เนื้อหา การเรียน และข่าวสารคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เอกวารสารศาสตร์สื่อประสม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
18 พฤศจิกายน 2551

ศัพท์บางคำที่ควรรู้เกี่ยวกับภาพถ่ายวารสารศาสตร์สื่อประสม

Photo for Multimedia Journalism เป็นความรู้ด้านการถ่ายภาพ ซึ่งผลิตภาพถ่ายสำหรับงานวารสารศาสตร์ โดยใช้ช่องทางการสื่อสารไปสู่ผู้รับสารทางสื่อประสม ซึ่งสื่อประสมในปัจจุบันอาจจะเป็นสื่อทางเีดียว เช่น โทรทัศน์ หรือสื่อที่มีการโต้ตอบได้ เช่น การเล่นเกมส์ทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

กล้องดิจิตอล (Digital Carmera) เป็นกล้องถ่ายภาพที่ไม่ใช้ฟิล์ม แต่ใช้อุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่า CCD (Charge Coupled Device) กล้องดิจิตอลมีส่วนประกอบทั่วไป เหมือนกล้องใช้ฟิล์มคือ มีเลนส์ ช่องมองภาพ ที่ตั้งความเร็วชัตเตอร์ ปุ่มลั่นไกชัตเตอร์ ทั่ตั้งความไวแสงของฟิล์ม ฐานเสียบแฟลช ฯลฯ สิ่งที่แตกต่างได้แก่ ช่องบรรจุฟิล์ม เนื่องจากเป็นการเก็บข้อมูลดิจิตอล ดังนั้นด้านหลังของกล้องจึงไม่ใช่ฟิล์ม แต่เป็นช่องบรรจุแผ่นเก็บข้อมูล ซึ่งผลิตมาในรูปของแผ่นจานบันทึก (Floppy Disk) การ์ดเก็บข้อมูลอัจฉริยะ (Smart Media) หรืออื่น ๆ ซึ่งอาจมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป

อุปกรณ์บันทึกข้อมูลภาพ (Image Storage) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เก็บรูปถ่าย ใช้เพื่อเวลาเราไปไหนไกล ๆ ที่ไม่สามารถนำ Notebook หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่มันสามารถ back up รูปของเราไว้ได้

ความละเอียดของภาพ (Pixel) ภาพถ่ายดิจิตอลประกอบด้วยจุดสี (Pixel) เล็ก ๆ จำนวนมาก ประกอบเข้ากันเป็นภาพที่เรามองเห็น ถ้าที่ขนาดภาพ 4" x 6" เท่ากัน ภาพหนึ่งประกอบขึ้นจากจุดสีจำนวนมาก อีกภาพหนึ่งประกอบด้วยจุดสีจำนวนน้อยกว่า ภาพดิจิตอลภาพแรกจะมีความละเอียด (Resolution) มากกว่า ภาพจึงดูสวยกว่า เนียนกว่า เรียบกว่า ละเอียดกว่า ภาพที่มีจำนวนจุดสีมาก ๆ เหมาะสำหรับการขยายภาพให้มีขนาดใหญ่มากกว่าภาพที่มีจุดสีน้อยกว่า

องค์ประกอบภาพถ่าย (Composition) เป็นการจัดวางส่วนต่าง ๆ หรือสิ่งต่าง ๆ ไว้ด้วยกันอย่างระมัดระวัง เพื่อให้เกิดความเป็นหนึ่งเีดียว ส่วนประกอบและสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอาจจะมีน้อยหรือมีมากมายหลายรูปแบบก็ได้ ซึ่งอาจจะรวมไปถึง รูปร่าง น้ำหนัก สี แบบ พื้นผิว และรูปทรง และเราอาจเติมความลึกและทัศนคติ หรือเน้นพื้นที่เฉพาะของภาพก็ได้

ฟิล์ม (Film) เป็นวัสดุไวแสง มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นฐาน ได้แก่แผ่นเซลลูลอยด์ (พลาสติกชนิดหนึ่ง) และส่วนของวัสดุไวแสง เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาฉาบบนแผ่นเซลลูลอยด์นี้ สารเคมีไวแสงจะทำหน้าที่รับแสงเมื่อถ่ายภาพ สารเคมีที่รับแสงแล้ว จะเกิดเป็นภาพแฝง (Latent Image) ขึ้น เมื่อนำภาพแฝง (ฟิล์ม) ไปล้างตามกระบวนการล้างฟิล์มซึ่งเป็นกระบวนการทางเคมี ก็จะเกิดภาพเป็นภาพบนฟิล์ม (Visible Image) ภาพบนฟิล์มเป็นภาพที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถเก็บภาพได้เหมือนจริง จึงนิยมนำฟิล์มไปขยายเป็นภาพบนแผ่นกระดาษ เป็นภาพถ่ายที่เราพบเห็นกันอยู่ทั่วไป

Image Sensor เปรียบเสมือนฟิล์มถ่ายภาพ กล่าวคือในกล้องดิจิตอลจะไม่ใช้ฟิล์ม แต่ใช้ Image Sensor เป็จตัวรับแสงแทนฟิล์ม เมือรับแสงมาไว้แล้ว ก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงให้กลายเป็นอิเล็กตรอน เพื่อบ่งบอกค่าของแสงสีต่าง ๆ ที่มากระทบค่าของแสงสีเหล่านี้คือสัญญาณภาพนั่นเอง สัญญาณภาพเหล่านี้จะถูกประมวลผลกลายเป็นข้อมูลภาพดิจิตอล และถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลแบบต่าง ๆ แล้วแต่ว่ากล้องรุ่นไหนจะใช้แผ่นบันทึกข้อมูลแบบใด ตัวอย่างเช่น แผ่นบันทึกข้อมูลแบบ Compact Flash, SD card, MMC (Multimedia Card) และ Memory Stick เป็นต้น



Create Date : 18 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2551 1:32:31 น. 0 comments
Counter : 841 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Tassanee
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




เนื้อหา การเรียน และข่าวสารคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน เอกวารสารศาสตร์สื่อประสม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
[Add Tassanee's blog to your web]