรื่องการเตรียมความพร้อมสู่ AEC ในมิติของพลังงานเพราะหากนำความจริงมาพูดแล้ว ประเทศไทยคือประเทศที่มีการใช้พลังงานค่อนข้างสูงมากเมื่อเทียบกับปริมาณการผลิต

ยิ่งเศรษฐกิจไทยเติบโต ปริมาณการใช้พลังงานก็จะสูงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้หน่วยงายที่เกี่ยวข้องกับพลังงานต้องทำงานมากขึ้นในการแสวงหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศรวมไปถึงการเตรียมความพร้อมสู่ AEC

เนื่องจากหากเข้าสู่ AEC คงไม่ต้องบอกเลยว่าปริมาณการใช้พลังงานจะสูงมากขึ้นซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่สูงมากขึ้น หากมองในมุมเรื่องเม็ดเงินที่เข้ามา ตำแหน่งงานที่มากขึ้นย่อมเป็นเรื่องดีแต่หากการเตรียมความพร้อมสู่ AEC ในมิติพลังงานมีปัญหาจากโอกาสก็จะกลายอุปสรรคสำคัญต่อการเติบโตของประเทศ

หากศึกษาให้ดีจะพบว่าพลังงานไฟฟ้าที่นำมาใช้ในวันนี้ หากจำแนกเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ณ ขณะนี้ 70% มาจากก๊าซและ 20% มาจากถ่านหิน ส่วนที่เหลือ 10%  จากพลังงานทางเลือกต่างๆ

แต่ถ้าเจาะลึกลงไปจะพบว่า 70% ที่มาจากก๊าซจะมาจาก 3 แหล่งใหญ่

ทางตะวันตกของปริในสหภาพเมียนมาร์ คือ ยาดานาและเยดากุน  ทั้ง 2 แห่งมีปริมาณประมาณ 1 ใน 3 ของพลังงานจากแก๊สหรือประมาณ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ของเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของไทย (ในอนาคตรัฐบาลเมียนมาร์จะลดปริมาณการส่งก๊าซเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ AEC เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศ จำเป็นต้องมีพลังงานที่เพียงพอต่อการขยายตัว)

ส่วนอีกแหล่งคือจากอ่าวไทยและหากประเมินในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานในประเทศพบว่าปริมาณการใช้ก๊าซจากอ่าวไทยหากเรายังใช้ในปริมาณระดับนี้อาจจะอยู่ไม่ถึง 10 ปี (หากเข้าสู่ AEC ย่อมต้องหมดเร็วกว่านี้)

ส่วนพลังงานจากถ่านหินที่มาจากแม่เมาะอาจจะไม่เกิน 20 ปี

ในขณะที่ประเทศไทยมีปริมาณความต้องการใช้สูงขึ้นทุกปีและปริมาณทรัพยากรก็ลดลงอย่างต่อเนื่องนั่นหมายความว่าประเทศไทยแทบจะไม่สามารถพึ่งพาตนเองในเรื่องพลังงานไฟฟ้าได้เลย นี่คือปัญหาที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนหากเรายังใช้ไฟฟ้ากันอย่างสิ้นเปลือง

คราวนี้มาดูน้ำมันกันบ้าง แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีความพยายามในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานประเภทต่างๆ ที่มิใช่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการภายในประเทศทั้งยังเป็นเตรียมความพร้อมสู่ AEC

แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศไทยยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศในปริมาณที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปริมาณการใช้พลังงานน้ำมันที่สูงขึ้นของประเทศไทย สัมพันธ์กับหลายปัจจัยทั้งอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ การขยายตัวของการขนส่งสินค้าทางถนน จำนวนรถยนต์ที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย รวมถึงนโยบายจากรัฐบาลที่สนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงการเป็นเจ้าของรถยนต์ (นโยบายรถคันแรก)

นอกจากนี้ นโยบายการตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในระดับที่ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร และการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำ การขนส่งสินค้าในระบบรางยังอยู่ในระหว่างการลงทุน ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยยังอยู่ในภาวะพึ่งพาพลังงานที่นำเข้าจากต่างประเทศ  โดยเฉพาะการนำเข้าน้ำมันดิบสูงถึงกว่า 85 % ของปริมาณความต้องการใช้ทั้งในภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่งภายในประเทศ

นี่คือความจริงของประเทศที่พวกเราทุกคนต้องยอมรับและรับผิดชอบร่วมกันในฐานะผู้ใช้พลังงาน ฉบับหน้าผมจะพาคุณผู้อ่านไปทัวร์แหล่งพลังงานในอาเซียนครับ




Create Date : 21 กรกฎาคม 2557
Last Update : 21 กรกฎาคม 2557 14:54:42 น.
Counter : 468 Pageviews.

1 comments
  
โดย: น้องเมย์น่ารัก วันที่: 21 กรกฎาคม 2557 เวลา:20:36:00 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 713615
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เราเป็นคนง่ายๆ ใช้ชีวิตไม่มีแบบแผนอะไรมาก คิดอะไรได้ก็เขียนก็ระบาย ขอบคุณที่แวะมา และขอบคุณที่เข้ามารับฟัง