Group Blog
 
 
มิถุนายน 2557
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
12 มิถุนายน 2557
 
All Blogs
 
ปฏิรูปการเมือง ตอนที่ 1 : การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

ปฏิรูปการเมือง ตอนที่ 1 : การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

1.บทนำ



หากยังคงโครงสร้างอำนาจที่รวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง ความขัดแย้งก็จะไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเมื่อใครชนะก็จะกินรวบทั้งประเทศ ถือเป็นสิ่งจูงใจ แต่หากกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ก็จะเป็นการตัดแรงจูงใจลง อย่างประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนที่จะมีการกระจายอำนาจ มีปัญหาการต่อสู้แย่งชิงอำนาจเช่นกัน แต่หลังปฏิรูปกระจายอำนาจ ปัญหาก็หมดไป บ้านเมืองก็เดินไปได้ (ประเวศ วะสี,2556)






2.เพิ่มงบประมาณให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)ต่อรัฐบาลกลาง เป็น 70:30



งบประมาณนี้แหละตัวปัญหาเลย ที่ทำให้ผู้คนต่างแก่งแย่งกันเพื่อเป็นรัฐบาล จนสร้างปัญหามากมาย และถ้าการปฎิรูปครั้งนี้ "สภาปฏิรูป" ใจไม่แข็งพอที่จะให้งบประมาณส่วนท้องถิ่นเป็น 70 เปอร์เซ็นส์ รับรองปัญหาไม่จบ คนก็จะเข้าไปแย่งกันเป็นรัฐบาลอีก 







3.แล้วรัฐบาลกลางจะเอาเงินจากไหนละมาพัฒนาประเทศ



มีคนกล่าวเคยว่า "ผู้คุมกฎเกณฑ์ ไม่ควรถือเงิน"  หมายความว่ารัฐบาลกลางเป็นผู้ควบคุมกฎเกณฑ์ และควบคุมนโยบาล นั่นเป็นเต้มต่อที่ ส่วนท้องถิ่นไม่มี  และเงินในการลงทุนต่างๆ จำนวนมาก อยู่ที่เอกชนทั้งในและต่างประเทศ ถ้ากฎเกณฑ์ หรือนโยบาลของรัฐบาลกลางมีความชัดเจน รัฐบาลก็กลางสามารถดึงเงินพวกนั้นมาลงทุนได้  อีกทั้งกำไรจากรัฐวิสหกิจต่างๆ ที่รัฐบาลกลางเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับรัฐบาลกลางอยู่แล้ว โดยที่ไม่จำเป็นต้องมาเอาเงินภาษีส่วนท้องถิ่นเลย






4. ทำไมผู้คนจึงต่อต้านการลงทุนจากภาครัฐ
เช่นพวกโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรม ท่าเรือ ก็เพราะว่า รัฐบาลกลางเข้าไปลงทุน แล้วเอามลพิษ ไปให้พวกเขา ในขณะเดียวกัน ก็เก็บกำลังทั้งหมดเข้าสู่ส่วนกลาง ของยกตัวอย่าง


4.1จ.ภูเก็ตสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละ 2.3 แสนล้าน แต่งบประมาณที่ส่วนกลางส่งลงไปให้ แค่ปีละ 6 พันล้าน ถามว่า เป็นธรรมกับ คนภูเก็ตหรือไม่ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาทางสังคมจากการขยายตัวของเมือง



4.2 จ.ระยอง เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เจอปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย รัฐบาลมีรายได้จากพื้นที่จังหวัดระยองปีละ 5 แสนล้าน แต่ส่งรายได้คืนไป 1 หมื่นล้าน แล้วมันเป็นธรรมกับคนจ.ระยองไหม มันจึงไม่แปลกที่ คนในต่างจังหวัดจะต่อต้าน โครงการต่างๆของรัฐบาลกลาง นั่นเพราะความไม่เป็นธรรมของการกระจายงบประมาณเป็นสำคัญ






5.เพิ่มอำนาจการบริหารในจังหวัดนั้นๆให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)



หมายความว่า ทรัพยากร ของจังหวัดนั้นๆ ควรให้ท้องถิ่นเข้าจัดการทรัพยากรของเขาเอง และโครงการที่เกิน 1,000 ล้าน ที่เกิดในจังหวัดนั้นๆ ไม่จำเป็นต้องขออนุมัติ ครม. หรือโครงการตัดถนน หรือเวณคืน ก็ให้จังหวัด มีอำนาจตัดสินใจเอง





6.แต่ก็ยังคงผู้ว่าราชการจังหวัดไว้ เพื่อให้มีตัวแทนอำนาจจากรัฐบาลกลาง เพื่อไว้ดูแลความมั่นคง โดยเฉพาะกองกำลัง อส. หรือ ชรบ.

ถ้าไม่มีผู้ว่าราชการจังหวัด การประสานงานกับนายกอบจ. คงจะเป็นเรื่องอยากลำบาก อีกทั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัด จะเป็นควบคุมกำลัง อส.ที่หน้าที่หลักคือเรื่องความมั่นคง เรื่องความมั่นคง บางคนบอกว่า ทำไมไม่ใช้ทหารไปเลย ก็ต้องขอบอกว่า ทหาร ส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่ ซึ่งต่างกับ อส. ที่จะเป็นคนในพื้นที่ ทำให้ใกล้ชิดกับปัญหามากกว่าทหาร กรณีนี้จะเริ่มคล้ายกับกรณี ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กองกำลัง อส. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ ดูจะเข้าใจปัญหา และเข้าถึง มวลชน มากกว่า ทหาร ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นทหารจากนอกพื้นที่



7.สรุป





Create Date : 12 มิถุนายน 2557
Last Update : 14 มิถุนายน 2557 7:23:47 น. 1 comments
Counter : 1195 Pageviews.

 
ดีครับ..
ขอให้ทำได้ ประเทศชาติจะดีขึ้นอีกเยอะ..



โดย: Tor (สมาชิกหมายเลข 756237 ) วันที่: 12 มิถุนายน 2557 เวลา:19:18:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.