Group Blog
มกราคม 2559

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
ทนายอ้วนพาเที่ยวเมืองกรุง - นิทรรศการวิจิตรภูษาพัสตรภรณ์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตอนที่ 2
สถานที่ท่องเที่ยว : นิทรรศการวิจิตรภูษาพัสตรภรณ์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร พระนคร Thailand
พิกัด GPS : 13° 45' 26.94" N 100° 29' 32.82" E







กลับมาเป็นบล็อกท่องเที่ยวอีกครั้งนึงนะครับ  entry ก็จะพาไปชม นิทรรศการ “วิจิตรภูษาพัสตราภรณ์” ขึ้น ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ กันต่อจากบล็อกท่องเที่ยวที่แล้วนะครับ




นิทรรศการ “วิจิตรภูษาพัสตราภรณ์” ขึ้น ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถที่ทรงอุทิศพระองค์ในการอนุรักษ์ผ้าไทยโดยทรงจัดตั้งมูลนิธิศิลปาชีพพิเศษเพื่อเก็บรวบรวมผ้าเก่าทั่วทั้งประเทศโดยทำกี่ศึกษาลวดลายต่างๆและรวบรวมผู้รู้ ผู้มีความชำนาญในการทอผ้าแบบต่างๆแล้วสอนให้กับชาวนา –ชาวไร่ให้สามารถทอผ้าได้ จัดขึ้นตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2558 จนถึงเดือนกุมภาพันธุ๋ปี้นี้ครับ




นานาพิพิธภัณฑ์สรรพสรรผ้า




ในส่วนนี้ของ นิทรรศการ “วิจิตรภูษาพัสตราภรณ์” จัดแสดงผ้าที่คัดเลือกมาจากทั่วประเทศ ทั้งภาคเหนือ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ ใต้ รวมถึงผ้าจากชนเผ่าต่างๆ เลือกมาเฉพาะชิ้นที่สวยๆและมีความสำคัญครับ



ที่เด่นที่สุดในการจัดแสดงนิทรรศการ “วิจิตรภูษาพัสตราภรณ์” นี้เห็นจะเป็นเครื่องแต่งกายโขนที่สมเด็จพนะนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงโขนพระราชทานประจำปีตั้งแต่ พ.ศ. 2553 โดยเป็นเครื่องแต่งกายโขนในราชสำนักตั้งแต่โบราณครับ









ผืนล่าง  ผ้ายกเมืองทองนคร ของเจ้าพระยาไกรโกษา(ทัต สิงหเสนี) เป็นผ้าไหมสีม่วงเข้ม ทอเป็นลวดลายด้วยเส้นไหมทอง (ยก) เป็นลายเกล็กพิมเสน ลายหน้าผ้าเป็นลายกรวยเชิงชั้นเดียว เป็นผ้าพระราชทานสำหรับขุนนางตามบรรดาศักดิ์เพื่อใช้นุ่งในงานรัฐพิธีหรืองานพระราชพิธี ทอโดยช่างทอชาวนครศรีธรรมราช


ผืนบน ผ้าคาดเอวขุนนาง ผ้าไหมสีเขียวทอยกด้วยเส้นไหมทอง เส้นไหมสีแดงและสีฟ้า ตัวผ้าเป็นลายประจำยามก้านแย่ง ชายผ้าทั้ง 2 ด้านเป็นลายกรวยเชิง 3 ชั้น







ผืนสีน้ำเงินข้างหน้า ผ้าซิ่นคำเติบของชาวไทยลื้อ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เป็นผ้าฝ้ายสีน้ำเงิน ทอด้วยทองแล่ง ใช้เส้นไหมหลายสีเป็นเส้นพุ่งในการทอ


ผืนสีแดงลายทางถัดไปทางด้านขวา ซิ่นไหมเงิน เป็นผ้าซิ่นพื้นเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทอด้วยเส้นเงินเป็นลวดลายตามแนวตั้งทั้งผืน


ผืนถัดไปทางขวามือสุด ผ้าซิ่นหมี่ เป็นผ้าไหมทอด้วยเทคนิค “มัดหมี่” ใช้เส้นไหมเงินทอเป็นลวดลายดอกกระจับสลับลายสร้อยดอกหมาก


ผืนที่แขวนอยู่ด้านบนสีดำ ผ้าซิ่นทิวมุกจกดาว ผ้าทอเมืองอุบลราชธานี เป็นผ้านุ่งของเจ้านายสตรีชั้นสูงของเมืองอุบลราชธานี ตัวซิ่นพื้นสีแดงเข้ม ทอลายขวาง ลายสีเหลืองใช้เทคนิค “มุก” ลายรูปดาวใช้เทคนิค “จก” เทคนิคการทอแบบนี้พบในผ้าซิ่นของชาวไทยแดงในซำเหนือ และชาวมะกองในสวันเขต ประเทศลาว


ผืนที่แขวนที่ส้มขวามือสุด ผ้าซิ่นไหมเงิน ผ้าไหมสีส้ม ทอด้วยแก่นไม้ขนุน ทอด้วยเส้นเงินเป็นเส้นพุ่งลายริ้วขวางทั้งผืน เชิงเป็นลายคล้ายกรวยเชิง







เสื้อเยียรบับ ของพลตรีเจ้าแก้วนวรัตน์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย เป็นผ้าไหมจากอินเดีย ทอยกดอกด้วยไหมทองเป็นลายดวงดอกไม้และพันธุ์พฤกษาในกรอบเชื่อมต่อกันเต็มพื้นที่


เสื้อครุย ของพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย ผ้าโปร่ง ปักดิ้นทองดิ้นเงินเป็นลายดวงดอกไม้กระจายทั้งตัว ใช้สวมคลุมทับเสื้อ นุ่งโจงกระเบน เป็นการแต่งกายตามพระราชพิธี







ผืนที่แขวนอยู่มีชายครุยคือ ผ้าเบี่ยง ของสตรีชาวอีสาน ผืนด้านล่างขวา 2 ผืน สีน้ำเงินกับสีม่วง เป็นผ้าไหมมัดหมี่ ผืนสีม่วงแดงคือซิ่นไหม และผ้าสีส้มที่แขวนอยู่คือ ผ้าอัมปรม ผ้าอัมปรม คือผ้ามัดหมี่ของชาวไทยเชื้อสายเขมรแถบอีสานใต้ มีลักษณะแตกต่างจากเทคนิคมัดหมี่ของไทยคือจะทำการ “มัดหมี่ หรือ มัดย้อม” ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน มักจะปรากฏลวดลายในการทอเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสเล็กๆ มีสีขาวเด่นออกมาจากลายผ้า ส่วนมากเป็นสีแดงอมส้ม แดงอมน้ำตาล







ผ้านุ่งผืนสีม่วงๆ ผ้ายกไหมพุมเรียง ผ้าพื้นเป็นฝ้ายทอด้วยไหมลายเทพพนมขอบเป็นลายกรวยเชิง ผลิตจากตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี







ซิ่นผืนด้านหลัง ซิ่นตีนจก ผ้าซิ่นพื้นเมืองลายแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของชาวไทยพวน จังหวัดราชบุรี







ซิ่นผืนทางซ้ายก็เป็นซิ่นของชาวไทยพวน จังหวัดราชบุรี เช่นเดียวกันครับ ทอด้วยไหมพื้นสีแดง


ส่วนซิ่นผืนสีดำเป็นซิ่นของชาวไทยพวนแถบจังหวัดสุโขทัย ทอด้วยฝ้าย ตัวซิ่นพื้นสีดำยกลายมุกสีเขียว ตีนซิ่นพื้นแดงทอลายด้วยเทคนิค “จก” ด้วยสีเหลือง ดำ เขียว เป็นลายนกคู่กินน้ำร่วมต้น หัวซิ่นเป็นผ้าฝ้ายสีแดงและขาว







ภาพปักไหมสี แสดงคำโคลงคติสอนใจและภาพประกอบคำโคลงประดับงานพระเมรูท้องสนามหลวง ร.ศ. 108











ภาพปักไหมสี ตอนการยุทธหัตถีระหว่างพระศรีสุริโยทัยกับพระเจ้าแปรเมืองหงสาวดี







ที่ห้อยอยู่ 3 ผืนเป็นผ้ากราบสำหรับพระภิกษุ ทำขึ้นในสมัยพระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว


ตรงกลางเป็น สลกบาตร หรือ ถลกบาตร เป็นผ้าถักคลุมบาตรด้วยไหมสีสลับกับดิ้นทองเป็นลายตาข่ายโปร่ง ชิ้นฝาเป็นการปักบนผืนผ้าต่วน มีคำว่า “พุทธศักราช ๒๔๕๘” และ  พัดรองพระราชลัญจกรนพรัตรมุรยา







หมอนที่วางอยู่เป็น หมอนอิง รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีเหลืองขอบหยักโค้ง ปักดิ้นเงินและไหมสีเหลืองเป็นลายพันธุ์พฤกษา ที่ขอบปักลายต้นไม้


ผ้าที่ห้อยอยู่เป็นผ้าหน้าโขนเรือพระราชพิธี ใช้เทคนิคการปักหักทองขวาง







หมอนที่วางอยู่เป็นหมอนรูปทรงต่างๆ ของชาวไทยครั่ง


ที่แขวนอยู่ทางขวาเป็น ผ้าหน้ามุ้งของชาวไทยครั่ง ใช้ประดับมุ้งในห้องหอของคู่สมรสตามประเพณีไทยครั่ง เป็นผ้าฝ้าย ทำลวดลายด้วยวิธี “จก” โดยกลุ่มชาวไทยครั่ง บ้านเนินขาม จังหวัดชัยนาท







ย่ามใบสีฟ้าๆ เป็นย่ามของชาวไทยพวน ส่วนอีก 2 ใบ เป็นย่ามของชาวกะเหรี่ยง







ชุดสีดำตรงกลางเป็นเครื่องแต่งตัวของชาวไทยทรงดำ







ทางซ้ายมือเป็นผ้าปรกหัวนาค หรือ ผ้าคลุมศีษะนาค ใช้คลุมศรีษะผู้ที่จะเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุมีของทั้งชาวไทยพวนและชาวไทยครั่ง


ทางด้านขวาเป็นผ้าห่อคัมภีร์







ส่วนสุดท้ายเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการ รักษ์ผ้า – รักษาวัฒนธรรม







การบูรณะผ้าโบราณเป็นงานที่ยากมากๆ เคยอ่านนวนิยายในซีรีย์ผ้า ของคุณหมอพงศกร เรื่อง “กี่เพ้า” นางเอกเป็นภัณฑารักษ์ที่เชี่ยวชาญเรื่องผ้าก็พอจะเห็นลางๆได้ว่าการบูรณะผ้าโบราณเป็นสิ่งที่ละเอียดละออที่สุด คนที่เรียนเรื่องผ้าโบราณจะต้องเป็นคนที่ใจเย็น ช่างสังเกตุ จึงจะทำงานบูรณะผ้าโบราณได้เป็นอย่างดีครับ









เดินชมนิทรรศการจนทั่วอยู่นานประมาณชั่วโมงกว่าๆได้ ภัณฑารักษณ์เดิมเข้ามาถามว่าเรียนเรื่องผ้ามาหรือเปล่าทำไมดูสนใจจริงๆจังๆ ตอบคุณภัณฑารักษ์ไปว่าสนใจทุกอย่างที่โบราณๆครับแต่สนใจเกี่ยวกับผ้าเป็นพิเศษ คุณภัณฑารักษ์เลยมอบหนังสือ booklet มาให้หนึ่งเล่มแล้วบอกว่าแจกเฉพาะคนที่สนใจจริงๆ





Chubby Lawyer Tour ......................... เที่ยวไป ............. ตามใจฉัน






SmileySmileySmiley





Create Date : 14 มกราคม 2559
Last Update : 14 มกราคม 2559 16:36:34 น.
Counter : 6587 Pageviews.

12 comments
  
อลังการมากๆ เลยอ้ะ สวยมากกกกกกกกกกก

โหวตท่องเที่ยววีคนี้เต็มแล้วอ้ะ วีคหน้ามาโหวตให้นะน้องบอล


แชตเตอร์บ็อกซ์เป็นอีกห้องแหละ ที่พี่รีวิวไว้ในเอนทรี่รีวิวห้องพักน่ะจ้า
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 14 มกราคม 2559 เวลา:18:39:07 น.
  
ผ้าไทยสวยไม่แพ้ชาติใด ๆ ในโลกนะคะ
โดย: tukata001 วันที่: 14 มกราคม 2559 เวลา:20:46:44 น.
  
ผ้าสวยมากเลยค่ะน้องบอลล์
โดย: Banana Muffin วันที่: 14 มกราคม 2559 เวลา:21:35:55 น.
  
thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 15 มกราคม 2559 เวลา:3:51:34 น.
  



ขอแสดงความยินดีกับสายสะพายแสนสวย
และขอขอบคุณที่โหวตให้พี่อุ้ม

อลังการงามมากกกกกกกกกกกกก
โหวตให้น้องบอลจ๊ะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เตยจ๋า Topical Blog ดู Blog
ขุนเพชรขุนราม Education Blog ดู Blog
ชมพร About Weblog ดู Blog
เศษเสี้ยว Photo Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Diarist ดู Blog
โดย: อุ้มสี วันที่: 15 มกราคม 2559 เวลา:7:10:51 น.
  
ชอบมากเลยค่ะผ้าไทย สวยสง่า และมีสเน่ห์ในตัวมากๆ ประทับใจค่ะ
โดย: auau_py วันที่: 15 มกราคม 2559 เวลา:7:31:06 น.
  
ตามน้องบอลมาเที่ยวด้วยค่ะ
ผ้าสวย ๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ
โดย: เนินน้ำ วันที่: 15 มกราคม 2559 เวลา:10:17:49 น.
  
โหวตจ้า
โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 17 มกราคม 2559 เวลา:8:54:55 น.
  
วิจิตรงดงามมากครับ ไปพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติครั้งสุดท้ายสมัยยังเป็นนักเรียน ได้แต่ผ่านไปผ่านมา มีโอกาสคงต้องเข้าไปเยี่ยมชมหาความรู้บ้าง
โดย: แมวเซาผู้น่าสงสาร วันที่: 17 มกราคม 2559 เวลา:19:14:18 น.
  
ผ้าไทยนี่งามเหลือเกินค่ะพี่บอล เห็นแล้วขนลุกเลย
โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน วันที่: 21 มกราคม 2559 เวลา:8:05:14 น.
  
สวยมาก เสียดายเพิ่งเห็น งานน่าจะจบไปแล้ว
โดย: กระจกส่องเงา วันที่: 6 ตุลาคม 2559 เวลา:12:35:53 น.
  
ขออนุญาติแนะนำครับผม ไทยพวน กับ ไทยยวน เป็นคนละชาติพันธุ์กันนะครับ ใช้ภาษาต่างกัน เท่าที่ทราบในจังหวัดราชบุรียังไม่สำรวจพบชุมชนคนพวนนะครับผม
ขอขอบคุณที่นำเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันครับผม
ขอบคุณครับ
โดย: ธนพล IP: 202.183.195.222 วันที่: 14 มิถุนายน 2560 เวลา:16:33:30 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]