City Livingzone
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
5 ตุลาคม 2550

ห้องนอนสร้างบรรยากาศ

ปัจจุบันวิถีชีวิตของหนุ่มสาวรุ่นใหม่แตกต่างจากสมัยก่อนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวัน วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปรวมถึงที่อยู่อาศัยที่มีขนาดเล็กลง แต่ต้องตกแต่งให้มีประโยชน์ใช้สอยครบครัน

ข้อจำกัดของพื้นที่ห้องนอนมีผลต่อการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ การใช้โครงสร้างสี รวมไปถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมและไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ การจัดวางพื้นที่ใช้สอยและจำนวนเฟอร์นิจอร์ในห้องนนอนของแต่ละคนจะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เราทำในห้องนอน ไม่ว่าจะดูโทรทัศน์ ทำงาน อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย หรืออื่น ๆ อีกมากมาย การจัดพื้นที่ในห้องนอนจึงต้องคำนึงถึงกิจกรรมทุกอย่างที่เราคิดว่าจะเกิดขึ้นภายในห้องด้วย

การจัดสรรพื้นที่หลัก ๆ นั้นจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนพื้นที่นอน หรือ Bedding พื้นที่ส่วนนี้ควรอยู่ในตำแหน่งที่เราไม่ต้อเดินผ่านมากนัก หรืออยู่ด้านในสุดของห้อง จะทำให้รู้สึกปลอดภัย สงบ เป้นส่วนตัวมากกว่าพื้นที่ใกล้ประตูทางเข้า-ออก "เตียงนอน" เป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นสำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุดในห้อง การจัดวางตำแหน่งของเตียงนั้นควรเว้นที่ด้านข้างเตียงเผื่อไว้รอบ ๆ เตียงอย่างน้อยด้านละ 75 ซม. เพื่อสะดวกในการขึ้นลง แต่หากพื้นที่ห้องนอนของเรามีจำกัดการวางเตียงชิดผนังด้านใดด้านหนึ่งก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

ส่วนที่นอน ขนาดมาตรฐานที่หาซื้อได้ง่ายในท้องตลาด คือ ยาว 6.5 ฟุต กว้าง 3.5 ฟุต สำหรับเตียงเดี่ยว , 5 ฟุต ( Queen size ) และ 6 ฟุต ( King size ) สำหรับเตียงคู่ การเลือกซื้อที่นอนคนส่วนใหญ่มักใช้หลังมือกด ๆ ดูทั้งที่จริง ๆ แล้วเวลาเราใช้งานส่วนที่สัมผัสกับที่นอน คือ "หลัง" ไม่ใช่มือ ดังนั้น การทดสอบที่นอนจึงควรเอนตัวลงนอนหงายบนที่นอนจริง ๆ แล้วสอดมือเข้าที่หลังของเรา หากสอดมือเข้าไปได้ง่ายมากแสดงว่าที่นอนแข็งเกินไป แต่ถ้าสอดมือเข้าไปแทบไม่ได้ก็แสดงว่าที่นอนนั้นนุ่มเกินไป หากคนที่นอนด้วยกันมีน้ำหนักต่างกันมาก อาจทำให้การเลือกที่สอนที่เหมาะสมกับสรีระทั้ง 2 คนเป็นเรื่องยาก การลองพิจารณาซื้อเตียงเดี่ยว 2 ชุดวางชิดกันแทนการใช้เตียงคู่

"เครื่องนอน" ผ้าปูที่นอนที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมักเป็น "ผ้าฝ้าย" เพราะราคาไม่แพงนัก ทำจากเส้นใยธรรมชาติ คงทนต่อการใช้งาน มีเส้นใยที่เหนียว โปร่ง สามารถถ่ายเทอากาศระหว่างเนื้อผ้าได้ดี ทำให้ไม่ร้อนขณะนอนหลับ แต่ผ้าฝ้ายก็มีข้อเสียที่มักดูดซึมกลิ่นและความอับชื้นเอาไว้ และสีซีดจางง่ายหากตากแดดโดยตรง ผ้าปูที่นอนอีกประเภทที่ได้รับความนิยม คือ ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ ซึ่งมีให้เลือกทั้งไนล่อน และ โพลีเอสเตอร์ ด้วยคุณสมบัติที่ไม่หดตัวง่ายเหนือผ้าฝ้ายจากการตากแดดรือในร่มก็ไม่มีปัญหาซีดจาง ที่สำคัญดูดซับกลิ่นและความชื้นน้อยจึงไม่ก่อให้เกิดกลิ่นอับไม่จำเป็นต้องซักบ่อย ๆ เพราะผ้าประเภทนี้ไม่เลอะง่าย แต่ก็มีข้อเสียที่ลักษณะเนื้อผ้าเป็นมันวาวนอนแล้วอาจรู้สึกอึดอัด และอากาศถ่ายเทระหว่างเนื้อผ้าไม่สะดวกทำให้เหงื่อไม่สามารถซึมผ่านเนื้อผ้า รู้สึกร้อนอบอ้าว ประเภทสุดท้าย คือ ผ้าปูที่นอนที่ทำจาก "ผ้าไหม" เป็นประเภทที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด แต่ราคาก็แพงที่สุดในขณะเดียวกัน นอกจากรูปแบบที่ถูกออกแบบให้หรูหรามีรสนิยมโดดเด่นจากผ้าประเภทอื่น ๆ แล้ว ผ้าไหมมีความยึดหยุ่นสูง เส้นใยโปร่ง ช่วยระบายอากาศได้ดี ทำให้รู้สึกสบายเวลานอนหลับ นอกจากข้อเสียเรื่องราคาแล้วการดูแลรักษาผ้าไหมก็ค่อนข้างยุ่งยากหน่อย ส่วนมากจะเป็นการซักแห้งและไม่ควรขยี้ที่เนื้อหาโดยตรงจะทำให้ผ้ามีริ้วรอยได้ง่ายและเสื่อมสภาพเร็ว ส่วนความละเอียดนั้นจะบอกได้จากจำนวนเส้นด้ายต่อตารางนิ้ว ซึ่งบรรดาโรงแรมระดับ 3-4 ดาว เค้าก็มักใช้ประมาณ 300 เส้นต่อตารางนิ้ว หรือ อย่างน้อยก็ไม่น้อยกว่า 250 เส้น หมายความว่า หากตัดผ้ามาขนาด 1 นิ้ว x 1 นิ้ว แล้วดึงด้ายออกมานับทั้งหมดจะได้ 250 เส้น ซึ่งเป็นปัจจัยของความสบายเวลานอน และผ้าที่ทอละเอียดจะมีราคาแพงกว่าผ้าทอหยาบ และวัตถุดิบมีราคาแพงกว่า รวมถึงความยากในการผลิต การเลือกผ้าปูที่นอนที่ดีให้เหมาะสมและทนทานต่อสภาพการใช้งานได้นานที่สุดแล้วยังต้องเหมาะสมกับกระเป๋าสตางค์ของเราด้วย

นอกจากเรื่องความละเอียดหรือชนิดของเนื้อผ้าแล้ว ความปลอดภัยของผ้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา "สารฟอร์มาลดีไฮด์" ( Formadldehyde ) หรือที่รู้จักในชื่อของ ฟอร์มาลิน เป็นส่วนประกอบของสารเรซิ่นที่ใช้กับผ้าฝ่าย เพื่อไม่ให้ผ้ายับง่าย รีดง่าย และไม่หดตัวมากเกินไปหลังจากการซัก ระหว่างการผลิตสารฟอร์มาลดีไฮด์จะตกอยู่อยู่ในผ้าและระเหยออกมาที่ผิวเรา อันตรายของสารประเภทนี้ ถ้ามีอยู่ในอากาศมากกว่า 0.1 ppm ( หน่วยความเข้มข้น หนึ่งส่วนในล้านของอากาศ ) จะทำให้แสบตา จมูก และคอ คลื่นไส้ ไอ แน่นหน้าอก เป็นผื่นแพ้ สังเกตง่าย ๆ อาการจะเหมือนเวลาเราไปเดินตามแหล่งขายผ้าใหญ่ ๆ อย่าง พาหุรัด หรือ สำเพ็ง องค์การอนามัยโลกประกาศว่าสารชนิดนี้เป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง ในยุโรปและญี่ปุ่นมีการเข้มงวดกับสารนี้ มีกฎหมายกำหนดระดับสารนี้ในผ้าที่ใช้ในบ้านและกับคน รวมถึงการรณรงค์ผ้าปลอดสารฟอร์มาลดีไฮด์ แต่ในประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องนี้

ส่วนที่ 2 คือ "ส่วนแต่งตัว" ( Dressing ) ควรอยู่ใกล้ ๆ ประตูเข้า-ออก ในกรณีห้องน้ำอยู่ด้านนอกหรือใกล้กับห้องน้ำเพื่อความสะดวกในการใช้งาน ถ้าเป็นไปได้ที่ห้องนอนมีพื้นที่มากพอสมควร การจัดห้องแต่งตัวที่เป้นสัดส่วนเฉพาะ หรือ Walk In Closet ไปเลยก็ได้ และตำแหน่งที่ควรอยู่คือตรงกลางระหว่างพื้นที่นอนกับห้องน้ำ ปัจจุบันมีผู้ผลิตตู้เสื้อผ้าชนิดนี้แบบรอติดตั้ง หรือ Ready to install สำหรับพื้นที่หลายขนาดทำให้ประยัดเวลาและสะดวกยิ่งขึ้น

"ตู้เสื้อผ้า" มีความสำคัญสำหรับห้องนอนเป็นลำดับรองจากเตียง สัมภาระส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันของเราไม่เพียงเสื้อผ้า แต่รวมถึงกระเป๋า เครื่องประดับ เข็มขัด ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ เราควรเผื่อพื้นที่ส่วนนี้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพราะตอนย้ายเข้ามาเรามักคิดว่าพื้นที่ส่วนนี้น่าจะพอแล้ว แต่อยู่ ๆ ไปสัมภาระของเราก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ จนคาดไม่ถึง

ความลึกของตู้เสื้อผ้าควรลึกประมาณ 60 - 65 ซม. เพื่อห้องกันไม่ให้เสื้อผ้าถูกบานพับหนับหรือเสียดสีกับบานประตู ส่วนชั้นภายในตู้ควรปรับความสูงหรือมีความสูงที่ต่างระดับกันเพื่อให้เหมาะสมกับแขวนชุดยาวและชุดสั้น ชั้นวางของและลิ้นชักไม่ต้องลึกมาเพราะจะทำให้มองไม่เห็นของข้างใน เราควรเผื่อพื้นที่ด้านหน้าตู้สำหรับเปิดบานประตูได้สะดวกอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 95 ซม.

"โต๊ะแต่งตัว" ควรอยู่ใกล้หน้าต่างเพื่อให้ได้รับแสงธรรมชาติในขณะแต่งหน้า ( สำหรับคุณสุภาพสตรีทั้งหลาย ) พื้นที่หน้าโต๊ะแต่งตัวควรมีพื้นที่สำหรับเก้าอี้แต่งตัวประมาณ 60 ซม. เพื่อจะให้สอดเก้าอี้เข้าออกได้สะดวก

"โต๊ะข้างเตียง" กิจวัตรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนนอนอย่างการอ่านหนังสือก่อนนอน หรือบางคนอาจมีของสะสมชิ้นเล็ก ๆ ภาพถ่าย ตุ๊กตา สมุดภาพ ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องการพื้นที่สำหรับจัดวางสื่งของที่เราชอบ โต๊ะข้างเตียงช่วยตอบสนองกิจวัตรประจำวันเหล่านั้น ข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ถูกแก้ไขด้วยการเลือกโต๊ะข้างเตียงที่มีลิ้นชักไว้ใส่ของสัก 2 ชั้นเผื่อไว้สำหรับใส่หนังสืออ่านเล่นก่อนนอน ส่วนบนโต๊ะอาจเลือกวางโคมไฟ นาฬิกาปลุก หรือสิ่งของอื่น ๆ ตามความชอบ แต่ควรระวังอย่าให้รกรุงรังเกินไป

สภาพแวดล้อมในห้องนอนทั้ง แสง เสียง กลิ่น เป็นอีกสิ่งที่มีผลต่อการนอนหลับของเรา "แสง" แสงในห้องนอนครอบคลุมทั้งแสงธรรมชาติ และ แสงจากหลอดไฟ การจัดห้องนอนควรมีช่องแสง หน้าต่างเพื่อจะได้รับแสงธรรมชาติ ห้องนอนที่อยู่ทางทิศหนือและทิศตะวันออก ในตอนเช้านอกจากจะได้รับความสดชื่นปลอดโปร่งจากแสงธรรมชาติแล้วยังทำให้ห้องไม่อับชื้น ทั้งนี้การจัดแสงยังต้องคำนึงถึงการใช้สอยด้วย แม้บรรยากาศโดยรวมห้องจะเป็นแสงที่นุ่มนวล ชวนพักผ่อน ควรหลีกเลี่ยงแสงแยงเข้าตาโดยตรง หรือ Direct light แต่กก็ต้องคำนึงถึงการใช้งานโดยติดตั้งโคมไฟที่ให้แสงสว่างเพิ่มในจุดที่ต้องการเพิ่มความสว่าง เช่น ไฟอ่านหนังสือที่หัวเตียง หรือที่โต๊ะแต่งตัว เป็นต้น การกำหนดสวิตซ์ไฟสำหรับเปิดปิดนั้นควรกำหนดให้สามารถเปิดปิดได้จากทางประตูและบริเวณหัวนอนด้วยโดยเลือกใช้ สวิตซ์สองทางเพื่อความสะดวกในการใช้งาน

"เสียง" ห้องนอนควรอยู่ในส่วนที่เงียบสงบที่สุดในบ้าน แม้จะเปิดหน้าต่างก็ไม่โดนรบกวนจากเสียภายนอกมากนัก แต่หากเราทนเสียจากภายนอกไม่ได้จริง ๆ การปิดกระจกติดเครื่องปรับอากาศก็เป็นเรื่องที่ช่วยได้ ขอบใช้บางอย่างในห้องนอนก็ก่อให้เกิดเสียงรบกวนจนทำให้นอนไม่เป็นสุข เป็นนาฬิกาปลุกหัวเตียงที่ตีบอกเวลาทุก ๆ ชั่วโมง

หากใครยังคิดว่าห้องนอนไม่สำคัญ ขอเพียงแค่ซุกหัวนอนหลังได้แค่นั้นก็พอแล้วล่ะก็ ต้องบอกว่าการนอนหลับนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลย เพราะการนอนอย่างสุขสบาย อากาศถ่ายเท บรรยากาศดีจะช่วยให้เรามีความสุขกายสบายใจ ยิ่งเราหลับได้ดีเท่าไหร่ เมื่อตื่นขึ้นมายามเช้าเรายิ่งจะอารมณ์ดีเท่านั้น




 

Create Date : 05 ตุลาคม 2550
0 comments
Last Update : 22 ตุลาคม 2550 11:17:49 น.
Counter : 758 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


citylivingzone
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add citylivingzone's blog to your web]