เชิญชวนชิว
Group Blog
 
 
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
7 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
อรูปฌาณ

อรูปฌาณ ๔ เป็นทางไปสู่อภิญญา ๖ และนิพพาน ก่อนที่จะเข้าถึงนั้นต้องผ่านการฝึกฝนรูปฌาณ๔ มาก่อน ความง่ายหรือยากขึ้นอยู่กับบุญที่สั่งสมมาในอดีตและการทำสมาธิในชาติปัจจุบัน ฌาณทั้งหมดทั้งสิ้นเป็นสิ่งที่ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นสิ่งที่รู้ได้ตนเอง จึงต้องหมั่นศึกษาด้วยตนเอง ไม่เช่นนั้นอาจจะเสื่อมหรือคิดไปเองจนเสียสติได้ จึงควรระวังตัวเองไว้ ในที่นี้จะกล่าวถึงขั้น อรูปฌาณ ๒ เป็นต้นไป


อรูปฌาณ ๒ : วิญญาณัญจายตนะ

เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะวิญญาณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาดกำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือน จิต โดยคิดว่าเราต้องการจิตเท่านั้นรูปกายอย่างอื่นไม่ต้องการจนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์


อรูปฌาณ๓ : อากิญจัญญายตนะ

กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณ แล้วเพิกวิญญาณคือ ไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศ ก็ไม่มีวิญญาณก็ไม่มี ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้นการไม่มีอะไรเลยเป็นการปลอดภัยที่สุดแล้วก็กำหนดจิตไม่ยึดถืออะไร ทั้งหมดจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้


อรูปฌาณ๔ : เนวสัญญานาสัญญายตนะ

กำหนดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัวเสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณ ไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่เอาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อนแต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย มีชีวิตทำ เสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใด ๆ ปล่อยตามเรื่องเปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์


หมายเหตุ :

ฌาณ ๑ ไป ๒ ย่อมรู้ชัด ความดับไปของความรู้ว่าง


ฌาณ ๒ ไป ๓ ย่อมรู้ชัด ความดับไปของความรู้ธาตุรู้ (รู้แต่ความไม่มีอะไรเลย)

ส่วนฌาณ ๓ ไป ๔ ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้ (สัญญาเหลือน้อยแผ่วมาก มีก็เหมือนไม่มี รูปก็ไม่รู้ ว่างก็ไม่รู้ จิตก็ไม่รู้ ไร้ก็ไม่รู้)


อรูปฌาณที่ ๔ นี้ ไม่ควรเข้าไปเสพอยู่นาน จะทำให้หลงลืมความจำได้


คำแนะนำ :

ถ้าไม่ทำ รูปฌาณ๔ ให้เข้าออกได้จนชำนาญ และพิจารณา วิปัสสนาจนมีสติค่อนข้างมากแล้ว อย่าไปรับรู้ หรือ ฝึก ไม่มีประโยชน์ ครูบาอาจารย์ท่านไม่แนะนำ


ข้อดี

1.เสวยสุขอันละเอียดพิเศษยิ่งกว่ารูปฌาน

2.ระงับทุกขเวทนาทางกายได้อย่างสิ้นเชิง

3.ถ้าปรารถนาเป็น พระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทาญาณ ต้องเคยได้อรูปฌาน4มาก่อน


ข้อเสีย

1.เป็นแหล่งสูญเสียพลังจิตอย่างมาก (จึงเหมาะกับผู้ที่มีพลังจิตมากเหลือเฝือแล้ว)

2.ไม่เหมาะสมกับผู้ที่รูปฌานยังไม่เข้มแข็ง (มีพลังจิตน้อย)

3.ต้องสะสมพลังจิตให้ได้ปริมาณมากกว่ารูปฌาน จึงจะเข้าอรูปฌานได้



เมื่อเข้าสู่องค์ฌานลำดับที่ ๙ (ขั้นต่อไปของอรูปฌาณ๔) กายสังขารและจิตตสังขารจะระงับไป คือแทบไม่มีลมหายใจ ไม่มีความรู้สึกทางกายและทางใจ แต่ก็ไม่ใช่พระนิพพาน

สำหรับคุณสมบัติของผู้ที่สามารถเข้า "นิโรธสมาบัติ" ได้นั้น พระบาลีระบุว่า
"ต้องเป็นพระอนาคามีและพระอรหันต์" เท่านั้น ต่ำกว่านั้นไม่สามารถเข้าได้



ที่มา: พลังจิต และ ลานธรรม




อ่านมากแล้วตึง ฟังเพลงให้สบายใจก่อนออกไปค่ะ








Create Date : 07 เมษายน 2553
Last Update : 25 เมษายน 2553 23:12:28 น. 3 comments
Counter : 578 Pageviews.

 
หลังไมค์มาด้วยจากกระทู้นี้ด้วย ขอบคุณที่ให้ความสนใจกันค่ะ สำหรับผู้ที่ชอบนั่งสมาธิหรือสนใจด้านนี้
ก็เข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ค่ะ

การที่คนเรานั่งสมาธิเพียงไม่นาน ก็ถือได้บุญแล้วค่ะ คือบุญที่เกิดจากการภาวนาจะได้อานิสงส์กว่าบุญที่เกิดจากการทำทาน และการทำบุญจากการทำทานแก่ผู้ทรงศีล

ย่อมได้อานิสงส์กว่าการทำบุญแก่สัตว์ค่ะ

การนั่งสมาธิได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา จะให้ดีต้องเข้าถึงฌาณนานหน่อยจะได้มีจิตที่นิ่งและเข้าใจตัวตนและโลกนี้ให้ดีกว่าเดิม รู้ถึงการเกิดและดับ และการไปสู่นิพพานของพระพุทธเจ้า ศาสนาที่พวกเรานับถือกันไงละคะ

ส่วนตัวชอบไปนั่งที่สถานปฏิบัติธรรมมากกว่าเพราะว่าจะได้ถือศีลไปด้วย ถ้าไม่มีศีลการเข้าถึงฌาณก็ทำได้ยากกว่าเดิมค่ะ แต่ต้องทนหิวนะคะ เพราะเป็นศีล 8 จขบ ต้องทำใจอยู่เหมือนกัน เพราะเป็นคนทานจุกจิก หลายมื้อ เป็นโรคกระเพาะง่ายมาก แต่พอเอาเข้าจริงๆ
ก็ปรับสภาพได้่ค่ะ กลายเป็นอิ่มบุญแทน

ปุถุชนอย่างเราทั่วไป ถ้ามีเวลาก็หาโอกาสทำบุญเข้าวัด บ่อยๆ แล้วก็พาผู้มีพระคุณไปด้วยค่ะ นั่นคือบุญที่จะไปต่อในชาติหน้าอย่างแท้จริง ทำมากยิ่งได้มาก กับตัวเองค่ะ อย่าหวังให้คนอื่นมาทำให้ตอนตายหรือตอนเป็น มันถึงได้ไม่เยอะเท่ากับเราทำเองในชาตินี้หรอกค่ะ

อย่าเข้าใจผิดว่า เข้าวัดตอนแก่ก็ได้ เพราะว่าสังขารไม่ให้แล้วแน่นอน แค่จะลุกจะนั่งก็ปวดเมื่อยแล้วล่ะค่ะ เลือดลมไม่ดี ก็อาจจะเป็นลม เป็นความดันกันได้อีก ต้องมีลูกหลานมาดูแล เป็นภาระกันไป

ไม่เหมาะอย่างแรงค่ะ

อ่านแล้วก็ส่งต่อๆกันไป ค่ะ

ถือเป็นอานิสงส์สำหรับตัวท่านเองค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านจนจบนะคะ



โดย: Chillout Cafe' วันที่: 10 เมษายน 2553 เวลา:21:55:07 น.  

 
มาเยี่ยมครับ อ่านเรื่องอรูปฌาน แล้วน่าสนใจดี การพิจารณาธรรมะก็เหมือนเข้าฌานขณะลืมตา

....เช่นพิจารณาความว่างเป้นอารมณ์ หรือพิจารณากายเป็นอารมณ์ พิจารณาพรหมวิหารสี่เป็นอารมณ์ พิจารณามากๆจิตสงบจึงจะเกิดความเห็นว่ามันดีกว่าปล่อยให้จิตวุ่นอยู่


โดย: ไพรสณฑ์ IP: 125.25.15.204 วันที่: 19 เมษายน 2553 เวลา:6:52:20 น.  

 
การหลงไปในอรูปฌานแล้ว หากไม่พิจารณาความเป็นจริงด้วยปัญญาก็จะไม่สามารถบรรลุธรรมได้เลย พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยตรัสไว้ใน คิริมานนทสูตรว่า หากผู้ใดหลงไปอรูปฌานแล้วตายไปจิตครองอรูปฌานอยู่ไปเกิในอรูปพรหม ก็จะเสียเวลามาก เพราะหลงผิดเข้าใจผิดว่าคือสภาวะของนิพพาน แต่แท้จริงแล้วยังต้องกลับมาเกิดอีก ยังไม่หลุดพ้น การหลงไปอรูปพรหมจะทำให้เสียเวลามาก เพราะอรูปพรหมมีอายุที่ยาวนานมากกกครับ ถ้าท่านใดเห็นว่าไม่จริงขอให้ลองไปศึกษาเรื่องของการทำพระนิพพานให้แจ้ง พระสูตรต่างๆก็ได้นะครับ ^^


โดย: พุทธกาล ปัจจุบันกาล IP: unknown, 202.44.135.35 วันที่: 6 มกราคม 2554 เวลา:11:07:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Chillout Cafe'
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เล่นเป็นเล่น
เรียนเป็นเรียน
ทำงานเป็นทำงาน
ยืดหยุ่น และ ปรับปรุง
ช่วยเหลือสังคม...เท่าที่ทำได้
เนิร์ดนิดๆ ติสต์หน่อยๆ หวานพอทำเนา
^.^ วันสถาปนา 29/3/2553

free counters

ตารางคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน

Friends' blogs
[Add Chillout Cafe''s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.